ปีใหม่ผ่านพ้นไปแล้ว พร้อมๆ กับประเทศไทยที่ได้รัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ตัวเลือกหนึ่งเดียวภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ดีที่สุด ในการเข้ามาบริหารประเทศท่ามกลางสารพัดปัญหาของชาติ
ก้าวย่างของรัฐบาลชุดนี้จึงมีความหมายต่อหลายๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ย้อนไปก่อนการมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 27
ไม่มีใครคาดคิดว่าคนอย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” หรือ “เทพเทือก” เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จะสามารถปั้น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ได้สำเร็จตามที่เคยลั่นสัจจะวาจาเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน แม้จะต้องอาศัยแรงหนุนจากหลายฝ่าย ผสมกับสัญชาตญาณของนักการเมือง ที่ไม่เคยยอมตายร่วมกับซากศพของใครทั้งสิ้นก็ตาม
แม้งานนี้พรรคประชาธิปัตย์ยอมสยบให้กับ “กลุ่มเพื่อนเนวิน” ด้วยการยกเก้าอี้กระทรวงบิ๊กๆ ให้ไปแบบกินรวบ ชนิดที่พรรคตัวเองต้องถอยสุดตัว จนเหลือตำแหน่งในพรรคเพียงน้อยนิดกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในพรรค จากคนอกหักที่พลาดหวังกับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งยังต้องตามเคลียร์ใจกันอีกพักใหญ่
สิ่งแรกที่ท้าทายวุฒิภาวะความเป็นผู้นำของ “อภิสิทธิ์” ไม่ใช่การคุมเกมในคณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่การสะท้อนภาพให้สังคมได้มั่นใจว่า “อภิสิทธิ์” ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้ การครอบงำของ “ชวน หลีกภัย” กับ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ซึ่งเป็นโจทก์แรกๆ ที่ต้องให้คำตอบกับสังคม
มีการเปรียบเทียบการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “อภิสิทธิ์” ภายใต้การผลักดันของ “สุเทพ” ว่าช่างคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งที่ “ชวน” ได้ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง จนก่อเกิดตำนานกลุ่มงูเห่าขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะฝีมือแม่บ้านชื่อ “สนั่น ขจรประศาสน์” เลขาธิการพรรคในสมัยนั้นที่วิ่งเต้นผลักดันจนสำเร็จ แตกต่างกันเพียงแต่ว่าคราวนี้เป็นตำนานใหม่ที่ต้องเรียกว่า “อะนาคอนด้า” ซึ่งยากยิ่งกว่าในการที่จะกุมบังเหียนของรัฐนาวานี้ให้ไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง
ช่วงที่ “เสธ.หนั่น” ปลุกปั้น “ชวน” เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นยุคที่เขาเรืองอำนาจมากที่สุดในพรรค เพราะมีส.ส.ในสังกัดกลุ่มสนามบินน้ำที่พร้อมใจกันเรียก เสธ.หนั่นว่า “นาย”อย่างสนิทปาก จึงทำให้ “ชวน” และทุกคนในพรรคต้องติดอยู่กับการครอบงำของ “เสธ.หนั่น” มานานพอสมควร
กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมาช่วยเปิดทางออกจากกรณีเงินกู้ 45 ล้านบาท จนเป็นเหตุให้ ต้องพ้นจากแวดวงการเมืองไปถึง 5 ปี จึงเป็นโอกาสที่ “ชวน” ค้นเจอหนทางหลุดพ้นจากเงาดำของ “เสธหนั่น” ได้ด้วยการผลักดันคนรุ่นใหม่อย่าง “อภิสิทธิ์” ขึ้นมาแทน
กอปรกับการเป็นรัฐบาลท่ามกลางวิกฤตสมัย “ชวน 2” ก็ทำให้ชื่อของ “ชวน” เริ่มกลายเป็นความเบื่อหน่ายในสายตาประชาชน หนทางเดียวที่จะทำให้พรรคยืนหยัดต่อสู้ทางการเมืองคือการถ่ายเลือดใหม่ แต่ก็ใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่าย เพราะแม้ขณะนั้น “ชวน” จะหนุนเต็มตัว และ “เสธ.หนั่น” พ้นจากแวดวงการเมืองไปแล้ว แต่บารมียังคงแผ่ขยายอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ชนิดที่ทำให้ “อภิสิทธิ์” ต้องพลาดหวังจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนที่ 6 โดยส้มนั้นไปหล่นใส่ “บัญญัติ บรรทัดฐาน” แทน
หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ เปลี่ยนขั้วอำนาจภายในครั้งใหญ่ จากฐานอำนาจเดิมที่ “เสธ.หนั่น” เคยยึดครองไว้ ไปเป็นของกลุ่มผลัดใบภายใต้การ ประสานกำลังกันระหว่าง “อภิสิทธิ์” กับ “สุเทพ” ได้มีความพยายามดึง ส.ส.จาก กลุ่มก๊วนต่างๆ เขามาอยู่ในสังกัดของตนเองอย่างต่อเนื่อง จนเวลานี้ถือว่า เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่สุดในพรรคก็ว่าได้
หากเทียบกันระหว่าง “อภิสิทธิ์” กับ “ชวน” แล้วต้องถือว่า “ชวน” มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งประสบการณ์ที่เคยเป็นรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง และเป็นส.ส.มายาวนานร่วม 20 กว่าปี และตัวเลขอายุ50 กว่าๆ ซึ่งถือว่ามีอาวุโส พอสมควรแล้ว บารมีจึงมากพอที่จะให้เสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ร่วม ครม. ต่างก็ต้องเกรงใจ
นอกจากนี้ยังมีดรีมทีมเศรษฐกิจ อย่าง “ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์” และ “ศุภชัย พานิชภักดิ์” มาช่วยเป็นหัวหอกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจไทยด้วย’
ขณะที่ “อภิสิทธิ์” แม้จะเป็นส.ส.มา 16 ปี ถือว่ามีพรรษาที่แก่กล้าพอสมควร แต่มีประสบการณ์ผ่านงานรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียวคือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่รอบตัวของ “อภิสิทธิ์” ในตอนนี้ล้วนรายล้อมไปด้วยรัฐมนตรี ต่างตอบแทนที่เปลี่ยนขั้วการเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวด้วยกันทั้งสิ้น
หากพิจารณาดูการจัดเก้าอี้รัฐมนตรีภายในพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมา ก็จะพิเคราะห์ได้ว่า “สุเทพ” มีอิทธิพลมากขนาดไหน เก้าอี้รัฐมนตรีทั้งหมดถูกจัดไว้สำหรับเด็กในก๊วนตัวเองเกือบทั้งสิ้น มีเจียดไปให้เด็กใน “กลุ่มทศวรรษใหม่” และ “กลุ่มนายหัวชวน” ไม่กี่ตำแหน่ง แถมเป็นกระทรวงที่อยู่ในเกรด บี และ ซี
การออกมาพูดผ่านสื่อของ “ชวน” ที่ว่า การจัดรัฐมนตรีในพรรคครั้งนี้ “สุเทพ” ไม่เคยมาปรึกษา และไม่ได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด
หรือการเผ่นออกจากห้องประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่ขอร่วมพิจารณาโผ ครม.ของ “บัญญัติ” หรือ ที่มีส.ส.บางคนออกอาการวีนแตก ถึงขนาดประชดประชันด้วยการร่อนจดหมายลาออก และแฉเรื่องนายทุนทุ่มเงิน ซื้อเก้าอี้กันเป็นที่ฮือฮาเล่นเอาพรรคแทบแตก อาการเหล่านี้น่าจะบ่งบอกอะไรบางอย่างได้พอสมควร
แต่ก็นับเป็นความโชคดีของคนที่เป็นแกนนำพรรคนี้อย่างหนึ่งว่าถ้าเทียบกับพรรคการเมืองอื่นๆ แล้ว ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมีความสงบมั่นคง และมีความเป็นเอกภาพมากกว่า ซึ่งอาจเพราะความเป็นสถาบันทางการเมือง และวัฒนธรรมภายในพรรค ที่ทำให้ส.ส.แต่ละคนต่างอยู่ในระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ร่วมกันทำงานประสานกับเป็นทีมเวิร์คที่ดีเยี่ยม จนทำให้คู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง พรรคไทยรักไทย ถึงต้องล่มสลายไป แม้จะเปลี่ยนมาเป็นพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับแล้วก็ตาม
มองภาพกระทรวงเศรษฐกิจที่กระจัดกระจายไปอยู่ต่างพรรค แถมบุคคล ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญยังขาดทั้งความเป็นมืออาชีพ และยังมีตำหนิ อีกทั้งปัญหาหลายๆ เรื่องที่คอยรุมเร้า จนเรียกว่าการบริหารงานครั้งนี้ ทั้งท้าทายและยากสุด ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ใครคนหนึ่งจะบริหารการเมืองท่ามกลางรัฐบาลผสม ที่ไม่สามารถวางใจได้ว่าจะมีสัจจะระหว่างกันไปจนถึงเมื่อใด
บวกกับความแตกร้าวที่เกิดขึ้นเป็นบาดแผลใหญ่ในประเทศ ซ้ำเติมด้วยปัญหาเศรษฐกิจโลก ที่กำลังคืบคลานเข้ามาส่งผลกระทบกับคนไทย จนถึงขนาดเรียกกันว่า ปี 2552 จะเป็นปี “เผาจริง” ที่เศรษฐกิจไทยอาจถึงขั้นติดลบ และจะเลวร้ายรุนแรงยิ่งกว่าปี 2540 เสียด้วยซ้ำ!
ทั้งปัญหาภายในพรรคที่ยังคงคุกรุ่น พร้อมรอวันจะกระเพื่อมได้ตลอดเวลา ที่มีโอกาส ตามธรรมชาติของพรรคการเมืองขนาดใหญ่และต้องหาทางขยายขุมกำลังของตนเองภายในพรรคเพื่อรักษาตำแหน่งหัวหน้าพรรคเอาไว้ให้นานที่สุด
สภาพปัญหาความไม่มั่นคงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลผสมที่มีกลุ่มก้อน จากพรรคการเมืองต่างๆ ที่พร้อมจะเปลี่ยนขั้วได้ตลอดเวลา รวมถึง ปัญหาของ บ้านเมืองที่กำลังวิกฤตอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นความท้าทายต่อ “อภิสิทธิ์” เป็นอย่างยิ่ง
จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองอย่างยิ่ง หาก “อภิสิทธิ์” สามารถ ก้าวผ่านเรื่องนี้ ไปได้ ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนประเทศไทยอย่างแท้จริง แต่หากล้มเหลว จากการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ชีวิตการเมืองพร้อมความฝันที่ตั้งมั่นมาตลอด ก็อาจสะดุดหยุดลง ด้วยโอกาสที่มาแบบต้องเรียกว่า “ทุกขลาภ”
ก้าวย่างของรัฐบาลชุดนี้จึงมีความหมายต่อหลายๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ย้อนไปก่อนการมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 27
ไม่มีใครคาดคิดว่าคนอย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” หรือ “เทพเทือก” เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จะสามารถปั้น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ได้สำเร็จตามที่เคยลั่นสัจจะวาจาเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน แม้จะต้องอาศัยแรงหนุนจากหลายฝ่าย ผสมกับสัญชาตญาณของนักการเมือง ที่ไม่เคยยอมตายร่วมกับซากศพของใครทั้งสิ้นก็ตาม
แม้งานนี้พรรคประชาธิปัตย์ยอมสยบให้กับ “กลุ่มเพื่อนเนวิน” ด้วยการยกเก้าอี้กระทรวงบิ๊กๆ ให้ไปแบบกินรวบ ชนิดที่พรรคตัวเองต้องถอยสุดตัว จนเหลือตำแหน่งในพรรคเพียงน้อยนิดกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในพรรค จากคนอกหักที่พลาดหวังกับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งยังต้องตามเคลียร์ใจกันอีกพักใหญ่
สิ่งแรกที่ท้าทายวุฒิภาวะความเป็นผู้นำของ “อภิสิทธิ์” ไม่ใช่การคุมเกมในคณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่การสะท้อนภาพให้สังคมได้มั่นใจว่า “อภิสิทธิ์” ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้ การครอบงำของ “ชวน หลีกภัย” กับ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ซึ่งเป็นโจทก์แรกๆ ที่ต้องให้คำตอบกับสังคม
มีการเปรียบเทียบการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ “อภิสิทธิ์” ภายใต้การผลักดันของ “สุเทพ” ว่าช่างคล้ายคลึงกับเมื่อครั้งที่ “ชวน” ได้ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง จนก่อเกิดตำนานกลุ่มงูเห่าขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะฝีมือแม่บ้านชื่อ “สนั่น ขจรประศาสน์” เลขาธิการพรรคในสมัยนั้นที่วิ่งเต้นผลักดันจนสำเร็จ แตกต่างกันเพียงแต่ว่าคราวนี้เป็นตำนานใหม่ที่ต้องเรียกว่า “อะนาคอนด้า” ซึ่งยากยิ่งกว่าในการที่จะกุมบังเหียนของรัฐนาวานี้ให้ไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง
ช่วงที่ “เสธ.หนั่น” ปลุกปั้น “ชวน” เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นยุคที่เขาเรืองอำนาจมากที่สุดในพรรค เพราะมีส.ส.ในสังกัดกลุ่มสนามบินน้ำที่พร้อมใจกันเรียก เสธ.หนั่นว่า “นาย”อย่างสนิทปาก จึงทำให้ “ชวน” และทุกคนในพรรคต้องติดอยู่กับการครอบงำของ “เสธ.หนั่น” มานานพอสมควร
กระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมาช่วยเปิดทางออกจากกรณีเงินกู้ 45 ล้านบาท จนเป็นเหตุให้ ต้องพ้นจากแวดวงการเมืองไปถึง 5 ปี จึงเป็นโอกาสที่ “ชวน” ค้นเจอหนทางหลุดพ้นจากเงาดำของ “เสธหนั่น” ได้ด้วยการผลักดันคนรุ่นใหม่อย่าง “อภิสิทธิ์” ขึ้นมาแทน
กอปรกับการเป็นรัฐบาลท่ามกลางวิกฤตสมัย “ชวน 2” ก็ทำให้ชื่อของ “ชวน” เริ่มกลายเป็นความเบื่อหน่ายในสายตาประชาชน หนทางเดียวที่จะทำให้พรรคยืนหยัดต่อสู้ทางการเมืองคือการถ่ายเลือดใหม่ แต่ก็ใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่าย เพราะแม้ขณะนั้น “ชวน” จะหนุนเต็มตัว และ “เสธ.หนั่น” พ้นจากแวดวงการเมืองไปแล้ว แต่บารมียังคงแผ่ขยายอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ชนิดที่ทำให้ “อภิสิทธิ์” ต้องพลาดหวังจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนที่ 6 โดยส้มนั้นไปหล่นใส่ “บัญญัติ บรรทัดฐาน” แทน
หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ เปลี่ยนขั้วอำนาจภายในครั้งใหญ่ จากฐานอำนาจเดิมที่ “เสธ.หนั่น” เคยยึดครองไว้ ไปเป็นของกลุ่มผลัดใบภายใต้การ ประสานกำลังกันระหว่าง “อภิสิทธิ์” กับ “สุเทพ” ได้มีความพยายามดึง ส.ส.จาก กลุ่มก๊วนต่างๆ เขามาอยู่ในสังกัดของตนเองอย่างต่อเนื่อง จนเวลานี้ถือว่า เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่สุดในพรรคก็ว่าได้
หากเทียบกันระหว่าง “อภิสิทธิ์” กับ “ชวน” แล้วต้องถือว่า “ชวน” มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งประสบการณ์ที่เคยเป็นรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง และเป็นส.ส.มายาวนานร่วม 20 กว่าปี และตัวเลขอายุ50 กว่าๆ ซึ่งถือว่ามีอาวุโส พอสมควรแล้ว บารมีจึงมากพอที่จะให้เสือ สิงห์ กระทิง แรด ที่ร่วม ครม. ต่างก็ต้องเกรงใจ
นอกจากนี้ยังมีดรีมทีมเศรษฐกิจ อย่าง “ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์” และ “ศุภชัย พานิชภักดิ์” มาช่วยเป็นหัวหอกในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจไทยด้วย’
ขณะที่ “อภิสิทธิ์” แม้จะเป็นส.ส.มา 16 ปี ถือว่ามีพรรษาที่แก่กล้าพอสมควร แต่มีประสบการณ์ผ่านงานรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียวคือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่รอบตัวของ “อภิสิทธิ์” ในตอนนี้ล้วนรายล้อมไปด้วยรัฐมนตรี ต่างตอบแทนที่เปลี่ยนขั้วการเมืองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวด้วยกันทั้งสิ้น
หากพิจารณาดูการจัดเก้าอี้รัฐมนตรีภายในพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมา ก็จะพิเคราะห์ได้ว่า “สุเทพ” มีอิทธิพลมากขนาดไหน เก้าอี้รัฐมนตรีทั้งหมดถูกจัดไว้สำหรับเด็กในก๊วนตัวเองเกือบทั้งสิ้น มีเจียดไปให้เด็กใน “กลุ่มทศวรรษใหม่” และ “กลุ่มนายหัวชวน” ไม่กี่ตำแหน่ง แถมเป็นกระทรวงที่อยู่ในเกรด บี และ ซี
การออกมาพูดผ่านสื่อของ “ชวน” ที่ว่า การจัดรัฐมนตรีในพรรคครั้งนี้ “สุเทพ” ไม่เคยมาปรึกษา และไม่ได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด
หรือการเผ่นออกจากห้องประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่ขอร่วมพิจารณาโผ ครม.ของ “บัญญัติ” หรือ ที่มีส.ส.บางคนออกอาการวีนแตก ถึงขนาดประชดประชันด้วยการร่อนจดหมายลาออก และแฉเรื่องนายทุนทุ่มเงิน ซื้อเก้าอี้กันเป็นที่ฮือฮาเล่นเอาพรรคแทบแตก อาการเหล่านี้น่าจะบ่งบอกอะไรบางอย่างได้พอสมควร
แต่ก็นับเป็นความโชคดีของคนที่เป็นแกนนำพรรคนี้อย่างหนึ่งว่าถ้าเทียบกับพรรคการเมืองอื่นๆ แล้ว ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมีความสงบมั่นคง และมีความเป็นเอกภาพมากกว่า ซึ่งอาจเพราะความเป็นสถาบันทางการเมือง และวัฒนธรรมภายในพรรค ที่ทำให้ส.ส.แต่ละคนต่างอยู่ในระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ร่วมกันทำงานประสานกับเป็นทีมเวิร์คที่ดีเยี่ยม จนทำให้คู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง พรรคไทยรักไทย ถึงต้องล่มสลายไป แม้จะเปลี่ยนมาเป็นพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับแล้วก็ตาม
มองภาพกระทรวงเศรษฐกิจที่กระจัดกระจายไปอยู่ต่างพรรค แถมบุคคล ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญยังขาดทั้งความเป็นมืออาชีพ และยังมีตำหนิ อีกทั้งปัญหาหลายๆ เรื่องที่คอยรุมเร้า จนเรียกว่าการบริหารงานครั้งนี้ ทั้งท้าทายและยากสุด ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ใครคนหนึ่งจะบริหารการเมืองท่ามกลางรัฐบาลผสม ที่ไม่สามารถวางใจได้ว่าจะมีสัจจะระหว่างกันไปจนถึงเมื่อใด
บวกกับความแตกร้าวที่เกิดขึ้นเป็นบาดแผลใหญ่ในประเทศ ซ้ำเติมด้วยปัญหาเศรษฐกิจโลก ที่กำลังคืบคลานเข้ามาส่งผลกระทบกับคนไทย จนถึงขนาดเรียกกันว่า ปี 2552 จะเป็นปี “เผาจริง” ที่เศรษฐกิจไทยอาจถึงขั้นติดลบ และจะเลวร้ายรุนแรงยิ่งกว่าปี 2540 เสียด้วยซ้ำ!
ทั้งปัญหาภายในพรรคที่ยังคงคุกรุ่น พร้อมรอวันจะกระเพื่อมได้ตลอดเวลา ที่มีโอกาส ตามธรรมชาติของพรรคการเมืองขนาดใหญ่และต้องหาทางขยายขุมกำลังของตนเองภายในพรรคเพื่อรักษาตำแหน่งหัวหน้าพรรคเอาไว้ให้นานที่สุด
สภาพปัญหาความไม่มั่นคงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลผสมที่มีกลุ่มก้อน จากพรรคการเมืองต่างๆ ที่พร้อมจะเปลี่ยนขั้วได้ตลอดเวลา รวมถึง ปัญหาของ บ้านเมืองที่กำลังวิกฤตอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นความท้าทายต่อ “อภิสิทธิ์” เป็นอย่างยิ่ง
จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองอย่างยิ่ง หาก “อภิสิทธิ์” สามารถ ก้าวผ่านเรื่องนี้ ไปได้ ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนประเทศไทยอย่างแท้จริง แต่หากล้มเหลว จากการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ชีวิตการเมืองพร้อมความฝันที่ตั้งมั่นมาตลอด ก็อาจสะดุดหยุดลง ด้วยโอกาสที่มาแบบต้องเรียกว่า “ทุกขลาภ”