"แฟชั่น ไอส์แลนด์" แตะเบรกแผนเปิดไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์โอเพ่นแอร์ มูลค่า 500 ล้านบาท เหตุยังแหยงพิษเศรษฐกิจและการเมือง พร้อมทุ่มงบ 500 ล้านบาท ปรับปรุงศูนย์ฯเดิมให้ทันสมัยตลอดเวลา พร้อมจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ขึ้น ยันนักท่องเที่ยวเข้าไทยน้อยลงไม่กระทบศูนย์การค้าชานเมือง
นายประเสริฐ ศรีอุฬารพงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การแฟชั่น ไอส์แลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ตัดสินใจชะลอการพัฒนาและลงทุนโครงการใหม่ที่จะสร้างเป็น ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ หรือเป็นโครงการศูนย์รวมร้านค้าปลีกแบบโอเพ่นแอร์ ที่เปิดโล่งออกไปก่อนโดยคาดว่าจะเริ่มพัฒนาใหม่ได้ปี 2553 เนื่องจากว่าปัญหาความไม่แน่นอนของภาวะทางการเมืองรวมทั้งปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 18 ไร่ ใกล้กับแฟชั่นไอส์แลนด์เดิม โดยมุ่งจับกลุ่มเป้าหมายครอบครัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มเดียวกันกับแฟชั่นไอส์แลนด์ แต่จะมีความแตกต่างในแง่ของการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
"แต่เดิมนั้นเราวางแผนไว้ว่าจะก่อสร้างตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการได้ภายในปีนี้ โดยมีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำรวมกว่า 500 ล้านบาท แต่สุดท้ายเราตัดสินใจชะลอโครงการเอาไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมและทุกอย่างดูชัดเจนทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ" นายประเสริฐกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯจะตัดสินใจชะลอโครงการใหม่ไว้ก่อน แต่ในส่วนของศูนย์ฯเดิมคือ แฟชั่นไอส์แลนด์ ก็ยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องรวมทั้งการปรับปรุงศูนย์ฯให้เกิดความทันสมัยตลอดเวลา เพราะธุรกิจค้าปลีกจะหยุดนิ่งไม่ได้ต้องทำอะไรใหม่ๆเสมอๆ ตามยุคสมัยตลอดเวลา เพื่อสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงจะสามารถรักษายอดขายและฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ได้ โดยปีนี้ตั้งงบประมาณไว้ 500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงพื้นที่ต่างๆของศูนย์ฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถปรับปรุงแล้วเสร็จได้ภายในไตรมาสที่สามของปีนี้
ขณะที่แผนการตลาดในปี 2552 นี้ จะเน้นหนักการใช้กลยุทธ์การจัดกิจกรรมเป็นหลักซึ่งจะพัฒนากิจกรรมให้มีขนาดของงานใหญ่ขึ้น ทั้งในแง่ของการร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดงานและรูปแบบของงานที่จะต้องมีการพัฒนาให้แปลกใหม่ แต่จะมีความถี่ในการจัดกิจกรรมเท่ากับหรือใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยจะมีการจัดกิจกรรมใหญ่ๆเท่าเดิม คือประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้ปีนี้บริษัทฯต้องเพิ่มงบส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ใช้ 20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมา 10 ล้านบาท
นายประเสริฐกล่าวต่อว่า แม้ว่าที่ผ่านมาปัญหาการเมืองจะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจบ้างก็ตาม แต่พบว่าศูนย์การค้าที่ตั้งและเปิดบริการอยู่ตามชานเมืองไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบดังกล่าวมากเท่าใดนัก เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้บริโภคที่อยู่ในย่านนั้นหรือพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนการที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าไทยน้อยลงนั้นจึงไม่เกี่ยวกับศูนย์การค้าฯชานเมือง เพราะแทบจะไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายเลย
"แต่ยอมรับว่า ช่วงใดที่ปัญหาการเมืองร้อนแรง ช่วงนั้นเห็นได้ชัดว่าผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและปริมาณน้อยลง แต่จะไปเพิ่มความถี่ในการเข้าซื้อสินค้า ซึ่งจากตัวเลขที่ทางศูนย์ฯเก็บไว้พบว่า ในวันธรรมดาจะมีปริมาณรถยนต์เข้าศูนย์ฯประมาณ 1.5 หมื่นคัน ส่วนวันหยุดคือ วันเสาร์ - อาทิตย์ จะมีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2 - 2.5 หมื่นคัน ดังนั้นในปี 2551 ศูนย์การแฟชั่นไอส์แลนด์จึงยังคงมีอัตราการเติบโตด้านยอดขายประมาณ 7% หรือมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตจากปี 2550 และคาดว่าในปี 2552 นี้ก็จะยังคงรักษาอัตราการเติบโตยอดขายไว้ที่ 7% ได้เหมือนเดิม
นายประเสริฐ ศรีอุฬารพงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นต์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การแฟชั่น ไอส์แลนด์ เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ตัดสินใจชะลอการพัฒนาและลงทุนโครงการใหม่ที่จะสร้างเป็น ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ หรือเป็นโครงการศูนย์รวมร้านค้าปลีกแบบโอเพ่นแอร์ ที่เปิดโล่งออกไปก่อนโดยคาดว่าจะเริ่มพัฒนาใหม่ได้ปี 2553 เนื่องจากว่าปัญหาความไม่แน่นอนของภาวะทางการเมืองรวมทั้งปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 18 ไร่ ใกล้กับแฟชั่นไอส์แลนด์เดิม โดยมุ่งจับกลุ่มเป้าหมายครอบครัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มเดียวกันกับแฟชั่นไอส์แลนด์ แต่จะมีความแตกต่างในแง่ของการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
"แต่เดิมนั้นเราวางแผนไว้ว่าจะก่อสร้างตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดดำเนินการได้ภายในปีนี้ โดยมีมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำรวมกว่า 500 ล้านบาท แต่สุดท้ายเราตัดสินใจชะลอโครงการเอาไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมและทุกอย่างดูชัดเจนทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ" นายประเสริฐกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯจะตัดสินใจชะลอโครงการใหม่ไว้ก่อน แต่ในส่วนของศูนย์ฯเดิมคือ แฟชั่นไอส์แลนด์ ก็ยังคงมีการลงทุนต่อเนื่องรวมทั้งการปรับปรุงศูนย์ฯให้เกิดความทันสมัยตลอดเวลา เพราะธุรกิจค้าปลีกจะหยุดนิ่งไม่ได้ต้องทำอะไรใหม่ๆเสมอๆ ตามยุคสมัยตลอดเวลา เพื่อสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงจะสามารถรักษายอดขายและฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ได้ โดยปีนี้ตั้งงบประมาณไว้ 500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงพื้นที่ต่างๆของศูนย์ฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถปรับปรุงแล้วเสร็จได้ภายในไตรมาสที่สามของปีนี้
ขณะที่แผนการตลาดในปี 2552 นี้ จะเน้นหนักการใช้กลยุทธ์การจัดกิจกรรมเป็นหลักซึ่งจะพัฒนากิจกรรมให้มีขนาดของงานใหญ่ขึ้น ทั้งในแง่ของการร่วมมือกับพันธมิตรในการจัดงานและรูปแบบของงานที่จะต้องมีการพัฒนาให้แปลกใหม่ แต่จะมีความถี่ในการจัดกิจกรรมเท่ากับหรือใกล้เคียงกับปีที่แล้ว โดยจะมีการจัดกิจกรรมใหญ่ๆเท่าเดิม คือประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้ปีนี้บริษัทฯต้องเพิ่มงบส่งเสริมการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่ใช้ 20 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมา 10 ล้านบาท
นายประเสริฐกล่าวต่อว่า แม้ว่าที่ผ่านมาปัญหาการเมืองจะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจบ้างก็ตาม แต่พบว่าศูนย์การค้าที่ตั้งและเปิดบริการอยู่ตามชานเมืองไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบดังกล่าวมากเท่าใดนัก เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้บริโภคที่อยู่ในย่านนั้นหรือพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนการที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าไทยน้อยลงนั้นจึงไม่เกี่ยวกับศูนย์การค้าฯชานเมือง เพราะแทบจะไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายเลย
"แต่ยอมรับว่า ช่วงใดที่ปัญหาการเมืองร้อนแรง ช่วงนั้นเห็นได้ชัดว่าผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและปริมาณน้อยลง แต่จะไปเพิ่มความถี่ในการเข้าซื้อสินค้า ซึ่งจากตัวเลขที่ทางศูนย์ฯเก็บไว้พบว่า ในวันธรรมดาจะมีปริมาณรถยนต์เข้าศูนย์ฯประมาณ 1.5 หมื่นคัน ส่วนวันหยุดคือ วันเสาร์ - อาทิตย์ จะมีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2 - 2.5 หมื่นคัน ดังนั้นในปี 2551 ศูนย์การแฟชั่นไอส์แลนด์จึงยังคงมีอัตราการเติบโตด้านยอดขายประมาณ 7% หรือมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตจากปี 2550 และคาดว่าในปี 2552 นี้ก็จะยังคงรักษาอัตราการเติบโตยอดขายไว้ที่ 7% ได้เหมือนเดิม