นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายวิฑุรย์ นามบุตร รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถูกโจมตีบริจาคปลากระป๋องเน่าให้ผู้ประสพภัยว่า จากการฟังนายวิฑุรย์ชี้แจงในสภาก็เห็นว่าแข็งแรงดี ส่วนที่ฝ่ายค้านอ้างว่าชี้แจงไม่เคลียร์นั้นก็ต้องดำเนินการกันต่อไป
เมื่อนายกฯกลับมาจากดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ แล้วก็จะปรึกษาหารือกัน แต่เรื่องอย่างนี้ปล่อยไว้คาใจประชาชนไม่ได้ ต้องสะสางให้ชัดเจน ซึ่งจะผิดหรือไม่ผมยังไม่รู้ เพราะต้องดูจากพยานหลักฐานทั้งหลาย แต่สิ่งที่เสียหายแล้วขณะนี้คือมันเสียความรู้สึกของประชาชน โดยเฉพาะคนที่เขาเดือดร้อนอยู่
ส่วนที่วิจารณ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ตื่นตัวกับการจัดการเรื่องทุจริตน้อยลงนั้น นายสุเทพ ยืนยันว่าไม่ใช่ เราต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหานำเอกสาร หลักฐานมาชี้แจง เพราะถ้าเราเล่นตามเกมฝ่ายค้านก็คงถูกเขากล่าวหาทุกวัน อีกหน่อยต้องปรับ ครม.กันหมด อย่ากังวลใจถ้าผิดก็ผิด ถ้าไม่ผิดก็ไม่ผิด
สำหรับกรณีนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แจกเงินนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชัดเจน ที่สื่อเสนอช่าวและที่ฝ่ายค้านออกมาพูดยังห่างความเป็นจริงที่นายบุญจงออกมายืนยัน ดังนั้นเมื่อเสนอให้ ป.ป.ช.และ สตง.ไปตรวจสอบก็เป็นสิ่งที่ดี
ส่วนที่มีการเปิดข้อมูลออกมาว่า นอกจากแจกนามบัตรแล้วยังแนบใบสมัครสมาชิกพรรคภูมิใจไทยไปด้วย นายสุเทพ กล่าวว่า ตนเพิ่งได้ยินเรื่องนี้ และไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ว่านำงบประมาณของรัฐไปสร้างความนิยมให้ตัวเอง
ผมคิดว่าการซื้อของไปแจกประชาชนควรเลิกได้แล้ว ถ้าจะช่วยผู้เดือดร้อนควรช่วยเป็นเงินเลยดีกว่า เขาจะได้นำไปซื้อสิ่งที่จำเป็นกับเขา แล้วมันไม่รั่วไหลด้วย ซึ่งแนวคิดนี้ต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล
ด้าน นายวิฑูรย์ นามบุตร ยังคงยืนยันว่าไม่ได้ทุจริตการแจกปลากระป๋องเนา โดยชี้แจงแยกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.เมื่อเริ่มการจ่ายถุงยังชีพและทราบว่ามีปลากระป๋องเน่า ก็เร่งรีบแก้ปัญหาทันที โดยให้ระงับถุงยังชีพอีก 3,000 กว่าถุงไว้ก่อน 2.กรณีผู้ผลิต ได้เร่งประสานให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อเอาผิดเจ้าของผู้ผลิต ซึ่งได้รับความร่วมมือ แต่กลับพบว่า มีผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ผลไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานจากแหล่งผลิตโรงงานเดียวกันด้วย 3.ตนได้สนับสนุนตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตนและผู้เกี่ยวข้อง 7 ชุด มีกรรมาธิการฯของสภา 2 ชุด ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 2 ชุด และองค์กรอิสระและหน่วยราชการอื่น 3 ชุด โดยตนยืนยันว่า ถ้ามีมูลความผิด มีการทุจริตก็จะลาออกและเลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต
นายวิฑูรย์ ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ส่งสัญญาณให้ลาออกก่อนกลับจาก สวิตเซอร์แลนด์ เพราะท่านไม่เคยเรียกไปพบ เพียงแต่ก่อนหน้านี้เคยถามว่า มีการใช้งบฯ จัดซื้อถุงยังชีพหรือไม่ ตนชี้แจงว่า ยังไม่มีการจัดซื้อเลยตั้งแต่มารับตำแหน่ง
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า นายวิฑูรย์ นามบุตร ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการ ป.ป.ช.ขอให้ช่วยตรวจสอบปัญหาปลากระป๋องเน่าที่นำไปแจกประชน เนื่องจากเรื่องดังกล่าวสร้างความเสื่อมเสีย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แต่หนังสือดังกล่าวยังไม่เข้าข่ายเป็นคำร้อง จึงให้ทำหนังสือแจ้งกลับไปยังนายวิฑูรย์ให้ทำรายละเอียดกรณีดังกล่าวส่งมาให้ป.ป.ช.อีกครั้ง
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ต้องการกล่าวหาใคร มีลักษณะทำความผิดอย่างไร ต้องแจ้งมาให้ชัดเจน เพื่อให้ป.ป.ช.นำมาเป็นข้อมูลตรวจสอบ ขณะเดียวกันเรื่องนี้ ป.ป.ช.เองก็มีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นกรณีการแจกปลากระป๋องเน่าจากสื่อมวลชนไ ว้แล้วเช่นกัน แต่เบื้องต้นทราบเพียงว่า มีการแจกปลากระป๋องเน่าแก่ประชาชนเท่านั้น ยังไม่ทราบรายละเอียดว่า มีการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามที่มีการกล่าวหาหรือไม่ จึงต้องรอข้อมูลประกอบจากนายวิฑูรย์ก่อน เพื่อนำมาพิจารณาตรวจสอบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (30 ม.ค.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยฝ่ายกฎหมาย ได้เดินทางมายื่นเอกสารและหลักฐานเพิ่มเติม กรณีนายบุญจง แจกเงินพร้อมกับนามบัตร กับ ป.ป.ช.
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ได้นำซีดีพร้อมกับรายชื่อพยานบุคคลมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยในซีดีเป็นภาพภรรยานายบุญจง ซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่มีส่วนเกี่ยวข้อง ถือเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 157 ส่วนการแจกเงินนั้นไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อพยานบุคคลได้ เพราะอยู่ในพื้นที่ของนายบุญจง เกรงว่าจะได้รับอันตราย
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกฎหมายพบว่า การแจกเงินให้กับประชาชน 200 คน คนละ 500 บาท มีจำนวนหนึ่งที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับเงิน แต่เป็นหัวคะแนนของ นายบุญจง มารับแทน มีการเอื้อประโยชน์ให้กับฐานเสียง และเกี่ยวโยงกับการหาสมาชิกพรรคภูมิใจไทย
ด้านนายคารม พลทะกลาง ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในหลักฐาน ที่มายื่นให้กับ ป.ป.ช.ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการแจกใบสมัครพรรคภูมิใจไทย แต่เท่าที่ทราบ จากคนในพื้นที่ แม้จะไม่มีการแจกใบสมัคร แต่มีการโน้มน้าวใจให้ย้ายหรือไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย เกี่ยวข้องกับการหาสมาชิก จึงอยากให้ กกต.เข้าไปตรวจสอบ โดยเฉพาะเป็นการโน้มน้าวใจในวันที่มีการแจกเงิน
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และนายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าวกรณีรัฐมนตรี 3 คนลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ขัดรัฐธรรมนูญ ม.177 ที่ห้ามรัฐมนตรีลงมติใดๆ ในเรื่องที่ตนเองมีส่วนได้ส่วยเสีย
นายสุรพงษ์ เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นคงมาจากรัฐมนตรีใหม่ 3 คนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็เข้าข่ายกระทำผิด ซึ่งที่ผ่านมานายกฯพร่ำพูดถึงกฎ 9 ข้อ มีข้อหนึ่งที่ระบุให้รัฐมนตรีต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองสูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย ดังนั้น ขอให้รัฐมนตรี 3 คน ได้คิดทบทวนในวันเสาร์-อาทิตย์นี้ก่อนแสดงความรับผิดชอบโดยลาออกจากตำแหน่ง และขอให้นายกฯ อย่ากลืนน้ำลายตัวเอง เมื่อกลับจากต่างประเทศแล้วต้องปรับรัฐมนตรี 3 คนนี้ออก รวมถึงนายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.การพัฒนาสังคมฯ กรณีปลากระป๋องเน่า รวมทั้งนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กรณีแจกเงินช่วยเหลือคนจนพร้อมแนบน้ำบัตร
ด้านนายประชา เรียกร้องให้นายกฯ แสดงความรับผิดชอบ อาจออกมาขอโทษ ลาออก หรือยุบสภา ปรับ ครม.ที่ไม่ทำให้เะสียหน้า
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่ส.ส.ฝ่ายค้านจะยื่นถอดถอนรัฐมนตรีที่ลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะอาจขัดรัฐธรรมนูญ ม.177 ว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ยกตัวอย่าง สมมติว่ามีคนเอาหนังสติ๊กไปยิงไก่ แล้วไก่วิ่งไปชนหม้อแก้วหก อย่างนี้จะไปโทษคนยิ่งไก่ได้อย่างไร อย่างไรก็ตามหาก ส.ส.ยื่นเรื่องมาตนก็พร้อมทำหน้าที่แล้วส่งให้ ป.ป.ช.หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ชาด เมื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาก็มีรัฐมนตรีเคยลงมติในลักษณะนี้เหมือนกัน เมื่อมีการเสนอร่างกฎหมายเข้ามา ส.ส.ก็มีอำนาจในการผ่านกฎหมาย ถ้าไม่ทำก็ถูกกล่าวหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่
ความหมายของคำว่า มีส่วนได้เสีย ในเรื่องนี้ คือ งบฯที่ลงไปอยู่ใน โครงการแล้ว ส.ส.มีส่วนได้เสียโดยตรง แต่ถ้างบฯโดยรวมแสนกว่าล้านบาท แล้วนำไปใช้กับประชาชนทั่วประเทศอย่างนี้ก็ต้องดูว่าโดยตรงหรือไม่ ส่วนคำว่า ทางอ้อม ก็ต้องส่งเรื่องไปให้ตีความว่า ทางอ้อม คืออะไร
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา มองว่า เท่าที่ดูน่าจะเข้าข่ายขัด รัฐธรรมนูญ ม. 177 วรรค 3 ซึ่งจะทำให้ ส.ส.ใช้สิทธิยื่นตาม ม.270 เพราะเห็นว่ารัฐมนตรีใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยแค่เพียง ส่อว่าจงใจก็ยื่น ป.ป.ช.ได้ แต่ถ้ายื่นตาม ม.275 คือ ยื่นให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าศาลรับคำรองก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ว่า ส.ส. รัฐมนตรีหรือ ส.ว.ต้องนระมัดระวังมากขึ้น
ส่วนที่ กกต.ระบุว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบกรณีนายบุญจง แจกเงินและนามบัตร ที่ได้ยื่นไปตาตาม ม.266นั้น นายเรืองไกร กล่าวว่า กกต.แต่ละคนก็เห็นไม่สอดคล้องกัน แต่ทุกอย่างอยู่ที่ ม.266 ที่ต้องตีความว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อม
สำหรับกรณีนายวิฑูรย์ นามบุตรนั้น นายเรืองไกร กล่าวว่า เท่าที่ฟังคำชี้แจงหลายครั้งแต่ละข้อมูลก็ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นก่อนพูดนายวิฑูรย์ต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนก่อน
เมื่อนายกฯกลับมาจากดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ แล้วก็จะปรึกษาหารือกัน แต่เรื่องอย่างนี้ปล่อยไว้คาใจประชาชนไม่ได้ ต้องสะสางให้ชัดเจน ซึ่งจะผิดหรือไม่ผมยังไม่รู้ เพราะต้องดูจากพยานหลักฐานทั้งหลาย แต่สิ่งที่เสียหายแล้วขณะนี้คือมันเสียความรู้สึกของประชาชน โดยเฉพาะคนที่เขาเดือดร้อนอยู่
ส่วนที่วิจารณ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ตื่นตัวกับการจัดการเรื่องทุจริตน้อยลงนั้น นายสุเทพ ยืนยันว่าไม่ใช่ เราต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหานำเอกสาร หลักฐานมาชี้แจง เพราะถ้าเราเล่นตามเกมฝ่ายค้านก็คงถูกเขากล่าวหาทุกวัน อีกหน่อยต้องปรับ ครม.กันหมด อย่ากังวลใจถ้าผิดก็ผิด ถ้าไม่ผิดก็ไม่ผิด
สำหรับกรณีนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แจกเงินนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชัดเจน ที่สื่อเสนอช่าวและที่ฝ่ายค้านออกมาพูดยังห่างความเป็นจริงที่นายบุญจงออกมายืนยัน ดังนั้นเมื่อเสนอให้ ป.ป.ช.และ สตง.ไปตรวจสอบก็เป็นสิ่งที่ดี
ส่วนที่มีการเปิดข้อมูลออกมาว่า นอกจากแจกนามบัตรแล้วยังแนบใบสมัครสมาชิกพรรคภูมิใจไทยไปด้วย นายสุเทพ กล่าวว่า ตนเพิ่งได้ยินเรื่องนี้ และไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ว่านำงบประมาณของรัฐไปสร้างความนิยมให้ตัวเอง
ผมคิดว่าการซื้อของไปแจกประชาชนควรเลิกได้แล้ว ถ้าจะช่วยผู้เดือดร้อนควรช่วยเป็นเงินเลยดีกว่า เขาจะได้นำไปซื้อสิ่งที่จำเป็นกับเขา แล้วมันไม่รั่วไหลด้วย ซึ่งแนวคิดนี้ต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล
ด้าน นายวิฑูรย์ นามบุตร ยังคงยืนยันว่าไม่ได้ทุจริตการแจกปลากระป๋องเนา โดยชี้แจงแยกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.เมื่อเริ่มการจ่ายถุงยังชีพและทราบว่ามีปลากระป๋องเน่า ก็เร่งรีบแก้ปัญหาทันที โดยให้ระงับถุงยังชีพอีก 3,000 กว่าถุงไว้ก่อน 2.กรณีผู้ผลิต ได้เร่งประสานให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการตรวจสอบ เพื่อเอาผิดเจ้าของผู้ผลิต ซึ่งได้รับความร่วมมือ แต่กลับพบว่า มีผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ผลไม้ที่ไม่ได้มาตรฐานจากแหล่งผลิตโรงงานเดียวกันด้วย 3.ตนได้สนับสนุนตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตนและผู้เกี่ยวข้อง 7 ชุด มีกรรมาธิการฯของสภา 2 ชุด ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 2 ชุด และองค์กรอิสระและหน่วยราชการอื่น 3 ชุด โดยตนยืนยันว่า ถ้ามีมูลความผิด มีการทุจริตก็จะลาออกและเลิกเล่นการเมืองตลอดชีวิต
นายวิฑูรย์ ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ส่งสัญญาณให้ลาออกก่อนกลับจาก สวิตเซอร์แลนด์ เพราะท่านไม่เคยเรียกไปพบ เพียงแต่ก่อนหน้านี้เคยถามว่า มีการใช้งบฯ จัดซื้อถุงยังชีพหรือไม่ ตนชี้แจงว่า ยังไม่มีการจัดซื้อเลยตั้งแต่มารับตำแหน่ง
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า นายวิฑูรย์ นามบุตร ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการ ป.ป.ช.ขอให้ช่วยตรวจสอบปัญหาปลากระป๋องเน่าที่นำไปแจกประชน เนื่องจากเรื่องดังกล่าวสร้างความเสื่อมเสีย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แต่หนังสือดังกล่าวยังไม่เข้าข่ายเป็นคำร้อง จึงให้ทำหนังสือแจ้งกลับไปยังนายวิฑูรย์ให้ทำรายละเอียดกรณีดังกล่าวส่งมาให้ป.ป.ช.อีกครั้ง
นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ต้องการกล่าวหาใคร มีลักษณะทำความผิดอย่างไร ต้องแจ้งมาให้ชัดเจน เพื่อให้ป.ป.ช.นำมาเป็นข้อมูลตรวจสอบ ขณะเดียวกันเรื่องนี้ ป.ป.ช.เองก็มีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นกรณีการแจกปลากระป๋องเน่าจากสื่อมวลชนไ ว้แล้วเช่นกัน แต่เบื้องต้นทราบเพียงว่า มีการแจกปลากระป๋องเน่าแก่ประชาชนเท่านั้น ยังไม่ทราบรายละเอียดว่า มีการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามที่มีการกล่าวหาหรือไม่ จึงต้องรอข้อมูลประกอบจากนายวิฑูรย์ก่อน เพื่อนำมาพิจารณาตรวจสอบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (30 ม.ค.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยฝ่ายกฎหมาย ได้เดินทางมายื่นเอกสารและหลักฐานเพิ่มเติม กรณีนายบุญจง แจกเงินพร้อมกับนามบัตร กับ ป.ป.ช.
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ได้นำซีดีพร้อมกับรายชื่อพยานบุคคลมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยในซีดีเป็นภาพภรรยานายบุญจง ซึ่งไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่มีส่วนเกี่ยวข้อง ถือเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 157 ส่วนการแจกเงินนั้นไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อพยานบุคคลได้ เพราะอยู่ในพื้นที่ของนายบุญจง เกรงว่าจะได้รับอันตราย
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกฎหมายพบว่า การแจกเงินให้กับประชาชน 200 คน คนละ 500 บาท มีจำนวนหนึ่งที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับเงิน แต่เป็นหัวคะแนนของ นายบุญจง มารับแทน มีการเอื้อประโยชน์ให้กับฐานเสียง และเกี่ยวโยงกับการหาสมาชิกพรรคภูมิใจไทย
ด้านนายคารม พลทะกลาง ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในหลักฐาน ที่มายื่นให้กับ ป.ป.ช.ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับการแจกใบสมัครพรรคภูมิใจไทย แต่เท่าที่ทราบ จากคนในพื้นที่ แม้จะไม่มีการแจกใบสมัคร แต่มีการโน้มน้าวใจให้ย้ายหรือไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย เกี่ยวข้องกับการหาสมาชิก จึงอยากให้ กกต.เข้าไปตรวจสอบ โดยเฉพาะเป็นการโน้มน้าวใจในวันที่มีการแจกเงิน
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และนายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าวกรณีรัฐมนตรี 3 คนลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ขัดรัฐธรรมนูญ ม.177 ที่ห้ามรัฐมนตรีลงมติใดๆ ในเรื่องที่ตนเองมีส่วนได้ส่วยเสีย
นายสุรพงษ์ เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นคงมาจากรัฐมนตรีใหม่ 3 คนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็เข้าข่ายกระทำผิด ซึ่งที่ผ่านมานายกฯพร่ำพูดถึงกฎ 9 ข้อ มีข้อหนึ่งที่ระบุให้รัฐมนตรีต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองสูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย ดังนั้น ขอให้รัฐมนตรี 3 คน ได้คิดทบทวนในวันเสาร์-อาทิตย์นี้ก่อนแสดงความรับผิดชอบโดยลาออกจากตำแหน่ง และขอให้นายกฯ อย่ากลืนน้ำลายตัวเอง เมื่อกลับจากต่างประเทศแล้วต้องปรับรัฐมนตรี 3 คนนี้ออก รวมถึงนายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.การพัฒนาสังคมฯ กรณีปลากระป๋องเน่า รวมทั้งนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กรณีแจกเงินช่วยเหลือคนจนพร้อมแนบน้ำบัตร
ด้านนายประชา เรียกร้องให้นายกฯ แสดงความรับผิดชอบ อาจออกมาขอโทษ ลาออก หรือยุบสภา ปรับ ครม.ที่ไม่ทำให้เะสียหน้า
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่ส.ส.ฝ่ายค้านจะยื่นถอดถอนรัฐมนตรีที่ลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะอาจขัดรัฐธรรมนูญ ม.177 ว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ยกตัวอย่าง สมมติว่ามีคนเอาหนังสติ๊กไปยิงไก่ แล้วไก่วิ่งไปชนหม้อแก้วหก อย่างนี้จะไปโทษคนยิ่งไก่ได้อย่างไร อย่างไรก็ตามหาก ส.ส.ยื่นเรื่องมาตนก็พร้อมทำหน้าที่แล้วส่งให้ ป.ป.ช.หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ชาด เมื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาก็มีรัฐมนตรีเคยลงมติในลักษณะนี้เหมือนกัน เมื่อมีการเสนอร่างกฎหมายเข้ามา ส.ส.ก็มีอำนาจในการผ่านกฎหมาย ถ้าไม่ทำก็ถูกกล่าวหาละเว้นปฏิบัติหน้าที่
ความหมายของคำว่า มีส่วนได้เสีย ในเรื่องนี้ คือ งบฯที่ลงไปอยู่ใน โครงการแล้ว ส.ส.มีส่วนได้เสียโดยตรง แต่ถ้างบฯโดยรวมแสนกว่าล้านบาท แล้วนำไปใช้กับประชาชนทั่วประเทศอย่างนี้ก็ต้องดูว่าโดยตรงหรือไม่ ส่วนคำว่า ทางอ้อม ก็ต้องส่งเรื่องไปให้ตีความว่า ทางอ้อม คืออะไร
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา มองว่า เท่าที่ดูน่าจะเข้าข่ายขัด รัฐธรรมนูญ ม. 177 วรรค 3 ซึ่งจะทำให้ ส.ส.ใช้สิทธิยื่นตาม ม.270 เพราะเห็นว่ารัฐมนตรีใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยแค่เพียง ส่อว่าจงใจก็ยื่น ป.ป.ช.ได้ แต่ถ้ายื่นตาม ม.275 คือ ยื่นให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าศาลรับคำรองก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ว่า ส.ส. รัฐมนตรีหรือ ส.ว.ต้องนระมัดระวังมากขึ้น
ส่วนที่ กกต.ระบุว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบกรณีนายบุญจง แจกเงินและนามบัตร ที่ได้ยื่นไปตาตาม ม.266นั้น นายเรืองไกร กล่าวว่า กกต.แต่ละคนก็เห็นไม่สอดคล้องกัน แต่ทุกอย่างอยู่ที่ ม.266 ที่ต้องตีความว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อม
สำหรับกรณีนายวิฑูรย์ นามบุตรนั้น นายเรืองไกร กล่าวว่า เท่าที่ฟังคำชี้แจงหลายครั้งแต่ละข้อมูลก็ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นก่อนพูดนายวิฑูรย์ต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนก่อน