ใกล้คลอดแนวปฏิบัติเรียนฟรี 15 ปี ศธ.ยันอุดหนุนตำรา สมุด ดินสอและอุปกรณ์การเรียนอย่างเต็มที่ ยกเว้นเครื่องแบบนักเรียนให้ลงทะเบียนใช้สิทธิ พร้อมรณรงค์ให้คนรวยสละสิทธิ์สร้างจิตสาธารณะ โดยอาจจะมอบประกาศนียบัตรให้กับครอบครัวที่ไม่รับสิทธิ ไม่กำหนดวิธีการบริหารจัดการสถานศึกษาอาจจ้างกลุ่มแม่บ้านตัดเย็บชุดก็ได้ ส่วนโรงเรียนสาธิตไม่ขอรับงบฯ อุดหนุนกิจกรรมพิเศษ ใช้วิธีระดมทรัพยากรผู้ปกครองเหมือนเดิม ชง รมว.ศธ.อนุมัติวันนี้ก่อนร่างพ.ร.บ.เข้าสภาฯ 28 ม.ค.
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ว่า การประชุมคณะทำงานเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ได้จัดทำรายละเอียดเพื่อเตรียมชี้แจงเรื่องเรียนฟรี 15 ปี ที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ…. จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มกราคมนี้ โดยคณะทำงานได้ทำความชัดเจนว่า ที่จะดำเนินการในแต่ละส่วนมีพื้นฐานการคิดอย่างไร อาทิ ค่าเล่าเรียน ค่าตำราเรียน จัดสรรอย่างไร ให้เลยหรือให้ยืมเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน มีการกำหนดรายการพื้นฐาน ได้แก่ สมุดแบบฝึกหัด ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด เป็นต้น จะจัดซื้อและจัดส่งอย่างไร จะจัดสรรเป็นเงิน และให้โรงเรียนไปดำเนินการซื้อเอง หรือจะใช้วิธีการใดที่โปร่งใสที่สุด ไม่ซ้ำซ้อน เพราะเจตนารมณ์คือต้องการให้ไว้ใช้ตลอดปีการศึกษา ไม่ใช่ให้ต้นปีแล้วปลายปีมาขอใหม่เพราะใช้ทิ้งขว้าง
อย่างไรก็ตามการกำหนดรายการมาตรฐานดังกล่าว เป็นเพียงการแนะนำรายการต่อโรงเรียน ซึ่งอาจไม่สอดคล้องต่อความต้องการของโรงเรียนและนักเรียนได้ ดังนั้น จะผ่อนคลายเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น และจะได้สอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น
ปลัด ศธ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนเครื่องแบบนักเรียน เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนพึงได้รับ แต่เนื่องจากใช้ราคาของคณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.)เป็นราคามาตรฐานที่ใช้ในการจัดสรร ซึ่งเป็นราคาต่ำสุด แต่มีคุณภาพมาตรฐาน ขณะที่เรามีเด็กหลายกลุ่มได้แก่ เด็กในชนบท เด็กในเมือง เด็กในโรงเรียนเอกชน เด็กในโรงเรียนสาธิต ฉะนั้น คิดว่าในส่วนของเด็กในชนบท ราคามาตรฐานของ มอก.ดังกล่าว น่าจะใช้ได้ แต่สำหรับเด็กที่อยู่ในเมือง โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสาธิต อาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากชุดนักเรียนเป็นแบบแผนและมีราคาสูงกว่าราคามาตรฐานของ มอก.มาก ดังนั้น อาจจะจัดสรรเป็นเงินแล้วไปเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งต้องให้โรงเรียนประสานผู้ปกครอง
“สิทธิในเรื่องเครื่องแบบนักเรียน จะเปิดให้มีการลงทะเบียนสำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิ และจะประสานให้โรงเรียนเชิญชวนและรณรงค์ให้ผู้ปกครองที่มีฐานะร่ำรวยไม่ใช้สิทธิดังกล่าว เพื่อรัฐจะได้ประหยัดงบประมาณและนำเงินดังกล่าวมาช่วยเด็กยากจนและด้อยโอกาสเพิ่มขึ้น ถือเป็นการสร้างจิตสาธารณะด้วย โดยจะมีการออกใบประกาศเกียรติบัตรให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนขึ้นบอร์ดยกย่องนักเรียนและผู้ปกครอง และต่อไปในอนาคต ศธ.จะติดตามอย่างใกล้ชิด หากโรงเรียนใด สามารถเชิญชวนให้ผู้ปกครองไม่ใช้สิทธิได้มาก ศธ.ก็จะให้เครดิตเพราะถือว่าสามารถเชิญชวน ทำความเข้าใจและรณรงค์ได้ดี”ดร.ชินภัทรกล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องบริหารจัดการนั้น คณะทำงานหารือกันว่าจะยืดหยุ่น โดยโรงเรียนสามารถบริหารจัดการได้เองเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น อาจจะให้กลุ่มแม่บ้านตัดเย็บ หรือในส่วนของเด็กอาชีวะ ก็อาจจะให้วิทยาลัยอาชีวศึกษา ดำเนินการตัดเย็บเองภายใต้งบฯ ที่ได้รับจัดสรร
ดร.ชินภัทร กล่าวต่อไปว่า ส่วนงบฯ พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่ผ่านมาจัดสรรให้อยู่แล้ว จะอยู่ในรายการค่ายวิชาการ ค่ายคุณธรรมจริยธรรม ค่ายลูกเสือเนตรนารี ปีละ 1 ครั้ง และบริการไอซีทีสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ถ้าโรงเรียนใดเพิ่มกิจกรรมมากกว่านี้ ก็สามารถเก็บเป็นเงินค่ากิจกรรมได้ หรือเรียกว่าอยู่ในค่าบำรุงการศึกษาได้ แต่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการสถานศึกษาก่อนและรายงานชี้แจงต่อเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดด้วย
ในส่วนของโรงเรียนสาธิตทุกแห่ง ได้มีการขอเงื่อนไขว่าไม่รับงบฯ ดังกล่าว เพราะไม่เพียงพอการต่อค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนสาธิตที่มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเฉพาะในเรื่องดำเนินการทดลองนวัตกรรมทางการศึกษา จึงมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนั้น จึงไม่ขอรับการสนับสนนุงบฯ พัฒนากิจกรรมฯ แต่ขอให้การระดมทรัพยากรผู้ปกครองตามเดิม ซึ่งก็เป็นความสมัครใจของผู้ปกครองแต่ต้นที่จัดส่งลูกมาเข้าโรงเรียนประเภทนี้
นอกจากนี้คณะทำงานได้หารือถึงการจัดพิมพ์ตำราเรียนว่าทำอย่างไรถึงจะมีคุณภาพและทันเวลากับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2551 ซึ่งปีนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.มอบนโยบายให้ใช้กระดาษถนอมสายตามาจัดพิมพ์ เพราะถนอมสายตาเด็ก ที่สำคัญมีน้ำหนักเบาและเด็กจะได้ไม่ต้องแบกกระเป๋าหนักไปโรงเรียน ซึ่งในการจัดสรรค่าใช้จ่ายหนังสือแบบเรียนให้กับโรงเรียนนั้น ศธ.จะยึดราคาปกของหนังสือองค์การค้าโดยลดราคาร้อยละ 20 ของราคาปก เป็นหลักในการจัดสรรงบฯ ให้กับโรงเรียนและโรงเรียนสามารถนำเงินไปหาซื้อหนังสือได้ภายใต้งบฯ ที่ได้รับ ซึ่งสำนักพิมพ์ใดที่จัดพิมพ์ราคาที่สูงกว่างบฯ ดังกล่าว โรงเรียนก็จะไม่สามารถจัดซื้อได้
ส่วนที่ถามว่าจะผูกมัดให้องค์การค้าจัดพิมพ์รายการใดบ้างหรือไม่นั้น ยืนยันว่าการจัดพิมพ์ตำราเรียนยังคงเปิดเสรีให้เอกชนเหมือนเดิม ยกเว้นรายการใดที่องค์การค้ามีลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ก็ดำเนินการไปตามนั้น
“ปีนี้เป็นปีแรกที่ประกาศนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ดังนั้นจะจัดสรรให้อย่างเต็มที่ ยกเว้นรายการเครื่องแบบนักเรียน ที่จะขอให้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ เนื่องจากมีกลุ่มนักเรียนที่หลากหลาย อีกทั้งจะได้รณรงค์เรื่องจิตสาธารณะด้วย โดยจะนำผลประชุมดังกล่าวเข้าหารือรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ในวันนี้(26 ม.ค.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อยุติในทุกเรื่อง โดยหากได้รับงบฯ มาแล้ว มั่นใจว่าจะดำเนินการได้ทันภาคเรียนที่ 1/2552 แน่นอน เพราะขณะนี้ได้กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานหมดแล้ว รวมถึงการจัดส่งหนังสือแบบเรียนก็ต้องทันตามกำหนดด้วย โดยจะใช้งบฯ ทั้งหมด 18,275 ล้านบาท ตามที่กำหนดอยู่ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ” นายชินภัทร กล่าว
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ว่า การประชุมคณะทำงานเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ได้จัดทำรายละเอียดเพื่อเตรียมชี้แจงเรื่องเรียนฟรี 15 ปี ที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ…. จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มกราคมนี้ โดยคณะทำงานได้ทำความชัดเจนว่า ที่จะดำเนินการในแต่ละส่วนมีพื้นฐานการคิดอย่างไร อาทิ ค่าเล่าเรียน ค่าตำราเรียน จัดสรรอย่างไร ให้เลยหรือให้ยืมเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน มีการกำหนดรายการพื้นฐาน ได้แก่ สมุดแบบฝึกหัด ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด เป็นต้น จะจัดซื้อและจัดส่งอย่างไร จะจัดสรรเป็นเงิน และให้โรงเรียนไปดำเนินการซื้อเอง หรือจะใช้วิธีการใดที่โปร่งใสที่สุด ไม่ซ้ำซ้อน เพราะเจตนารมณ์คือต้องการให้ไว้ใช้ตลอดปีการศึกษา ไม่ใช่ให้ต้นปีแล้วปลายปีมาขอใหม่เพราะใช้ทิ้งขว้าง
อย่างไรก็ตามการกำหนดรายการมาตรฐานดังกล่าว เป็นเพียงการแนะนำรายการต่อโรงเรียน ซึ่งอาจไม่สอดคล้องต่อความต้องการของโรงเรียนและนักเรียนได้ ดังนั้น จะผ่อนคลายเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น และจะได้สอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น
ปลัด ศธ. กล่าวต่อไปว่า ส่วนเครื่องแบบนักเรียน เป็นสิทธิที่เด็กทุกคนพึงได้รับ แต่เนื่องจากใช้ราคาของคณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.)เป็นราคามาตรฐานที่ใช้ในการจัดสรร ซึ่งเป็นราคาต่ำสุด แต่มีคุณภาพมาตรฐาน ขณะที่เรามีเด็กหลายกลุ่มได้แก่ เด็กในชนบท เด็กในเมือง เด็กในโรงเรียนเอกชน เด็กในโรงเรียนสาธิต ฉะนั้น คิดว่าในส่วนของเด็กในชนบท ราคามาตรฐานของ มอก.ดังกล่าว น่าจะใช้ได้ แต่สำหรับเด็กที่อยู่ในเมือง โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสาธิต อาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากชุดนักเรียนเป็นแบบแผนและมีราคาสูงกว่าราคามาตรฐานของ มอก.มาก ดังนั้น อาจจะจัดสรรเป็นเงินแล้วไปเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งต้องให้โรงเรียนประสานผู้ปกครอง
“สิทธิในเรื่องเครื่องแบบนักเรียน จะเปิดให้มีการลงทะเบียนสำหรับผู้ที่ต้องการใช้สิทธิ และจะประสานให้โรงเรียนเชิญชวนและรณรงค์ให้ผู้ปกครองที่มีฐานะร่ำรวยไม่ใช้สิทธิดังกล่าว เพื่อรัฐจะได้ประหยัดงบประมาณและนำเงินดังกล่าวมาช่วยเด็กยากจนและด้อยโอกาสเพิ่มขึ้น ถือเป็นการสร้างจิตสาธารณะด้วย โดยจะมีการออกใบประกาศเกียรติบัตรให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนขึ้นบอร์ดยกย่องนักเรียนและผู้ปกครอง และต่อไปในอนาคต ศธ.จะติดตามอย่างใกล้ชิด หากโรงเรียนใด สามารถเชิญชวนให้ผู้ปกครองไม่ใช้สิทธิได้มาก ศธ.ก็จะให้เครดิตเพราะถือว่าสามารถเชิญชวน ทำความเข้าใจและรณรงค์ได้ดี”ดร.ชินภัทรกล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องบริหารจัดการนั้น คณะทำงานหารือกันว่าจะยืดหยุ่น โดยโรงเรียนสามารถบริหารจัดการได้เองเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่น อาจจะให้กลุ่มแม่บ้านตัดเย็บ หรือในส่วนของเด็กอาชีวะ ก็อาจจะให้วิทยาลัยอาชีวศึกษา ดำเนินการตัดเย็บเองภายใต้งบฯ ที่ได้รับจัดสรร
ดร.ชินภัทร กล่าวต่อไปว่า ส่วนงบฯ พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่ผ่านมาจัดสรรให้อยู่แล้ว จะอยู่ในรายการค่ายวิชาการ ค่ายคุณธรรมจริยธรรม ค่ายลูกเสือเนตรนารี ปีละ 1 ครั้ง และบริการไอซีทีสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ถ้าโรงเรียนใดเพิ่มกิจกรรมมากกว่านี้ ก็สามารถเก็บเป็นเงินค่ากิจกรรมได้ หรือเรียกว่าอยู่ในค่าบำรุงการศึกษาได้ แต่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการสถานศึกษาก่อนและรายงานชี้แจงต่อเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดด้วย
ในส่วนของโรงเรียนสาธิตทุกแห่ง ได้มีการขอเงื่อนไขว่าไม่รับงบฯ ดังกล่าว เพราะไม่เพียงพอการต่อค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนสาธิตที่มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเฉพาะในเรื่องดำเนินการทดลองนวัตกรรมทางการศึกษา จึงมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนั้น จึงไม่ขอรับการสนับสนนุงบฯ พัฒนากิจกรรมฯ แต่ขอให้การระดมทรัพยากรผู้ปกครองตามเดิม ซึ่งก็เป็นความสมัครใจของผู้ปกครองแต่ต้นที่จัดส่งลูกมาเข้าโรงเรียนประเภทนี้
นอกจากนี้คณะทำงานได้หารือถึงการจัดพิมพ์ตำราเรียนว่าทำอย่างไรถึงจะมีคุณภาพและทันเวลากับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2551 ซึ่งปีนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.มอบนโยบายให้ใช้กระดาษถนอมสายตามาจัดพิมพ์ เพราะถนอมสายตาเด็ก ที่สำคัญมีน้ำหนักเบาและเด็กจะได้ไม่ต้องแบกกระเป๋าหนักไปโรงเรียน ซึ่งในการจัดสรรค่าใช้จ่ายหนังสือแบบเรียนให้กับโรงเรียนนั้น ศธ.จะยึดราคาปกของหนังสือองค์การค้าโดยลดราคาร้อยละ 20 ของราคาปก เป็นหลักในการจัดสรรงบฯ ให้กับโรงเรียนและโรงเรียนสามารถนำเงินไปหาซื้อหนังสือได้ภายใต้งบฯ ที่ได้รับ ซึ่งสำนักพิมพ์ใดที่จัดพิมพ์ราคาที่สูงกว่างบฯ ดังกล่าว โรงเรียนก็จะไม่สามารถจัดซื้อได้
ส่วนที่ถามว่าจะผูกมัดให้องค์การค้าจัดพิมพ์รายการใดบ้างหรือไม่นั้น ยืนยันว่าการจัดพิมพ์ตำราเรียนยังคงเปิดเสรีให้เอกชนเหมือนเดิม ยกเว้นรายการใดที่องค์การค้ามีลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ก็ดำเนินการไปตามนั้น
“ปีนี้เป็นปีแรกที่ประกาศนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ดังนั้นจะจัดสรรให้อย่างเต็มที่ ยกเว้นรายการเครื่องแบบนักเรียน ที่จะขอให้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ เนื่องจากมีกลุ่มนักเรียนที่หลากหลาย อีกทั้งจะได้รณรงค์เรื่องจิตสาธารณะด้วย โดยจะนำผลประชุมดังกล่าวเข้าหารือรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ในวันนี้(26 ม.ค.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อยุติในทุกเรื่อง โดยหากได้รับงบฯ มาแล้ว มั่นใจว่าจะดำเนินการได้ทันภาคเรียนที่ 1/2552 แน่นอน เพราะขณะนี้ได้กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานหมดแล้ว รวมถึงการจัดส่งหนังสือแบบเรียนก็ต้องทันตามกำหนดด้วย โดยจะใช้งบฯ ทั้งหมด 18,275 ล้านบาท ตามที่กำหนดอยู่ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ” นายชินภัทร กล่าว