รองผู้ว่าฯ กทม. สั่งเจอ 32 อาคารเขตบางเขนไม่แข็งแรงต้องแก้ทันที ขณะที่แหล่งข่าวระบุแบบแปลน "ซานติก้า" ถูกเบิกออกจากเขตไปตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ ด้านผู้บริหารสรรพสามิตแจงซานติก้าจ่ายค่าธรรมเนียมขายเหล่าบุหรี่ถูกต้อง พร้อมรับเจ้าหน้าที่น้อยตรวจไม่ทั่วถึง
นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ล่าสุดได้ให้เจ้าที่โยธา ออกสำรวจความมั่นคงแข็งแรงและตรวจสอบว่ามีการอาคาร 32 แห่งในพื้นที่บางเขนที่มีปัญหาปลอมแปลงลายเซ็นวิศวกรและสถาปนิกผู้ควบคุมการออกแบบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยหากตรวจพบการใช้อาคารผิดประเภทเหมือนซานติก้า ผับ จะต้องพิจารณาว่าการออกคำสั่งระงับการใช้อาคารเป็นอำนาจของ กทม. หรือ กองบังคับการตำรวจนครบาล(บชน.) ในการออกคำสั่งระงับการใช้อาคาร พร้อมดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้หากตรวจพบความไม่มั่นคงแข็งแรงของอาคาร จะ สนย.จะสั่งปรับปรุงแก้ไขทันที
ส่วนกรณีสำนักงานเขตวัฒนาเข้าแจ้งความว่าแบบแปลนซานติก้าผับและใบคำร้องอนุญาตก่อสร้างซานติก้าผับสูญหายไปจากสำนักงานเขต ภายหลังเข้าแจ้งความดำเนินคดีของวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างและสถาปนิกผู้ออกแบบ ถือเป็นการกระทำที่ส่อพิรุธนั้น
แหล่งข่าวจากสำนักงานเขตวัฒนา กล่าวว่า กรณีดังกล่าวได้มีผู้เบิกแบบแปลนซานติก้าผับ ออกจากสำนักงานเขตไปแล้วตั้งแต่ปี 2550 ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นปีๆ ซึ่งในเอกสารการเบิกมีการระบุชื่อผู้เบิกแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ในตอนนี้
สรรพสามิตป้องซานติก้าไม่ผิด
นางสิรินุช พิศลยบุตร อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวภายหลังจากการตรวจสอบข้อมูลของสถานบริการซานติก้า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิตโดยพบว่า สถานบริการซานติก้าได้ยื่นขอรับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 และใบอนุญาตขายยาสูบที่ผลิตในประเทศและที่ผลิตในต่างประเทศ ประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ประจำปี 2547 - 2552 และระบุข้อมูลว่าเป็นร้านอาหาร/ภัตตาคาร โดยเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราฯ ปีละ 1,650 บาท นอกจากนี้ยังเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายยาสูบที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศฉบับละ 20 บาท ต่อปี ซึ่งที่ผ่านมาซานติก้าได้เสียค่าธรรมเนียมใบอนญาตโดยถูกต้อง
ส่วนตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้การจัดเก็บภาษีสถานบริการประเภทไนท์คลับ และดิสโกเธค ต้องจัดเก็บภาษีจาก “รายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำ โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง แต่จากการตรวจสอบสถานบริการซานติก้าที่ผ่านมา ไม่พบว่าได้จัดให้มีสถานที่สำหรับเต้นรำ จึงยังไม่ถือว่าเป็นสถานบริการตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต
“ในปีหนึ่งๆสรรพสามิตจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสถานบริการแค่ครั้งเดียว เพราะในพื้นที่ 3 มีเขตที่อยู่ในความดูแลถึง 9 เขต คือ คลองเคย วัฒนา ราชเทวี พระโขนง บางซื่อ ดุสิต พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง ซึ่งมีร้านอาหารที่จดทะเบียนไว้ถึง 2 หมื่นแห่งทำให้เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ และตามกฎหมายระบุให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ทำให้ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะไปตรวจช่วงหัวค่ำเท่านั้นจึงไม่พบเจอว่ามีการเต้นรำในผับ” อธิบดีกรรพสามิตกว่าและว่า เรื่องประเด็นของการเปิดให้ลูกค้าเต้นรำนั้นจะนำไปสู่การหารือกับดีเอสไอเพื่อหาข้อแห้ไขช่องว่างดังกล่าวต่อไป โดยกรณีของซานติห้านั้นอยู่ระหว่างหาข้อสรุปร่วมกับดีเอสไอว่าการที่ลูกค้าลุกขึ้นเต้นรำเองนั้นเข้าข่ายลักษณะของสถานบริการประเภทไนต์คลับ ดิโก้เธคหรือไม่
ทั้งนี้ หากได้ข้อยุติว่าสถานบริการซานติก้า เป็นสถานบริการตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต จะได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต มาตรา 25 ฐานไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วันก่อนวันเริ่มให้บริการ ซึ่งมีโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และตามมาตรา 164 ฐาน ไม่ยื่นแบบรายการภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ล่าสุดได้ให้เจ้าที่โยธา ออกสำรวจความมั่นคงแข็งแรงและตรวจสอบว่ามีการอาคาร 32 แห่งในพื้นที่บางเขนที่มีปัญหาปลอมแปลงลายเซ็นวิศวกรและสถาปนิกผู้ควบคุมการออกแบบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน โดยหากตรวจพบการใช้อาคารผิดประเภทเหมือนซานติก้า ผับ จะต้องพิจารณาว่าการออกคำสั่งระงับการใช้อาคารเป็นอำนาจของ กทม. หรือ กองบังคับการตำรวจนครบาล(บชน.) ในการออกคำสั่งระงับการใช้อาคาร พร้อมดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้หากตรวจพบความไม่มั่นคงแข็งแรงของอาคาร จะ สนย.จะสั่งปรับปรุงแก้ไขทันที
ส่วนกรณีสำนักงานเขตวัฒนาเข้าแจ้งความว่าแบบแปลนซานติก้าผับและใบคำร้องอนุญาตก่อสร้างซานติก้าผับสูญหายไปจากสำนักงานเขต ภายหลังเข้าแจ้งความดำเนินคดีของวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างและสถาปนิกผู้ออกแบบ ถือเป็นการกระทำที่ส่อพิรุธนั้น
แหล่งข่าวจากสำนักงานเขตวัฒนา กล่าวว่า กรณีดังกล่าวได้มีผู้เบิกแบบแปลนซานติก้าผับ ออกจากสำนักงานเขตไปแล้วตั้งแต่ปี 2550 ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้เป็นปีๆ ซึ่งในเอกสารการเบิกมีการระบุชื่อผู้เบิกแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ในตอนนี้
สรรพสามิตป้องซานติก้าไม่ผิด
นางสิรินุช พิศลยบุตร อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวภายหลังจากการตรวจสอบข้อมูลของสถานบริการซานติก้า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิตโดยพบว่า สถานบริการซานติก้าได้ยื่นขอรับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 และใบอนุญาตขายยาสูบที่ผลิตในประเทศและที่ผลิตในต่างประเทศ ประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ประจำปี 2547 - 2552 และระบุข้อมูลว่าเป็นร้านอาหาร/ภัตตาคาร โดยเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราฯ ปีละ 1,650 บาท นอกจากนี้ยังเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายยาสูบที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศฉบับละ 20 บาท ต่อปี ซึ่งที่ผ่านมาซานติก้าได้เสียค่าธรรมเนียมใบอนญาตโดยถูกต้อง
ส่วนตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้การจัดเก็บภาษีสถานบริการประเภทไนท์คลับ และดิสโกเธค ต้องจัดเก็บภาษีจาก “รายรับของสถานที่สำหรับดื่มกินและเต้นรำ โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือใช้เครื่องเสียงหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง แต่จากการตรวจสอบสถานบริการซานติก้าที่ผ่านมา ไม่พบว่าได้จัดให้มีสถานที่สำหรับเต้นรำ จึงยังไม่ถือว่าเป็นสถานบริการตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต
“ในปีหนึ่งๆสรรพสามิตจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสถานบริการแค่ครั้งเดียว เพราะในพื้นที่ 3 มีเขตที่อยู่ในความดูแลถึง 9 เขต คือ คลองเคย วัฒนา ราชเทวี พระโขนง บางซื่อ ดุสิต พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง ซึ่งมีร้านอาหารที่จดทะเบียนไว้ถึง 2 หมื่นแห่งทำให้เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ และตามกฎหมายระบุให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ทำให้ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะไปตรวจช่วงหัวค่ำเท่านั้นจึงไม่พบเจอว่ามีการเต้นรำในผับ” อธิบดีกรรพสามิตกว่าและว่า เรื่องประเด็นของการเปิดให้ลูกค้าเต้นรำนั้นจะนำไปสู่การหารือกับดีเอสไอเพื่อหาข้อแห้ไขช่องว่างดังกล่าวต่อไป โดยกรณีของซานติห้านั้นอยู่ระหว่างหาข้อสรุปร่วมกับดีเอสไอว่าการที่ลูกค้าลุกขึ้นเต้นรำเองนั้นเข้าข่ายลักษณะของสถานบริการประเภทไนต์คลับ ดิโก้เธคหรือไม่
ทั้งนี้ หากได้ข้อยุติว่าสถานบริการซานติก้า เป็นสถานบริการตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต จะได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต มาตรา 25 ฐานไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิตภายใน 30 วันก่อนวันเริ่มให้บริการ ซึ่งมีโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และตามมาตรา 164 ฐาน ไม่ยื่นแบบรายการภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ