ฟาติมา ชูธงสู่ผู้นำ มัลติมีเดีย พร้อมรุกสู่วิทยุดิจิตอล วางงบ 100 ล้านบาท ใน 3 ปี ปูพรม 5 คลื่น เปิดกว้างทั้งร่วมทุนและให้เช่าเวลา ประเดิมคลื่นดิจิตอล เอฟเอ็ม 105 คลื่นข่าว ก่อนเปิดตัวคลื่นเพลงสากลกลางปีนี้
นางสาวรวิวรรณ จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทวางวิสัยทัศน์ให้เป็นผู้นำสื่อที่หลากหลายแบบ “มัลติมีเดีย” ไม่ว่าจะเป็น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ โมบายคอนเทนต์ หรือวิทยุดิจิตอล ในโอกาสที่บริษัทครบ 20 ปี ในปีนี้ ซึ่งบริษัทมีจุดแข็งของการเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานวิทยุดิจิตอลจากกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เพียงรายเดียวในไทย
ขณะที่วิทยุระบบอนาล็อกนั้น ที่บริษัทได้สัมปทานอีกว่า 10 คลื่นทั่วประเทศ แผนดำเนินงานปีนี้จะเน้นการขายสปอตโฆษณาเป็นหลักควบคู่กับการทำกิจกรรม เพื่อดึงโฆษณาเข้ามา ทั้งนี้คาดว่า รายได้ปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 15% โดยมีรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากการโฆษณา 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% มาจากการจัดกิจกรรม
โดยบริษัทได้ทำการศึกษาธุรกิจวิทยุดิจิตอลมานานกว่า 3 ปีแล้ว หลังจากที่ตนได้เข้ามาร่วมงานเมื่อกลางปีที่แล้ว และได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานทางด้านวิทยุใหม่ และขณะนี้มีความพร้อมทั้งตัวบริษัท และตลาดเองด้วย
เนื่องจากเครื่องรับวิทยุระบบดิจิตอล แพร่หลายมากขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจลงทุนในปีนี้ แม้ว่าในประเทศไทยเวลานี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ประกาศตัวจะทำตลาดเครื่องรับวิทยุดิจิตอลอย่างชัดเจนก็ตาม แต่บริษัทมั่นใจว่า การที่บริษัทโหมทำตลาดตรงนี้จะทำให้ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าหันมาให้ความสนใจและทำตลาดส่งเสริมการขายเครื่องรับวิทยุดิจิตอลมากขึ้น
นาวสาวรวิวรรณ กล่าวอีกว่า อีกเหตุผลที่มั่นใจว่าตลาดจะโตดี คือ ราคาเครื่องรับวิทยุดิจิตอลไม่แพงไม่เกิน 1,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งจะทำให้มีความต้องการมากขึ้น แนวทางตลาดของเราจะร่วมมือกับผู้ผลิตเพื่อทำการส่งเสริมการขายด้วยกันอีกทางหนึ่งด้วย
โดยวางแผนว่า ภายใน 3 ปีจากนี้ จะใช้งบลงทุนรวม 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินวิทยุดิจิตอลจำนวน 5 คลื่น ซึ่งจะลงทุนเองทั้งหมด ทั้งเครื่องส่ง สตูดิโอ และการผลิตรายการต่างๆ ซึ่งคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปเผยแพร่กับสื่ออื่นในมืออีกด้วย เช่น เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม โทรศัพท์ มือถือ3จี เป็นต้น ซึ่งจะผลักดันให้บริษัทฯเป็นผู้นำได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเฉพาะเครื่องส่งออกถือเป็นต้นทุนประมาณ 12% จากทั้งหมด
ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มทดลองออกอากาศวิทยุดิจิตอล คลื่นเอฟเอ็ม 105 ในกรุงเทพฯ ที่เปิดตัวเป็นทางการเมื่อวานนี้ โดยในระบบอนล็อกเอฟเอ็ม 105 จะเป็นคลื่นวิสดอมเรดิโอ คลื่นข่าว แต่ในระบบดิจิตอลจะเป็นคลื่นเพลงไทย ขณะที่คลื่นที่ 2 คือ คลื่นเอฟเอ็ม 88 คลื่นเพลงสากล คาดว่า จะสามารถเปิดตัวได้ประมาณกลางปีนี้
“รูปแบบการลงทุนของเรา เราเปิดกว้างอยู่แล้วสำหรับคลื่นสัมปทานคลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุน หรือการปล่อยให้เช่าเวลา” นางสาวรวิวรรณ กล่าว
นายประชาติ ศรีวิโรจน์วงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบันระยะเวลานานกว่า 10 ปี บริษัทยังไม่ได้ทำตลาดหรือดำเนินธุรกิจวิทยุดิจิตอลแต่อย่างใด หลังจากที่ได้ขอสัมปทานมาตั้งแต่ปี 2540 จากทางกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 86 คลื่น (กรุงเทพฯ 6 คลื่น และต่างจังหวัด 80 คลื่น) ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทานนาน 26 ปี ด้วยเหตุที่ว่า ตลาดในขณะนั้นยังไม่พร้อมและยังไม่ถึงเวลา
แนวทางดังกล่าวมาจาก นายแสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ ประธานบริษัท ที่มองการณ์ไกลตั้งแต่อดีต ที่ได้ยื่นขอสัมปทานไว้ก่อน ซึ่งแต่เดิมในอดีตการให้สัมปทานก่อนปี 2540 จากเจ้าของสัมปทานจะให้เป็นระบบอนาล็อกเท่านั้น แต่ในความถี่เดียวกันสามารถออกเป็นดิจิตอลได้
นางสาวรวิวรรณ จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัท ฟาติมา บรอดคาสติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทวางวิสัยทัศน์ให้เป็นผู้นำสื่อที่หลากหลายแบบ “มัลติมีเดีย” ไม่ว่าจะเป็น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ โมบายคอนเทนต์ หรือวิทยุดิจิตอล ในโอกาสที่บริษัทครบ 20 ปี ในปีนี้ ซึ่งบริษัทมีจุดแข็งของการเป็นผู้ที่ได้รับสัมปทานวิทยุดิจิตอลจากกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) เพียงรายเดียวในไทย
ขณะที่วิทยุระบบอนาล็อกนั้น ที่บริษัทได้สัมปทานอีกว่า 10 คลื่นทั่วประเทศ แผนดำเนินงานปีนี้จะเน้นการขายสปอตโฆษณาเป็นหลักควบคู่กับการทำกิจกรรม เพื่อดึงโฆษณาเข้ามา ทั้งนี้คาดว่า รายได้ปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 15% โดยมีรายได้ประมาณ 300 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากการโฆษณา 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% มาจากการจัดกิจกรรม
โดยบริษัทได้ทำการศึกษาธุรกิจวิทยุดิจิตอลมานานกว่า 3 ปีแล้ว หลังจากที่ตนได้เข้ามาร่วมงานเมื่อกลางปีที่แล้ว และได้มีการปรับโครงสร้างการทำงานทางด้านวิทยุใหม่ และขณะนี้มีความพร้อมทั้งตัวบริษัท และตลาดเองด้วย
เนื่องจากเครื่องรับวิทยุระบบดิจิตอล แพร่หลายมากขึ้นแล้ว จึงตัดสินใจลงทุนในปีนี้ แม้ว่าในประเทศไทยเวลานี้ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ประกาศตัวจะทำตลาดเครื่องรับวิทยุดิจิตอลอย่างชัดเจนก็ตาม แต่บริษัทมั่นใจว่า การที่บริษัทโหมทำตลาดตรงนี้จะทำให้ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าหันมาให้ความสนใจและทำตลาดส่งเสริมการขายเครื่องรับวิทยุดิจิตอลมากขึ้น
นาวสาวรวิวรรณ กล่าวอีกว่า อีกเหตุผลที่มั่นใจว่าตลาดจะโตดี คือ ราคาเครื่องรับวิทยุดิจิตอลไม่แพงไม่เกิน 1,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งจะทำให้มีความต้องการมากขึ้น แนวทางตลาดของเราจะร่วมมือกับผู้ผลิตเพื่อทำการส่งเสริมการขายด้วยกันอีกทางหนึ่งด้วย
โดยวางแผนว่า ภายใน 3 ปีจากนี้ จะใช้งบลงทุนรวม 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินวิทยุดิจิตอลจำนวน 5 คลื่น ซึ่งจะลงทุนเองทั้งหมด ทั้งเครื่องส่ง สตูดิโอ และการผลิตรายการต่างๆ ซึ่งคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปเผยแพร่กับสื่ออื่นในมืออีกด้วย เช่น เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม โทรศัพท์ มือถือ3จี เป็นต้น ซึ่งจะผลักดันให้บริษัทฯเป็นผู้นำได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเฉพาะเครื่องส่งออกถือเป็นต้นทุนประมาณ 12% จากทั้งหมด
ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มทดลองออกอากาศวิทยุดิจิตอล คลื่นเอฟเอ็ม 105 ในกรุงเทพฯ ที่เปิดตัวเป็นทางการเมื่อวานนี้ โดยในระบบอนล็อกเอฟเอ็ม 105 จะเป็นคลื่นวิสดอมเรดิโอ คลื่นข่าว แต่ในระบบดิจิตอลจะเป็นคลื่นเพลงไทย ขณะที่คลื่นที่ 2 คือ คลื่นเอฟเอ็ม 88 คลื่นเพลงสากล คาดว่า จะสามารถเปิดตัวได้ประมาณกลางปีนี้
“รูปแบบการลงทุนของเรา เราเปิดกว้างอยู่แล้วสำหรับคลื่นสัมปทานคลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุน หรือการปล่อยให้เช่าเวลา” นางสาวรวิวรรณ กล่าว
นายประชาติ ศรีวิโรจน์วงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบันระยะเวลานานกว่า 10 ปี บริษัทยังไม่ได้ทำตลาดหรือดำเนินธุรกิจวิทยุดิจิตอลแต่อย่างใด หลังจากที่ได้ขอสัมปทานมาตั้งแต่ปี 2540 จากทางกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 86 คลื่น (กรุงเทพฯ 6 คลื่น และต่างจังหวัด 80 คลื่น) ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทานนาน 26 ปี ด้วยเหตุที่ว่า ตลาดในขณะนั้นยังไม่พร้อมและยังไม่ถึงเวลา
แนวทางดังกล่าวมาจาก นายแสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ ประธานบริษัท ที่มองการณ์ไกลตั้งแต่อดีต ที่ได้ยื่นขอสัมปทานไว้ก่อน ซึ่งแต่เดิมในอดีตการให้สัมปทานก่อนปี 2540 จากเจ้าของสัมปทานจะให้เป็นระบบอนาล็อกเท่านั้น แต่ในความถี่เดียวกันสามารถออกเป็นดิจิตอลได้