สัปดาห์นี้ ร่วมคิด-ชวนคุย กับ ก.ล.ต. ขอพาท่านผู้อ่านกลับไป ย้อนรอยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุนไทยในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมากันต่อ โดยในคราวนี้จะเน้นการดำเนินการของ ก.ล.ต. ในส่วน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของตลาดทุนไทยให้สามารถแข่งขันได้และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนโลกที่มีแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงกันมากขึ้น
เรื่องแรกที่ ก.ล.ต. ดำเนินการก็คือ ผลักดันให้เกิดสินค้าและธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ ในตลาดทุน เพื่อให้เป็นทางเลือกของผู้ลงทุน และช่วยเสริมสร้างให้ตลาดทุนของเรามีทั้งความลึกและความ กว้างยิ่งขึ้น สำหรับสินค้าทางการเงินใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2551 หลักๆ แล้ว ก็เป็นเครื่องมือประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในภาวะที่ตลาดผันผวนได้ ซึ่งก็ได้แก่ 'Single Stock Futures' (SSF) หรือฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับหุ้นสามัญรายตัว (เปิดซื้อขายใน TFEX เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551) และตามมาด้วย
'Gold Futures' หรือสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ซึ่งคาดว่า จะเริ่มเปิดทำการซื้อขายได้ในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ดังที่ร่วมคิด-ชวนคุยกับ ก.ล.ต. ได้นำเรื่อง SSF มาเล่าสู่กันฟังในบทความครั้งก่อนๆ แล้ว (ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ www.sec.or.th )
นอกจากในส่วนของการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ในตลาดทุนแล้ว ก.ล.ต. ยังได้ดำเนินการในส่วนของการพัฒนากฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ในปัจจุบัน เพื่อเอื้อให้มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยได้ออก พ.ร.บ. ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 อีกทั้งยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (securities borrowing and lending : SBL) และการขายชอร์ต (short selling) เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นภาระหยุมหยิม และเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้เครื่องมือดังกล่าวบริหารความเสี่ยงในการลงทุนได้สะดวกมากขึ้น (ดูรายละเอียดการปรับปรุงหลักเกณฑ์เหล่านี้ได้ที่ www.sec.or.th)
นอกจากการผลักดันให้เกิดสินค้าใหม่ๆ และการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการลงทุนในตลาดทุนแล้ว เรื่องของการยกระดับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2551 ก.ล.ต. ได้ดำเนินการด้านมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance: CG) ด้วยการสนับสนุนการยกระดับคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (Annual General Meeting: AGM) ของบริษัทจดทะเบียนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งการที่บริษัทจดทะเบียนจัด AGM อย่างมีคุณภาพก็จะแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งหมายความรวมถึงการที่ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลประกอบการประชุมที่เพียงพอ รวมทั้งการมีช่องทางให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิใช้เสียงในฐานะเจ้าของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เริ่มใช้มาตรการที่จะให้รางวัลแก่ผู้ประกอบการ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีประวัติการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (compliance) และจรรยาบรรณดี โดยการใช้ fast track scheme ในการอนุญาตเปิดสาขาหรือออกสินค้าใหม่สำหรับผู้ประกอบการดังกล่าว
จากการผลักดันมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการมาอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นที่น่ายินดีว่าบริษัทจดทะเบียนไทยมีพัฒนาการด้านการกำกับดูแล กิจการที่ดีขึ้น โดยผลสำรวจของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยพบว่าปีที่ผ่านมาภาพรวมการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยเฉพาะในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส สิทธิของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีบริษัทที่ได้รับคะแนนดี ดีมาก และดีเลิศ เพิ่มขึ้นด้วย
การดำเนินการที่สำคัญอีกด้านหนึ่งก็คือการ เตรียมความพร้อม ของตลาดทุนไทยสำหรับการเชื่อมโยงกับตลาดทุนอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของตลาด ทุนไทย ซึ่งมาตรการที่ดำเนินการในปี 2551 หลักๆ ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยว กับการปรับโครงสร้างของตลาดทุนบ้านเรา ที่จะเน้นให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ในสนามการลงทุนระดับโลก ได้แก่ การดำเนินการเพื่อรองรับการเปิดเสรีใบอนุญาตหลักทรัพย์และเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตามแผนที่ได้ประกาศไว้เมื่อปี 2549 (ซึ่งจะมีผลอย่างเต็มรูปแบบในปี 2555) โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันยกระดับการทำธุรกิจ ได้ครบวงจร รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการจัดโครงสร้างการทำธุรกิจของผู้ประกอบการด้วย ทั้งนี้ การเปิดเสรีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์น่าจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์จากการได้รับบริการที่ถูกลงและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมของโครงสร้างการบริหารจัดการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น รองรับผู้เล่นได้มากขึ้น และอยู่ในรูปแบบที่พร้อมเชื่อมโยงกับตลาดอื่น ก.ล.ต. ยังสนับสนุนการแปรสภาพของ ตลท. โดยเร่งจัดทำกฎเกณฑ์รองรับการดำเนินการในเรื่องนี้
ทางด้านของผู้ลงทุน ก.ล.ต. ได้สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในระดับผู้ลงทุนและบริษัทหลักทรัพย์ในการลงทุนในต่างประเทศ โดย ก.ล.ต. ได้ประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่ออนุญาตให้ผู้ลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น เช่น เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทุนในต่างประเทศได้โดยผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือบริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการเตรียมการสำหรับการเชื่อมโยงตลาดทุนในระดับภูมิภาคนั้น ในระดับนโยบาย ก.ล.ต. ได้ผลักดันกระบวนการจัดทำแผน ปฏิบัติการ สำหรับรองรับการรวมตลาดทุนอาเซียนให้มีความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันด้วย ซึ่งการรวมตลาดทุนของประเทศในกลุ่มอาเซียนนี้ จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่ง และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในด้านการบริหาร และด้านเงินทุน รวมทั้งนำไปสู่อนาคตที่เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างมั่นคงต่อไป ส่วนในระดับปฏิบัติการ ก็มีความร่วมมือระหว่างตลาดทุนใน ASEAN ผ่าน ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ในการที่จะปรับกฎเกณฑ์หลักๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และลงทุนในหลักทรัพย์ข้ามประเทศระหว่างกันได้ โดยในปี 2551 นี้ สมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้ประกาศเกณฑ์ การเปิดเผยข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ (Disclosure Rules) ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (ASEAN and Plus Standards Scheme) เพื่อเปิดให้มีการเสนอ ขายหลักทรัพย์พร้อมกันข้ามประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการที่จะผลักดันให้ตลาดทุนอาเซียนมีความเชื่อมโยงเป็นตลาดเดียวกันมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าปีที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้พยายามส่งเสริมและผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาตลาดทุนไทยด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งออมเงินของผู้ลงทุนที่มีประสิทธิภาพของ ประเทศ ซึ่งที่สุดแล้วจะส่งผลให้ผู้มีส่วนร่วมในตลาด รวมทั้งผู้ลงทุนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่นั่นเอง สัปดาห์หน้าเราจะมาร่วมคิด-ชวนคุย กับ ก.ล.ต. ถึงทิศทางก้าวต่อไปของ ก.ล.ต. ในปีศักราชใหม่ 2552 กับการสร้างสรรค์และพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อให้ก้าวไกลสู่ตลาดทุนโลก
----------------------------------------------------------------
ติดตามชมรายการ inside ก.ล.ต. พุธที่ 14 ม.ค. 2552 และทาง ททบ. 5 และ True Visions 80 เวลา 15.40-16.00 น.
เรื่องแรกที่ ก.ล.ต. ดำเนินการก็คือ ผลักดันให้เกิดสินค้าและธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ ในตลาดทุน เพื่อให้เป็นทางเลือกของผู้ลงทุน และช่วยเสริมสร้างให้ตลาดทุนของเรามีทั้งความลึกและความ กว้างยิ่งขึ้น สำหรับสินค้าทางการเงินใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2551 หลักๆ แล้ว ก็เป็นเครื่องมือประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในภาวะที่ตลาดผันผวนได้ ซึ่งก็ได้แก่ 'Single Stock Futures' (SSF) หรือฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับหุ้นสามัญรายตัว (เปิดซื้อขายใน TFEX เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551) และตามมาด้วย
'Gold Futures' หรือสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ซึ่งคาดว่า จะเริ่มเปิดทำการซื้อขายได้ในต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ดังที่ร่วมคิด-ชวนคุยกับ ก.ล.ต. ได้นำเรื่อง SSF มาเล่าสู่กันฟังในบทความครั้งก่อนๆ แล้ว (ติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ที่ www.sec.or.th )
นอกจากในส่วนของการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ ในตลาดทุนแล้ว ก.ล.ต. ยังได้ดำเนินการในส่วนของการพัฒนากฎหมายใหม่หรือปรับปรุงกฎเกณฑ์ในปัจจุบัน เพื่อเอื้อให้มีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยได้ออก พ.ร.บ. ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 อีกทั้งยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (securities borrowing and lending : SBL) และการขายชอร์ต (short selling) เพื่อยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นภาระหยุมหยิม และเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้เครื่องมือดังกล่าวบริหารความเสี่ยงในการลงทุนได้สะดวกมากขึ้น (ดูรายละเอียดการปรับปรุงหลักเกณฑ์เหล่านี้ได้ที่ www.sec.or.th)
นอกจากการผลักดันให้เกิดสินค้าใหม่ๆ และการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการลงทุนในตลาดทุนแล้ว เรื่องของการยกระดับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2551 ก.ล.ต. ได้ดำเนินการด้านมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance: CG) ด้วยการสนับสนุนการยกระดับคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (Annual General Meeting: AGM) ของบริษัทจดทะเบียนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งการที่บริษัทจดทะเบียนจัด AGM อย่างมีคุณภาพก็จะแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งหมายความรวมถึงการที่ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลประกอบการประชุมที่เพียงพอ รวมทั้งการมีช่องทางให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิใช้เสียงในฐานะเจ้าของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เริ่มใช้มาตรการที่จะให้รางวัลแก่ผู้ประกอบการ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีประวัติการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (compliance) และจรรยาบรรณดี โดยการใช้ fast track scheme ในการอนุญาตเปิดสาขาหรือออกสินค้าใหม่สำหรับผู้ประกอบการดังกล่าว
จากการผลักดันมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการมาอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นที่น่ายินดีว่าบริษัทจดทะเบียนไทยมีพัฒนาการด้านการกำกับดูแล กิจการที่ดีขึ้น โดยผลสำรวจของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยพบว่าปีที่ผ่านมาภาพรวมการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยเฉพาะในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส สิทธิของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีบริษัทที่ได้รับคะแนนดี ดีมาก และดีเลิศ เพิ่มขึ้นด้วย
การดำเนินการที่สำคัญอีกด้านหนึ่งก็คือการ เตรียมความพร้อม ของตลาดทุนไทยสำหรับการเชื่อมโยงกับตลาดทุนอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของตลาด ทุนไทย ซึ่งมาตรการที่ดำเนินการในปี 2551 หลักๆ ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยว กับการปรับโครงสร้างของตลาดทุนบ้านเรา ที่จะเน้นให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ในสนามการลงทุนระดับโลก ได้แก่ การดำเนินการเพื่อรองรับการเปิดเสรีใบอนุญาตหลักทรัพย์และเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตามแผนที่ได้ประกาศไว้เมื่อปี 2549 (ซึ่งจะมีผลอย่างเต็มรูปแบบในปี 2555) โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันยกระดับการทำธุรกิจ ได้ครบวงจร รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการจัดโครงสร้างการทำธุรกิจของผู้ประกอบการด้วย ทั้งนี้ การเปิดเสรีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์น่าจะทำให้ผู้ลงทุนได้รับประโยชน์จากการได้รับบริการที่ถูกลงและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมของโครงสร้างการบริหารจัดการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น รองรับผู้เล่นได้มากขึ้น และอยู่ในรูปแบบที่พร้อมเชื่อมโยงกับตลาดอื่น ก.ล.ต. ยังสนับสนุนการแปรสภาพของ ตลท. โดยเร่งจัดทำกฎเกณฑ์รองรับการดำเนินการในเรื่องนี้
ทางด้านของผู้ลงทุน ก.ล.ต. ได้สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในระดับผู้ลงทุนและบริษัทหลักทรัพย์ในการลงทุนในต่างประเทศ โดย ก.ล.ต. ได้ประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่ออนุญาตให้ผู้ลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น เช่น เปิดให้บุคคลธรรมดาลงทุนในต่างประเทศได้โดยผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือบริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการเตรียมการสำหรับการเชื่อมโยงตลาดทุนในระดับภูมิภาคนั้น ในระดับนโยบาย ก.ล.ต. ได้ผลักดันกระบวนการจัดทำแผน ปฏิบัติการ สำหรับรองรับการรวมตลาดทุนอาเซียนให้มีความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันด้วย ซึ่งการรวมตลาดทุนของประเทศในกลุ่มอาเซียนนี้ จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่ง และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในด้านการบริหาร และด้านเงินทุน รวมทั้งนำไปสู่อนาคตที่เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างมั่นคงต่อไป ส่วนในระดับปฏิบัติการ ก็มีความร่วมมือระหว่างตลาดทุนใน ASEAN ผ่าน ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ในการที่จะปรับกฎเกณฑ์หลักๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และลงทุนในหลักทรัพย์ข้ามประเทศระหว่างกันได้ โดยในปี 2551 นี้ สมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้ประกาศเกณฑ์ การเปิดเผยข้อมูลในการเสนอขายหลักทรัพย์ (Disclosure Rules) ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (ASEAN and Plus Standards Scheme) เพื่อเปิดให้มีการเสนอ ขายหลักทรัพย์พร้อมกันข้ามประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการที่จะผลักดันให้ตลาดทุนอาเซียนมีความเชื่อมโยงเป็นตลาดเดียวกันมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าปีที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้พยายามส่งเสริมและผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาตลาดทุนไทยด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งออมเงินของผู้ลงทุนที่มีประสิทธิภาพของ ประเทศ ซึ่งที่สุดแล้วจะส่งผลให้ผู้มีส่วนร่วมในตลาด รวมทั้งผู้ลงทุนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่นั่นเอง สัปดาห์หน้าเราจะมาร่วมคิด-ชวนคุย กับ ก.ล.ต. ถึงทิศทางก้าวต่อไปของ ก.ล.ต. ในปีศักราชใหม่ 2552 กับการสร้างสรรค์และพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อให้ก้าวไกลสู่ตลาดทุนโลก
----------------------------------------------------------------
ติดตามชมรายการ inside ก.ล.ต. พุธที่ 14 ม.ค. 2552 และทาง ททบ. 5 และ True Visions 80 เวลา 15.40-16.00 น.