โพธิสัตตบูรณา
ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.suvinai-dragon.com
จอมคนเทียนแห่งธรรม (ต่อ)
คุรุ ของ “เขา” บอกว่า วิถีแห่งโพธิสัตว์ นั้นจะต้องเป็น วิถีแห่งปัญญา หรือ วิถีแห่งการเจริญสติ โดยฝึกให้เกิด “ตัวรู้” ให้ได้ เนื่องเพราะหากผู้นั้นมีปัญญารู้ชัด หรือมี ผู้รู้ อยู่ภายในแล้ว สรรพวิทยาก็จะหลั่งไหลพรั่งพรูเข้ามาสู่ตัวผู้นั้นเอง และผู้นั้นก็จะเห็นแจ้งว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นมีอยู่รอบตัวผู้นั้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไตรลักษณ์หรืออริยสัจ 4
กรรมวิธีอันหลากหลายที่ผู้เดินอยู่บน เส้นทางของโพธิสัตว์ ได้นำมาบูรณาและฝึกฝนนั้น กล่าวโดยถึงที่สุดแล้ว จะนำไปสู่การฝึกให้เกิด ตัวรู้ ให้เกิด ผู้รู้ ที่ตื่นขึ้นมาเรียนสรรพวิทยาที่อยู่รอบตัว และในตัวนั่นเอง
วิถีจิต ของผู้ที่เดินอยู่บน วิถีแห่งโพธิสัตว์ จึงแตกต่างจากวิถีจิตของสามัญชนคนทั่วไปตรงที่สามัญชนคนทั่วไปจะมี กระบวนการเกิด “สามัญจิต” อันเป็นจิตที่ รับอารมณ์ แล้ว จำอารมณ์ ก่อนที่จะ คิดในอารมณ์ และ รู้ในอารมณ์ นั้นเป็นหลัก (จิตมีหน้าที่ 4 อย่างคือ รับ-จำ-คิด-รู้)
ขณะที่ผู้ที่เดินทางบน เส้นทางของโพธิสัตว์ นั้น จะมุ่งฝึก กระบวนการเกิด “วิเสสจิต” (จิตอันวิเศษ) อันเป็นจิตที่มี ตัวรู้ในอารมณ์นำตัวรับอารมณ์เสมอ กล่าวคือ ผู้นั้นจะมุ่งฝึกจิตของตนให้อยู่ในกระบวนการที่มี ตัวรู้ นำ ตัวรับ พอรู้แล้วจึงเลือกที่จะรับ พอรับแล้วจึงคิด พอคิดแล้วจึงจำหรือเก็บอารมณ์นั้นไว้เสมอ จะเห็นได้ว่า กระบวนการเกิด “สามัญจิต” เป็น กระบวนการรับ-จำ-คิด-รู้ คือ รับอารมณ์แล้วเก็บหรือจำอารมณ์นั้นมาไว้ก่อน แล้วจึงค่อยนำมาคิดและรู้ทีหลัง
ส่วนกระบวนการเกิด “วิเสสจิต” นั้นกลับตรงกันข้าม คือ เป็น กระบวนการรู้-คิด-รับ-จำ ซึ่งผู้นั้นจะ “รู้” ก่อน “คิด” แล้วจึงเลือกรู้ เลือกคิด เลือกรับ เลือกจำ โดยเลือกที่จะไม่รับในสิ่งที่ทำให้ทุกข์ โดยรู้ก็ไม่เก็บ โดยรู้ก็ไม่รับ โดยรู้ก็ไม่ผูกพัน และไม่เอามันเป็นพันธนาการของตนเอง
คุรุ บอกว่า การจะทำให้เกิด วิเสสจิต เช่นนี้ขึ้นมาได้นั้น ก่อนอื่นผู้นั้นจะต้องฝึกจิตนี้ให้แข็งแรงเสียก่อน ด้วยการหมั่นฝึกจิตให้นิ่งและว่างด้วย สุญญตสมาธิ อันเป็นการสงบรำงับในความว่าง ตั้งมั่นในความว่าง หยุดอยู่ในความว่าง ยืนอยู่บนความว่าง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่เดินอยู่บนเส้นทางของโพธิสัตว์นั้น จะใช้สุญญตสมาธินี้เป็นวิหารธรรมของตน เพื่อให้จิตของตนมีกำลังแข็งแรง และเข้มแข็งเสียก่อนที่จะไปกำจัดสังขารการปรุงแต่ง กำจัดวิญญาณการรับรู้อารมณ์ที่ไม่ดี กำจัดตัณหา กำจัดอุปาทาน กำจัดภพ กำจัดชาติ กำจัดชรามรณะ
ในกระบวนการฝึก “ตัวรู้” ที่ คุรุ ท่านสอนพวกลูกศิษย์นั้น ท่านจะแบ่งการฝึก “ตัวรู้” ออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ ขั้นที่ 1 รู้กาย ขั้นที่ 2 รู้ลม ขั้นที่ 3 รู้ว่าง และขั้นที่ 4 รู้ปัญญา หรือ รู้ตัวรู้อันยิ่ง สำหรับ สุญญตสมาธิ นี้ คุรุ บอกว่า คือ การฝึกสภาวะจิตที่ “รู้ว่าง” (ขั้นที่ 3) โดยมุ่งไปที่การหยุดใช้จิตในการปรุงแต่ง พัฒนากำลังของสติและความรู้สึกตัวให้มากแล้ววางเหลือแค่ ความว่าง กับ การรู้ เท่านั้น โดยที่ช่วงขณะที่จิตของผู้นั้น “รู้ว่าง” อยู่นี้จะเป็นช่วงขณะที่จิตนั้นพ้นจากการครอบงำของปฏิจจสมุปบาทลงได้ชั่วคราว
การเจริญความว่างหรือการเจริญ สุญญตสมาธิ จึงเป็นการดับกลไกของปฏิจจสมุปบาทที่สร้างทุกข์ให้คนเราตลอดเวลาให้หยุดว่างลงได้ชั่วขณะหนึ่ง และจะเป็นบาทฐานสำคัญให้จิตนี้มีกำลังพัฒนา ตัวรู้ ให้ละเอียดแยบคายที่จะรู้เท่าทันอวิชชาต่อไป
คำว่า “รู้ว่าง” ใน สุญญตสมาธิ ของ คุรุ ก็คือ การรู้อยู่ว่ามันว่าง ทั้งสมองว่าง กายว่าง ใจว่าง อาการทั้งหลายในกายมันว่างหมด ผ่อนคลายหมดอย่างสิ้นเชิง และจิตก็ตั้งอยู่ในความว่างด้วย อนึ่ง การจะ “รู้ว่าง” เช่นนี้ได้ผู้นั้นจะต้องฝึก รู้กาย (ขั้นที่ 1) กับ รู้ลม (ขั้นที่ 2) มาจนชำนาญเสียก่อน แล้วจึงวางกาย วางลมเสียจนร่างกายของผู้นั้นผ่อนคลายทั้งหมด แล้วจึงหลับตา เพ่งความว่างภายใน จนเห็นความว่างทั้งลมหายใจเข้าและออก
คุรุ บอกว่า ความว่างเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่ง คือรู้สึกว่าเมื่อหายใจเข้าแล้วเข้าสุดมันก็ว่าง ในขณะที่ลมหายใจเข้ามันก็เข้าอยู่ในความว่าง พอลมหายใจออก เมื่อออกหมดแล้วก็ว่าง ในขณะที่ลมออกมันก็ออกอยู่ในความว่าง เพราะมันไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏ สภาวะของความว่าง จึงเป็นสภาวะที่สมองไม่ต้องคิดใจไม่ต้องนึก กายไม่ต้องเครียด กล้ามเนื้อไม่ต้องขมึงทึง ทุกอย่างผ่อนคลายไร้ซึ่งอารมณ์ปรุงแต่งใดๆ มีแค่การรู้ภายในใจลึกๆ ว่า มันว่างหมดแล้วเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่จะปรากฏหลังจากเห็นความว่างคือ ลหุตา หรือความเบาของกายและจิต ผู้นั้นจะรู้สึกตัวเบาและจิตก็เบา เพราะไม่มีภาระให้แบกให้ผูกพัน
สำหรับคนที่ยังไม่เคย “รู้ว่าง” ยังไม่เคยเห็น “ความว่าง” ก็สามารถเริ่มต้นได้จากการเริ่มกำหนดรู้ความเป็นไปภายในกายก่อน แล้วก็ค่อยๆ หัดรู้ลมหายใจเข้าออกของตน โดยหมั่นตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ จากนั้นเมื่อผู้นั้นหลับตาลงแล้วส่งความรู้สึกเข้าไปข้างในกายที่โครงกระดูกของตนตั้งแต่หัวจดปลายเท้า พร้อมกับรับรู้ความเป็นไปของลมหายใจที่สูดเข้าไป ผ่อนคลายลึกๆ รู้สึกถึงความกว้าง ความลึก ความเต็ม อันเนื่องมาจากการสูดลมเข้าไปนั้น จากนั้นก็ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกมาจนหมด แล้วก็ทิ้งลมหายใจหันไปดูความว่างข้างในด้วย ความรู้สึกนิ่ง-ดิ่ง-รู้ มีตัวรู้นำหน้าความว่าง ว่าง-รู้ และรู้-ว่าง ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏ อนึ่งที่บอกว่าให้ทิ้งลมหายใจตอนหันไปดูความว่างนั้น มิได้หมายความว่าไม่ให้หายใจ แต่ลมหายใจของผู้นั้นในตอนนั้น จะแผ่วเบาลง ความสำคัญหมายรู้ลมหายใจของผู้นั้นจะน้อยลง จนเหมือนดั่งไม่หายใจ แต่เป็นการซึมซับลมหายใจเข้าไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ
สุญญตสมาธิ นี้มีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า นิพพานน้อย เพราะในขณะที่สภาพจิตของผู้นั้นอยู่ในสุญญตาหรือความว่าง มันจะไม่เกิดทุกข์ มันจะไม่มีตัวปรุง มันจะไม่มีอวิชชา มันจะไม่มีจิตที่รับรู้อารมณ์สภาพธรรมที่ปรากฏรอบๆ ตัว มันจึงเป็นการตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาทลงได้ชั่วขณะหนึ่ง
การจะดับอวิชชา (ความไม่รู้) ในกลไกปฏิจจสมุปบาทซึ่งจะมีผลนำไปสู่การดับตัวกระบวนการปฏิจจสมุปบาททั้งหมดด้วยนั้น คุรุ บอกว่า สามารถทำได้โดยการทำให้ความไม่รู้กลายเป็น “ผู้รู้” หรือทำให้ “ตัวรู้” เกิดขึ้นมาแทนความไม่รู้เท่านั้น นอกจากวิธีนี้แล้วไม่มีทางอื่นอีก ความเข้าใจเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อาจจะเรียกได้ว่า สำคัญที่สุดในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ว่าได้ เพราะกลไกของปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นเหตุและเป็นที่มาที่ไปของทุกข์ เป็นกลไกของสัมพันธ์สัมผัสแห่งจิต เป็นกลไกของสัมพันธ์สัมผัสแห่งภพชาติที่มีแก่จิต เป็นกลไกของสัมพันธ์สัมผัสแห่งชาติ ชรา มรณะที่ปรากฏแก่จิต รวมทั้งเป็นกลไกของกฎแห่งกรรม และเป็นกลเกมแห่งการเกิดเหตุปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงด้วย
คุรุ ยังบอกอีกว่า จิตที่ว่าง-เฉย-รู้ ด้วย สุญญตสมาธิ จนจิตของผู้นั้นมีแต่ตัวรู้เฉยๆ อันเป็นอารมณ์ของ สุญญตสมาธิ นั้น จิตในระดับนี้ต้องถือว่าเป็น วิเสสจิต (จิตอันวิเศษ) แล้ว ถ้ามองจากอาการจิต 10 อย่าง จิตนี้ก็คือ มโนวิญญาณธาตุ แล้ว เพราะ รู้แจ้งในอารมณ์ว่าง นั้นแล้ว และถ้ามองจากอารมณ์ของจิต จิตนี้ก็ต้องจัดว่าเป็น ปัณฑระจิต ด้วยเพราะว่า จิตนี้จะแช่มชื่น เบิกบาน สุขสมบูรณ์ ผ่อนคลาย สงบเย็นจนรู้สึกเย็นในทรวงอกได้แล้ว ถ้าหากมองจากภพ 3 ซึ่งได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ จิตที่ “รู้ว่าง” ด้วย สุญญตสมาธิ นี้จะอยู่ในภพของ อรูปภพ แต่ถ้าแค่ “รู้ลม” และดิ่งนิ่งอยู่ในลมหายใจ จะอยู่ในภพของ รูปภพ
เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ใน สุญญตสมาธิ ในอิริยาบถนั่งหลับตาได้แล้ว ต่อไปก็ต้องฝึกจิตให้ตั้งอยู่ใน สุญญตสมาธิ ในช่วงที่ลืมตา และในทุกๆ อิริยาบถ จนรู้ว่าว่างได้บ่อยๆ การทำเช่นนี้จะทำให้จิตของผู้นั้นแข็งแรง และสามารถเปล่งอานุภาพของจิตได้ คุรุ ท่านจึงสอนให้พึงหมั่นยืนอยู่กับความว่าง นั่งอยู่กับความว่าง เดินอยู่กับความว่าง นอนอยู่กับความว่าง เพื่อที่อกุศลจะไม่เกิด ราคะไม่ปรากฏ โลภะ โทสะ โมหะไม่เข้ามา จะมีก็แต่ “ตัวรู้” กับ “ความว่าง” ปรากฏอยู่ในจิตเท่านั้น
เมื่อความว่างแท้จริงปรากฏขึ้นแก่จิต ผู้นั้นจะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตั้งแต่หัวจดปลายเท้า มหาสติจะเกิดขึ้นกับผู้นั้น แทบตลอดเวลาทุกขณะลมหายใจในช่วงนั้น มันจะเป็นความว่างอย่างแนบแน่น จนกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่มีอะไรสามารถมาทำลายความว่างภายในของผู้นั้นลงได้
คุรุ บอกว่า ความว่างที่แท้จริงนั้นไม่ได้เกิดจากการทำให้ว่าง แต่เพราะรู้ว่างหรือรู้ว่ามันว่าง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความว่างที่เกิดจากการทำให้ว่างนั้น ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง หากหยุดทำเมื่อไหร่ก็หยุดว่างเมื่อนั้น ด้วยเหตุนี้ ความว่างที่แท้จริง จึงต้องเกิดจากการที่รู้ว่ามันว่าง อันเป็นการว่างด้วยเหตุปัจจัยของการมีปัญญาสูงสุด อย่างสามารถมองเห็นทะลุทุกสรรพสิ่งว่าเป็นความว่างได้
พอ “รู้” ได้เช่นนี้แล้ว จึงไม่ต้องทำใดๆ ทั้งสิ้น แต่มันจะ “ว่าง” เอง ด้วยเหตุนี้ คุรุ จึงบอกว่า การรู้ว่างว่าว่างโดยการฝึก “รู้ว่าง” ด้วยสุญญตสมาธิ จึงเป็นวิชชาสมาธิขั้นสุดยอดแล้ว เพราะมันไม่มีวิชชาสมาธิไหนที่จะสูงไปกว่า วิชชาสุญญตสมาธิ อีกแล้ว เพราะสูงกว่านี้มันก็ไม่มีคำสอนมารองรับแล้ว
จากมุมมองของ สุญญตสมาธิ อันนี้ ขอให้ลองย้อนกลับไปพิจารณาคำสอนของ เต๋า ที่สรุปรวบยอดขั้นตอน การฝึก พลังหลังกำเนิด เข้าสู่ พลังธรรมชาติแรกกำเนิด ที่ได้เคยกล่าวไปแล้วอีกครั้ง ดังต่อไปนี้
“จงแปรเปลี่ยน พลังทางเพศ (จิง) ให้กลายเป็น พลังปราณ (ชี่)
จงแปรเปลี่ยน พลังปราณ ให้กลายเป็น พลังทางจิตวิญญาณ (เสิน)
จงแปรเปลี่ยน พลังทางจิตวิญญาณ ให้คืนสู่ ความว่าง หรือ สุญญตา
จง ความว่าง จงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ วิถี (เต๋า)”
จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการแปรเปลี่ยนพลังทางจิตวิญญาณให้คืนสู่ความว่างนี้สามารถลุถึงได้ด้วยการฝึกสุญญตสมาธิ! ส่วนขั้นตอนจากความว่าง จงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ วิถี หรือ อริยมรรค นี้สามารถลุถึงได้ด้วย การฝึกตัวรู้ (รู้ปัญญา หรือรู้ตัวรู้อันยิ่ง!) หากใช่เช่นนี้ สามารถกล่าวได้หรือไม่ว่า นี่คือ แนวทางของการบรรลุความเป็นพุทธะแบบเต๋า อันเป็น แนวทางของจอมคนเหนือโลก (จอมคนโลกอุดร) ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว
ลำดับขั้นตอนในการฝึกเพื่อเป็น จอมคนเหนือโลก หรือ จอมคนโลกอุดร หรือจอมคนเทียนแห่งธรรม จึงเป็นดังนี้
ขั้นแรก อยู่กับกาย (“รู้กาย”) พอจิตตั้งมั่นอยู่กับกายหรือโครงกระดูกแล้ว ก็ทิ้งกายหรือโครงกระดูกเสียมาอยู่กับลม เพราะกายหยาบกว่าลม
ขั้นที่สอง อยู่กับลม (“รู้ลม”) พอจิตอยู่ที่ลมหายใจ แนบแน่นกับลมหายใจแล้ว ก็ทิ้งลมหายใจเสียมาอยู่ที่ความว่าง เพราะความว่างละเอียดกว่าลม
ขั้นที่สาม อยู่กับความว่าง (“รู้ว่าง”) คืออยู่กับ สุญญตสมาธิ
ขั้นที่สี่ อยู่กับตัวรู้ (“รู้ปัญญา” หรือ “รู้ตัวรู้อันยิ่ง”) เป็นขั้นที่สูงเหนือกว่าอยู่กับความว่างอีก เพราะเป็นการลุถึงปัญญาแลเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏชัดเจนเป็นความว่างชัดเจน โดยที่ความว่างกลับกลายเป็นอาการที่ถูกรู้เท่านั้น หลังจากนั้นก็เลยต้องทิ้งว่างหันมาผูกอยู่กับตัวรู้ เจริญตัวรู้ จนกระทั่งเกิด จิตผู้รู้ เรียกว่าเป็น จิตพุทธะ แต่ในขั้นสุดท้ายนั้น แม้แต่จิตก็ต้องไม่มี และนี่คือ ปัญญาสูงสุด เพราะ สูงสุดของวิชชาคือ ไม่มีอะไร และไม่มีกระทั่งจิต โดยที่ ความหลากหลายขององค์ความรู้ และวิธีฝึกฝนปฏิบัติ ที่ผู้นั้นได้ “บูรณาการ” ขึ้นมาเป็นองค์ประกอบแห่ง วิถีโพธิสัตว์ ของผู้นั้น จะนำพาผู้นั้นไต่ระดับขึ้นไปตามลำดับขั้นแห่งพัฒนาการทางจิตของผู้นั้นจนถึงขั้นสูงสุดในที่สุดได้เอง
ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.suvinai-dragon.com
จอมคนเทียนแห่งธรรม (ต่อ)
คุรุ ของ “เขา” บอกว่า วิถีแห่งโพธิสัตว์ นั้นจะต้องเป็น วิถีแห่งปัญญา หรือ วิถีแห่งการเจริญสติ โดยฝึกให้เกิด “ตัวรู้” ให้ได้ เนื่องเพราะหากผู้นั้นมีปัญญารู้ชัด หรือมี ผู้รู้ อยู่ภายในแล้ว สรรพวิทยาก็จะหลั่งไหลพรั่งพรูเข้ามาสู่ตัวผู้นั้นเอง และผู้นั้นก็จะเห็นแจ้งว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นมีอยู่รอบตัวผู้นั้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไตรลักษณ์หรืออริยสัจ 4
กรรมวิธีอันหลากหลายที่ผู้เดินอยู่บน เส้นทางของโพธิสัตว์ ได้นำมาบูรณาและฝึกฝนนั้น กล่าวโดยถึงที่สุดแล้ว จะนำไปสู่การฝึกให้เกิด ตัวรู้ ให้เกิด ผู้รู้ ที่ตื่นขึ้นมาเรียนสรรพวิทยาที่อยู่รอบตัว และในตัวนั่นเอง
วิถีจิต ของผู้ที่เดินอยู่บน วิถีแห่งโพธิสัตว์ จึงแตกต่างจากวิถีจิตของสามัญชนคนทั่วไปตรงที่สามัญชนคนทั่วไปจะมี กระบวนการเกิด “สามัญจิต” อันเป็นจิตที่ รับอารมณ์ แล้ว จำอารมณ์ ก่อนที่จะ คิดในอารมณ์ และ รู้ในอารมณ์ นั้นเป็นหลัก (จิตมีหน้าที่ 4 อย่างคือ รับ-จำ-คิด-รู้)
ขณะที่ผู้ที่เดินทางบน เส้นทางของโพธิสัตว์ นั้น จะมุ่งฝึก กระบวนการเกิด “วิเสสจิต” (จิตอันวิเศษ) อันเป็นจิตที่มี ตัวรู้ในอารมณ์นำตัวรับอารมณ์เสมอ กล่าวคือ ผู้นั้นจะมุ่งฝึกจิตของตนให้อยู่ในกระบวนการที่มี ตัวรู้ นำ ตัวรับ พอรู้แล้วจึงเลือกที่จะรับ พอรับแล้วจึงคิด พอคิดแล้วจึงจำหรือเก็บอารมณ์นั้นไว้เสมอ จะเห็นได้ว่า กระบวนการเกิด “สามัญจิต” เป็น กระบวนการรับ-จำ-คิด-รู้ คือ รับอารมณ์แล้วเก็บหรือจำอารมณ์นั้นมาไว้ก่อน แล้วจึงค่อยนำมาคิดและรู้ทีหลัง
ส่วนกระบวนการเกิด “วิเสสจิต” นั้นกลับตรงกันข้าม คือ เป็น กระบวนการรู้-คิด-รับ-จำ ซึ่งผู้นั้นจะ “รู้” ก่อน “คิด” แล้วจึงเลือกรู้ เลือกคิด เลือกรับ เลือกจำ โดยเลือกที่จะไม่รับในสิ่งที่ทำให้ทุกข์ โดยรู้ก็ไม่เก็บ โดยรู้ก็ไม่รับ โดยรู้ก็ไม่ผูกพัน และไม่เอามันเป็นพันธนาการของตนเอง
คุรุ บอกว่า การจะทำให้เกิด วิเสสจิต เช่นนี้ขึ้นมาได้นั้น ก่อนอื่นผู้นั้นจะต้องฝึกจิตนี้ให้แข็งแรงเสียก่อน ด้วยการหมั่นฝึกจิตให้นิ่งและว่างด้วย สุญญตสมาธิ อันเป็นการสงบรำงับในความว่าง ตั้งมั่นในความว่าง หยุดอยู่ในความว่าง ยืนอยู่บนความว่าง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่เดินอยู่บนเส้นทางของโพธิสัตว์นั้น จะใช้สุญญตสมาธินี้เป็นวิหารธรรมของตน เพื่อให้จิตของตนมีกำลังแข็งแรง และเข้มแข็งเสียก่อนที่จะไปกำจัดสังขารการปรุงแต่ง กำจัดวิญญาณการรับรู้อารมณ์ที่ไม่ดี กำจัดตัณหา กำจัดอุปาทาน กำจัดภพ กำจัดชาติ กำจัดชรามรณะ
ในกระบวนการฝึก “ตัวรู้” ที่ คุรุ ท่านสอนพวกลูกศิษย์นั้น ท่านจะแบ่งการฝึก “ตัวรู้” ออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ ขั้นที่ 1 รู้กาย ขั้นที่ 2 รู้ลม ขั้นที่ 3 รู้ว่าง และขั้นที่ 4 รู้ปัญญา หรือ รู้ตัวรู้อันยิ่ง สำหรับ สุญญตสมาธิ นี้ คุรุ บอกว่า คือ การฝึกสภาวะจิตที่ “รู้ว่าง” (ขั้นที่ 3) โดยมุ่งไปที่การหยุดใช้จิตในการปรุงแต่ง พัฒนากำลังของสติและความรู้สึกตัวให้มากแล้ววางเหลือแค่ ความว่าง กับ การรู้ เท่านั้น โดยที่ช่วงขณะที่จิตของผู้นั้น “รู้ว่าง” อยู่นี้จะเป็นช่วงขณะที่จิตนั้นพ้นจากการครอบงำของปฏิจจสมุปบาทลงได้ชั่วคราว
การเจริญความว่างหรือการเจริญ สุญญตสมาธิ จึงเป็นการดับกลไกของปฏิจจสมุปบาทที่สร้างทุกข์ให้คนเราตลอดเวลาให้หยุดว่างลงได้ชั่วขณะหนึ่ง และจะเป็นบาทฐานสำคัญให้จิตนี้มีกำลังพัฒนา ตัวรู้ ให้ละเอียดแยบคายที่จะรู้เท่าทันอวิชชาต่อไป
คำว่า “รู้ว่าง” ใน สุญญตสมาธิ ของ คุรุ ก็คือ การรู้อยู่ว่ามันว่าง ทั้งสมองว่าง กายว่าง ใจว่าง อาการทั้งหลายในกายมันว่างหมด ผ่อนคลายหมดอย่างสิ้นเชิง และจิตก็ตั้งอยู่ในความว่างด้วย อนึ่ง การจะ “รู้ว่าง” เช่นนี้ได้ผู้นั้นจะต้องฝึก รู้กาย (ขั้นที่ 1) กับ รู้ลม (ขั้นที่ 2) มาจนชำนาญเสียก่อน แล้วจึงวางกาย วางลมเสียจนร่างกายของผู้นั้นผ่อนคลายทั้งหมด แล้วจึงหลับตา เพ่งความว่างภายใน จนเห็นความว่างทั้งลมหายใจเข้าและออก
คุรุ บอกว่า ความว่างเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่ง คือรู้สึกว่าเมื่อหายใจเข้าแล้วเข้าสุดมันก็ว่าง ในขณะที่ลมหายใจเข้ามันก็เข้าอยู่ในความว่าง พอลมหายใจออก เมื่อออกหมดแล้วก็ว่าง ในขณะที่ลมออกมันก็ออกอยู่ในความว่าง เพราะมันไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏ สภาวะของความว่าง จึงเป็นสภาวะที่สมองไม่ต้องคิดใจไม่ต้องนึก กายไม่ต้องเครียด กล้ามเนื้อไม่ต้องขมึงทึง ทุกอย่างผ่อนคลายไร้ซึ่งอารมณ์ปรุงแต่งใดๆ มีแค่การรู้ภายในใจลึกๆ ว่า มันว่างหมดแล้วเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่จะปรากฏหลังจากเห็นความว่างคือ ลหุตา หรือความเบาของกายและจิต ผู้นั้นจะรู้สึกตัวเบาและจิตก็เบา เพราะไม่มีภาระให้แบกให้ผูกพัน
สำหรับคนที่ยังไม่เคย “รู้ว่าง” ยังไม่เคยเห็น “ความว่าง” ก็สามารถเริ่มต้นได้จากการเริ่มกำหนดรู้ความเป็นไปภายในกายก่อน แล้วก็ค่อยๆ หัดรู้ลมหายใจเข้าออกของตน โดยหมั่นตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ จากนั้นเมื่อผู้นั้นหลับตาลงแล้วส่งความรู้สึกเข้าไปข้างในกายที่โครงกระดูกของตนตั้งแต่หัวจดปลายเท้า พร้อมกับรับรู้ความเป็นไปของลมหายใจที่สูดเข้าไป ผ่อนคลายลึกๆ รู้สึกถึงความกว้าง ความลึก ความเต็ม อันเนื่องมาจากการสูดลมเข้าไปนั้น จากนั้นก็ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกมาจนหมด แล้วก็ทิ้งลมหายใจหันไปดูความว่างข้างในด้วย ความรู้สึกนิ่ง-ดิ่ง-รู้ มีตัวรู้นำหน้าความว่าง ว่าง-รู้ และรู้-ว่าง ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏ อนึ่งที่บอกว่าให้ทิ้งลมหายใจตอนหันไปดูความว่างนั้น มิได้หมายความว่าไม่ให้หายใจ แต่ลมหายใจของผู้นั้นในตอนนั้น จะแผ่วเบาลง ความสำคัญหมายรู้ลมหายใจของผู้นั้นจะน้อยลง จนเหมือนดั่งไม่หายใจ แต่เป็นการซึมซับลมหายใจเข้าไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ
สุญญตสมาธิ นี้มีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า นิพพานน้อย เพราะในขณะที่สภาพจิตของผู้นั้นอยู่ในสุญญตาหรือความว่าง มันจะไม่เกิดทุกข์ มันจะไม่มีตัวปรุง มันจะไม่มีอวิชชา มันจะไม่มีจิตที่รับรู้อารมณ์สภาพธรรมที่ปรากฏรอบๆ ตัว มันจึงเป็นการตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาทลงได้ชั่วขณะหนึ่ง
การจะดับอวิชชา (ความไม่รู้) ในกลไกปฏิจจสมุปบาทซึ่งจะมีผลนำไปสู่การดับตัวกระบวนการปฏิจจสมุปบาททั้งหมดด้วยนั้น คุรุ บอกว่า สามารถทำได้โดยการทำให้ความไม่รู้กลายเป็น “ผู้รู้” หรือทำให้ “ตัวรู้” เกิดขึ้นมาแทนความไม่รู้เท่านั้น นอกจากวิธีนี้แล้วไม่มีทางอื่นอีก ความเข้าใจเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อาจจะเรียกได้ว่า สำคัญที่สุดในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ว่าได้ เพราะกลไกของปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นเหตุและเป็นที่มาที่ไปของทุกข์ เป็นกลไกของสัมพันธ์สัมผัสแห่งจิต เป็นกลไกของสัมพันธ์สัมผัสแห่งภพชาติที่มีแก่จิต เป็นกลไกของสัมพันธ์สัมผัสแห่งชาติ ชรา มรณะที่ปรากฏแก่จิต รวมทั้งเป็นกลไกของกฎแห่งกรรม และเป็นกลเกมแห่งการเกิดเหตุปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงด้วย
คุรุ ยังบอกอีกว่า จิตที่ว่าง-เฉย-รู้ ด้วย สุญญตสมาธิ จนจิตของผู้นั้นมีแต่ตัวรู้เฉยๆ อันเป็นอารมณ์ของ สุญญตสมาธิ นั้น จิตในระดับนี้ต้องถือว่าเป็น วิเสสจิต (จิตอันวิเศษ) แล้ว ถ้ามองจากอาการจิต 10 อย่าง จิตนี้ก็คือ มโนวิญญาณธาตุ แล้ว เพราะ รู้แจ้งในอารมณ์ว่าง นั้นแล้ว และถ้ามองจากอารมณ์ของจิต จิตนี้ก็ต้องจัดว่าเป็น ปัณฑระจิต ด้วยเพราะว่า จิตนี้จะแช่มชื่น เบิกบาน สุขสมบูรณ์ ผ่อนคลาย สงบเย็นจนรู้สึกเย็นในทรวงอกได้แล้ว ถ้าหากมองจากภพ 3 ซึ่งได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ จิตที่ “รู้ว่าง” ด้วย สุญญตสมาธิ นี้จะอยู่ในภพของ อรูปภพ แต่ถ้าแค่ “รู้ลม” และดิ่งนิ่งอยู่ในลมหายใจ จะอยู่ในภพของ รูปภพ
เมื่อทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ใน สุญญตสมาธิ ในอิริยาบถนั่งหลับตาได้แล้ว ต่อไปก็ต้องฝึกจิตให้ตั้งอยู่ใน สุญญตสมาธิ ในช่วงที่ลืมตา และในทุกๆ อิริยาบถ จนรู้ว่าว่างได้บ่อยๆ การทำเช่นนี้จะทำให้จิตของผู้นั้นแข็งแรง และสามารถเปล่งอานุภาพของจิตได้ คุรุ ท่านจึงสอนให้พึงหมั่นยืนอยู่กับความว่าง นั่งอยู่กับความว่าง เดินอยู่กับความว่าง นอนอยู่กับความว่าง เพื่อที่อกุศลจะไม่เกิด ราคะไม่ปรากฏ โลภะ โทสะ โมหะไม่เข้ามา จะมีก็แต่ “ตัวรู้” กับ “ความว่าง” ปรากฏอยู่ในจิตเท่านั้น
เมื่อความว่างแท้จริงปรากฏขึ้นแก่จิต ผู้นั้นจะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตั้งแต่หัวจดปลายเท้า มหาสติจะเกิดขึ้นกับผู้นั้น แทบตลอดเวลาทุกขณะลมหายใจในช่วงนั้น มันจะเป็นความว่างอย่างแนบแน่น จนกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่มีอะไรสามารถมาทำลายความว่างภายในของผู้นั้นลงได้
คุรุ บอกว่า ความว่างที่แท้จริงนั้นไม่ได้เกิดจากการทำให้ว่าง แต่เพราะรู้ว่างหรือรู้ว่ามันว่าง ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความว่างที่เกิดจากการทำให้ว่างนั้น ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง หากหยุดทำเมื่อไหร่ก็หยุดว่างเมื่อนั้น ด้วยเหตุนี้ ความว่างที่แท้จริง จึงต้องเกิดจากการที่รู้ว่ามันว่าง อันเป็นการว่างด้วยเหตุปัจจัยของการมีปัญญาสูงสุด อย่างสามารถมองเห็นทะลุทุกสรรพสิ่งว่าเป็นความว่างได้
พอ “รู้” ได้เช่นนี้แล้ว จึงไม่ต้องทำใดๆ ทั้งสิ้น แต่มันจะ “ว่าง” เอง ด้วยเหตุนี้ คุรุ จึงบอกว่า การรู้ว่างว่าว่างโดยการฝึก “รู้ว่าง” ด้วยสุญญตสมาธิ จึงเป็นวิชชาสมาธิขั้นสุดยอดแล้ว เพราะมันไม่มีวิชชาสมาธิไหนที่จะสูงไปกว่า วิชชาสุญญตสมาธิ อีกแล้ว เพราะสูงกว่านี้มันก็ไม่มีคำสอนมารองรับแล้ว
จากมุมมองของ สุญญตสมาธิ อันนี้ ขอให้ลองย้อนกลับไปพิจารณาคำสอนของ เต๋า ที่สรุปรวบยอดขั้นตอน การฝึก พลังหลังกำเนิด เข้าสู่ พลังธรรมชาติแรกกำเนิด ที่ได้เคยกล่าวไปแล้วอีกครั้ง ดังต่อไปนี้
“จงแปรเปลี่ยน พลังทางเพศ (จิง) ให้กลายเป็น พลังปราณ (ชี่)
จงแปรเปลี่ยน พลังปราณ ให้กลายเป็น พลังทางจิตวิญญาณ (เสิน)
จงแปรเปลี่ยน พลังทางจิตวิญญาณ ให้คืนสู่ ความว่าง หรือ สุญญตา
จง ความว่าง จงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ วิถี (เต๋า)”
จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการแปรเปลี่ยนพลังทางจิตวิญญาณให้คืนสู่ความว่างนี้สามารถลุถึงได้ด้วยการฝึกสุญญตสมาธิ! ส่วนขั้นตอนจากความว่าง จงหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ วิถี หรือ อริยมรรค นี้สามารถลุถึงได้ด้วย การฝึกตัวรู้ (รู้ปัญญา หรือรู้ตัวรู้อันยิ่ง!) หากใช่เช่นนี้ สามารถกล่าวได้หรือไม่ว่า นี่คือ แนวทางของการบรรลุความเป็นพุทธะแบบเต๋า อันเป็น แนวทางของจอมคนเหนือโลก (จอมคนโลกอุดร) ดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว
ลำดับขั้นตอนในการฝึกเพื่อเป็น จอมคนเหนือโลก หรือ จอมคนโลกอุดร หรือจอมคนเทียนแห่งธรรม จึงเป็นดังนี้
ขั้นแรก อยู่กับกาย (“รู้กาย”) พอจิตตั้งมั่นอยู่กับกายหรือโครงกระดูกแล้ว ก็ทิ้งกายหรือโครงกระดูกเสียมาอยู่กับลม เพราะกายหยาบกว่าลม
ขั้นที่สอง อยู่กับลม (“รู้ลม”) พอจิตอยู่ที่ลมหายใจ แนบแน่นกับลมหายใจแล้ว ก็ทิ้งลมหายใจเสียมาอยู่ที่ความว่าง เพราะความว่างละเอียดกว่าลม
ขั้นที่สาม อยู่กับความว่าง (“รู้ว่าง”) คืออยู่กับ สุญญตสมาธิ
ขั้นที่สี่ อยู่กับตัวรู้ (“รู้ปัญญา” หรือ “รู้ตัวรู้อันยิ่ง”) เป็นขั้นที่สูงเหนือกว่าอยู่กับความว่างอีก เพราะเป็นการลุถึงปัญญาแลเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏชัดเจนเป็นความว่างชัดเจน โดยที่ความว่างกลับกลายเป็นอาการที่ถูกรู้เท่านั้น หลังจากนั้นก็เลยต้องทิ้งว่างหันมาผูกอยู่กับตัวรู้ เจริญตัวรู้ จนกระทั่งเกิด จิตผู้รู้ เรียกว่าเป็น จิตพุทธะ แต่ในขั้นสุดท้ายนั้น แม้แต่จิตก็ต้องไม่มี และนี่คือ ปัญญาสูงสุด เพราะ สูงสุดของวิชชาคือ ไม่มีอะไร และไม่มีกระทั่งจิต โดยที่ ความหลากหลายขององค์ความรู้ และวิธีฝึกฝนปฏิบัติ ที่ผู้นั้นได้ “บูรณาการ” ขึ้นมาเป็นองค์ประกอบแห่ง วิถีโพธิสัตว์ ของผู้นั้น จะนำพาผู้นั้นไต่ระดับขึ้นไปตามลำดับขั้นแห่งพัฒนาการทางจิตของผู้นั้นจนถึงขั้นสูงสุดในที่สุดได้เอง