เอเอฟพี – อิสราเอลยังคงถล่มโจมตีดินแดนฉนวนกาซาด้วยระเบิดและปืนใหญ่ต่อไปเมื่อวานนี้(9) พร้อมประกาศว่าจะเดินหน้าเล่นงานกลุ่มฮามาสไม่เลิก ถึงแม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพิ่งผ่านมติออกมา สั่งให้ยุติการสู้รบที่ได้คร่าชีวิตพลเรือนไปหลายร้อยคนแล้ว
“อิสราเอลจะไม่มีวันยินยอมให้อิทธิพลภายนอกใดๆ เข้ามาตัดสินสิทธิของตนที่จะพิทักษ์ปกป้องพลเมืองของตน” นายกรัฐมนตรี เอฮุด โอลเมิร์ต ประกาศ ทั้งนี้ตามคำแถลงที่เผยแพร่โดยสำนักนายกรัฐมนตรีของเขา
“ไอดีเอฟ (กองทัพอิสราเอล) จะเดินหน้าปฏิบัติการเพื่อพิทักษ์คุ้มครองพลเมืองชาวอิสราเอล และจะดำเนินภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำหรับยุทธการคราวนี้” เป็นเนื้อความอีกตอนหนึ่งของคำแถลงฉบับนี้ ซึ่งออกมาขณะที่คณะรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงของอิสราเอล พบปะประชุมกันเพื่ออภิปรายว่าจะเดินหน้ายุทธการโจมตีกาซาที่ดำเนินมา 2 สัปดาห์แล้วกันอย่างไรต่อไป
“จรวดที่ยิงใส่พลเรือนอิสราเอลในภาคใต้เมื่อเช้าวันนี้ เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่ามติของยูเอ็นนั้นไม่อาจปฏิบัติตามได้ และก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับนับถือของพวกองค์การก่อการร้ายปาเลสไตน์” โอลเมิร์ตระบุ
ทางด้าน ราฟัต มอร์รา เจ้าหน้าที่ฮามาสผู้หนึ่งในกรุงเบรุต ก็กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า กลุ่มของเขาก็ปฏิเสธมติยูเอ็นฉบับนี้เช่นกัน เนื่องจาก “ไม่ได้เป็นการรักษาผลประโยชน์อย่างที่สุดให้แก่ประชาชนชาวปาเลสไตน์”
อิสราเอลวานนี้ได้เปิดการโจมตีทางอากาศมากกว่า 50 เที่ยวเข้าใส่ดินแดนกาซา ซึ่งหน่วยงานกู้ภัยฉุกเฉินของปาเลสไตน์บอกว่า คร่าชีวิตพลเรือนไปอีกอย่างน้อย 12 คน ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตตั้งแต่ยุทธการคราวนี้เริ่มต้นนี้ พุ่งไปเกือบเป็น 800 คนแล้ว
ทางด้านกลุ่มฮามาสและพันธมิตรก็ได้ยิงจรวดกว่า 15 ลูกเข้าไปในพื้นที่ตอนใต้ของอิสราเอล ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 คน ฝ่ายทหารของอิสราเอลรายงาน ในจำนวนนี้มีจรวดแบบ “แกรด” อย่างน้อย 4 ลูก ยิงไปตกที่ เบียร์เชวา ซึ่งอยู่ห่างจากกาซาราว 40 กิโลเมตร
แรงกดดันให้ทั้งสองฝ่ายยุติการสู้รบกำลังเพิ่มมากขึ้น ด้วยการที่คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นลงมติในวันพฤหัสบดี(8) เรียกร้องให้มีการหยุดยิง “ในทันทีและอย่างถาวร” จากนั้นก็ให้ทหารอิสราเอล “ถอนตัวอย่างสมบูรณ์” ออกจากกาซา
สมาชิก 14 ชาติจากทั้งหมด 15 ชาติของคณะมนตรีความมั่นคง ให้ความเห็นชอบกับมติฉบับนี้ ภายหลังการเจรจาต่อรองอย่างยืดเยื้อระหว่างฝ่ายอาหรับกับฝ่ายตะวันตก สหรัฐฯซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของอิสราเอลนั้นงดออกเสียง แต่ก็ไม่ได้ลงมติคัดค้านซึ่งจะเท่ากับใช้สิทธิยับยั้งและจะทำให้ญัตตินี้ต้องตกไป
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลีซซา ไรซ์ แถลงว่าสหรัฐฯต้องการเฝ้าติดตามต่อไปว่า ข้อเสนอริเริ่มสร้างสันติภาพของประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ ซึ่งกำลังเชื้อเชิญผู้แทนทั้งของอิสราเอลและปาเลสไตน์ไปยังกรุงไคโร เพื่อเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขในการทำข้อตกลงหยุดยิงนั้น จะได้ผลออกมาอย่างไร
ในอิสราเอล นายกฯโอลเมิร์ต, รัฐมนตรีต่างประเทศ ซิปี ลิฟนี, และรัฐมนตรีกลาโหม เอฮุด บารัค ซึ่งต่างเป็นคู่แข่งขันทางการเมืองแต่ต้องมาอยู่ร่วมกันในคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน ได้จัดการหารือพิเศษก่อนหน้าเริ่มต้นการประชุมคณะรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงกับรัฐมนตรีระดับท็อปคนอื่นๆ ตลอดจนนายทหารระดับสูง
มีรายงานว่าบุคคลทั้งสามเห็นแตกต่างกันในเรื่องการเดินหน้ายุทธการคราวนี้ โดยโอลเมิร์ตต้องการให้เดินหน้าโจมตีทางทหารต่อไป ขณะที่บารัคซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคเลเบอร์ต้องการให้หยุดยิง ส่วนลิฟนีคัดค้านการหยุดยิงกับฮามาส ด้วยเหตุผลว่าจะเท่ากับเป็นการรับรองโดยนัยต่อขบวนการฮามาส ที่อิสราเอลกับชาติตะวันตกส่วนใหญ่ถือเป็นองค์การก่อการร้าย
ในอีกด้านหนึ่ง อิสราเอลก็กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักทั้งจากบรรดาหน่วยงานของยูเอ็น, คณะกรรมการกาชาดสากล, ตลอดจนกลุ่มให้ความช่วยเหลือกู้ภัยอื่นๆ กระทั่งในมติของคณะมนตรีความมั่นคง ก็มีข้อความเรียกร้อง “ให้จัดการและแจกจ่ายความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อาทิ อาหาร, เชื้อเพลิง, และการเยียวยาทางการแพทย์ ในตลอดทั้งดินแดนกาซา โดยไม่ถูกขัดขวางยับยั้ง”
โฆษกกาชาดสากลซึ่งก่อนหน้านี้วิจารณ์อิสราเอลว่าถ่วงเวลาไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือพลเรือนที่บาดเจ็บ ได้แถลงวานนี้ว่าจะจำกัดการปฏิบัติการในกาซาให้เหลือเพียงเมืองใหญ่ เนื่องจากพาหนะของตนคันหนึ่งถูกโจมตีโดยดูน่าจะเป็นฝีมือทหารอิสราเอล
“อิสราเอลจะไม่มีวันยินยอมให้อิทธิพลภายนอกใดๆ เข้ามาตัดสินสิทธิของตนที่จะพิทักษ์ปกป้องพลเมืองของตน” นายกรัฐมนตรี เอฮุด โอลเมิร์ต ประกาศ ทั้งนี้ตามคำแถลงที่เผยแพร่โดยสำนักนายกรัฐมนตรีของเขา
“ไอดีเอฟ (กองทัพอิสราเอล) จะเดินหน้าปฏิบัติการเพื่อพิทักษ์คุ้มครองพลเมืองชาวอิสราเอล และจะดำเนินภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำหรับยุทธการคราวนี้” เป็นเนื้อความอีกตอนหนึ่งของคำแถลงฉบับนี้ ซึ่งออกมาขณะที่คณะรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงของอิสราเอล พบปะประชุมกันเพื่ออภิปรายว่าจะเดินหน้ายุทธการโจมตีกาซาที่ดำเนินมา 2 สัปดาห์แล้วกันอย่างไรต่อไป
“จรวดที่ยิงใส่พลเรือนอิสราเอลในภาคใต้เมื่อเช้าวันนี้ เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดแล้วว่ามติของยูเอ็นนั้นไม่อาจปฏิบัติตามได้ และก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับนับถือของพวกองค์การก่อการร้ายปาเลสไตน์” โอลเมิร์ตระบุ
ทางด้าน ราฟัต มอร์รา เจ้าหน้าที่ฮามาสผู้หนึ่งในกรุงเบรุต ก็กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า กลุ่มของเขาก็ปฏิเสธมติยูเอ็นฉบับนี้เช่นกัน เนื่องจาก “ไม่ได้เป็นการรักษาผลประโยชน์อย่างที่สุดให้แก่ประชาชนชาวปาเลสไตน์”
อิสราเอลวานนี้ได้เปิดการโจมตีทางอากาศมากกว่า 50 เที่ยวเข้าใส่ดินแดนกาซา ซึ่งหน่วยงานกู้ภัยฉุกเฉินของปาเลสไตน์บอกว่า คร่าชีวิตพลเรือนไปอีกอย่างน้อย 12 คน ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตตั้งแต่ยุทธการคราวนี้เริ่มต้นนี้ พุ่งไปเกือบเป็น 800 คนแล้ว
ทางด้านกลุ่มฮามาสและพันธมิตรก็ได้ยิงจรวดกว่า 15 ลูกเข้าไปในพื้นที่ตอนใต้ของอิสราเอล ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 คน ฝ่ายทหารของอิสราเอลรายงาน ในจำนวนนี้มีจรวดแบบ “แกรด” อย่างน้อย 4 ลูก ยิงไปตกที่ เบียร์เชวา ซึ่งอยู่ห่างจากกาซาราว 40 กิโลเมตร
แรงกดดันให้ทั้งสองฝ่ายยุติการสู้รบกำลังเพิ่มมากขึ้น ด้วยการที่คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นลงมติในวันพฤหัสบดี(8) เรียกร้องให้มีการหยุดยิง “ในทันทีและอย่างถาวร” จากนั้นก็ให้ทหารอิสราเอล “ถอนตัวอย่างสมบูรณ์” ออกจากกาซา
สมาชิก 14 ชาติจากทั้งหมด 15 ชาติของคณะมนตรีความมั่นคง ให้ความเห็นชอบกับมติฉบับนี้ ภายหลังการเจรจาต่อรองอย่างยืดเยื้อระหว่างฝ่ายอาหรับกับฝ่ายตะวันตก สหรัฐฯซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของอิสราเอลนั้นงดออกเสียง แต่ก็ไม่ได้ลงมติคัดค้านซึ่งจะเท่ากับใช้สิทธิยับยั้งและจะทำให้ญัตตินี้ต้องตกไป
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คอนโดลีซซา ไรซ์ แถลงว่าสหรัฐฯต้องการเฝ้าติดตามต่อไปว่า ข้อเสนอริเริ่มสร้างสันติภาพของประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ ซึ่งกำลังเชื้อเชิญผู้แทนทั้งของอิสราเอลและปาเลสไตน์ไปยังกรุงไคโร เพื่อเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขในการทำข้อตกลงหยุดยิงนั้น จะได้ผลออกมาอย่างไร
ในอิสราเอล นายกฯโอลเมิร์ต, รัฐมนตรีต่างประเทศ ซิปี ลิฟนี, และรัฐมนตรีกลาโหม เอฮุด บารัค ซึ่งต่างเป็นคู่แข่งขันทางการเมืองแต่ต้องมาอยู่ร่วมกันในคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน ได้จัดการหารือพิเศษก่อนหน้าเริ่มต้นการประชุมคณะรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงกับรัฐมนตรีระดับท็อปคนอื่นๆ ตลอดจนนายทหารระดับสูง
มีรายงานว่าบุคคลทั้งสามเห็นแตกต่างกันในเรื่องการเดินหน้ายุทธการคราวนี้ โดยโอลเมิร์ตต้องการให้เดินหน้าโจมตีทางทหารต่อไป ขณะที่บารัคซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคเลเบอร์ต้องการให้หยุดยิง ส่วนลิฟนีคัดค้านการหยุดยิงกับฮามาส ด้วยเหตุผลว่าจะเท่ากับเป็นการรับรองโดยนัยต่อขบวนการฮามาส ที่อิสราเอลกับชาติตะวันตกส่วนใหญ่ถือเป็นองค์การก่อการร้าย
ในอีกด้านหนึ่ง อิสราเอลก็กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักทั้งจากบรรดาหน่วยงานของยูเอ็น, คณะกรรมการกาชาดสากล, ตลอดจนกลุ่มให้ความช่วยเหลือกู้ภัยอื่นๆ กระทั่งในมติของคณะมนตรีความมั่นคง ก็มีข้อความเรียกร้อง “ให้จัดการและแจกจ่ายความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อาทิ อาหาร, เชื้อเพลิง, และการเยียวยาทางการแพทย์ ในตลอดทั้งดินแดนกาซา โดยไม่ถูกขัดขวางยับยั้ง”
โฆษกกาชาดสากลซึ่งก่อนหน้านี้วิจารณ์อิสราเอลว่าถ่วงเวลาไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือพลเรือนที่บาดเจ็บ ได้แถลงวานนี้ว่าจะจำกัดการปฏิบัติการในกาซาให้เหลือเพียงเมืองใหญ่ เนื่องจากพาหนะของตนคันหนึ่งถูกโจมตีโดยดูน่าจะเป็นฝีมือทหารอิสราเอล