เอเอฟพี – การเปลี่ยนแปลงในทำเนียบขาวจากการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัค โอบามา อาจกระตุ้นให้เกิดกำลังใจซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในเวลานี้ ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเลวร้ายที่สุดนับจากยุคเศรษฐกิจตกต่ำร้ายแรง (the Great Depression) เมื่อทศวรรษ 1930
ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะต้องรับมอบประเทศ ซึ่งภาวะเศรษฐกิจกำลังจมลึกกับปัญหา ภายหลังการแตกกระจายของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งภาคการเงินการธนาคารก็กำลังซวนเซ ส่วนผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างรัดเข็มขัดขนานใหญ่
นักวิเคราะห์บางคน อาทิ โจเอล แนรอฟฟ์ จากแนรอฟฟ์ อิโคโนมิก แอดไวเซอร์ส กล่าวว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของบาดแผลเศรษฐกิจมากมายเช่นนี้ มาจากความรู้สึกท้อแท้ของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ และดังนั้น จึงอาจฟื้นคืนสภาพได้จากการเปลี่ยนแปลงในทำเนียบขาว ด้วยการเกิดความหวังขึ้นมาว่าคณะบริหารชุดใหม่ภายใต้การนำของบารัค โอบามา จะมาพร้อมการดำเนินการเชิงรุกอย่างรวดเร็ว และความสามารถในการบัญชาการ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ คาดหมายกันว่าจะทำให้มีการปลดพนักงาน 2.6 ล้านคนในปีนี้ และเศรษฐกิจก็ย่ำแย่จากผลผลิตที่ลดลงและความรู้สึกซึมเซาของผู้บริโภค รวมถึงแนวโน้มขาลงในตลาดอสังหาริมทรัพย์
แนรอฟฟ์เสริมว่า ความรู้สึกที่ซบเซาลงของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอาจทำให้ภาวะถดถอยซึ่งอยู่ในระดับเบาบาง กลับยิ่งเพิ่มความเลวร้ายลง “แม้กระทั่งเมื่อพวกเขามีเงินทอง แม้กระทั่งเมื่อพวกเขาน่าจะไม่ตกงานอะไร หรือธุรกิจของพวกเขาไม่น่าจะย่ำแย่อะไร แต่คนทั้งหลายก็จะหันไปใช้จุดยืนแบบเต่าที่หดหัวเก็บขาอยู่แต่ในกระดอง”
เออร์วิน สเตลเซอร์ นักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยอาวุโสแห่งสถาบันฮัดสันในกรุงวอชิงตัน เสริมว่าโอบามามีโอกาสฟื้นความเชื่อมั่นด้วยการแสดงความมั่นใจและความเป็นผู้นำที่เด็ดเดี่ยวแบบเดียวกับที่แฟรงคลิน รูสเวลท์ เคยทำสำเร็จมาแล้วในทศวรรษ 1930 แต่จอร์จ ดับเบิลยู บุชประสบความล้มเหลว
“รูสเวลท์ทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้วยการแสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่วว่องไว”สเตลเซอร์บอก “โอบามาก็กำลังพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ด้วยการแสดงให้เห็นความมั่นใจ เขากำลังพยายามแสดงให้เห็นการเป็นผู้นำชนิดที่กล้าตัดสินใจ ซึ่งก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการฟื้นตัวทั้งหลายอยู่แล้ว”
นอกจากนี้ โอบามายังจะได้ประโยชน์จากผลของมาตรการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่รัฐสภาผ่านความเห็นชอบเมื่อปีที่แล้ว และเวลานี้ยังคงมีเงินเหลืออยู่ราวครึ่งหนึ่ง หรือ 350,000 ล้านดอลลาร์
รัฐสภายังกำลังพิจารณาแผนการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการลดภาษีและงบใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมเป็นมูลค่า 825 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงเศรษฐกิจให้ออกจากภาวะถดถอย
“โอบามารู้ดีว่ามาตรการกระตุ้นนั้นไม่สามารถกระตุ้นภาคเอกชนในระยะยาวได้ แต่หากสามารถโน้มน้าวผู้บริโภคว่าภาวะถดถอยมีแนวโน้มสิ้นสุดลง โน้มน้าวว่าที่เจ้าของบ้านว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ที่กำลังลงต่ำจะทำให้ราคาบ้านไม่ปรับลดไปกว่านี้อีก โน้มน้าวธนาคารว่าสามารถปล่อยกู้ได้อย่างปลอดภัยอีกครั้ง และโน้มน้าวภาคธุรกิจให้ลงทุนในโรงงานเพื่อดึงดูดลูกค้ากลับมาใช้จ่าย ก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นผลสำเร็จ” สเตลเซอร์แจง
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์อีกหลายๆ คนคัดค้านไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ลำพังการเปลี่ยนแปลงในทำเนียบขาวจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจที่หยุดชะงักได้
จอห์น ไรดิ้ง จากอาร์ดีคิว อิโคโนมิกส์ อธิบายว่าภาวะเศรษฐกิจขาลงไม่ได้เป็นผลของการขาดความเชื่อมั่นในคณะรัฐบาล ไม่ว่าคนอเมริกันจะรู้สึกกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชที่กำลังจะพ้นตำแหน่งอย่างไรก็ตาม แต่มันเป็นเรื่องของการขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินมากกว่า
โรเบิร์ต บรูซกา จากเอฟเอโอ อิโคโนมิกส์ สำทับว่าคนอเมริกันรู้กันอยู่แล้วว่าโอบามาจะเข้ารับตำแหน่ง และจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลจากการเข้าสู่ทำเนียบขาวของโอบามาจึงเกิดขึ้นและเจือจางลงแล้ว
“ผมไม่คิดว่าการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีจะทำให้ความเชื่อมั่นของคนเราต่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะปัญหาเศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับผู้เล่นอื่นๆ นอกเหนือจากประธานาธิบดี”
กระนั้น บรูซกากล่าวว่าความตกต่ำอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอาจใกล้ถึงภาวะตกต่ำสุดขีดแล้ว และมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และหากความเชื่อมั่นกลับคืน เศรษฐกิจก็จะกลับมามีกำลังวังชาอย่างรวดเร็ว
“ความเชื่อมั่นโดยรวมมีความสำคัญมาก ถึงแม้ประธานาธิบดีจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนี้เท่านั้น”
สเตลเซอร์ขานรับว่า จังหวะเวลาในการมอบโอนอำนาจคราวนี้ บ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้นที่รออยู่เบื้องหน้า
“ผมเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นมูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ บวกกับมาตรการดอกเบี้ย 0% จะต้องส่งผลต่อเศรษฐกิจบ้างไม่มากก็น้อย โอบามาอาจเป็นคนมีโชค และโชคก็สามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นตัว” เขาบอก
ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะต้องรับมอบประเทศ ซึ่งภาวะเศรษฐกิจกำลังจมลึกกับปัญหา ภายหลังการแตกกระจายของฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งภาคการเงินการธนาคารก็กำลังซวนเซ ส่วนผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างรัดเข็มขัดขนานใหญ่
นักวิเคราะห์บางคน อาทิ โจเอล แนรอฟฟ์ จากแนรอฟฟ์ อิโคโนมิก แอดไวเซอร์ส กล่าวว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของบาดแผลเศรษฐกิจมากมายเช่นนี้ มาจากความรู้สึกท้อแท้ของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ และดังนั้น จึงอาจฟื้นคืนสภาพได้จากการเปลี่ยนแปลงในทำเนียบขาว ด้วยการเกิดความหวังขึ้นมาว่าคณะบริหารชุดใหม่ภายใต้การนำของบารัค โอบามา จะมาพร้อมการดำเนินการเชิงรุกอย่างรวดเร็ว และความสามารถในการบัญชาการ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ คาดหมายกันว่าจะทำให้มีการปลดพนักงาน 2.6 ล้านคนในปีนี้ และเศรษฐกิจก็ย่ำแย่จากผลผลิตที่ลดลงและความรู้สึกซึมเซาของผู้บริโภค รวมถึงแนวโน้มขาลงในตลาดอสังหาริมทรัพย์
แนรอฟฟ์เสริมว่า ความรู้สึกที่ซบเซาลงของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอาจทำให้ภาวะถดถอยซึ่งอยู่ในระดับเบาบาง กลับยิ่งเพิ่มความเลวร้ายลง “แม้กระทั่งเมื่อพวกเขามีเงินทอง แม้กระทั่งเมื่อพวกเขาน่าจะไม่ตกงานอะไร หรือธุรกิจของพวกเขาไม่น่าจะย่ำแย่อะไร แต่คนทั้งหลายก็จะหันไปใช้จุดยืนแบบเต่าที่หดหัวเก็บขาอยู่แต่ในกระดอง”
เออร์วิน สเตลเซอร์ นักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยอาวุโสแห่งสถาบันฮัดสันในกรุงวอชิงตัน เสริมว่าโอบามามีโอกาสฟื้นความเชื่อมั่นด้วยการแสดงความมั่นใจและความเป็นผู้นำที่เด็ดเดี่ยวแบบเดียวกับที่แฟรงคลิน รูสเวลท์ เคยทำสำเร็จมาแล้วในทศวรรษ 1930 แต่จอร์จ ดับเบิลยู บุชประสบความล้มเหลว
“รูสเวลท์ทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้วยการแสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่วว่องไว”สเตลเซอร์บอก “โอบามาก็กำลังพยายามทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ด้วยการแสดงให้เห็นความมั่นใจ เขากำลังพยายามแสดงให้เห็นการเป็นผู้นำชนิดที่กล้าตัดสินใจ ซึ่งก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการฟื้นตัวทั้งหลายอยู่แล้ว”
นอกจากนี้ โอบามายังจะได้ประโยชน์จากผลของมาตรการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ที่รัฐสภาผ่านความเห็นชอบเมื่อปีที่แล้ว และเวลานี้ยังคงมีเงินเหลืออยู่ราวครึ่งหนึ่ง หรือ 350,000 ล้านดอลลาร์
รัฐสภายังกำลังพิจารณาแผนการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการลดภาษีและงบใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมเป็นมูลค่า 825 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงเศรษฐกิจให้ออกจากภาวะถดถอย
“โอบามารู้ดีว่ามาตรการกระตุ้นนั้นไม่สามารถกระตุ้นภาคเอกชนในระยะยาวได้ แต่หากสามารถโน้มน้าวผู้บริโภคว่าภาวะถดถอยมีแนวโน้มสิ้นสุดลง โน้มน้าวว่าที่เจ้าของบ้านว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ที่กำลังลงต่ำจะทำให้ราคาบ้านไม่ปรับลดไปกว่านี้อีก โน้มน้าวธนาคารว่าสามารถปล่อยกู้ได้อย่างปลอดภัยอีกครั้ง และโน้มน้าวภาคธุรกิจให้ลงทุนในโรงงานเพื่อดึงดูดลูกค้ากลับมาใช้จ่าย ก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นผลสำเร็จ” สเตลเซอร์แจง
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์อีกหลายๆ คนคัดค้านไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ลำพังการเปลี่ยนแปลงในทำเนียบขาวจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจที่หยุดชะงักได้
จอห์น ไรดิ้ง จากอาร์ดีคิว อิโคโนมิกส์ อธิบายว่าภาวะเศรษฐกิจขาลงไม่ได้เป็นผลของการขาดความเชื่อมั่นในคณะรัฐบาล ไม่ว่าคนอเมริกันจะรู้สึกกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชที่กำลังจะพ้นตำแหน่งอย่างไรก็ตาม แต่มันเป็นเรื่องของการขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินมากกว่า
โรเบิร์ต บรูซกา จากเอฟเอโอ อิโคโนมิกส์ สำทับว่าคนอเมริกันรู้กันอยู่แล้วว่าโอบามาจะเข้ารับตำแหน่ง และจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลจากการเข้าสู่ทำเนียบขาวของโอบามาจึงเกิดขึ้นและเจือจางลงแล้ว
“ผมไม่คิดว่าการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีจะทำให้ความเชื่อมั่นของคนเราต่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะปัญหาเศรษฐกิจยังขึ้นอยู่กับผู้เล่นอื่นๆ นอกเหนือจากประธานาธิบดี”
กระนั้น บรูซกากล่าวว่าความตกต่ำอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอาจใกล้ถึงภาวะตกต่ำสุดขีดแล้ว และมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และหากความเชื่อมั่นกลับคืน เศรษฐกิจก็จะกลับมามีกำลังวังชาอย่างรวดเร็ว
“ความเชื่อมั่นโดยรวมมีความสำคัญมาก ถึงแม้ประธานาธิบดีจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนี้เท่านั้น”
สเตลเซอร์ขานรับว่า จังหวะเวลาในการมอบโอนอำนาจคราวนี้ บ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้นที่รออยู่เบื้องหน้า
“ผมเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นมูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ บวกกับมาตรการดอกเบี้ย 0% จะต้องส่งผลต่อเศรษฐกิจบ้างไม่มากก็น้อย โอบามาอาจเป็นคนมีโชค และโชคก็สามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นตัว” เขาบอก