ASTVผู้จัดการรายวัน – ฟาติมาฯชูธงสู่ผู้นำ มัลติมีเดีย พร้อมรุกสู่วิทยุดิจิตอล วางงบ 100 ล้านบาท ใน 3 ปี ปูพรม 5 คลื่น เปิดกว้างทั้งร่วมทุนและให้เช่าเวลา ประเดิมคลื่นดิจิตอล เอฟเอ็ม 105 คลื่นข่าว ก่อนเปิดตัวคลื่นเพลงสากลกลางปีนี้
นางสาวรวิวรรณ จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯวางวิสัยทัศน์ให้เป็นผู้นำสื่อที่หลากหลายแบบ “มัลติมีเดีย” ไม่ว่าจะเป็น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ โมบายคอนเท้นต์ หรือวิทยุดิจิตอล ในโอกาสที่บริษัทฯครบ 20 ปีในปีนี้ ซึ่งบริษัทฯมีจุดแข็งของการเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานวิทยุดิจิตอลจากกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เพียงรายเดียวในไทย
ขณะที่วิทยุระบบอนาล็อคนั้นที่บริษัทฯได้สัมปทานอีกว่า 10 คลื่นทั่วประเทศ แผนดำเนินงานปีนี้จะเน้นการขายสปอตโฆษณาเป็นหลักควบคู่กับการทำกิจกรรม เพื่อดึงโฆษณาเข้ามา ทั้งนี้คาดว่ารายได้ปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 15% โดยมีรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากการโฆษณา 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% มาจากการจัดกิจกรรม
โดยบริษัทฯได้ทำการศึกษาธุรกิจวิทยุดิจิตอลมานานกว่า 3 ปีแล้ว หลังจากที่ตนได้เข้ามาร่วมงานเมื่อกลางปีที่แล้ว และได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานทางด้านวิทยุใหม่ และขณะนี้มีความพร้อมทั้งตัวบริษัทฯและตลาดเองด้วย
เนื่องจากเครื่องรับวิทยุระบบดิจิตอลแพร่หลายมากขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจลงทุนในปีนี้ แม้ว่าในประเทศไทยเวลานี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ประกาศตัวจะทำตลาดเครื่องรับวิทยุดิจิตอลอย่างชัดเจนก็ตาม แต่บริษัทฯมั่นใจว่าการที่บริษัทฯโหมทำตลาดตรงนี้จะทำให้ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าหันมาให้ความสนใจและทำตลาดส่งเสริมการขายเครื่องรับวิทยุดิจิตอลมากขึ้น
นาวสาวรวิวรรณกล่าวอีกว่า อีกเหตุผลที่มั่นใจว่าตลาดจะโตดีคือ ราคาเครื่องรับวิทยุดิจิตอลไม่แพงไม่เกิน 1,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งจะทำให้มีความต้องการมากขึ้น แนวทางตลาดของเราจะร่วมมือกับผู้ผลิตเพื่อทำการส่งเสริมการขายด้วยกันอีกทางหนึ่งด้วย
โดยวางแผนว่าภายใน 3 ปีจากนี้ จะใช้งบลงทุนรวม 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินวิทยุดิจิตอลจำนวน 5 คลื่น ซึ่งจะลงทุนเองทั้งหมดทั้ง เครื่องส่ง สตูดิโอ และการผลิตรายการต่างๆ ซึ่งคอนเท้นต์ที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปเผยแพร่กับสื่ออื่นในมืออีกด้วย เช่น เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม โทรศัพท์ มือถือ3จี เป็นต้น ซึ่งจะผลักดันให้บริษัทฯเป็นผู้นำได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเฉพาะเครื่องส่งออกถือเป็นต้นทุนประมาณ 12% จากทั้งหมด
ทั้งนี้บริษัทฯได้เริ่มทดลองออกอากาศวิทยุดิจิตอล คลื่นเอฟเอ็ม 105 ในกรุงเทพฯ ที่เปิดตัวเป็นทางการเมื่อวานนี้ โดยในระบบอนล็อกเอฟเอ็ม 105 จะเป็นคลื่นวิสดอมเรดิโอ คลื่นข่าว แต่ในระบบดิจิตอลจะเป็นคลื่นเพลงไทย ขณะที่คลื่นที่ 2 คือคลื่นเอฟเอ็ม 88 คลื่นเพลงสากล คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ประมาณกลางปีนี้
“รูปแบบการลงทุนของเรา เราเปิดกว้างอยู่แล้วสำหรับคลื่นสัมปทานคลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุน หรือการปล่อยให้เช่าเวลา” นางสาวรวิวรรณกล่าว
นายประชาติ ศรีวิโรจน์วงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบันระยะเวลานานกว่า 10 ปี บริษัทฯยังไม่ได้ทำตลาดหรือดำเนินธุรกิจวิทยุดิจิตอลแต่อย่างใด หลังจากที่ได้ขอสัมปทานมาตั้งแต่ปี 2540 จากทางกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 86 คลื่น (กรุงเทพฯ 6 คลื่น และต่างจังหวัด 80 คลื่น) ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทานนาน 26 ปี ด้วยเหตุที่ว่า ตลาดในขณะนั้นยังไม่พร้อมและยังไม่ถึงเวลา
แนวทางดังกล่าวมาจากนายแสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ ประธานบริษัทฯที่มองการณ์ไกลตั้งแต่อดีต ที่ได้ยื่นขอสัมปทานไว้ก่อน ซึ่งแต่เดิมในอดีตการให้สัมปทานก่อนปี 2540 จากเจ้าของสัมปทานจะให้เป็นระบบอนาล็อคเท่านั้น แต่ในความถี่เดียวกันสามารถออกเป็นดิจิตอลได้
****
นางสาวรวิวรรณ จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯวางวิสัยทัศน์ให้เป็นผู้นำสื่อที่หลากหลายแบบ “มัลติมีเดีย” ไม่ว่าจะเป็น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ โมบายคอนเท้นต์ หรือวิทยุดิจิตอล ในโอกาสที่บริษัทฯครบ 20 ปีในปีนี้ ซึ่งบริษัทฯมีจุดแข็งของการเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานวิทยุดิจิตอลจากกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เพียงรายเดียวในไทย
ขณะที่วิทยุระบบอนาล็อคนั้นที่บริษัทฯได้สัมปทานอีกว่า 10 คลื่นทั่วประเทศ แผนดำเนินงานปีนี้จะเน้นการขายสปอตโฆษณาเป็นหลักควบคู่กับการทำกิจกรรม เพื่อดึงโฆษณาเข้ามา ทั้งนี้คาดว่ารายได้ปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 15% โดยมีรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากการโฆษณา 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% มาจากการจัดกิจกรรม
โดยบริษัทฯได้ทำการศึกษาธุรกิจวิทยุดิจิตอลมานานกว่า 3 ปีแล้ว หลังจากที่ตนได้เข้ามาร่วมงานเมื่อกลางปีที่แล้ว และได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานทางด้านวิทยุใหม่ และขณะนี้มีความพร้อมทั้งตัวบริษัทฯและตลาดเองด้วย
เนื่องจากเครื่องรับวิทยุระบบดิจิตอลแพร่หลายมากขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจลงทุนในปีนี้ แม้ว่าในประเทศไทยเวลานี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ประกาศตัวจะทำตลาดเครื่องรับวิทยุดิจิตอลอย่างชัดเจนก็ตาม แต่บริษัทฯมั่นใจว่าการที่บริษัทฯโหมทำตลาดตรงนี้จะทำให้ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าหันมาให้ความสนใจและทำตลาดส่งเสริมการขายเครื่องรับวิทยุดิจิตอลมากขึ้น
นาวสาวรวิวรรณกล่าวอีกว่า อีกเหตุผลที่มั่นใจว่าตลาดจะโตดีคือ ราคาเครื่องรับวิทยุดิจิตอลไม่แพงไม่เกิน 1,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งจะทำให้มีความต้องการมากขึ้น แนวทางตลาดของเราจะร่วมมือกับผู้ผลิตเพื่อทำการส่งเสริมการขายด้วยกันอีกทางหนึ่งด้วย
โดยวางแผนว่าภายใน 3 ปีจากนี้ จะใช้งบลงทุนรวม 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินวิทยุดิจิตอลจำนวน 5 คลื่น ซึ่งจะลงทุนเองทั้งหมดทั้ง เครื่องส่ง สตูดิโอ และการผลิตรายการต่างๆ ซึ่งคอนเท้นต์ที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปเผยแพร่กับสื่ออื่นในมืออีกด้วย เช่น เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม โทรศัพท์ มือถือ3จี เป็นต้น ซึ่งจะผลักดันให้บริษัทฯเป็นผู้นำได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเฉพาะเครื่องส่งออกถือเป็นต้นทุนประมาณ 12% จากทั้งหมด
ทั้งนี้บริษัทฯได้เริ่มทดลองออกอากาศวิทยุดิจิตอล คลื่นเอฟเอ็ม 105 ในกรุงเทพฯ ที่เปิดตัวเป็นทางการเมื่อวานนี้ โดยในระบบอนล็อกเอฟเอ็ม 105 จะเป็นคลื่นวิสดอมเรดิโอ คลื่นข่าว แต่ในระบบดิจิตอลจะเป็นคลื่นเพลงไทย ขณะที่คลื่นที่ 2 คือคลื่นเอฟเอ็ม 88 คลื่นเพลงสากล คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ประมาณกลางปีนี้
“รูปแบบการลงทุนของเรา เราเปิดกว้างอยู่แล้วสำหรับคลื่นสัมปทานคลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุน หรือการปล่อยให้เช่าเวลา” นางสาวรวิวรรณกล่าว
นายประชาติ ศรีวิโรจน์วงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบันระยะเวลานานกว่า 10 ปี บริษัทฯยังไม่ได้ทำตลาดหรือดำเนินธุรกิจวิทยุดิจิตอลแต่อย่างใด หลังจากที่ได้ขอสัมปทานมาตั้งแต่ปี 2540 จากทางกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 86 คลื่น (กรุงเทพฯ 6 คลื่น และต่างจังหวัด 80 คลื่น) ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทานนาน 26 ปี ด้วยเหตุที่ว่า ตลาดในขณะนั้นยังไม่พร้อมและยังไม่ถึงเวลา
แนวทางดังกล่าวมาจากนายแสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ ประธานบริษัทฯที่มองการณ์ไกลตั้งแต่อดีต ที่ได้ยื่นขอสัมปทานไว้ก่อน ซึ่งแต่เดิมในอดีตการให้สัมปทานก่อนปี 2540 จากเจ้าของสัมปทานจะให้เป็นระบบอนาล็อคเท่านั้น แต่ในความถี่เดียวกันสามารถออกเป็นดิจิตอลได้
****