วานนี้(7 ม.ค.)นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาสำนวนคดีเงินสินบน 2 ล้านบาทใส่ถุงขนม ว่าคดีนี้พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม นำสำนวนคดีที่ ผู้อำนวยการประจำสำนักประธานศาลฎีกา เป็นผู้กล่าวโทษนายพิชิฏ ชื่นบาน อดีตทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีต ภริยา น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนาย และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี ฐานร่วมกันให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน เพื่อให้กระทำการ หรือไม่กระทำการตามหน้าที่ โดยทุจริต ตาม ป.อาญามาตรา144 และเสนอความเห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น
อัยการได้ตั้งคณะทำงาน โดยมี ร.ต.ท.ธานี วุฒิยากร รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา นายสมเจตต์ ชัยเฉลิมปรีชา อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 นายสมบูรณ์ ศุภอักษร อัยการอาวุโส นายยงยุทธ ศรีสัตยาชล อัยการจังหวัดประจำกรม เป็นคณะทำงาน พิจารณาสำนวนจำนวน 300 หน้า ประกอบพยานฝ่ายผู้เสียหายมีเลขานุการศาลฎีกาเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา และ ฝ่ายผู้ต้องหาทั้ง 3 คน กับบุคคลอื่นๆ ที่ผู้ต้องหาอ้างถึง โดยใช้เวลานาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ไม่มีฝ่ายใดร้องขอความเป็นธรรม
อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา กล่าวอีกว่า อัยการพิจารณาสำนวนและพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 144 ต้องมี “ผู้ใด” ขอให้ หรือรับว่าจะให้ โดยข้อเท็จจริงคดีนี้ไม่พบว่า ทนายความที่ถือถุงใส่เงินมาให้ มีวัตถุประสงค์ จะให้เงิน 2 ล้านบาท แต่ได้ความเพียงว่า มีเจตนาจะให้”ขนม”ไม่ใช่แสดงตัวมาแต่แรกว่าจะให้เงิน จึงขาดความเป็น”ผู้ใด” คือผู้ให้สินบน
ข้อต่อมาคือ “การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด”จากข้อเท็จจริงเห็นว่า เงินของกลาง 2 ล้านบาทเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลับไม่มีเงินของกลางในสำนวน และยังไม่ได้ข้อเท็จจริงว่า จะให้เงิน 2 ล้านบาท ไปเพื่ออะไร อัยการจึงมีความเห็นว่า การที่คืนเงินของกลางไปทำให้คดีขาดหลักฐานสำคัญ
นายกายสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ความผิดมาตรานี้ต้องมี เจ้าพนักงานผู้รับสินบน แต่คดีนี้ คนที่มารับเงินคือ เจ้าหน้าที่นิติกร 3 ซึ่งไม่ใช่ “เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับอรรถคดี มาเป็นผู้รับเงิน
“อัยการ จึงเห็นพ้องกันว่า การกระทำดังกล่าวของนายพิชิฏ กับพวก ไม่ครบองค์ประกอบความผิด เพียงพอที่จะทำให้มีน้ำหนักพอฟ้องคดีได้ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้องตาม ป.วิอาญามาตรา 143 และเป็นคำสั่งที่เห็นพ้องเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน คดีจึงเป็นอันยุติ และจะแจ้งคำสั่งนี้ไปยังพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหาทราบ และเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดินคือเป็นฐานความผิดต่อเจ้าพนักงาน แผ่นดินเท่านั้นผู้เสียหาย จะฟ้องคดีเองอีกไม่ได้ ” นายกายสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อย่างนี้เท่ากับทนายความทั้งสามคนไม่ได้กระทำความผิด และติดคุกฟรี นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการเข้าใจผิด เพราะคดีละเมิดอำนาจศาล เป็นความผิดเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล และเป็นความผิดคนละประเภทกัน ที่ศาลลงโทษ ฐานละเมิดอำนาจศาลจำคุกคนละ 6 เดือนจนออกจากคุกมานั้น ศาลลงโทษเหมาะสมแล้ว อัยการก็เห็นด้วยไม่ขัดข้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 51 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยในคดีทุจริตที่ดินรัชดา ได้เดินทางมารายงานตัวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระหว่างนั้นก็มีทีมทนายความนำถุงขนมใส่เงินจำนวน 2 ล้านบาทไปให้แก่เจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและมีการแจ้งความดำเนินคดี ส่วนเงินของกลางได้คืนแก่ทีมทนายความไป หลังจากนั้นศาลได้แจ้งข้อหาละเมิดอำนาจศาลกับทั้งสาม และไต่สวนข้อเท็จจริง กระทั่ง วันที่ 25 มิ.ย. 51 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้จำคุกนายพิชิฏ กับพวกคนละ 6 เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล จนพ้นโทษเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา
อัยการได้ตั้งคณะทำงาน โดยมี ร.ต.ท.ธานี วุฒิยากร รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา นายสมเจตต์ ชัยเฉลิมปรีชา อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 นายสมบูรณ์ ศุภอักษร อัยการอาวุโส นายยงยุทธ ศรีสัตยาชล อัยการจังหวัดประจำกรม เป็นคณะทำงาน พิจารณาสำนวนจำนวน 300 หน้า ประกอบพยานฝ่ายผู้เสียหายมีเลขานุการศาลฎีกาเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา และ ฝ่ายผู้ต้องหาทั้ง 3 คน กับบุคคลอื่นๆ ที่ผู้ต้องหาอ้างถึง โดยใช้เวลานาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ไม่มีฝ่ายใดร้องขอความเป็นธรรม
อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา กล่าวอีกว่า อัยการพิจารณาสำนวนและพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 144 ต้องมี “ผู้ใด” ขอให้ หรือรับว่าจะให้ โดยข้อเท็จจริงคดีนี้ไม่พบว่า ทนายความที่ถือถุงใส่เงินมาให้ มีวัตถุประสงค์ จะให้เงิน 2 ล้านบาท แต่ได้ความเพียงว่า มีเจตนาจะให้”ขนม”ไม่ใช่แสดงตัวมาแต่แรกว่าจะให้เงิน จึงขาดความเป็น”ผู้ใด” คือผู้ให้สินบน
ข้อต่อมาคือ “การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด”จากข้อเท็จจริงเห็นว่า เงินของกลาง 2 ล้านบาทเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลับไม่มีเงินของกลางในสำนวน และยังไม่ได้ข้อเท็จจริงว่า จะให้เงิน 2 ล้านบาท ไปเพื่ออะไร อัยการจึงมีความเห็นว่า การที่คืนเงินของกลางไปทำให้คดีขาดหลักฐานสำคัญ
นายกายสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ความผิดมาตรานี้ต้องมี เจ้าพนักงานผู้รับสินบน แต่คดีนี้ คนที่มารับเงินคือ เจ้าหน้าที่นิติกร 3 ซึ่งไม่ใช่ “เจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับอรรถคดี มาเป็นผู้รับเงิน
“อัยการ จึงเห็นพ้องกันว่า การกระทำดังกล่าวของนายพิชิฏ กับพวก ไม่ครบองค์ประกอบความผิด เพียงพอที่จะทำให้มีน้ำหนักพอฟ้องคดีได้ จึงมีคำสั่งไม่ฟ้องตาม ป.วิอาญามาตรา 143 และเป็นคำสั่งที่เห็นพ้องเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน คดีจึงเป็นอันยุติ และจะแจ้งคำสั่งนี้ไปยังพนักงานสอบสวนและผู้ต้องหาทราบ และเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดินคือเป็นฐานความผิดต่อเจ้าพนักงาน แผ่นดินเท่านั้นผู้เสียหาย จะฟ้องคดีเองอีกไม่ได้ ” นายกายสิทธิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า อย่างนี้เท่ากับทนายความทั้งสามคนไม่ได้กระทำความผิด และติดคุกฟรี นายกายสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการเข้าใจผิด เพราะคดีละเมิดอำนาจศาล เป็นความผิดเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล และเป็นความผิดคนละประเภทกัน ที่ศาลลงโทษ ฐานละเมิดอำนาจศาลจำคุกคนละ 6 เดือนจนออกจากคุกมานั้น ศาลลงโทษเหมาะสมแล้ว อัยการก็เห็นด้วยไม่ขัดข้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมูลเหตุคดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 51 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยในคดีทุจริตที่ดินรัชดา ได้เดินทางมารายงานตัวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระหว่างนั้นก็มีทีมทนายความนำถุงขนมใส่เงินจำนวน 2 ล้านบาทไปให้แก่เจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและมีการแจ้งความดำเนินคดี ส่วนเงินของกลางได้คืนแก่ทีมทนายความไป หลังจากนั้นศาลได้แจ้งข้อหาละเมิดอำนาจศาลกับทั้งสาม และไต่สวนข้อเท็จจริง กระทั่ง วันที่ 25 มิ.ย. 51 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้จำคุกนายพิชิฏ กับพวกคนละ 6 เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล จนพ้นโทษเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา