รอยเตอร์/เอเอฟพี – โฮชิง ภรรยาของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์ จะก้าวลงจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(ซีอีโอ) ของ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ที่เธอที่ครองมา 5 ปี ขณะที่กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐที่มีเม็ดเงินในมือมากมายของสิงคโปร์แห่งนี้ ก็กำลังเผชิญช่วงเวลาอันยากลำบาก ภายหลังความปั่นป่วนผันผวนในตลาดทั่วโลก ได้ลดทอนมูลค่าการลงทุนของเทมาเส็กลงอย่างมหาศาล
ตามคำแถลงฉบับหนึ่งของกองทุนแห่งนี้ ชาร์ลส์ “ชิป” กูดเยียร์ ชาวอเมริกันที่เคยเป็นซีอีโอของ บีเอชพี บิลลิตัน บริษัทด้านกิจการเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดในโลก จะเข้ากุมบังเหียนเทมาเส็กแทนที่โฮตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ความเคลื่อนไหวคราวนี้ ผู้สังเกตการณ์บางคนชี้ว่า น่าจะช่วยการสร้างภาพลักษณ์ในระดับโลกของเทมาเส็ก ให้ออกห่างจากที่ถูกผู้คนหลายวงการมองว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลสิงคโปร์
เทมาเส็กซึ่งมีสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่า 185,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (123,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2008 กำลังตกอยู่ในอาการเลียแผลหลังจากการเข้าลงทุนที่กลายเป็นข่าวเกรียวกราว ในวาณิชธนกิจ เมอร์ริลลินช์ ของสหรัฐฯ และธนาคารบาร์เคลย์ส ของอังกฤษ ตอนที่ทางกองทุนแห่งนี้มุ่งขยายตัวอย่างดุดันออกนอกตลาดเอเชีย
เฉพาะการลงทุนมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯของเทมาเส็กในเมอร์ริล ก็ส่งผลทำให้เกิดการขาดทุนมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านั้นไปอีก เทมาเส็กมีส่วนจุดชนวนวิกฤตการเมืองในประเทศไทย จากการเข้าไปซื้อหุ้น 49% ในบริษัทชินคอร์ปที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรควบคุมอยู่ ในราคาเกือบ 1,900 ล้านดอลลาร์ แล้วปรากฏว่าการเทคโอเวอร์นี้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว หลังมีการเปิดเผยว่าครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณไม่จ่ายภาษีอะไรเลยสำหรับรายได้มหาศาลจากข้อตกลงคราวนี้
ในที่สุดแล้ว วิกฤตการเมืองไทยก็นำไปสู่การโค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ลงจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในปี 2006 ขณะที่ปีการเงิน 2006 (เม.ย.06-มี.ค.07) เทมาเส็กรายงานว่ายอดกำไรสุทธิของตนลดฮวบ 29% ส่วนหนึ่งสืบเนื่องจากความเสียหายจากการเข้าลงทุนในชินคอร์ป
เอส. ธนาบาลัน ประธานเทมาเส็กกล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนวานนี้ว่า การตัดสินใจที่จะก้าวลงจากตำแหน่งของโฮ ไม่ได้มีส่วนเชื่อมโยงกับผลประกอบการของเทมาเส็ก นอกจากนั้นยังจะเป็นการเร็วเกินไปด้วย ที่จะตัดสินว่าการลงทุนต่างๆ ที่ทำลงไปในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา จะถือเป็นการขาดทุนหรือไม่เมื่อพิจารณากันในระยะยาว
“ทีมทำงานได้เริ่มดำเนินการต่างๆ ด้วยจุดยืนที่ต่างออกไปจากเดิมมาตั้งแต่กลางปี 2007 แล้ว และได้เริ่มทบทวนแผนการระยะยาวของตน ภายใต้การจำลองภาพสถานการณ์ต่างๆ กันอันอาจเกิดขึ้นได้จากการทรุดตัวทางเศรษฐกิจ” เขาบอก
โฮซึ่งปัจจุบันอายุ 55 ปี เข้าทำงานกับเทมาเส็กโดยเป็นกรรมการบริหารในเดือนมกราคม 2002 และขึ้นเป็นซีอีโอตั้งแต่เดือนมกราคม 2004 ในการก้าวลงจากตำแหน่งซีอีโอคราวนี้ เธอก็จะออกจากการเป็นกรรมการบริหารด้วย
สำหรับกู๊ดเยียร์ที่มีอายุ 51 ปี ได้ออกจากบริษัทบีเอชพี บิลลิตัน ตอนต้นปี 2008 เขาเข้าเป็นกรรมการบริหารของเทมาเส็กเมื่อวันอาทิตย์(1) และจะมีตำแหน่งเป็นว่าที่ซีอีโอตั้งแต่ 1 มีนาคม ก่อนจะเป็นซีอีโอเต็มตัวในวันที่ 1 ตุลาคม
“กู๊ดเยียร์เข้าใจวิกฤตการเงินคราวนี้ และการมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโลหะและเหมืองแร่มาทำงานด้วยเช่นนี้ถือเป็นเรื่องดีมากสำหรับอนาคต เพราะแวดวงพวกนี้แหละคือที่ๆ พวกนักลงทุนทั้งหลายจะวิ่งกันเข้าไป” เป็นความเห็นของ คริสตอฟเฟอร์ โมลต์เก-เลธ หัวหน้าฝ่ายเซลส์เทรดดิ้ง แห่ง เอสเอเอ็กซ์โอ แคปิตอล มาร์เกตส์ ในสิงคโปร์
ขณะที่ตัวกู๊ดเยียร์เองเมื่อถูกผู้สื่อข่าวซักถามว่าเขามีประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้นำเทมาเส็กหรือไม่ เขาก็ตอบว่าเขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นวาณิชธนกิจที่ คิดเดอร์ พีบอดี โดยทำหน้าที่แนะนำบริษัทต่างๆ ในเรื่องการควบรวมกิจการและเรื่องการเงิน
ตามคำแถลงฉบับหนึ่งของกองทุนแห่งนี้ ชาร์ลส์ “ชิป” กูดเยียร์ ชาวอเมริกันที่เคยเป็นซีอีโอของ บีเอชพี บิลลิตัน บริษัทด้านกิจการเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดในโลก จะเข้ากุมบังเหียนเทมาเส็กแทนที่โฮตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ความเคลื่อนไหวคราวนี้ ผู้สังเกตการณ์บางคนชี้ว่า น่าจะช่วยการสร้างภาพลักษณ์ในระดับโลกของเทมาเส็ก ให้ออกห่างจากที่ถูกผู้คนหลายวงการมองว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลสิงคโปร์
เทมาเส็กซึ่งมีสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่า 185,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (123,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2008 กำลังตกอยู่ในอาการเลียแผลหลังจากการเข้าลงทุนที่กลายเป็นข่าวเกรียวกราว ในวาณิชธนกิจ เมอร์ริลลินช์ ของสหรัฐฯ และธนาคารบาร์เคลย์ส ของอังกฤษ ตอนที่ทางกองทุนแห่งนี้มุ่งขยายตัวอย่างดุดันออกนอกตลาดเอเชีย
เฉพาะการลงทุนมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯของเทมาเส็กในเมอร์ริล ก็ส่งผลทำให้เกิดการขาดทุนมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านั้นไปอีก เทมาเส็กมีส่วนจุดชนวนวิกฤตการเมืองในประเทศไทย จากการเข้าไปซื้อหุ้น 49% ในบริษัทชินคอร์ปที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรควบคุมอยู่ ในราคาเกือบ 1,900 ล้านดอลลาร์ แล้วปรากฏว่าการเทคโอเวอร์นี้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว หลังมีการเปิดเผยว่าครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณไม่จ่ายภาษีอะไรเลยสำหรับรายได้มหาศาลจากข้อตกลงคราวนี้
ในที่สุดแล้ว วิกฤตการเมืองไทยก็นำไปสู่การโค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ลงจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในปี 2006 ขณะที่ปีการเงิน 2006 (เม.ย.06-มี.ค.07) เทมาเส็กรายงานว่ายอดกำไรสุทธิของตนลดฮวบ 29% ส่วนหนึ่งสืบเนื่องจากความเสียหายจากการเข้าลงทุนในชินคอร์ป
เอส. ธนาบาลัน ประธานเทมาเส็กกล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนวานนี้ว่า การตัดสินใจที่จะก้าวลงจากตำแหน่งของโฮ ไม่ได้มีส่วนเชื่อมโยงกับผลประกอบการของเทมาเส็ก นอกจากนั้นยังจะเป็นการเร็วเกินไปด้วย ที่จะตัดสินว่าการลงทุนต่างๆ ที่ทำลงไปในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา จะถือเป็นการขาดทุนหรือไม่เมื่อพิจารณากันในระยะยาว
“ทีมทำงานได้เริ่มดำเนินการต่างๆ ด้วยจุดยืนที่ต่างออกไปจากเดิมมาตั้งแต่กลางปี 2007 แล้ว และได้เริ่มทบทวนแผนการระยะยาวของตน ภายใต้การจำลองภาพสถานการณ์ต่างๆ กันอันอาจเกิดขึ้นได้จากการทรุดตัวทางเศรษฐกิจ” เขาบอก
โฮซึ่งปัจจุบันอายุ 55 ปี เข้าทำงานกับเทมาเส็กโดยเป็นกรรมการบริหารในเดือนมกราคม 2002 และขึ้นเป็นซีอีโอตั้งแต่เดือนมกราคม 2004 ในการก้าวลงจากตำแหน่งซีอีโอคราวนี้ เธอก็จะออกจากการเป็นกรรมการบริหารด้วย
สำหรับกู๊ดเยียร์ที่มีอายุ 51 ปี ได้ออกจากบริษัทบีเอชพี บิลลิตัน ตอนต้นปี 2008 เขาเข้าเป็นกรรมการบริหารของเทมาเส็กเมื่อวันอาทิตย์(1) และจะมีตำแหน่งเป็นว่าที่ซีอีโอตั้งแต่ 1 มีนาคม ก่อนจะเป็นซีอีโอเต็มตัวในวันที่ 1 ตุลาคม
“กู๊ดเยียร์เข้าใจวิกฤตการเงินคราวนี้ และการมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโลหะและเหมืองแร่มาทำงานด้วยเช่นนี้ถือเป็นเรื่องดีมากสำหรับอนาคต เพราะแวดวงพวกนี้แหละคือที่ๆ พวกนักลงทุนทั้งหลายจะวิ่งกันเข้าไป” เป็นความเห็นของ คริสตอฟเฟอร์ โมลต์เก-เลธ หัวหน้าฝ่ายเซลส์เทรดดิ้ง แห่ง เอสเอเอ็กซ์โอ แคปิตอล มาร์เกตส์ ในสิงคโปร์
ขณะที่ตัวกู๊ดเยียร์เองเมื่อถูกผู้สื่อข่าวซักถามว่าเขามีประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้นำเทมาเส็กหรือไม่ เขาก็ตอบว่าเขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นวาณิชธนกิจที่ คิดเดอร์ พีบอดี โดยทำหน้าที่แนะนำบริษัทต่างๆ ในเรื่องการควบรวมกิจการและเรื่องการเงิน