เอเอฟพี/เอเยนซีส์ – สถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ทำท่าจะเกิด “แนวรบที่สอง” ขึ้นมาวานนี้(8) เมื่อมีการยิงจรวด 3 ลูกจากเลบานอนเข้าใส่พื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอล ขณะที่ในดินแดนฉนวนกาซา ซึ่งการสู้รบยืดเยื้อมา 13 วันแล้ว เครื่องบินรบของอิสราเอลได้ถล่มปูพรมมุ่งทำลายเครือข่ายอุโมงค์ ที่อ้างกันว่าเป็นช่องทางขนข้าวของและอาวุธจากอียิปต์เข้าสู่กาซา
จรวดทั้งสามลูกถูกยิงเข้าไปในเมืองนาฮาริยาทางตอนเหนือของอิสราเอลทำให้มีผู้หญิงบาดเจ็บ 2 คน ในระหว่างที่อิสราเอลได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางไปยังกรุงไคโรเพื่อเจรจาเกี่ยวกับแผนการของอียิปต์ในการยุติสงครามกับกลุ่มฮามาส ซึ่งล่าสุดมีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาไปแล้วอย่างน้อย 704 คน
ทว่ากลุ่มฮามาสปฏิเสธว่าไม่ได้ยิงจรวดดังกล่าว และรัฐบาลเลบานอนก็แถลงว่า กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งเป็นกองกำลังต่อต้านในเลบานอนและเป็นเป้าหมายของอิสราเอลในการทำสงครามเมื่อปี 2006 ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนแล้วว่าฮิซบอลเลาะห์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้
กองทัพอิสราเอลได้ยิงปืนใหญ่ตอบโต้เข้าไปยังเขตที่มีการยิงจรวดออกมาจากเลบานอนด้วย ทำให้พลเรือนในบริเวณดังกล่าววิ่งหนีกันอย่างแตกตื่นด้วยความหวาดกลัวว่าจะเกิดแนวรบใหม่ในพื้นที่นั้น
แม้ว่ารัฐบาลอิสราเอลจะยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการโจมตีลุ่ด แต่พวกสื่อต่างอ้างแหล่งข่าวจากกองทัพว่าการโจมตีด้วยจรวดน่าจะมาจากกลุ่มกองกำลังปาเลสไตน์ซึ่งโกรธแค้นการที่อิสราเอลใช้ปฏิบัติการรุกใส่ฉนวนกาซา
ทั้งนี้ ในการสู้รบในวันที่ 13 ในดินแดนกาซา เครื่องบินรบของอิสราเอลได้ยิงถล่มในพื้นที่ใกล้ชายแดนด้านติดต่อกับอียิปต์ ซึ่งอิสราเอลระบุว่ามีอุโมงค์ใต้ดินที่กลุ่มฮามาสใช้ในการขนอาวุธเข้าไปในฉนวนกาซา โดยก่อนหน้าการยิงถล่ม อิสราเอลได้โปรยใบปลิวนับหมื่นแผ่นเตือนประชาชนในเมืองราฟาห์ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดน ให้หลบหนีไปเสีย
อิสราเอลระบุว่ามีเส้นทางในอุโมงค์ใต้ดินกว่า 500 เส้นทางทั่วเมืองราฟาห์ ซึ่งเป็นเส้นทางลักลอบขนอาวุธและข้าวของต่างๆ จากอียิปต์เข้าไปยังฉนวนกาซา แม้ว่าอิสราเอลจะได้ปิดล้อมพื้นที่ฉนวนกาซาไว้ตั้งแต่กลุ่มฮามาสขึ้นครองอาจเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 เป็นต้นมาก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ารถถังของอิสราเอลได้เคลื่อนเข้าไปยังทางใต้ของฉนวนกาซาด้วย
และยังมีการจู่โจมทางอากาศขึ้นในพื้นที่ทางเหนือของฉนวนกาซาซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชากรอยู่หนาแน่น และมีผู้บาดเจ็บ 3 คน
เจ้าหน้าที่การแพทย์ในกาซาระบุว่านับตั้งแต่เกิดการสู้รบเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมเป็นต้นมา มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 704 คนแล้ว และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 3,100 คน ขณะที่อิสราเอลระบุว่ามีทหาร 6 นายเสียชีวิตในการสู้รบ และมีพลเรือน 3 คนกับทหารอีก 1 นายเสียชีวิตจากการถูกจรวดยิงถล่มในอิสราเอล
นอกจากนั้น ในวันพฤหัสบดียังมีจรวดอีก 3 ลูกยิงจากฉนวนกาซาเข้าไปทางตอนใต้ของอิสราเอล แต่อิสราเอลระบุว่าจะให้มีการหยุดยิงในฉนวนกาซาเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในแต่ละวัน เพื่อให้เวลาประชาชนได้ออกไปรับอาหารและความช่วยเหลือต่างๆ
แม้ว่าคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของอิสราเอลจะต้องการให้ใช้ปฏิบัติการสู้รบต่อไปเพื่อหยุดกลุ่มฮามาสไม่ให้ยิงจรวดใส่อิสราเอลได้อีก และหยุดการลักลอบขนอาวุธเข้าไปยังฉนวนกาซา แต่ความหวังที่จะยุติสงครามในฉนวนกาซาก็เกิดขึ้นเมื่อประธาธิบดีฮอสนี มูบารัคของอียิปต์เสนอแผนการหยุดรบ โดยในวันพฤหัสบดี คณะผู้แทนของอิสราเอลได้เดินทางไปยังกรุงไคโรเพื่อเจรจาเรื่องข้อเสนอหยุดยิง
ส่วนประธานาธิบดีชิมอน เปเรสแห่งอิสราเอลให้ความเห็นว่า แผนการหยุดยิงดังกล่าวเป็น “แนวคิดกว้างๆ” ที่จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดกันต่อไป และย้ำด้วยว่าจะต้องไม่ให้กาซาตกเป็น “บริวารของอิหร่าน” ด้วย
ด้านลิเบียได้เสนอร่างมติ “เรียกร้องให้มีการยุติปฏิบัติการรุกของอิสราเอลทันที” ในที่ประชุมสหประชาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากโลกอาหรับ แต่มติดังกล่าวจะมีผลก็ต่อเมื่อมีเสียงสนับสนุน 9 ชาติโดยไม่มีการใช้สิทธิยับยั้งจากสมาชิกถาวร 5 ชาติอันได้แก่อังกฤษ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ
จรวดทั้งสามลูกถูกยิงเข้าไปในเมืองนาฮาริยาทางตอนเหนือของอิสราเอลทำให้มีผู้หญิงบาดเจ็บ 2 คน ในระหว่างที่อิสราเอลได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางไปยังกรุงไคโรเพื่อเจรจาเกี่ยวกับแผนการของอียิปต์ในการยุติสงครามกับกลุ่มฮามาส ซึ่งล่าสุดมีผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาไปแล้วอย่างน้อย 704 คน
ทว่ากลุ่มฮามาสปฏิเสธว่าไม่ได้ยิงจรวดดังกล่าว และรัฐบาลเลบานอนก็แถลงว่า กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งเป็นกองกำลังต่อต้านในเลบานอนและเป็นเป้าหมายของอิสราเอลในการทำสงครามเมื่อปี 2006 ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนแล้วว่าฮิซบอลเลาะห์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้
กองทัพอิสราเอลได้ยิงปืนใหญ่ตอบโต้เข้าไปยังเขตที่มีการยิงจรวดออกมาจากเลบานอนด้วย ทำให้พลเรือนในบริเวณดังกล่าววิ่งหนีกันอย่างแตกตื่นด้วยความหวาดกลัวว่าจะเกิดแนวรบใหม่ในพื้นที่นั้น
แม้ว่ารัฐบาลอิสราเอลจะยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการโจมตีลุ่ด แต่พวกสื่อต่างอ้างแหล่งข่าวจากกองทัพว่าการโจมตีด้วยจรวดน่าจะมาจากกลุ่มกองกำลังปาเลสไตน์ซึ่งโกรธแค้นการที่อิสราเอลใช้ปฏิบัติการรุกใส่ฉนวนกาซา
ทั้งนี้ ในการสู้รบในวันที่ 13 ในดินแดนกาซา เครื่องบินรบของอิสราเอลได้ยิงถล่มในพื้นที่ใกล้ชายแดนด้านติดต่อกับอียิปต์ ซึ่งอิสราเอลระบุว่ามีอุโมงค์ใต้ดินที่กลุ่มฮามาสใช้ในการขนอาวุธเข้าไปในฉนวนกาซา โดยก่อนหน้าการยิงถล่ม อิสราเอลได้โปรยใบปลิวนับหมื่นแผ่นเตือนประชาชนในเมืองราฟาห์ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดน ให้หลบหนีไปเสีย
อิสราเอลระบุว่ามีเส้นทางในอุโมงค์ใต้ดินกว่า 500 เส้นทางทั่วเมืองราฟาห์ ซึ่งเป็นเส้นทางลักลอบขนอาวุธและข้าวของต่างๆ จากอียิปต์เข้าไปยังฉนวนกาซา แม้ว่าอิสราเอลจะได้ปิดล้อมพื้นที่ฉนวนกาซาไว้ตั้งแต่กลุ่มฮามาสขึ้นครองอาจเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 เป็นต้นมาก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ารถถังของอิสราเอลได้เคลื่อนเข้าไปยังทางใต้ของฉนวนกาซาด้วย
และยังมีการจู่โจมทางอากาศขึ้นในพื้นที่ทางเหนือของฉนวนกาซาซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชากรอยู่หนาแน่น และมีผู้บาดเจ็บ 3 คน
เจ้าหน้าที่การแพทย์ในกาซาระบุว่านับตั้งแต่เกิดการสู้รบเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมเป็นต้นมา มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตอย่างน้อย 704 คนแล้ว และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 3,100 คน ขณะที่อิสราเอลระบุว่ามีทหาร 6 นายเสียชีวิตในการสู้รบ และมีพลเรือน 3 คนกับทหารอีก 1 นายเสียชีวิตจากการถูกจรวดยิงถล่มในอิสราเอล
นอกจากนั้น ในวันพฤหัสบดียังมีจรวดอีก 3 ลูกยิงจากฉนวนกาซาเข้าไปทางตอนใต้ของอิสราเอล แต่อิสราเอลระบุว่าจะให้มีการหยุดยิงในฉนวนกาซาเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในแต่ละวัน เพื่อให้เวลาประชาชนได้ออกไปรับอาหารและความช่วยเหลือต่างๆ
แม้ว่าคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของอิสราเอลจะต้องการให้ใช้ปฏิบัติการสู้รบต่อไปเพื่อหยุดกลุ่มฮามาสไม่ให้ยิงจรวดใส่อิสราเอลได้อีก และหยุดการลักลอบขนอาวุธเข้าไปยังฉนวนกาซา แต่ความหวังที่จะยุติสงครามในฉนวนกาซาก็เกิดขึ้นเมื่อประธาธิบดีฮอสนี มูบารัคของอียิปต์เสนอแผนการหยุดรบ โดยในวันพฤหัสบดี คณะผู้แทนของอิสราเอลได้เดินทางไปยังกรุงไคโรเพื่อเจรจาเรื่องข้อเสนอหยุดยิง
ส่วนประธานาธิบดีชิมอน เปเรสแห่งอิสราเอลให้ความเห็นว่า แผนการหยุดยิงดังกล่าวเป็น “แนวคิดกว้างๆ” ที่จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดกันต่อไป และย้ำด้วยว่าจะต้องไม่ให้กาซาตกเป็น “บริวารของอิหร่าน” ด้วย
ด้านลิเบียได้เสนอร่างมติ “เรียกร้องให้มีการยุติปฏิบัติการรุกของอิสราเอลทันที” ในที่ประชุมสหประชาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากโลกอาหรับ แต่มติดังกล่าวจะมีผลก็ต่อเมื่อมีเสียงสนับสนุน 9 ชาติโดยไม่มีการใช้สิทธิยับยั้งจากสมาชิกถาวร 5 ชาติอันได้แก่อังกฤษ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ