วานนี้ (11 ก.พ.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวในรายการสภาท่าพระอาทิตย์ โดยยังคงยืนยัน คัดค้านแนวความคิดของหน่วยงานราชการด้านความมั่นคง ที่ต้องการดำเนินการต่อพวกที่มีพฤติกรรมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเงียบๆ โดยไม่ต้องเป็นข่าว เนื่องจากกลัวว่าจะทำให้บานปลายใหญ่โต
ทั้งนี้ นายคำนูณ ย้ำว่าแม้จะเชื่อมั่นในตัวข้าราชการส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันยังมีนักการเมืองที่มีอำนาจเหนือข้าราชการเหล่านี้ ซึ่งนักการเมืองบางคนยังมีทัศนคติที่อันตรายต่อสถาบันฯรวมอยู่ด้วย
"ผมถือว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ และมีสถานการณ์ที่อันตราย เพราะมีการผนวกเข้ากับความขัดแย้งทางการเมือง มีเจตนาล้มล้างรัฐบาล ผนวกเข้ากับคนเสื้อแดงอีกด้วย" นายคำนูณกล่าว
ส.ว.สรรหาผู้นี้ยังกล่าวถึงกรณีของ นายใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และได้หลบหนีไปประเทศอังกฤษแล้ว แต่ก่อนไปก็ได้ออกแถลงการณ์ ที่ชื่อว่า"สยามแดง" เมื่อวันที่ 9 ก.พ. โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ โจมตีพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งโจมตีคนไทยที่นับถือพระเจ้าอยู่หัวเป็นพ่อ ซึ่งจากคำพูด และท่าทีดังกล่าวถือว่า เข้าข่ายเป็นกบฏ เพราะต้องการให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐ ต้องการให้มีการเลือกตั้งในทุกตำแหน่ง ตั้งแต่ระดับประมุขลงมา
"ส่วนตัวถือว่าแถลงการณ์ของนายใจ มีความรุนแรงมากกว่าแถลงการณ์ของคณะราษฎร์ในการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิ.ย.2475 เสียอีก ไม่จำเป็นต้องพิจารณาแล้วว่า ขัดกฎหมายอาญาม.122 หรือไม่ เพราะเนื้อหาเข้าขั้นกบฏในราชอาชอาณาจักร เนื่องจากมีการสนับสนุนให้จัดตั้งพรรคการเมืองในระบบสาธารณรัฐ ถือว่าเกินขอบเขตที่จะอ้างเสรีภาพในทางวิชาการ ดังนั้นจึงเชื่อว่าคงยากที่นายใจจะกลับเข้าประเทศไทยอีกครั้ง"
นายคำนูณ กล่าวว่า ที่ผ่านมานายใจ เคยเขียนบทความเรื่องเขาพระวิหาร บอกว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมร และลงท้ายว่า ตนเองไม่ใช่คนไทย และภูมิใจที่เป็นลูกจีนปนอังกฤษ และว่าก่อนหน้านี้ยังมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่ลงชื่อให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ต้องการให้เอาผิดต่อนายใจนั้น นักวิชาการเหล่านั้นได้รู้ถึงการกระทำของนายใจหรือเปล่า หรือถ้ารู้แล้วยังลงชื่อสนับสนุน ถือว่าเห็นด้วยกับนายใจทั้งหมดหรือเปล่า อีกทั้งหากมีการยกเลิกกฎหมายมาตรานี้ ก็จะยกเลิกความผิดคลุมไปถึง "ดา ตอร์ปิโด" "ชูชีพ ชีวะสุทธิ์" ที่พูดจาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นักวิชาการเหล่านั้นเห็นด้วยหรือเปล่า
"จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลที่ประกาศนโยบายเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องแสดงความชัดเจนว่าทิศทางปฎิรูปการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างมีเป้าหมายอะไร รวมทั้งต้องปฎิรูปสื่ออย่างจริงจังไม่ใช่เปลี่ยนแค่โลโก้สถานีแต่ต้องดำเนินการกับวิทยุชุมชนที่จาบจ้วง ให้ข้อมูลผิดๆกับประชาชน ปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกในสังคม" นายคำนูณกล่าว
นายคำนูณ ยังตั้งคำถามไปถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกว่า เห็นด้วยกับนายใจหรือเปล่า ที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งคนเสื้อแดงทั้งหลาย ว่าเห็นด้วยทั้งหมดหรือเปล่าอีกด้วย
พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวถึง นายใจ อึ้งภากรณ์ ว่า การที่เขาพูดว่า ภูมิใจที่มี พ่อเป็นจีน แม่เป็นฝรั่ง เขาคิดอย่างไร ดูเอาเองก็แล้วกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายใจ มีส่วนเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิก ม.112 ที่ว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พล.ท.คณิต กล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตำรวจต้องติดตาม ผมไม่พูดแล้วกัน"
พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหมกล่าวถึงกรณี นาย ใจ อึ้งภากรณ์ ออกแถลงการณ์ สยามแดง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ว่า กองทัพกำลังดูแลอยู่ โดยประสานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ในการดำเนินการเรื่องนี้ ทั้งนี้ กองทัพมีหน่วยเฉพาะกิจ 6080 ดูแลอยู่แล้ว
**เชื่อกลับไทยไม่ได้ตลอดชีวิต
ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าพฤติกรรมของนายใจ อึ้งภากรณ์ ถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่สมควรกับการเป็นคนไทย และเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สิ่งที่นายใจกระทำถือว่าเป็นลักษณะของคนที่ไม่มีสำนึกรักชาติ รักแผ่นดินและปกป้องสถาบันฯ อันเป็นสถาบันฯที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย ทั้งที่เป็นครูบาอาจารย์ ก็ควรต้องทำตัวเป็นพ่อพิมพ์ที่ดีให้ลูกศิษย์ แต่นายใจกลับทำในสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่งกับการเกิดเป็นคนไทยในการรู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ แม้นายใจ จะถือสองสัญชาติ คือไทยและอังกฤษ แต่เมื่อนายใจทำเช่นนี้ ก็แสดงว่าเลือกแล้วที่จะไม่อยู่ประเทศไทย
"ดูแล้วเขาคงไม่รู้สึกผูกพัน หรือรู้สึกถึงความเป็นคนไทย เพราะถ้าเป็นคนไทยรักชาติ รักประเทศ คงไม่คิดไม่ทำเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งร้ายแรงมาก และผมเชื่อว่าแม้เขาจะใช้ความเป็นนักวิชาการไปให้สัมภาษณ์ หรือเคลื่อนไหวที่อังกฤษ ทางอังกฤษก็คงไม่สนใจ เพราะอังกฤษกับไทย มีความผูกพันกันมากมาหลายสิบปี โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ความผูกพันตั้งแต่สมัย ร.5 เคยเสด็จเยือนประเทศอังกฤษ ทางอังกฤษคงเข้าใจดีว่า ข้อเท็จจริงเป็นเช่นใด รวมถึงชาวต่างชาติ ที่เป็นนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ที่เคยศึกษาเรื่องการเมืองในประเทศไทย ย่อมไม่เชื่อในสิ่งที่นายใจไปเคลื่อนไหวให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงในต่างประเทศ เพราะเขารู้ดีว่า คนไทยรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การกระทำของนายใจ ที่ทำเช่นนี้ ท้ายสุดผลเสียจะเกิดกับตัวเขาเอง" ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงกระทรวงมหาดไทยกล่าว
ม.ล.ปนัดดา ยังกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ทางตำรวจก็ต้องดำเนินคดีสอบสวนต่อไป ส่วนการที่นายใจ เดินทางออกไปต่างประเทศได้นั้น คงไม่ใช่ความผิดพลาดของตำรวจหรือ ตม.เพราะต้องเข้าใจว่า คดียังไม่ถึงที่สุด และคงไม่มีใครคาดคิดว่านายใจ จะทำเช่นนี้ แต่วันนี้ต้องยอมรับว่า หากท้ายสุดนายใจ คิดจะกลับมาไทยจริงก็คงลำบากโดยเฉพาะการจะกลับมาเป็นครูอาจารย์อีกครั้ง เพราะจะไปสอนหนังสือให้ลูกศิษย์ได้อย่างไร ในเมื่อมีความคิดที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงไอซีที ได้พยายามติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่กระทำการในสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันอยู่ ทั้งเว็บไซต์ ใบปลิวเถื่อน หรือวิทยุชุมชน โดยใบปลิวทางหน่วยข่าวความมั่นคงได้เก็บมาจำนวนมาก ซึ่งกำลังสอบสวนไปถึงผู้อยู่เบื้องหลังที่เขียนข้อความไม่เหมาะสม ไม่เป็นความจริง และใช้ภาษาที่ไม่เป็นสุภาพชน โดยพบว่ามีการนำใบปลิวไปโปรยในหลายพื้นที่ ขณะที่วิทยุชุมชน ก็มีการกวดขันอยู่ แต่ก็อาจมีบางแห่งที่เล็ดลอดไปบ้าง ก็กำลังไล่ติดตามเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะสมขึ้น
**"เพื่อแม้ว"ดันกม.นิรโทษกรรม
นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค เปิดเผยว่า พรรคได้มอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคที่มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรค และตน ดำเนินการ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมา เพื่อยื่นต่อรัฐสภาให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมนี้ คือก่อนวันที่ 19 พ.ค. โดยขณะนี้คณะทำงานฯกำลังรวบรวมข้อมูลและดำเนินการร่างหลักการของ พ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ เบื้องต้นอาจจะใช้ชื่อว่า " พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ" โดยเนื้อหานั้นจะมีหลักการเพื่อนำไปสู่การบังคับ แบ่งเป็นหมวดต่างๆ และเขียนกว้างๆ คือ การนิรโทษกรรม อภัยโทษ รวมทั้งล้างมลทินให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง และได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเมืองในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย.49 ไม่ว่าจะเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคต่างๆ ที่ถูกยุบพรรคหลังจากปี 49 เช่น พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน รวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เนื่องจากพรรคมองว่า หากสามารถคืนความยุติธรรมให้กับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการเมืองแล้ว ความสามัคคดีปรองดอง ก็จะกลับคืนสู่สังคมในที่สุด
"เบื้องต้นในขั้นตอนของการเสนอกฎหมายเข้าสู่สภานั้น พรรคเพื่อไทย จะเสนอตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 (2) โดยใช้ ส.ส.จำนวน 20 คน เป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งพรรคได้มีการพูดคุยเพื่อระดมความคิดกันถึงการเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติแล้ว เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เรื้อรังมานาน ซึ่งส.ส.ส่วนใหญ่ต่างก็เห็นด้วย จึงเห็นว่าควรเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวภายในสมัยประชุมนี้ เพื่อดำเนินการออกมาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และคาดว่าจะได้รับการสนับสนุน เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ต้องการคืนความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย" นายประเกียรติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะขอมติจากที่ประชุมพรรคเพื่อไทย กรณีร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เมื่อไร นายประเกียรติ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุมพรรค หรือผ่านความเห็นชอบจากพรรคอย่างเป็นทางการ เพราะสามารถใช้ ส.ส.จำนวน 20 คน เสนอกฎหมายเข้าสภาได้ทันที
ทั้งนี้ นายคำนูณ ย้ำว่าแม้จะเชื่อมั่นในตัวข้าราชการส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันยังมีนักการเมืองที่มีอำนาจเหนือข้าราชการเหล่านี้ ซึ่งนักการเมืองบางคนยังมีทัศนคติที่อันตรายต่อสถาบันฯรวมอยู่ด้วย
"ผมถือว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ และมีสถานการณ์ที่อันตราย เพราะมีการผนวกเข้ากับความขัดแย้งทางการเมือง มีเจตนาล้มล้างรัฐบาล ผนวกเข้ากับคนเสื้อแดงอีกด้วย" นายคำนูณกล่าว
ส.ว.สรรหาผู้นี้ยังกล่าวถึงกรณีของ นายใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และได้หลบหนีไปประเทศอังกฤษแล้ว แต่ก่อนไปก็ได้ออกแถลงการณ์ ที่ชื่อว่า"สยามแดง" เมื่อวันที่ 9 ก.พ. โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ โจมตีพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งโจมตีคนไทยที่นับถือพระเจ้าอยู่หัวเป็นพ่อ ซึ่งจากคำพูด และท่าทีดังกล่าวถือว่า เข้าข่ายเป็นกบฏ เพราะต้องการให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐ ต้องการให้มีการเลือกตั้งในทุกตำแหน่ง ตั้งแต่ระดับประมุขลงมา
"ส่วนตัวถือว่าแถลงการณ์ของนายใจ มีความรุนแรงมากกว่าแถลงการณ์ของคณะราษฎร์ในการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิ.ย.2475 เสียอีก ไม่จำเป็นต้องพิจารณาแล้วว่า ขัดกฎหมายอาญาม.122 หรือไม่ เพราะเนื้อหาเข้าขั้นกบฏในราชอาชอาณาจักร เนื่องจากมีการสนับสนุนให้จัดตั้งพรรคการเมืองในระบบสาธารณรัฐ ถือว่าเกินขอบเขตที่จะอ้างเสรีภาพในทางวิชาการ ดังนั้นจึงเชื่อว่าคงยากที่นายใจจะกลับเข้าประเทศไทยอีกครั้ง"
นายคำนูณ กล่าวว่า ที่ผ่านมานายใจ เคยเขียนบทความเรื่องเขาพระวิหาร บอกว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมร และลงท้ายว่า ตนเองไม่ใช่คนไทย และภูมิใจที่เป็นลูกจีนปนอังกฤษ และว่าก่อนหน้านี้ยังมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่ลงชื่อให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ต้องการให้เอาผิดต่อนายใจนั้น นักวิชาการเหล่านั้นได้รู้ถึงการกระทำของนายใจหรือเปล่า หรือถ้ารู้แล้วยังลงชื่อสนับสนุน ถือว่าเห็นด้วยกับนายใจทั้งหมดหรือเปล่า อีกทั้งหากมีการยกเลิกกฎหมายมาตรานี้ ก็จะยกเลิกความผิดคลุมไปถึง "ดา ตอร์ปิโด" "ชูชีพ ชีวะสุทธิ์" ที่พูดจาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นักวิชาการเหล่านั้นเห็นด้วยหรือเปล่า
"จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลที่ประกาศนโยบายเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องแสดงความชัดเจนว่าทิศทางปฎิรูปการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างมีเป้าหมายอะไร รวมทั้งต้องปฎิรูปสื่ออย่างจริงจังไม่ใช่เปลี่ยนแค่โลโก้สถานีแต่ต้องดำเนินการกับวิทยุชุมชนที่จาบจ้วง ให้ข้อมูลผิดๆกับประชาชน ปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกในสังคม" นายคำนูณกล่าว
นายคำนูณ ยังตั้งคำถามไปถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกว่า เห็นด้วยกับนายใจหรือเปล่า ที่ต้องการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งคนเสื้อแดงทั้งหลาย ว่าเห็นด้วยทั้งหมดหรือเปล่าอีกด้วย
พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวถึง นายใจ อึ้งภากรณ์ ว่า การที่เขาพูดว่า ภูมิใจที่มี พ่อเป็นจีน แม่เป็นฝรั่ง เขาคิดอย่างไร ดูเอาเองก็แล้วกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายใจ มีส่วนเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิก ม.112 ที่ว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พล.ท.คณิต กล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตำรวจต้องติดตาม ผมไม่พูดแล้วกัน"
พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหมกล่าวถึงกรณี นาย ใจ อึ้งภากรณ์ ออกแถลงการณ์ สยามแดง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ว่า กองทัพกำลังดูแลอยู่ โดยประสานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ในการดำเนินการเรื่องนี้ ทั้งนี้ กองทัพมีหน่วยเฉพาะกิจ 6080 ดูแลอยู่แล้ว
**เชื่อกลับไทยไม่ได้ตลอดชีวิต
ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าพฤติกรรมของนายใจ อึ้งภากรณ์ ถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ไม่สมควรกับการเป็นคนไทย และเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สิ่งที่นายใจกระทำถือว่าเป็นลักษณะของคนที่ไม่มีสำนึกรักชาติ รักแผ่นดินและปกป้องสถาบันฯ อันเป็นสถาบันฯที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทย ทั้งที่เป็นครูบาอาจารย์ ก็ควรต้องทำตัวเป็นพ่อพิมพ์ที่ดีให้ลูกศิษย์ แต่นายใจกลับทำในสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่งกับการเกิดเป็นคนไทยในการรู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ แม้นายใจ จะถือสองสัญชาติ คือไทยและอังกฤษ แต่เมื่อนายใจทำเช่นนี้ ก็แสดงว่าเลือกแล้วที่จะไม่อยู่ประเทศไทย
"ดูแล้วเขาคงไม่รู้สึกผูกพัน หรือรู้สึกถึงความเป็นคนไทย เพราะถ้าเป็นคนไทยรักชาติ รักประเทศ คงไม่คิดไม่ทำเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งร้ายแรงมาก และผมเชื่อว่าแม้เขาจะใช้ความเป็นนักวิชาการไปให้สัมภาษณ์ หรือเคลื่อนไหวที่อังกฤษ ทางอังกฤษก็คงไม่สนใจ เพราะอังกฤษกับไทย มีความผูกพันกันมากมาหลายสิบปี โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ความผูกพันตั้งแต่สมัย ร.5 เคยเสด็จเยือนประเทศอังกฤษ ทางอังกฤษคงเข้าใจดีว่า ข้อเท็จจริงเป็นเช่นใด รวมถึงชาวต่างชาติ ที่เป็นนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ที่เคยศึกษาเรื่องการเมืองในประเทศไทย ย่อมไม่เชื่อในสิ่งที่นายใจไปเคลื่อนไหวให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงในต่างประเทศ เพราะเขารู้ดีว่า คนไทยรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การกระทำของนายใจ ที่ทำเช่นนี้ ท้ายสุดผลเสียจะเกิดกับตัวเขาเอง" ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคงกระทรวงมหาดไทยกล่าว
ม.ล.ปนัดดา ยังกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ทางตำรวจก็ต้องดำเนินคดีสอบสวนต่อไป ส่วนการที่นายใจ เดินทางออกไปต่างประเทศได้นั้น คงไม่ใช่ความผิดพลาดของตำรวจหรือ ตม.เพราะต้องเข้าใจว่า คดียังไม่ถึงที่สุด และคงไม่มีใครคาดคิดว่านายใจ จะทำเช่นนี้ แต่วันนี้ต้องยอมรับว่า หากท้ายสุดนายใจ คิดจะกลับมาไทยจริงก็คงลำบากโดยเฉพาะการจะกลับมาเป็นครูอาจารย์อีกครั้ง เพราะจะไปสอนหนังสือให้ลูกศิษย์ได้อย่างไร ในเมื่อมีความคิดที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงไอซีที ได้พยายามติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่กระทำการในสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันอยู่ ทั้งเว็บไซต์ ใบปลิวเถื่อน หรือวิทยุชุมชน โดยใบปลิวทางหน่วยข่าวความมั่นคงได้เก็บมาจำนวนมาก ซึ่งกำลังสอบสวนไปถึงผู้อยู่เบื้องหลังที่เขียนข้อความไม่เหมาะสม ไม่เป็นความจริง และใช้ภาษาที่ไม่เป็นสุภาพชน โดยพบว่ามีการนำใบปลิวไปโปรยในหลายพื้นที่ ขณะที่วิทยุชุมชน ก็มีการกวดขันอยู่ แต่ก็อาจมีบางแห่งที่เล็ดลอดไปบ้าง ก็กำลังไล่ติดตามเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะสมขึ้น
**"เพื่อแม้ว"ดันกม.นิรโทษกรรม
นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค เปิดเผยว่า พรรคได้มอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคที่มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นประธานที่ปรึกษากฎหมายของพรรค และตน ดำเนินการ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมา เพื่อยื่นต่อรัฐสภาให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมนี้ คือก่อนวันที่ 19 พ.ค. โดยขณะนี้คณะทำงานฯกำลังรวบรวมข้อมูลและดำเนินการร่างหลักการของ พ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ เบื้องต้นอาจจะใช้ชื่อว่า " พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ" โดยเนื้อหานั้นจะมีหลักการเพื่อนำไปสู่การบังคับ แบ่งเป็นหมวดต่างๆ และเขียนกว้างๆ คือ การนิรโทษกรรม อภัยโทษ รวมทั้งล้างมลทินให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง และได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเมืองในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 ก.ย.49 ไม่ว่าจะเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคต่างๆ ที่ถูกยุบพรรคหลังจากปี 49 เช่น พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน รวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เนื่องจากพรรคมองว่า หากสามารถคืนความยุติธรรมให้กับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการเมืองแล้ว ความสามัคคดีปรองดอง ก็จะกลับคืนสู่สังคมในที่สุด
"เบื้องต้นในขั้นตอนของการเสนอกฎหมายเข้าสู่สภานั้น พรรคเพื่อไทย จะเสนอตามช่องทางของรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 (2) โดยใช้ ส.ส.จำนวน 20 คน เป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งพรรคได้มีการพูดคุยเพื่อระดมความคิดกันถึงการเสนอร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติแล้ว เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เรื้อรังมานาน ซึ่งส.ส.ส่วนใหญ่ต่างก็เห็นด้วย จึงเห็นว่าควรเร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวภายในสมัยประชุมนี้ เพื่อดำเนินการออกมาให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว และคาดว่าจะได้รับการสนับสนุน เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ต้องการคืนความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย" นายประเกียรติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะขอมติจากที่ประชุมพรรคเพื่อไทย กรณีร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เมื่อไร นายประเกียรติ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุมพรรค หรือผ่านความเห็นชอบจากพรรคอย่างเป็นทางการ เพราะสามารถใช้ ส.ส.จำนวน 20 คน เสนอกฎหมายเข้าสภาได้ทันที