ASTVผู้จัดการรายวัน-สนข.ปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้า จัดลำดับความสำคัญการลงทุนก่อนหลังพร้อมวางระบบ ฟีดเดอร์ระบบขนส่งอื่นๆ เชื่อมโยงการเดินทาง รอนโยบายรัฐบาลใหม่เชื่อใส่เกียร์เดินหน้า ตามแผนเร่งด่วน 5 เส้นทาง หลังรัฐบาลสมัคร-สมชาย ใช้เวลา 11 เดือนคลอดำด้เพียงสายเดียว เตรียมหอบข้อมูลขอนโยบาย"โสภณ"หลังรัฐบาลแถลงนโยบาย ชี้ลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศในยามวิกฤติ
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมี.ค. 2552 ทั้งนี้บริษัทที่ปรึกษาจะต้องศึกษาเพื่อจัดลำความสำคัญของรถไฟฟ้าแต่ละโครงการในแผนแม่บทโดยพิจารณาจากจำนวนผู้โดยสาร และสภาพพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง พร้อมกันนี้จะต้องศึกษาภาพรวมของระบบฟีดเดอร์ หรือระบบขนส่งอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งเป็นเส้นทางหลัก ซึ่งทำให้การเดินทางมีความสะดวกและโครงการเกิดประโยชน์สมบูรณ์ โดยการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งทวลชนนั้นเพื่อให้การดำเนินงานรถไฟฟ้าและการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันมากที่สุด โดยจะมีการเปิดรับฟังความเห็นหลังจากสรุปแผนแม่บทแล้วด้วย
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภาแล้ว จะหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อรับนโยบายในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนที่ชัดเจน โดยเฉพาะโครงการที่เริ่มดำเนินการด้านงานโยธาแล้ว จะต้องเริ่มกระบวนการด้านการเดินรถ ซึ่งจะต้องมีความชัดเจน ทั้งนี้ในส่วนของการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย นั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อเพดานเงินกู้ต่างประเทศเพราะขณะนี้การกู้เงินภายในประเทศก็น่าสนใจและเชื่อว่ารัฐบาลน่าจะเร่งการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์เพราะจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้
สำหรับแผนแม่บทกำหนดโครงข่ายระบบขนส่งทางรางไว้ 9 สายแต่กำหนดเป็นแผนเร่งด่วน 5 สายซึ่งเป็นโครงข่ายหลักเชื่อมการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการใน 5 ปี ประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 3.6 หมื่นล้านบาทขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่วมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาได้ในเดือนม.ค. 2552
2.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มกิจการร่วมค้า ยูนิค-ซุนวู จอยท์เวนเจอร์ (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ และ บริษัท CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD) วงเงิน 8,748.4 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการเจรจาเงินกู้กับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า)
3.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท 4. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 27 กิโลเมตร กรอบวงเงินทั้งสิ้น 56,895 ล้านบาท โดย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กิโลเมตร และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร
5. สายสีเขียวอ่อน เส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ ค่าก่อสร้างงานโยธา 15,134 ล้านบาท สายสีเขียวเข้ม เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ ค่าก่อสร้างงานโยธา 16,443 ล้านบาท ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2551
ให้รฟม.เป็นเจ้าของโครงการในส่วนของการก่อสร้างงานโยธาโดยมีเงื่อนไขให้กทม.มีส่วนร่วมในการพิจารณาการเชื่อมโยงเส้นทางดังกล่าวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม.ที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการเห็นชอบให้ดำเนินการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถในลักษณะ PPP-Gross Cost จ้างเอกชน ลงทุน จัดหาและบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าและจ้างเอกชนเดินรถ นอกจากนี้ สนข.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียด โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา(คลองสี่) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงการเคหะบางปิ้ง-นิคมอุตสาหกรรมบางปู
นอกจากนี้ สนข.ยังมีการศึกษา แผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ในอนาคตซึ่งให้นำระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (Monorail) มาพิจารณาเพื่อปรับใช้กับโครงการและเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ เช่น ในพื้นที่มีถนนแคบ สามารถลดการเวนคืนเขตทาง ลดผลกระทบจากมลภาวะทางเสียง และ สามารถลดวงเงินก่อสร้างลงประมาณ 50% ซึ่งเบื้องต้น 2 โครงการที่สามารถปรับแบบมาเป็น รถไฟฟ้าขนาดเบาได้ คือ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-รัชดาภิเษก-บางกะปิ-ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-สำโรง) ซึ่งจะแบ่งการก่อสร้างเป็นช่วง โดยช่วงที่เหมาะสมที่จะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา คือ ช่วง 4 แยกรัชดาลาดพร้าว-หัวหมาก โดยรถไฟฟ้าจะวิ่งไปบนถนนลาดพร้าว ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตรสามารถไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิ้ง ที่สถานีหัวหมาก
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-หลักสี่-รามอินทรา-สุวินทวงศ์ ) ซึ่งจะตัดช่วงมาก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา จากถนนติวานนท์ – ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ - และบางซื่อ ซึ่งจะมาบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน สายสีแดง และสายสีเขียวได้ด้วย ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ทั้งนี้ข้อดีของรถไฟฟ้าโมโนเรลจะมีต้นทุนการก่อสร้างถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินที่วิ่งอยู่ในปัจจุบันถึง 30% โดยข้อมูลปัจจุบันรถไฟฟ้าใต้ดินมีต้นทุน ค่าก่อสร้าง 3,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร รถไฟฟ้ายกระดับมีค่าก่อสร้าง 1,100-1,200 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ส่วนรถไฟฟ้าโมโนเรลจะมีก่อสร้างเพียง 600-800 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ที่สำคัญจะใช้เวลาก่อสร้างรวดเร็วเพียง 2 ปี ก็จะแล้วเสร็จ ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) จะมีต้นทุนในการก่อสร้างระบบเป็นโมโนเรล เพียง 20,000 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ก็จะสามารถลดต้นทุนก่อสร้างได้จากประมาณ 70,000 ล้านบาท ลงเหลือเพียง 48,000 ล้านบาทเท่านั้นโดย
อย่างไรก็ตาม นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (เมกกะโปรเจกต์) นั้นยืนยันว่า หากโครงการไหนดี ทำแล้วประชาชนได้ประโยชน์ จะต้องเดินหน้าโครงการต่อ แต่การดำเนินโครงการต่อไปอย่างไร จะมีการทบทวนหรือรื้อโครงการหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาอีกครั้งก่อน
ทั้งนี้ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อเนื่องกับรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใช้เวลาถึง 11 เดือนกว่าจะประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร ได้เพียงโครงการเดิยวเท่านั้น จากทั้งหมด 5 โครงการ ที่รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เตรียมความพร้อมและอนุมัติกรอบการดำเนินโครงการไว้ ซึ่งทุกโครงการมีรายละเอียดและกรอบการดำเนินโครงการที่เหลือได้รับความเห็นชอบจากครม.พร้อมนำไปดำเนินโครงการได้ทันทีแล้ว เหลือเพียงการเร่งรัดขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น ซึ่งนโยบายของทุกรัฐบาลยอมรับถึงความจำเป็นในการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน ดังนั้นรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงไม่น่าจะมีเหตุผลในการชะลอหรือทบทวนโครงการเพราะประเทศไทยไม่มีเวลาให้กับการคิดใหม่กับเรื่องเดิมๆ มากนักในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมี.ค. 2552 ทั้งนี้บริษัทที่ปรึกษาจะต้องศึกษาเพื่อจัดลำความสำคัญของรถไฟฟ้าแต่ละโครงการในแผนแม่บทโดยพิจารณาจากจำนวนผู้โดยสาร และสภาพพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง พร้อมกันนี้จะต้องศึกษาภาพรวมของระบบฟีดเดอร์ หรือระบบขนส่งอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งเป็นเส้นทางหลัก ซึ่งทำให้การเดินทางมีความสะดวกและโครงการเกิดประโยชน์สมบูรณ์ โดยการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งทวลชนนั้นเพื่อให้การดำเนินงานรถไฟฟ้าและการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันมากที่สุด โดยจะมีการเปิดรับฟังความเห็นหลังจากสรุปแผนแม่บทแล้วด้วย
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภาแล้ว จะหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อรับนโยบายในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนที่ชัดเจน โดยเฉพาะโครงการที่เริ่มดำเนินการด้านงานโยธาแล้ว จะต้องเริ่มกระบวนการด้านการเดินรถ ซึ่งจะต้องมีความชัดเจน ทั้งนี้ในส่วนของการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย นั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อเพดานเงินกู้ต่างประเทศเพราะขณะนี้การกู้เงินภายในประเทศก็น่าสนใจและเชื่อว่ารัฐบาลน่าจะเร่งการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์เพราะจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้
สำหรับแผนแม่บทกำหนดโครงข่ายระบบขนส่งทางรางไว้ 9 สายแต่กำหนดเป็นแผนเร่งด่วน 5 สายซึ่งเป็นโครงข่ายหลักเชื่อมการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการใน 5 ปี ประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะทาง 23 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 3.6 หมื่นล้านบาทขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่วมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาได้ในเดือนม.ค. 2552
2.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มกิจการร่วมค้า ยูนิค-ซุนวู จอยท์เวนเจอร์ (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ และ บริษัท CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD) วงเงิน 8,748.4 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการเจรจาเงินกู้กับจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า)
3.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท 4. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 27 กิโลเมตร กรอบวงเงินทั้งสิ้น 56,895 ล้านบาท โดย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 14 กิโลเมตร และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร
5. สายสีเขียวอ่อน เส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ ค่าก่อสร้างงานโยธา 15,134 ล้านบาท สายสีเขียวเข้ม เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ ค่าก่อสร้างงานโยธา 16,443 ล้านบาท ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2551
ให้รฟม.เป็นเจ้าของโครงการในส่วนของการก่อสร้างงานโยธาโดยมีเงื่อนไขให้กทม.มีส่วนร่วมในการพิจารณาการเชื่อมโยงเส้นทางดังกล่าวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกทม.ที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการเห็นชอบให้ดำเนินการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถในลักษณะ PPP-Gross Cost จ้างเอกชน ลงทุน จัดหาและบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าและจ้างเอกชนเดินรถ นอกจากนี้ สนข.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียด โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา(คลองสี่) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงการเคหะบางปิ้ง-นิคมอุตสาหกรรมบางปู
นอกจากนี้ สนข.ยังมีการศึกษา แผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ในอนาคตซึ่งให้นำระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา (Monorail) มาพิจารณาเพื่อปรับใช้กับโครงการและเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ เช่น ในพื้นที่มีถนนแคบ สามารถลดการเวนคืนเขตทาง ลดผลกระทบจากมลภาวะทางเสียง และ สามารถลดวงเงินก่อสร้างลงประมาณ 50% ซึ่งเบื้องต้น 2 โครงการที่สามารถปรับแบบมาเป็น รถไฟฟ้าขนาดเบาได้ คือ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-รัชดาภิเษก-บางกะปิ-ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-สำโรง) ซึ่งจะแบ่งการก่อสร้างเป็นช่วง โดยช่วงที่เหมาะสมที่จะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา คือ ช่วง 4 แยกรัชดาลาดพร้าว-หัวหมาก โดยรถไฟฟ้าจะวิ่งไปบนถนนลาดพร้าว ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตรสามารถไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิ้ง ที่สถานีหัวหมาก
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-หลักสี่-รามอินทรา-สุวินทวงศ์ ) ซึ่งจะตัดช่วงมาก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา จากถนนติวานนท์ – ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ - และบางซื่อ ซึ่งจะมาบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน สายสีแดง และสายสีเขียวได้ด้วย ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ทั้งนี้ข้อดีของรถไฟฟ้าโมโนเรลจะมีต้นทุนการก่อสร้างถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินที่วิ่งอยู่ในปัจจุบันถึง 30% โดยข้อมูลปัจจุบันรถไฟฟ้าใต้ดินมีต้นทุน ค่าก่อสร้าง 3,000 ล้านบาทต่อกิโลเมตร รถไฟฟ้ายกระดับมีค่าก่อสร้าง 1,100-1,200 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ส่วนรถไฟฟ้าโมโนเรลจะมีก่อสร้างเพียง 600-800 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ที่สำคัญจะใช้เวลาก่อสร้างรวดเร็วเพียง 2 ปี ก็จะแล้วเสร็จ ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) จะมีต้นทุนในการก่อสร้างระบบเป็นโมโนเรล เพียง 20,000 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ก็จะสามารถลดต้นทุนก่อสร้างได้จากประมาณ 70,000 ล้านบาท ลงเหลือเพียง 48,000 ล้านบาทเท่านั้นโดย
อย่างไรก็ตาม นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ (เมกกะโปรเจกต์) นั้นยืนยันว่า หากโครงการไหนดี ทำแล้วประชาชนได้ประโยชน์ จะต้องเดินหน้าโครงการต่อ แต่การดำเนินโครงการต่อไปอย่างไร จะมีการทบทวนหรือรื้อโครงการหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาอีกครั้งก่อน
ทั้งนี้ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ต่อเนื่องกับรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใช้เวลาถึง 11 เดือนกว่าจะประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร ได้เพียงโครงการเดิยวเท่านั้น จากทั้งหมด 5 โครงการ ที่รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เตรียมความพร้อมและอนุมัติกรอบการดำเนินโครงการไว้ ซึ่งทุกโครงการมีรายละเอียดและกรอบการดำเนินโครงการที่เหลือได้รับความเห็นชอบจากครม.พร้อมนำไปดำเนินโครงการได้ทันทีแล้ว เหลือเพียงการเร่งรัดขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น ซึ่งนโยบายของทุกรัฐบาลยอมรับถึงความจำเป็นในการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน ดังนั้นรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงไม่น่าจะมีเหตุผลในการชะลอหรือทบทวนโครงการเพราะประเทศไทยไม่มีเวลาให้กับการคิดใหม่กับเรื่องเดิมๆ มากนักในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้