เอเอฟพี - กองทัพรัฐบาลศรีลังกา เมื่อวานนี้(26)ใช้กำลังกดดันต่อพื้นที่ป่าเขาเขตท้ายๆ ที่ยังคงอยู่ในการควบคุมของกลุ่มกบฎพยัคฆ์ทมิฬ หลังจากสามารถเข้ายึดครองฐานที่มั่นในเขตเมืองแห่งสุดท้าย ตลอดจนกองบัญชาการทหารของฝ่ายกบฎเอาไว้ได้แล้ว
ทหารของฝ่ายรัฐบาลศรีลังกาได้เข้ายึดเมืองมุลลาอิตติวู เมืองเล็กๆ ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเอาไว้เมื่อวันอาทิตย์ โดยพื้นที่แห่งนี้ถูกกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬครอบครองมาเป็นเวลานานนับทศวรรษแล้ว และก่อนหน้านี้ราว 3 สัปดาห์ รัฐบาลก็สามารถบุกยึดเมืองคิลินอชชิ อันเป็นเมืองสำคัญที่กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬมีการจัดตั้งระบบศาล ธนาคาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจของตนเองด้วย
ทั้งนี้พลโทซาราธ ฟอนเซกา ผู้บัญชาการทหารบกศรีลังกา กล่าวว่าในขณะนี้กองกำลังปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (แอลทีทีอี) เหลือพื้นที่ยึดครองอยู่เพียงเล็กน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และกำลังอยู่ในสภาพถูกต้อนจนมุม
"ปฏิบัติการ (เอาชนะกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ) ประสบความสำเร็จไปแล้ว 95 เปอร์เซ็นต์ การก่อการร้ายกำลังจะยุติลง และเรามั่นใจเต็มที่ว่าจะชนะ" ฟอนเซกาบอก ในขณะที่รัฐบาลศรีลังกาก็แสดงความมั่นใจว่าการทุ่มกำลังทหารปฏิบัติการรุกครั้งนี้ จะสามารถยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานานที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียได้ในเร็ววัน
ล่าสุด ฝ่ายรัฐบาลได้ใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าระดมยิงที่มั่นต่างๆ ของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬนอกเมืองมุลลาอิตติวู และยังเสริมกำลังรุกเข้าไปยังป้อมวิสุอามาดูของฝ่ายกบฏ และปะทะกับกลุ่มกำลังที่เหลือซึ่งกระจายกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย
กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬยังไม่มีการแถลงใดๆ แต่ในเว็บไซต์ทมิฬเน็ตได้กล่าวหาฝ่ายทหารว่ายิงถล่มเข้าไปใน "พื้นที่ปลอดภัย" ทำให้พลเรือนเสียชีวิตไป 22 คน ทว่ายังไม่มีรายงานจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน เนื่องจากทั้งผู้สื่อข่าวตลอดจนเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์และเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนต่างก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในเขตสู้รบ แต่คาดกันว่ายังมีพลเรือนที่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬติดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวราว 150,000-250,000 คนทีเดียว
ประธานาธิบดีมหินทา ราชาปักษี กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของฝ่ายทหารและยกย่องให้เป็นวีรบุรุษที่ต่อสู้เพื่อขจัดกลุ่มก่อการร้ายในประเทศอย่างไม่ย่อท้อ
ส่วนชะตากรรมของเวลุพิลไล ประภาการัน หัวหน้ากลุ่มพยัคฆ์ทมิฬนั้นยังไม่มีรายงานชัดเจนเช่นกัน แต่มีผู้คาดว่าเขาได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว
ประภาการันเป็นผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในศรีลังกาที่มีชาวสิงหลเป็นชนส่วนใหญ่มาตั้งแต่ปี 1972 โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬได้รับการฝึกด้านการรบจากอินเดีย แต่ภายหลังประภาการันถูกรัฐบาลอินเดียตามล่าตัว เพราะเขาถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีราจีฟ คานธี เมื่อปี 1991
นอกจากนั้น สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ยังถือว่ากลุ่มพยัคฆ์ทมิฬเป็นองค์การก่อการร้าย โดยที่แอลทีทีอีขึ้นชื่อลือชาว่ามีความถนัดในด้านการใช้ระเบิดฆ่าตัวตายและใช้เด็กเป็นทหาร
การที่กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬถูกกดดันจนสูญเสียพื้นที่ยึดครองเขตเมืองทั้งหมดในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ทางกลุ่มเปลี่ยนกลับไปใช้รูปแบบการสู้รบแบบจรยุทธ์ โดยใช้พื้นที่ในป่าเป็นฐาน
ทหารของฝ่ายรัฐบาลศรีลังกาได้เข้ายึดเมืองมุลลาอิตติวู เมืองเล็กๆ ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเอาไว้เมื่อวันอาทิตย์ โดยพื้นที่แห่งนี้ถูกกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬครอบครองมาเป็นเวลานานนับทศวรรษแล้ว และก่อนหน้านี้ราว 3 สัปดาห์ รัฐบาลก็สามารถบุกยึดเมืองคิลินอชชิ อันเป็นเมืองสำคัญที่กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬมีการจัดตั้งระบบศาล ธนาคาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจของตนเองด้วย
ทั้งนี้พลโทซาราธ ฟอนเซกา ผู้บัญชาการทหารบกศรีลังกา กล่าวว่าในขณะนี้กองกำลังปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (แอลทีทีอี) เหลือพื้นที่ยึดครองอยู่เพียงเล็กน้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และกำลังอยู่ในสภาพถูกต้อนจนมุม
"ปฏิบัติการ (เอาชนะกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ) ประสบความสำเร็จไปแล้ว 95 เปอร์เซ็นต์ การก่อการร้ายกำลังจะยุติลง และเรามั่นใจเต็มที่ว่าจะชนะ" ฟอนเซกาบอก ในขณะที่รัฐบาลศรีลังกาก็แสดงความมั่นใจว่าการทุ่มกำลังทหารปฏิบัติการรุกครั้งนี้ จะสามารถยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานานที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียได้ในเร็ววัน
ล่าสุด ฝ่ายรัฐบาลได้ใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าระดมยิงที่มั่นต่างๆ ของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬนอกเมืองมุลลาอิตติวู และยังเสริมกำลังรุกเข้าไปยังป้อมวิสุอามาดูของฝ่ายกบฏ และปะทะกับกลุ่มกำลังที่เหลือซึ่งกระจายกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย
กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬยังไม่มีการแถลงใดๆ แต่ในเว็บไซต์ทมิฬเน็ตได้กล่าวหาฝ่ายทหารว่ายิงถล่มเข้าไปใน "พื้นที่ปลอดภัย" ทำให้พลเรือนเสียชีวิตไป 22 คน ทว่ายังไม่มีรายงานจำนวนผู้บาดเจ็บล้มตายของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน เนื่องจากทั้งผู้สื่อข่าวตลอดจนเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์และเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนต่างก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในเขตสู้รบ แต่คาดกันว่ายังมีพลเรือนที่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬติดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวราว 150,000-250,000 คนทีเดียว
ประธานาธิบดีมหินทา ราชาปักษี กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของฝ่ายทหารและยกย่องให้เป็นวีรบุรุษที่ต่อสู้เพื่อขจัดกลุ่มก่อการร้ายในประเทศอย่างไม่ย่อท้อ
ส่วนชะตากรรมของเวลุพิลไล ประภาการัน หัวหน้ากลุ่มพยัคฆ์ทมิฬนั้นยังไม่มีรายงานชัดเจนเช่นกัน แต่มีผู้คาดว่าเขาได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว
ประภาการันเป็นผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในศรีลังกาที่มีชาวสิงหลเป็นชนส่วนใหญ่มาตั้งแต่ปี 1972 โดยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬได้รับการฝึกด้านการรบจากอินเดีย แต่ภายหลังประภาการันถูกรัฐบาลอินเดียตามล่าตัว เพราะเขาถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีราจีฟ คานธี เมื่อปี 1991
นอกจากนั้น สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ยังถือว่ากลุ่มพยัคฆ์ทมิฬเป็นองค์การก่อการร้าย โดยที่แอลทีทีอีขึ้นชื่อลือชาว่ามีความถนัดในด้านการใช้ระเบิดฆ่าตัวตายและใช้เด็กเป็นทหาร
การที่กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬถูกกดดันจนสูญเสียพื้นที่ยึดครองเขตเมืองทั้งหมดในครั้งนี้ คาดว่าจะทำให้ทางกลุ่มเปลี่ยนกลับไปใช้รูปแบบการสู้รบแบบจรยุทธ์ โดยใช้พื้นที่ในป่าเป็นฐาน