ข่าวปลากระป๋องเน่าปรากฏขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ในวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา นับเวลาได้ 26 วันหลังจาก นายวิฑูรย์ นามบุตร ได้รับโปรดเกล้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นในวันที่ 13 ม.ค. เมื่อชาวบ้าน ในพื้นที่ หมู่ 7 ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง ได้รวบรวมปลากระป๋อง ที่ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ นำมาแจกเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์จากปัญหาน้ำท่วม ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. ส่งคืนให้กับ นายนัน มุสิต ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อส่งคืนต่อให้กับ ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ
รายการสิ่งของในถุงยังชีพ ที่ทางกระทรวงนำมาแจกให้กับชาวบ้านในงวดเดียวกัน จำนวน 13 หมู่บ้าน 600 ครอบครัว ประกอบด้วย ข้าวสาร 4 กิโลกรัม น้ำพริก 1 ถุง บะหมี่สำเร็จรูป 4 ซอง สบู่ 1 ก้อน ยาสีฟัน 1 หลอด แปลงสีฟัน 2 อัน และปลากระป๋องติดฉลากยี่ห้อชาวดอย 5 กระป๋อง รวมเฉพาะปลากระป๋องมีจำนวนทั้งสิ้น 3,000 กระป๋อง
แต่เมื่อชาวบ้านเปิดปลากระป๋องยี่ห้อดังกล่าวรับประทาน กลับมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ตรวจสอบเบื้องต้น จากวันหมดอายุ ที่เหลือกว่า 3 ปี ไม่มีอะไรผิดสังเกต แต่ปัญหาที่สังเกตพบในเบื้องต้น เมื่อนำมาเปิดพิสูจน์ คือส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
ปัญหาลุกลามบานปลายยิ่งขึ้น เมื่อพบความผิดปกติในหลายประเด็น ประเด็นแรก คือการพูดที่ขัดกัน ของเจ้ากระทรวง เมื่อนายวิฑูรย์ ให้ข่าวขัดกันโดยครั้งแรกระบุว่าถุงยังชีพชุดดังกล่าว ทางกระทรวงได้จัดซื้อไปบริจาค ต่อมาการแถลงข่าว ต่อมา นายวิฑูรย์ กลับบอกว่า มีประชาชนซื้อบริจาคให้กับกระทรวงนำไปมอบให้กับชาวบ้านอีกที
ประเด็นที่สอง คือ แหล่งผลิตปลากระป๋อง ที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ทราบแต่เพียงว่า ปลากระป๋องชาวดอย ผลิตโดย บริษัททองกิ่งแก้วฟู๊ดส์ จำกัด อยู่เลขที่ 17/1 หมู่ 5 ต.แคราย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จัดจำหน่ายโดย บริษัท ไทย เอ. ดี. ฟูดส์ จำกัด แต่จากการตรวจสอบของ คณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กลับไม่พบว่ามีการผลิตที่โรงงานของบริษัทกิ่งแก้วฟู๊ดส์ แต่อย่างใด พร้อมกันนี้ ก็ยังไม่พบบริษัทผู้จัดจำหน่ายตามที่ระบุในฉลากอีกด้วย
เมื่อ นายวิฑูรย์ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นให้กระจ่างชัดแก่สังคมโดยเร็ว ผสมโรงกับทางฝ่ายค้านยกระดับขึ้นเป็นประเด็นการเมือง เกาะติดชนิดกัดไม่ปล่อย
ประกอบกับความเสียหายได้เกิดขึ้นกับประชาชน จนยากที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ แม้เจ้าตัวจะยืนยันความบริสุทธิ์ก็ตาม นายวิฑูรย์ ไม่สามารถฝืนกระแสสังคมต่อไปได้ ประกาศลาออกในที่สุด
เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นในวันที่ 13 ม.ค. เมื่อชาวบ้าน ในพื้นที่ หมู่ 7 ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง ได้รวบรวมปลากระป๋อง ที่ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ นำมาแจกเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์จากปัญหาน้ำท่วม ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. ส่งคืนให้กับ นายนัน มุสิต ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อส่งคืนต่อให้กับ ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ
รายการสิ่งของในถุงยังชีพ ที่ทางกระทรวงนำมาแจกให้กับชาวบ้านในงวดเดียวกัน จำนวน 13 หมู่บ้าน 600 ครอบครัว ประกอบด้วย ข้าวสาร 4 กิโลกรัม น้ำพริก 1 ถุง บะหมี่สำเร็จรูป 4 ซอง สบู่ 1 ก้อน ยาสีฟัน 1 หลอด แปลงสีฟัน 2 อัน และปลากระป๋องติดฉลากยี่ห้อชาวดอย 5 กระป๋อง รวมเฉพาะปลากระป๋องมีจำนวนทั้งสิ้น 3,000 กระป๋อง
แต่เมื่อชาวบ้านเปิดปลากระป๋องยี่ห้อดังกล่าวรับประทาน กลับมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ตรวจสอบเบื้องต้น จากวันหมดอายุ ที่เหลือกว่า 3 ปี ไม่มีอะไรผิดสังเกต แต่ปัญหาที่สังเกตพบในเบื้องต้น เมื่อนำมาเปิดพิสูจน์ คือส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
ปัญหาลุกลามบานปลายยิ่งขึ้น เมื่อพบความผิดปกติในหลายประเด็น ประเด็นแรก คือการพูดที่ขัดกัน ของเจ้ากระทรวง เมื่อนายวิฑูรย์ ให้ข่าวขัดกันโดยครั้งแรกระบุว่าถุงยังชีพชุดดังกล่าว ทางกระทรวงได้จัดซื้อไปบริจาค ต่อมาการแถลงข่าว ต่อมา นายวิฑูรย์ กลับบอกว่า มีประชาชนซื้อบริจาคให้กับกระทรวงนำไปมอบให้กับชาวบ้านอีกที
ประเด็นที่สอง คือ แหล่งผลิตปลากระป๋อง ที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ทราบแต่เพียงว่า ปลากระป๋องชาวดอย ผลิตโดย บริษัททองกิ่งแก้วฟู๊ดส์ จำกัด อยู่เลขที่ 17/1 หมู่ 5 ต.แคราย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จัดจำหน่ายโดย บริษัท ไทย เอ. ดี. ฟูดส์ จำกัด แต่จากการตรวจสอบของ คณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กลับไม่พบว่ามีการผลิตที่โรงงานของบริษัทกิ่งแก้วฟู๊ดส์ แต่อย่างใด พร้อมกันนี้ ก็ยังไม่พบบริษัทผู้จัดจำหน่ายตามที่ระบุในฉลากอีกด้วย
เมื่อ นายวิฑูรย์ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นให้กระจ่างชัดแก่สังคมโดยเร็ว ผสมโรงกับทางฝ่ายค้านยกระดับขึ้นเป็นประเด็นการเมือง เกาะติดชนิดกัดไม่ปล่อย
ประกอบกับความเสียหายได้เกิดขึ้นกับประชาชน จนยากที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ แม้เจ้าตัวจะยืนยันความบริสุทธิ์ก็ตาม นายวิฑูรย์ ไม่สามารถฝืนกระแสสังคมต่อไปได้ ประกาศลาออกในที่สุด