งานฉลอง การเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีโอบามา เสร็จสิ้นบริบูรณ์ลงแล้ว ผู้เดินทางมาร่วมฉลองถึงกรุงวอชิงตัน ดี.ชี. มากมายล้นหลามเป็นประวัติการณ์ ไม่แต่คนผิวดำและฝรั่งผิวขาวเท่านั้น มีอเมริกันชนทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และคนต่างชาตินับไม่ถ้วน
มีการฉลองกันอีกทุกมุมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เคนยา ดินแดนบรรพชนของโอบามา เมืองโอบามา ใน ญี่ปุ่น ขายของที่ระลึกดีเป็นเทน้ำเทท่า และ อินโดนีเซีย บ้านของพ่อเลี้ยง ที่สอนความเป็นลูกผู้ชายให้กับลูกติดแม่หัวเท่ากับปั้น ส่วนผู้ที่ดูทีวีสดๆ อยู่ทุกประเทศนั้น ผู้ประกาศบอกว่ามากที่สุดทำลายสถิติ แต่ผมไม่แน่ใจและไม่รู้ว่าจะตรวจสอบอย่างไรว่ามากกว่าบอลโลกหรือไม่
กระแสโอบามา ขจรไปทุกทั่วสารทิศ โลกเกิดความจรรโลงใจ ตั้งความหวังไว้สูง ว่าไหนๆ โอบามาก็เป็นมนุษย์มหัศจรรย์ที่ใช้ความฝันและความหวังเป็นเข็มทิศ ทำลายประวัตินับไม่ถ้วนอย่างขึ้นมาเป็นผู้นำของโลก แต่นี้ไป โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่
ผมใจหายที่ท่านผู้อ่านติงว่า ผมออกจะชื่นชมและเขียนถึงโอบามามากไปหน่อย ควรเขียนเรื่องผู้นำไทยจะได้ประโยชน์มากกว่า ผมสำรวจดูเรื่องโอบามาทั้งที่เขียนเป็นเล่มและเป็นสารคดีในหนังสือพิมพ์และนิตยสารในบ้านเรารู้สึกว่ามีน้อยเหลือเกิน เทียบกับประเทศอื่นๆไม่ได้เลย เรื่องของ โอบามา นี้มิใช่เป็นแค่ปรากฏการณ์และประวัติการณ์เฉยๆ แต่เป็นทัศนะเปรียบเทียบและองค์ความรู้อยู่ในตัวด้วย ประเทศญี่ปุ่นได้อาศัยทัศนะเปรียบเทียบตักตวงเอาองค์ความรู้มาสร้างชาติจนสู้ฝรั่งได้ ต่อมาความอยากรู้ที่ตื้นพลอยทำให้ต่อมความรู้ และต่อมความรับรู้ในสังคมไทยตื้นไปด้วย จนกลายเป็นสังคมที่ใช้ปัญญาช่วยตนเองไม่ได้ บทความโอบามาสาบานตนของผมมีผู้อ่านจำนวน 2,658 คน ที่โพสต์ออกความคิดเห็นมามีเพียง 4 คนเท่านั้น ผมจะต้องเขียนหนักขึ้น
ผมเคยเรียนตอนปีใหม่ว่า ต่อไปนี้ผมจะเขียนเรื่องต่างประเทศ 1 ใน 3 เพื่อจะสร้างความเข้าใจ จิตสำนึกที่ดี และทัศนะเปรียบเทียบให้กับท่านผู้อ่าน ความจริงเรื่องโอบามาเขียนได้เป็นเล่มๆ จะเอาแง่ไหนก็น่าสนใจหมด และเชื่อมโยงไปถึงแง่มุมอื่นๆ อีกมากไม่น่าเชื่อ แถมเต็มไปด้วยความแปลกไม่เหมือนเดิม จนกระทั่งผมคิดว่า โอบามานี่แหละคือ “กรอบใหม่” หรือ New Paradigm ของการเมืองใหม่ ถ้าจะมองให้ซึ้งเราต้องใช้หลักพุทธ คือ ปฏิจจสมุปบาท และ อิทัปปจจยตา เข้าจับ
คุณทวิช จิตรสมบูรณ์ โพสต์มาคมคายมาก และตีปลาหน้าไซตบท้ายว่า "Change" หรือการเปลี่ยนแปลงแบบโอบามานั้น “ทำให้นึกถึงภาษิตฝรั่งที่ว่า The more things change the more they remain the same.” เป็นภาษิตคลาสสิกจากต้นตอฝรั่งเศสว่า “plus ca change, plus c’est la meme chose” แปลเป็นไทยว่า “ยิ่งเปลี่ยน ก็ยิ่งเหมือนเดิม”
ท่านผู้อ่านและคุณทวิชที่เคารพครับ การ “มองต่างมุม” (มิใช่ชื่อรายการทีวีที่คิดขึ้นโดย สามสหาย: เจิมศักดิ์+อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ+ไมตรี อึ๊งภากรณ์) ย่อมเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมในสังคมประชาธิปไตย ผมมิได้แก้ต่างให้ โอบามา นะครับ นี่คือนานาสังวาส
คุณทวิชเขียนว่า “กระแส “change” ของ ประธานาธิบดีโอบามา แห่ง USA กำลังก้องระบาดไปทั่วโลก แต่ผมค่อนข้างระแวงว่านี่จะเป็นเพียง วาทกรรมอันว่างเปล่าทางการเมืองเท่านั้น (empty political rhetoric) มันฟังดูดี ดูขลัง แต่ผมสงสัยว่านายโอบามาจะมีแต่คารม เอาเข้าจริงๆ จะเปลี่ยนอะไรได้ ถ้ายังไม่เปลี่ยนจิตสำนึกทุนนิยม (สามานย์) เสียก่อนเป็นอันดับแรก”
ข้อสังเกตจากผม คู่ต่อสู้ของ โอบามา ทั้งในและนอกพรรค ฮิลลารี คลินตันกับแมคเคน ต่างก็โจมตีว่า โอบามาดีแต่พูด ถึงเวลาจะทำอะไรเป็น เป็นแค่ วาทกรรมอันว่างเปล่าทางการเมือง เท่านั้น (empty political rhetoric) เรื่องนี้ โอบามาไม่ต้องโต้ตอบเลย เพราะมีคนตอบแทนเขาเป็นล้านๆ ทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ทาง blog ทางโทรศัพท์ รายการวิทยุทีวี และการเดินกระจายข่าวของอาสาสมัครที่มากที่สุดและใช้เทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย และมากที่สุดเป็นครั้งแรกของโลกในการเลือกตั้ง ว่าตลอดเวลา 20 ว่าปีคนที่รู้จักยืนยันว่า โอบามาเป็นคนคงเส้นคงวา ปากตรงกับใจ พูดจริงทำจริง และทำงานแบบได้ผล (result oriented) ขณะที่เรียนกฎหมาย เขาเป็นดำคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นบรรณาธิการใหญ่ของ Harvard Law Review เป็นข่าวใหญ่ทั่วประเทศอยู่นาน (ดูเว็บไซต์ First Black Elected to Head Harvard’s Law Review - New York Times the election of Barack Obama as president of the Harvard Law Review...query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9C0CE2DC1631F935A35751C0A966958260 - 41k)
วารสาร Harvard’s Law Review นี้ มีสต๊าฟกว่าพันคน แต่ละคนร่ำรวยโด่งดังหมด เกือบทุกคนซูฮกและยืนยันภาวะผู้นำของโอบามาทั้งสิ้น
โอบามากับคณะวารสาร Harvard’s Law Review
เรื่องจิตสำนึก “ทุนนิยมสามานย์” นั้น โอบามา เขียนในหนังสือของเขาว่าชีวิตสมรสของแม่กับพ่อเลี้ยงชาวอินโดนีเซียนั้นอับปางลง เพราะทนไม่ได้ที่พ่อเลี้ยงละทิ้งอุดมการณ์ไปขายตัวให้อำนาจและทุนนิยมสามานย์ในอินโดนีเซีย โอบามาเองสละงานเงินเดือนสูงใน Wall Street หัวใจการเงินของโลก ไปทำงานรับใช้สังคมที่ค่อนข้างขัดสน
คุณทวิชเขียนว่า “และการเปลี่ยนนั้นเรามักเปลี่ยนให้ดีขึ้น แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า “ดี” ของนายโอบามามีนิยามว่าอะไร และเพื่อใคร
ประการแรกทีเดียว ผมถามว่านายโอบามาจะ “เปลี่ยน” การเมืองอเมริกันได้ไหม ที่ต้องใช้เงินมหาศาลในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะระบบเงินนำหน้านี้ทำให้นักการเมืองเป็นหนี้บุญคุณนักธุรกิจที่บริจาคเงินมหาศาลในการรณรงค์หาเสียงของนักการเมือง ซึ่งนายโอบามาก็รู้ดีว่าที่ก้าวเข้ามาสู่ตำแหน่งนี้ได้เขาเองก็ต้องใช้เงินหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนนางคลินตันต้องยอมแพ้ เพราะหาเงินสู้นายโอบามาไม่ได้ และยังต้องเป็นหนี้มหาศาลอีกด้วยจากการลงทุนหาเสียงเลือกตั้ง”
ข้อสังเกตจากผม โอบามา เขียนและพูดไว้มากในหนังสือและการหาเสียงของเขา เขาบอกว่าความดีของสังคมและทุกคนนั้นพึงจะต้องรักษาไว้มิใช่ทำลาย แต่คนส่วนใหญ่ผู้เสียเปรียบจะต้องมีสิทธิชื่นชมความดีที่เป็นความสุขอย่างทั่วถึงด้วย เรื่องอะไร “ดี” อะไร “ไม่ดี” นั้นอเมริกันชนจะต้องทำบัญชีหางว่าวไว้ตรวจสอบและติดตามแน่ๆ คงไม่เหมือนของเราหรอก ที่ไม่รู้จักจดจำ ในวันแรกของประธาธิบดีโอบามา เขาสั่งปิดค่ายกวนตานาโมที่กักกันผู้ก่อการร้ายข้ามชาติทันที และห้ามมิให้สหรัฐฯ ซ้อมผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัยต่อไปอย่างเด็ดขาด เพราะนั่นขัดสิทธิมนุษยชนและหลักผิดชอบชั่วดีแบบอเมริกัน
มีไหมที่สังคมไทย สื่อ และนักวิชาการจะช่วยตรวจสอบและติดตามรัฐบาลอภิสิทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นธรรมว่าหนึ่งเดือนแรกทำอะไร “ดี” หรือ “ไม่ดี” บ้าง
มีการฉลองกันอีกทุกมุมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เคนยา ดินแดนบรรพชนของโอบามา เมืองโอบามา ใน ญี่ปุ่น ขายของที่ระลึกดีเป็นเทน้ำเทท่า และ อินโดนีเซีย บ้านของพ่อเลี้ยง ที่สอนความเป็นลูกผู้ชายให้กับลูกติดแม่หัวเท่ากับปั้น ส่วนผู้ที่ดูทีวีสดๆ อยู่ทุกประเทศนั้น ผู้ประกาศบอกว่ามากที่สุดทำลายสถิติ แต่ผมไม่แน่ใจและไม่รู้ว่าจะตรวจสอบอย่างไรว่ามากกว่าบอลโลกหรือไม่
กระแสโอบามา ขจรไปทุกทั่วสารทิศ โลกเกิดความจรรโลงใจ ตั้งความหวังไว้สูง ว่าไหนๆ โอบามาก็เป็นมนุษย์มหัศจรรย์ที่ใช้ความฝันและความหวังเป็นเข็มทิศ ทำลายประวัตินับไม่ถ้วนอย่างขึ้นมาเป็นผู้นำของโลก แต่นี้ไป โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่
ผมใจหายที่ท่านผู้อ่านติงว่า ผมออกจะชื่นชมและเขียนถึงโอบามามากไปหน่อย ควรเขียนเรื่องผู้นำไทยจะได้ประโยชน์มากกว่า ผมสำรวจดูเรื่องโอบามาทั้งที่เขียนเป็นเล่มและเป็นสารคดีในหนังสือพิมพ์และนิตยสารในบ้านเรารู้สึกว่ามีน้อยเหลือเกิน เทียบกับประเทศอื่นๆไม่ได้เลย เรื่องของ โอบามา นี้มิใช่เป็นแค่ปรากฏการณ์และประวัติการณ์เฉยๆ แต่เป็นทัศนะเปรียบเทียบและองค์ความรู้อยู่ในตัวด้วย ประเทศญี่ปุ่นได้อาศัยทัศนะเปรียบเทียบตักตวงเอาองค์ความรู้มาสร้างชาติจนสู้ฝรั่งได้ ต่อมาความอยากรู้ที่ตื้นพลอยทำให้ต่อมความรู้ และต่อมความรับรู้ในสังคมไทยตื้นไปด้วย จนกลายเป็นสังคมที่ใช้ปัญญาช่วยตนเองไม่ได้ บทความโอบามาสาบานตนของผมมีผู้อ่านจำนวน 2,658 คน ที่โพสต์ออกความคิดเห็นมามีเพียง 4 คนเท่านั้น ผมจะต้องเขียนหนักขึ้น
ผมเคยเรียนตอนปีใหม่ว่า ต่อไปนี้ผมจะเขียนเรื่องต่างประเทศ 1 ใน 3 เพื่อจะสร้างความเข้าใจ จิตสำนึกที่ดี และทัศนะเปรียบเทียบให้กับท่านผู้อ่าน ความจริงเรื่องโอบามาเขียนได้เป็นเล่มๆ จะเอาแง่ไหนก็น่าสนใจหมด และเชื่อมโยงไปถึงแง่มุมอื่นๆ อีกมากไม่น่าเชื่อ แถมเต็มไปด้วยความแปลกไม่เหมือนเดิม จนกระทั่งผมคิดว่า โอบามานี่แหละคือ “กรอบใหม่” หรือ New Paradigm ของการเมืองใหม่ ถ้าจะมองให้ซึ้งเราต้องใช้หลักพุทธ คือ ปฏิจจสมุปบาท และ อิทัปปจจยตา เข้าจับ
คุณทวิช จิตรสมบูรณ์ โพสต์มาคมคายมาก และตีปลาหน้าไซตบท้ายว่า "Change" หรือการเปลี่ยนแปลงแบบโอบามานั้น “ทำให้นึกถึงภาษิตฝรั่งที่ว่า The more things change the more they remain the same.” เป็นภาษิตคลาสสิกจากต้นตอฝรั่งเศสว่า “plus ca change, plus c’est la meme chose” แปลเป็นไทยว่า “ยิ่งเปลี่ยน ก็ยิ่งเหมือนเดิม”
ท่านผู้อ่านและคุณทวิชที่เคารพครับ การ “มองต่างมุม” (มิใช่ชื่อรายการทีวีที่คิดขึ้นโดย สามสหาย: เจิมศักดิ์+อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ+ไมตรี อึ๊งภากรณ์) ย่อมเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมในสังคมประชาธิปไตย ผมมิได้แก้ต่างให้ โอบามา นะครับ นี่คือนานาสังวาส
คุณทวิชเขียนว่า “กระแส “change” ของ ประธานาธิบดีโอบามา แห่ง USA กำลังก้องระบาดไปทั่วโลก แต่ผมค่อนข้างระแวงว่านี่จะเป็นเพียง วาทกรรมอันว่างเปล่าทางการเมืองเท่านั้น (empty political rhetoric) มันฟังดูดี ดูขลัง แต่ผมสงสัยว่านายโอบามาจะมีแต่คารม เอาเข้าจริงๆ จะเปลี่ยนอะไรได้ ถ้ายังไม่เปลี่ยนจิตสำนึกทุนนิยม (สามานย์) เสียก่อนเป็นอันดับแรก”
ข้อสังเกตจากผม คู่ต่อสู้ของ โอบามา ทั้งในและนอกพรรค ฮิลลารี คลินตันกับแมคเคน ต่างก็โจมตีว่า โอบามาดีแต่พูด ถึงเวลาจะทำอะไรเป็น เป็นแค่ วาทกรรมอันว่างเปล่าทางการเมือง เท่านั้น (empty political rhetoric) เรื่องนี้ โอบามาไม่ต้องโต้ตอบเลย เพราะมีคนตอบแทนเขาเป็นล้านๆ ทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ทาง blog ทางโทรศัพท์ รายการวิทยุทีวี และการเดินกระจายข่าวของอาสาสมัครที่มากที่สุดและใช้เทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย และมากที่สุดเป็นครั้งแรกของโลกในการเลือกตั้ง ว่าตลอดเวลา 20 ว่าปีคนที่รู้จักยืนยันว่า โอบามาเป็นคนคงเส้นคงวา ปากตรงกับใจ พูดจริงทำจริง และทำงานแบบได้ผล (result oriented) ขณะที่เรียนกฎหมาย เขาเป็นดำคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นบรรณาธิการใหญ่ของ Harvard Law Review เป็นข่าวใหญ่ทั่วประเทศอยู่นาน (ดูเว็บไซต์ First Black Elected to Head Harvard’s Law Review - New York Times the election of Barack Obama as president of the Harvard Law Review...query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9C0CE2DC1631F935A35751C0A966958260 - 41k)
วารสาร Harvard’s Law Review นี้ มีสต๊าฟกว่าพันคน แต่ละคนร่ำรวยโด่งดังหมด เกือบทุกคนซูฮกและยืนยันภาวะผู้นำของโอบามาทั้งสิ้น
โอบามากับคณะวารสาร Harvard’s Law Review
เรื่องจิตสำนึก “ทุนนิยมสามานย์” นั้น โอบามา เขียนในหนังสือของเขาว่าชีวิตสมรสของแม่กับพ่อเลี้ยงชาวอินโดนีเซียนั้นอับปางลง เพราะทนไม่ได้ที่พ่อเลี้ยงละทิ้งอุดมการณ์ไปขายตัวให้อำนาจและทุนนิยมสามานย์ในอินโดนีเซีย โอบามาเองสละงานเงินเดือนสูงใน Wall Street หัวใจการเงินของโลก ไปทำงานรับใช้สังคมที่ค่อนข้างขัดสน
คุณทวิชเขียนว่า “และการเปลี่ยนนั้นเรามักเปลี่ยนให้ดีขึ้น แต่ผมยังไม่แน่ใจว่า “ดี” ของนายโอบามามีนิยามว่าอะไร และเพื่อใคร
ประการแรกทีเดียว ผมถามว่านายโอบามาจะ “เปลี่ยน” การเมืองอเมริกันได้ไหม ที่ต้องใช้เงินมหาศาลในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะระบบเงินนำหน้านี้ทำให้นักการเมืองเป็นหนี้บุญคุณนักธุรกิจที่บริจาคเงินมหาศาลในการรณรงค์หาเสียงของนักการเมือง ซึ่งนายโอบามาก็รู้ดีว่าที่ก้าวเข้ามาสู่ตำแหน่งนี้ได้เขาเองก็ต้องใช้เงินหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนนางคลินตันต้องยอมแพ้ เพราะหาเงินสู้นายโอบามาไม่ได้ และยังต้องเป็นหนี้มหาศาลอีกด้วยจากการลงทุนหาเสียงเลือกตั้ง”
ข้อสังเกตจากผม โอบามา เขียนและพูดไว้มากในหนังสือและการหาเสียงของเขา เขาบอกว่าความดีของสังคมและทุกคนนั้นพึงจะต้องรักษาไว้มิใช่ทำลาย แต่คนส่วนใหญ่ผู้เสียเปรียบจะต้องมีสิทธิชื่นชมความดีที่เป็นความสุขอย่างทั่วถึงด้วย เรื่องอะไร “ดี” อะไร “ไม่ดี” นั้นอเมริกันชนจะต้องทำบัญชีหางว่าวไว้ตรวจสอบและติดตามแน่ๆ คงไม่เหมือนของเราหรอก ที่ไม่รู้จักจดจำ ในวันแรกของประธาธิบดีโอบามา เขาสั่งปิดค่ายกวนตานาโมที่กักกันผู้ก่อการร้ายข้ามชาติทันที และห้ามมิให้สหรัฐฯ ซ้อมผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัยต่อไปอย่างเด็ดขาด เพราะนั่นขัดสิทธิมนุษยชนและหลักผิดชอบชั่วดีแบบอเมริกัน
มีไหมที่สังคมไทย สื่อ และนักวิชาการจะช่วยตรวจสอบและติดตามรัฐบาลอภิสิทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นธรรมว่าหนึ่งเดือนแรกทำอะไร “ดี” หรือ “ไม่ดี” บ้าง