เอเอฟพี - อิหร่านประกาศว่าได้ปล่อยดาวเทียมที่สร้างขึ้นเองเป็นดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกแล้วเมื่อวันจันทร์ (2) ซึ่งตรงกับวาระ 30 ปีแห่งการปฏิวัติอิสลาม และยังตัดหน้าการประชุมทูต 6 ชาติมหาอำนาจที่จะหารือกันเรื่องการหยุดยั้งไม่ให้อิหร่านเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมในวันอังคาร(3)อีกด้วย
"ชาวอิหร่านทั้งหลาย ลูกหลานของท่านได้ปล่อยดาวเทียมของอิหร่านดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกได้สำเร็จแล้ว การปล่อยดาวเทียมครั้งนี้จึงทำให้สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้ขึ้นไปปรากฏตัวในอวกาศอย่างเป็นทางการ" ประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด แถลงผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ของอิหร่านเมื่อวานนี้ (3)
สำนักข่าวอิหร่านรายงานว่า ดาวเทียม "โอมิด" (ความหวัง) ดวงนี้ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในช่วงเย็นวันจันทร์ (2) โดยอาศัยจรวด "ซาฟีร์-2" ซึ่งอิหร่านสร้างขึ้นเองเช่นกัน เป็นยานนำขึ้นสู่อวกาศ ดาวเทียมดวงนี้จะโคจรรอบโลก 15 รอบในทุก 24 ชั่วโมง
ขณะที่สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของอิหร่านกล่าวว่า โอมิดได้รับการออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและทดสอบเครื่องมืออุปกรณ์ และกำลังดำเนินการทดลอบอุปกรณ์ควบคุมดาวเทียมตลอดจนระบบจ่ายไฟฟ้าของดาวเทียม
การปล่อยดาวเทียมโอมิดครั้งนี้ตรงกับช่วงการเฉลิมฉลองการปฏิวัติอิสลาม 30 ปี และอิหร่านยังคงปฏิเสธข้อเรียกร้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ให้ระงับโครงการนิวเคลียร์
โลกตะวันตกสงสัยว่าอิหร่านกำลังพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์อยู่อย่างลับๆ และยังกลัวว่าโครงการปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศของอิหร่านนั้น อาจเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาจรวดขีปนาวุธพิสัยไกลซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้
ทว่าอิหร่านปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนนั้นมีขึ้นเพื่อพัฒนาพลังงานอย่างสันติ และตนมีสิทธิที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งศัตรูตัวฉกาจอย่างสหรัฐฯ
ด้านอาห์มาดิเนจาดกล่าวว่าดาวเทียมของอิหร่านนั้นเป็นดาวเทียมนำสารแห่ง "สันติภาพและภราดรภาพ" มาสู่โลก และปฏิเสธความเห็นที่ว่าโครงการอวกาศของอิหร่านนั้นมีเป้าหมายในทางการทหาร โดยบอกว่า "โลกยุคนี้ไม่พูดเรื่องเก่าๆ แบบนั้นอีกแล้ว"
"เรามีมุมมองต่อเรื่องเทคโนโลยีในแบบของพระเป็นเจ้า ไม่ใช่แบบของซาตานเหมือนพวกมหาอำนาจที่ครอบงำโลกอยู่" เขาเสริมด้วยว่า "ดาวเทียมและจรวดส่งดาวเทียมล้วนแต่สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิหร่าน และอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของอิหม่ามองค์ที่ 12"
ทั้งนี้ อาห์มาดิเนจาดถือว่าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาระบุด้วยว่าอิหร่านได้ก้าวหน้ามาถึงจุดสูงสุดแม้จะถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติก็ตาม และอิหร่านก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศอีกต่อไป
การปล่อยดาวเทียมครั้งนี้ยังเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนกำหนดการที่พวกนักการทูตอาวุโสจาก 6 ชาติมหาอำนาจจะประชุมกันเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่เยอรมนี โดยจะหารือกันถึงการที่อิหร่านยังคงปฏิเสธที่จะหยุดเพิ่มสมรรถนะแร่ยูเรเนียม
ส่วนบารัค โอบามา เคยกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วหลังจากที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าเขาตั้งใจที่จะยื่นมือทางการทูตไปให้อิหร่าน หลังจากที่ทั้งสองประเทศตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันมานาน 30 ปี
ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว อิหร่านได้ส่งจรวดซาฟีร์-2ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก จรวดดังกล่าวมีความยาวราว 22 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.25 เมตร และหนักกว่า 26 ตัน
นอกจากนั้น อิหร่านยังได้พัฒนาจรวดขีปนาวุธ "ชาฮับ-3" ที่มีอานุภาพสูงสุด และมีพิสัยทำการถึง 2,000 กิโลเมตร โดยอิหร่านคุยว่าสามารถจะเข้าทำลายศัตรูของอิหร่านคืออิสราเอลและกองกำลังของสหรัฐฯ ในภูมิภาคตะวันออกกลางได้โดยง่าย
"ชาวอิหร่านทั้งหลาย ลูกหลานของท่านได้ปล่อยดาวเทียมของอิหร่านดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกได้สำเร็จแล้ว การปล่อยดาวเทียมครั้งนี้จึงทำให้สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้ขึ้นไปปรากฏตัวในอวกาศอย่างเป็นทางการ" ประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด แถลงผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ของอิหร่านเมื่อวานนี้ (3)
สำนักข่าวอิหร่านรายงานว่า ดาวเทียม "โอมิด" (ความหวัง) ดวงนี้ ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในช่วงเย็นวันจันทร์ (2) โดยอาศัยจรวด "ซาฟีร์-2" ซึ่งอิหร่านสร้างขึ้นเองเช่นกัน เป็นยานนำขึ้นสู่อวกาศ ดาวเทียมดวงนี้จะโคจรรอบโลก 15 รอบในทุก 24 ชั่วโมง
ขณะที่สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของอิหร่านกล่าวว่า โอมิดได้รับการออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและทดสอบเครื่องมืออุปกรณ์ และกำลังดำเนินการทดลอบอุปกรณ์ควบคุมดาวเทียมตลอดจนระบบจ่ายไฟฟ้าของดาวเทียม
การปล่อยดาวเทียมโอมิดครั้งนี้ตรงกับช่วงการเฉลิมฉลองการปฏิวัติอิสลาม 30 ปี และอิหร่านยังคงปฏิเสธข้อเรียกร้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ให้ระงับโครงการนิวเคลียร์
โลกตะวันตกสงสัยว่าอิหร่านกำลังพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์อยู่อย่างลับๆ และยังกลัวว่าโครงการปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศของอิหร่านนั้น อาจเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาจรวดขีปนาวุธพิสัยไกลซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้
ทว่าอิหร่านปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนนั้นมีขึ้นเพื่อพัฒนาพลังงานอย่างสันติ และตนมีสิทธิที่จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งศัตรูตัวฉกาจอย่างสหรัฐฯ
ด้านอาห์มาดิเนจาดกล่าวว่าดาวเทียมของอิหร่านนั้นเป็นดาวเทียมนำสารแห่ง "สันติภาพและภราดรภาพ" มาสู่โลก และปฏิเสธความเห็นที่ว่าโครงการอวกาศของอิหร่านนั้นมีเป้าหมายในทางการทหาร โดยบอกว่า "โลกยุคนี้ไม่พูดเรื่องเก่าๆ แบบนั้นอีกแล้ว"
"เรามีมุมมองต่อเรื่องเทคโนโลยีในแบบของพระเป็นเจ้า ไม่ใช่แบบของซาตานเหมือนพวกมหาอำนาจที่ครอบงำโลกอยู่" เขาเสริมด้วยว่า "ดาวเทียมและจรวดส่งดาวเทียมล้วนแต่สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิหร่าน และอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของอิหม่ามองค์ที่ 12"
ทั้งนี้ อาห์มาดิเนจาดถือว่าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาระบุด้วยว่าอิหร่านได้ก้าวหน้ามาถึงจุดสูงสุดแม้จะถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติก็ตาม และอิหร่านก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศอีกต่อไป
การปล่อยดาวเทียมครั้งนี้ยังเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนกำหนดการที่พวกนักการทูตอาวุโสจาก 6 ชาติมหาอำนาจจะประชุมกันเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่เยอรมนี โดยจะหารือกันถึงการที่อิหร่านยังคงปฏิเสธที่จะหยุดเพิ่มสมรรถนะแร่ยูเรเนียม
ส่วนบารัค โอบามา เคยกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วหลังจากที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าเขาตั้งใจที่จะยื่นมือทางการทูตไปให้อิหร่าน หลังจากที่ทั้งสองประเทศตัดขาดความสัมพันธ์ทางการทูตกันมานาน 30 ปี
ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว อิหร่านได้ส่งจรวดซาฟีร์-2ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก จรวดดังกล่าวมีความยาวราว 22 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.25 เมตร และหนักกว่า 26 ตัน
นอกจากนั้น อิหร่านยังได้พัฒนาจรวดขีปนาวุธ "ชาฮับ-3" ที่มีอานุภาพสูงสุด และมีพิสัยทำการถึง 2,000 กิโลเมตร โดยอิหร่านคุยว่าสามารถจะเข้าทำลายศัตรูของอิหร่านคืออิสราเอลและกองกำลังของสหรัฐฯ ในภูมิภาคตะวันออกกลางได้โดยง่าย