ผลสำรวจพบสิงห์อมควันที่ไม่เคยนึกห่วงตัวเอง มีแนวโน้มยอมเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพแมวเหมียวหรือน้องหมาอันเป็นที่รัก
การสอบถามความคิดเห็นผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงกว่า 3,000 คนในสหรัฐฯ พบว่า 28% ของผู้สูบบุหรี่จะพยายามเลิกพฤติกรรมนี้เมื่อได้รับรู้ผลกระทบจากควันบุหรี่ที่มีต่อสัตว์เลี้ยงของตน
งานวิจัยอีกชิ้นพบว่า การสูดดมควันบุหรี่เกี่ยวข้องกับมะเร็งบางชนิดและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในแมวและสุนัข อย่างไรก็ตาม รายงานที่อยู่ในวารสารโทแบกโค คอนโทรลระบุว่า มีผู้สูบบุหรี่น้อยมากที่รับรู้ข้อเท็จจริงนี้
งานศึกษาอีกหลายชิ้นเชื่อมโยงการสูดดมควันบุหรี่กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมว มะเร็งโพรงจมูกและปอดในสุนัข
นอกจากนั้น ยังมีรายงานเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ในสุนัข โรคตา ปัญหาระบบทางเดินหายใจและผิวหนังในนก และมะเร็งช่องปากในแมว
ทั้งนี้ นักวิจัยจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จากเฮนรี ฟอร์ด เฮลท์ ซิสเต็มในดีทรอยต์ สหรัฐฯ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ภายในบ้าน และการรับรู้ผลกระทบจากการสูบบุหรี่มือสองที่มีต่อสัตว์เลี้ยง
ผลปรากฏว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 5 สูบบุหรี่ และกว่า 1 ใน 4 อยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คน
ปริมาณการสูบเฉลี่ยต่อวันคือ 13.5 มวน โดยราวครึ่งหนึ่งสูบในบ้าน
ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่มี 28.4% ที่บอกว่าการรู้ว่าการสูบบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงทำให้คิดจะเลิก, 8.7% จะขอให้แฟนเลิก และประมาณ 1 ใน 7 จะขอให้แฟนออกไปสูบบุหรี่นอกบ้าน
ส่วนในกลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่นั้น กว่า 16% จะขอให้แฟนเลิกบุหรี่ และ 1 ใน 4 ขอให้แฟนออกไปสูบนอกบ้าน
นักวิจัยกล่าวว่า โครงการรณรงค์สาธารณสุขควรมุ่งเน้นผลกระทบจากการสูบบุหรี่มือสองที่มีต่อสัตว์เลี้ยงเพื่อโน้มน้าวให้คนเลิกสูบบุหรี่ โดยตั้งข้อสังเกตว่า ประชากร 2 ใน 3 ในสหรัฐฯ มีสัตว์เลี้ยง และ 1 ใน 5 ของคนเหล่านี้สูบบุหรี่
ดร.ชารอน มิลเบอร์เกอร์ ผู้นำการศึกษา กล่าวว่าสาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคนเรารักสัตว์เลี้ยงมากกว่าตัวเองหรือลูกหลาน แต่ผลศึกษานี้ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นใหม่สำหรับคนที่กำลังชั่งใจว่าจะเลิกสูบบุหรี่ พร้อมกันนี้ ยังสำทับว่าขณะนี้กำลังทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่า เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลลบต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยงแล้ว เจ้าของจะเลิกสูบบุหรี่จริงหรือไม่
ศาสตราจารย์อลัน แมรีออน-เดวิส จากเฮนรี ฟอร์ด เฮลท์ ซิสเต็ม เห็นด้วยว่าแนวคิดนี้น่าสนใจ เพราะเห็นได้ชัดว่าคนเราพร้อมจะเลิกบางสิ่งที่ชอบหากรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
แมรีออน-เดวิสแจงว่า หนึ่งในวิธีง่ายๆ ในการรณรงค์คือ ขอให้สัตวแพทย์ ผู้ให้บริการรับฝากสุนัข และร้านขายของสัตว์เลี้ยง ถามเจ้าของสัตว์เลี้ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นต้นว่ามีการสูบบุหรี่ในบ้านหรือไม่ และอธิบายถึงพิษภัยของควันบุหรี่ต่อสุขภาพสัตว์
การสอบถามความคิดเห็นผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงกว่า 3,000 คนในสหรัฐฯ พบว่า 28% ของผู้สูบบุหรี่จะพยายามเลิกพฤติกรรมนี้เมื่อได้รับรู้ผลกระทบจากควันบุหรี่ที่มีต่อสัตว์เลี้ยงของตน
งานวิจัยอีกชิ้นพบว่า การสูดดมควันบุหรี่เกี่ยวข้องกับมะเร็งบางชนิดและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในแมวและสุนัข อย่างไรก็ตาม รายงานที่อยู่ในวารสารโทแบกโค คอนโทรลระบุว่า มีผู้สูบบุหรี่น้อยมากที่รับรู้ข้อเท็จจริงนี้
งานศึกษาอีกหลายชิ้นเชื่อมโยงการสูดดมควันบุหรี่กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมว มะเร็งโพรงจมูกและปอดในสุนัข
นอกจากนั้น ยังมีรายงานเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ในสุนัข โรคตา ปัญหาระบบทางเดินหายใจและผิวหนังในนก และมะเร็งช่องปากในแมว
ทั้งนี้ นักวิจัยจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จากเฮนรี ฟอร์ด เฮลท์ ซิสเต็มในดีทรอยต์ สหรัฐฯ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ภายในบ้าน และการรับรู้ผลกระทบจากการสูบบุหรี่มือสองที่มีต่อสัตว์เลี้ยง
ผลปรากฏว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 5 สูบบุหรี่ และกว่า 1 ใน 4 อยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คน
ปริมาณการสูบเฉลี่ยต่อวันคือ 13.5 มวน โดยราวครึ่งหนึ่งสูบในบ้าน
ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่มี 28.4% ที่บอกว่าการรู้ว่าการสูบบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงทำให้คิดจะเลิก, 8.7% จะขอให้แฟนเลิก และประมาณ 1 ใน 7 จะขอให้แฟนออกไปสูบบุหรี่นอกบ้าน
ส่วนในกลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่นั้น กว่า 16% จะขอให้แฟนเลิกบุหรี่ และ 1 ใน 4 ขอให้แฟนออกไปสูบนอกบ้าน
นักวิจัยกล่าวว่า โครงการรณรงค์สาธารณสุขควรมุ่งเน้นผลกระทบจากการสูบบุหรี่มือสองที่มีต่อสัตว์เลี้ยงเพื่อโน้มน้าวให้คนเลิกสูบบุหรี่ โดยตั้งข้อสังเกตว่า ประชากร 2 ใน 3 ในสหรัฐฯ มีสัตว์เลี้ยง และ 1 ใน 5 ของคนเหล่านี้สูบบุหรี่
ดร.ชารอน มิลเบอร์เกอร์ ผู้นำการศึกษา กล่าวว่าสาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคนเรารักสัตว์เลี้ยงมากกว่าตัวเองหรือลูกหลาน แต่ผลศึกษานี้ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นใหม่สำหรับคนที่กำลังชั่งใจว่าจะเลิกสูบบุหรี่ พร้อมกันนี้ ยังสำทับว่าขณะนี้กำลังทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่า เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลลบต่อสุขภาพสัตว์เลี้ยงแล้ว เจ้าของจะเลิกสูบบุหรี่จริงหรือไม่
ศาสตราจารย์อลัน แมรีออน-เดวิส จากเฮนรี ฟอร์ด เฮลท์ ซิสเต็ม เห็นด้วยว่าแนวคิดนี้น่าสนใจ เพราะเห็นได้ชัดว่าคนเราพร้อมจะเลิกบางสิ่งที่ชอบหากรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
แมรีออน-เดวิสแจงว่า หนึ่งในวิธีง่ายๆ ในการรณรงค์คือ ขอให้สัตวแพทย์ ผู้ให้บริการรับฝากสุนัข และร้านขายของสัตว์เลี้ยง ถามเจ้าของสัตว์เลี้ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เป็นต้นว่ามีการสูบบุหรี่ในบ้านหรือไม่ และอธิบายถึงพิษภัยของควันบุหรี่ต่อสุขภาพสัตว์