เดลิเมล์ – คนชอบพูดกันว่าน้อยคนนักที่จะลืมรักครั้งแรกได้ แต่งานวิจัยล่าสุดแนะนำให้ลบภาพความทรงจำแสนหวานนั้นเสีย ถ้าไม่อยากให้ความรักความหลังครั้งเก่าก่อนบั่นทอนความสุขไปตลอดชีวิต
นักสังคมวิทยาพบว่าความสุขของความรักสมัยเด็กๆ อาจกลายเป็นมาตรฐานที่เกินจริงที่ถูกนำไปตัดสินความสัมพันธ์ในอนาคต
รายงานการวิจัยระบุว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างหลักประกันความสุขระยะยาวในความสัมพันธ์คือ อย่าไปยึดติดกับความรู้สึกรักหัวปักหัวปำจากรักแรก
ผู้ที่มีมุมมองที่ยึดหลักความเป็นจริงเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองต้องการจากความสัมพันธ์มากกว่าจะพยายามปลุกความเสน่หารุนแรงแบบที่เคยมีร่วมกับคนรักเก่า มีแนวโน้มสมหวังในสัมพันธภาพระยะยาว
ข้อกล่าวอ้างนี้อยู่ในเอกสารงานวิจัยที่ชื่อว่า ‘เชนจิ้ง รีเลชันชิปส์’ ซึ่งเรียบเรียงแก้ไขโดยดร.มัลคอล์ม ไบรนิน จากสถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเอสเส็กซ์ อังกฤษ
“ดูเหมือนว่าความลับของความสุขที่ยั่งยืนในความสัมพันธ์จะเป็นการข้ามผ่านความรักครั้งแรก ในโลกอุดมคติ คุณอาจตื่นขึ้นมาในความสัมพันธ์ครั้งที่สอง หากคุณยังห่วงหาอาวรณ์ความรักครั้งแรก และปล่อยให้ความรู้สึกนั้นมาเป็นมาตรฐานในใจ คุณจะรู้สึกว่าว่าที่คนรักในวัยผู้ใหญ่ของคุณน่าเบื่อและน่าผิดหวังอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
“ปัญหาจะเกิดขึ้นหากคุณพยายามไม่เพียงแค่เพื่อให้ได้ทุกสิ่งที่ต้องการจากความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังยึดติดกับความตื่นเต้นและความจริงจังที่เคยมีมาในประสบการณ์รักแรก
“ทางออกชัดเจนมาก หากคุณสามารถปกป้องตัวเองจากความปรารถนารุนแรงในรักครั้งแรกได้ คุณจะมีความสุขในความสัมพันธ์ครั้งต่อๆ ไปมากขึ้น” ดร.ไบรนินอธิบาย
เคต มอสส์ น่าจะเก็บถ้อยคำเหล่านี้ไปตรึกตรองดูบ้าง
ซูเปอร์โมเดลผู้นี้พบกับจอห์นนี เด็ปป์ ตอนที่เธออายุเพียง 21 ปี ทั้งคู่รักกันนานสี่ปี
หลายปีต่อจากนั้น เมื่อถามถึงผู้ชายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มอสส์ตอบว่า “ฉันยังไม่เจอใครที่อยากอยู่ด้วยนานๆ ฉันไม่คิดว่าฉันตัดเยื่อไม่เหลือใยจากจอห์นนี เดปได้แล้ว”
รายงานฉบับนี้เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังขรมในหมู่นักวิชาการ
ศาสตราจารย์เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ในนิวเจอร์ซี สหรัฐฯ ชี้ว่าการแสวงหาอารมณ์ความรู้สึกรุนแรงเมื่อแรกรักช่วยให้ความสัมพันธ์อยู่รอด
ฟิชเชอร์ใช้เครื่องสแกน MRI สังเกตพฤติกรรมในสมองและพบว่ากิจกรรมในสมองของผู้ที่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานในช่วงเวลากว่าสองทศวรรษ กับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นความสัมพันธ์ได้ไม่ถึงครึ่งปีมีความคล้ายคลึงกัน
“ฉันพบหลักฐานทางชีวภาพและกายภาพที่ไม่อาจคัดค้านได้ว่า ความรักโรแมนติกสามารถยืนยงคงกระพัน
รายงานของฟิชเชอร์ยังมุ่งเน้นการตรวจสอบว่า เหตุใดคนเราจึงเลือกคู่ครองที่มีภูมิหลังทางสังคมคล้ายกัน
นักสังคมวิทยาพบว่าความสุขของความรักสมัยเด็กๆ อาจกลายเป็นมาตรฐานที่เกินจริงที่ถูกนำไปตัดสินความสัมพันธ์ในอนาคต
รายงานการวิจัยระบุว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างหลักประกันความสุขระยะยาวในความสัมพันธ์คือ อย่าไปยึดติดกับความรู้สึกรักหัวปักหัวปำจากรักแรก
ผู้ที่มีมุมมองที่ยึดหลักความเป็นจริงเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองต้องการจากความสัมพันธ์มากกว่าจะพยายามปลุกความเสน่หารุนแรงแบบที่เคยมีร่วมกับคนรักเก่า มีแนวโน้มสมหวังในสัมพันธภาพระยะยาว
ข้อกล่าวอ้างนี้อยู่ในเอกสารงานวิจัยที่ชื่อว่า ‘เชนจิ้ง รีเลชันชิปส์’ ซึ่งเรียบเรียงแก้ไขโดยดร.มัลคอล์ม ไบรนิน จากสถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเอสเส็กซ์ อังกฤษ
“ดูเหมือนว่าความลับของความสุขที่ยั่งยืนในความสัมพันธ์จะเป็นการข้ามผ่านความรักครั้งแรก ในโลกอุดมคติ คุณอาจตื่นขึ้นมาในความสัมพันธ์ครั้งที่สอง หากคุณยังห่วงหาอาวรณ์ความรักครั้งแรก และปล่อยให้ความรู้สึกนั้นมาเป็นมาตรฐานในใจ คุณจะรู้สึกว่าว่าที่คนรักในวัยผู้ใหญ่ของคุณน่าเบื่อและน่าผิดหวังอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
“ปัญหาจะเกิดขึ้นหากคุณพยายามไม่เพียงแค่เพื่อให้ได้ทุกสิ่งที่ต้องการจากความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังยึดติดกับความตื่นเต้นและความจริงจังที่เคยมีมาในประสบการณ์รักแรก
“ทางออกชัดเจนมาก หากคุณสามารถปกป้องตัวเองจากความปรารถนารุนแรงในรักครั้งแรกได้ คุณจะมีความสุขในความสัมพันธ์ครั้งต่อๆ ไปมากขึ้น” ดร.ไบรนินอธิบาย
เคต มอสส์ น่าจะเก็บถ้อยคำเหล่านี้ไปตรึกตรองดูบ้าง
ซูเปอร์โมเดลผู้นี้พบกับจอห์นนี เด็ปป์ ตอนที่เธออายุเพียง 21 ปี ทั้งคู่รักกันนานสี่ปี
หลายปีต่อจากนั้น เมื่อถามถึงผู้ชายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มอสส์ตอบว่า “ฉันยังไม่เจอใครที่อยากอยู่ด้วยนานๆ ฉันไม่คิดว่าฉันตัดเยื่อไม่เหลือใยจากจอห์นนี เดปได้แล้ว”
รายงานฉบับนี้เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังขรมในหมู่นักวิชาการ
ศาสตราจารย์เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ในนิวเจอร์ซี สหรัฐฯ ชี้ว่าการแสวงหาอารมณ์ความรู้สึกรุนแรงเมื่อแรกรักช่วยให้ความสัมพันธ์อยู่รอด
ฟิชเชอร์ใช้เครื่องสแกน MRI สังเกตพฤติกรรมในสมองและพบว่ากิจกรรมในสมองของผู้ที่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานในช่วงเวลากว่าสองทศวรรษ กับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นความสัมพันธ์ได้ไม่ถึงครึ่งปีมีความคล้ายคลึงกัน
“ฉันพบหลักฐานทางชีวภาพและกายภาพที่ไม่อาจคัดค้านได้ว่า ความรักโรแมนติกสามารถยืนยงคงกระพัน
รายงานของฟิชเชอร์ยังมุ่งเน้นการตรวจสอบว่า เหตุใดคนเราจึงเลือกคู่ครองที่มีภูมิหลังทางสังคมคล้ายกัน