ASTVผู้จัดการรายวัน- กมธ.วุฒิเปิดเวที ถกเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ส.ว.-กลุ่มผู้ประกอบการเดินรถเอกชน- เครือข่ายต้านขึ้นค่าโดยสาร รุมจวกขสมก.แหลก เหตุค่าเช่าแพงเกิน ส่อล็อกสเป็กจนไม่เกิดการแข่งขัน ขณะที่ “พิเณศวร์” โต้ทุกอย่างทำตามขั้นตอน และโปร่งใส ยันต้องเดินหน้าต่อ คาดสัปดาห์หน้าเสนอบอร์ดพิจารณาได้
วานนี้ (3 ก.พ.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับคณะกรรมาธิการการพลังงาน คณะกรรมาธิการการคมนาคม คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “รถเมล์ NGV 4,000 คัน ใครได้ใครเสีย ” โดยเชิญนายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ผู้ประกอบการรถร่วมขสมก. ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และส.ว.เข้าร่วมระดมความคิดเห็น
ทั้งนี้ ผู้ร่วมประชุมส่วนใหญ่ต่างคัดค้านโครงการดังกล่าวว่าไม่เหมาะสม มีราคาเช่าที่สูงเกินไป ล็อกสเป็ก จนไม่เกิดการแข่งขัน ซึ่งบรรยากาศในวงสัมมนาทุกฝ่ายต่างรุมถล่มโครงการดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าทำแล้วต้องขาดทุน แต่ก็ยังจะเดินหน้า ทำให้นายพิเณศวร์ได้ทำการโต้แย้งข้อมูลเป็นระยะๆ ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการเอกชนและเครือข่ายต่อต้านการขึ้นค่าโดยสารส่งเสียงโห่ฮาด้วยความไม่พอใจ
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า รวมแล้วค่าเช่าตกคันละ 5-6 ล้านบาท จนมีเสียงร่ำลือว่ามีคนได้ประโยชน์ อยากให้ปรับราคาค่าเช่าลงมา และเชื่อว่าคนที่จะได้งานโครงการนี้จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อยคงไม่สามารถทำได้
นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะจะเป็นการลดมลภาวะในกทม. เพราะเป็นการใช้ก๊าซเอ็นจีวี แต่สเปกหลายอย่างที่ตั้งไว้ ไม่เหมาะกับวิถีคนไทย เช่น ระบบการเก็บเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ทิกเก็ต) และมีข้อสังเกตว่าทำไมขสมก.จึงทำสัญญาเช่าซื้อเพียงสัญญาเดียว ทำไมไม่แยกเป็นหลายสัญญา เพราะมีการใช้อู่ถึง 24 อู่ในการต่อรถ เพราะจะเปิดให้มีการแข่งขันมากกว่านี้ ทำให้ราคาลดลงมาอีก
ขณะที่นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการร่างทีโออาร์ได้นำร่างทีโออาร์ลงประกาศในเวปไซต์แล้ว แต่ยังมีข้อมูลเพิ่มเติม เช่น การจัดหารถที่ประกอบภายในประเทศ รวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็ก ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งคณะกรรมการร่างทีโออาร์จะประชุมในรอบที่ 4 เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลทั้งหมด เดิมมีกำหนดส่งข้อสรุปให้คณะกรรมการขสมก พิจารณาภายในสัปดาห์นี้ แต่คงไม่ทัน คาดว่าน่าจะเป็นสัปดาห์หน้า ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่หลักการที่ขสมก.ยังยืนยัน คือ รถเมล์ที่ใกล้ปลดระวางแล้วต้องเอาออกไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นต่างกัน คือ เรื่องวิธีการจัดหาที่จะต้องดำเนินการให้โปร่งใส ซึ่งขสมก. ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเปิดประมูลผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชั่น ถึง 4 ครั้ง จึงไม่น่าสงสัยถึงเรื่องความโปร่งใส
ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเช่าที่มีราคาแพงเกินไปนั้น ผู้ที่ไม่เห็นด้วย คือ กลุ่มผลประโยชน์ อย่างกลุ่มผู้ประกอบการเดินรถและกลุ่มผู้ประกอบตัวรถ ซึ่งคนที่วิจารณ์ไปเอาคุณสมบัติที่ขสมก.ตั้งไว้สูงมาเทียบเคียงกับคุณสมบัติของรถทั่วไป ทั้งที่รถเหล่านั้นไม่มีระบบจีพีเอส จีพีอาร์เอส ระบบถุงลม เกียร์ออโต ซึ่งขสมก. ได้พยายามชี้แจงข้อมูลให้สาธารณรับทราบ ส่วนการแสดงความเป็นห่วงประเทศยังมีปัญหาด้านการเงินและไม่ควรเดินหน้าโครงการ เห็นว่าโครงการนี้เป็นการหารายได้จากค่าโดยสารแต่ละเดือนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่ารถ ซึ่งถือว่าคุ้ม เพราะสามารถขยายเส้นทางการให้บริการแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้น
วานนี้ (3 ก.พ.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับคณะกรรมาธิการการพลังงาน คณะกรรมาธิการการคมนาคม คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “รถเมล์ NGV 4,000 คัน ใครได้ใครเสีย ” โดยเชิญนายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ผู้ประกอบการรถร่วมขสมก. ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และส.ว.เข้าร่วมระดมความคิดเห็น
ทั้งนี้ ผู้ร่วมประชุมส่วนใหญ่ต่างคัดค้านโครงการดังกล่าวว่าไม่เหมาะสม มีราคาเช่าที่สูงเกินไป ล็อกสเป็ก จนไม่เกิดการแข่งขัน ซึ่งบรรยากาศในวงสัมมนาทุกฝ่ายต่างรุมถล่มโครงการดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าทำแล้วต้องขาดทุน แต่ก็ยังจะเดินหน้า ทำให้นายพิเณศวร์ได้ทำการโต้แย้งข้อมูลเป็นระยะๆ ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการเอกชนและเครือข่ายต่อต้านการขึ้นค่าโดยสารส่งเสียงโห่ฮาด้วยความไม่พอใจ
นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี กล่าวว่า รวมแล้วค่าเช่าตกคันละ 5-6 ล้านบาท จนมีเสียงร่ำลือว่ามีคนได้ประโยชน์ อยากให้ปรับราคาค่าเช่าลงมา และเชื่อว่าคนที่จะได้งานโครงการนี้จะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อยคงไม่สามารถทำได้
นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะจะเป็นการลดมลภาวะในกทม. เพราะเป็นการใช้ก๊าซเอ็นจีวี แต่สเปกหลายอย่างที่ตั้งไว้ ไม่เหมาะกับวิถีคนไทย เช่น ระบบการเก็บเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ทิกเก็ต) และมีข้อสังเกตว่าทำไมขสมก.จึงทำสัญญาเช่าซื้อเพียงสัญญาเดียว ทำไมไม่แยกเป็นหลายสัญญา เพราะมีการใช้อู่ถึง 24 อู่ในการต่อรถ เพราะจะเปิดให้มีการแข่งขันมากกว่านี้ ทำให้ราคาลดลงมาอีก
ขณะที่นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการร่างทีโออาร์ได้นำร่างทีโออาร์ลงประกาศในเวปไซต์แล้ว แต่ยังมีข้อมูลเพิ่มเติม เช่น การจัดหารถที่ประกอบภายในประเทศ รวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็ก ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งคณะกรรมการร่างทีโออาร์จะประชุมในรอบที่ 4 เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลทั้งหมด เดิมมีกำหนดส่งข้อสรุปให้คณะกรรมการขสมก พิจารณาภายในสัปดาห์นี้ แต่คงไม่ทัน คาดว่าน่าจะเป็นสัปดาห์หน้า ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่หลักการที่ขสมก.ยังยืนยัน คือ รถเมล์ที่ใกล้ปลดระวางแล้วต้องเอาออกไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นต่างกัน คือ เรื่องวิธีการจัดหาที่จะต้องดำเนินการให้โปร่งใส ซึ่งขสมก. ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเปิดประมูลผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออคชั่น ถึง 4 ครั้ง จึงไม่น่าสงสัยถึงเรื่องความโปร่งใส
ส่วนการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเช่าที่มีราคาแพงเกินไปนั้น ผู้ที่ไม่เห็นด้วย คือ กลุ่มผลประโยชน์ อย่างกลุ่มผู้ประกอบการเดินรถและกลุ่มผู้ประกอบตัวรถ ซึ่งคนที่วิจารณ์ไปเอาคุณสมบัติที่ขสมก.ตั้งไว้สูงมาเทียบเคียงกับคุณสมบัติของรถทั่วไป ทั้งที่รถเหล่านั้นไม่มีระบบจีพีเอส จีพีอาร์เอส ระบบถุงลม เกียร์ออโต ซึ่งขสมก. ได้พยายามชี้แจงข้อมูลให้สาธารณรับทราบ ส่วนการแสดงความเป็นห่วงประเทศยังมีปัญหาด้านการเงินและไม่ควรเดินหน้าโครงการ เห็นว่าโครงการนี้เป็นการหารายได้จากค่าโดยสารแต่ละเดือนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่ารถ ซึ่งถือว่าคุ้ม เพราะสามารถขยายเส้นทางการให้บริการแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้น