กรณีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้พิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องกล่าวหานายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และรองศาสตราจารย์ วิโรจ อิ่มพิทักษ์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับพวก ทุจริตเกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ โดยนำงานที่ปรึกษา งานที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงาน และงานควบคุมงาน ไปให้เอกชนดำเนินการ โดยหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 รวมทั้งมีการลดเนื้องาน และงบประมาณการก่อสร้าง หลังจากที่มีการเปิดซองเสนอราคาแล้ว ทำให้ราชการได้รับความเสียหาย โดยมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการ และนายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช.ร่วมเป็นอนุกรรมการไต่สวน นั้น
คณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของ รองศาสตราจารย์วิโรจ อิ่มพิทักษ์ ศาสตราจารย์ รังสิต สุวรรณมรรคา หรือ สุวรรณเขตนิคม และรองศาสตราจารย์ มนตรี ค้ำชู มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ ให้ส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 สำหรับนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป
คณะกรรมการป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของ รองศาสตราจารย์วิโรจ อิ่มพิทักษ์ ศาสตราจารย์ รังสิต สุวรรณมรรคา หรือ สุวรรณเขตนิคม และรองศาสตราจารย์ มนตรี ค้ำชู มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ ให้ส่งเรื่องไปให้ผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม ตามพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 สำหรับนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป