เอเอฟพี – สหรัฐฯ วางแผนส่งกำลังทหารราว 20,000-30,000 คนเข้าเสริมในอัฟกานิสถานภายในช่วงกลางปี 2009 ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยจากพลเรือเอกไมค์ มุลเลน ประธานคณะเสนาธิการทหารผสมของสหรัฐฯ ซึ่งเดินทางไปเยือนกรุงคาบูลเมื่อวันเสาร์ (20)
ก่อนหน้านี้ พลเอกเดวิด แมคคีร์แนน ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯประจำอัฟกานิสถาน ได้ขอเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯ อีกกว่า 20,000 คนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์รุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้น
ทว่า การจัดกำลังทหารเสริมถึง 30,000 คนนั้นจะทำให้กำลังทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการในอัฟกานิสถานเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบเท่าตัวจากในปัจจุบันที่มีกำลังทหารประจำการอยู่ 31,000 นาย
“กำลังทหารที่มีการขอเพิ่มมาในระหว่างการปรึกษาหารือร่วมกับพลเอกแมคคีร์แนนนั้น เป็นจำนวนที่เราจำเป็นต้องเพิ่มในอนาคตอยู่แล้ว ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่าเราจะต้องเพิ่มกำลังทหารให้มากเกินกว่า 20,000-30,000 คนดังที่พูดคุยกันนี้” มุลเลนซึ่งถือเป็นนายทหารตำแหน่งสูงสุดในระบบกองทัพของสหรัฐฯกล่าว
เขาเสริมด้วยว่าแม้จะยังไม่สามารถระบุจำนวนทหารให้แน่นอนได้ ทว่ากำลังเสริมดังกล่าว ซึ่งจะประกอบด้วยทหารหน่วยสู้รบสี่กองพลน้อย หน่วยกำลังทางอากาศหนึ่งกองพลน้อย และกำลังทหารสนับสนุนอื่นๆ จะเข้าประจำการได้ภายในกลางปี 2009
อย่างไรก็ดี เขาก็กล่าวเตือนอย่าให้มีแนวคิดที่ว่า การเสริมกำลังทหารจำนวนมหาศาลเข้าไป จะสามารถนำสันติภาพมาสู่ประเทศที่ถูกสงครามทำลายล้างไปมากแล้วแห่งนี้ ได้โดยอัตโนมัติ
“คงไม่มีอะไรแตกต่างไป หลังจากที่เสริมกำลังทหารเข้าไปที่นั่นแล้ว ถ้าหากเราไม่ผลักดันในเรื่องการพัฒนาให้คืบหน้า รวมทั้งความคืบหน้าจากทางรัฐบาล(อัฟกานิสถาน)เองด้วย” เขากล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีทหารต่างชาติประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานถึงราว 70,000 นาย เพื่อต่อสู้กับการก่อความไม่สงบที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ที่กำลังทหารร่วมภายใต้การนำของสหรัฐฯ ได้ขับไล่กลุ่มหัวรุนแรงตอลิบานออกจากอำนาจการปกครองประเทศเมื่อปี 2001
ปีนี้ถือเป็นปีที่กองกำลังร่วมนานาชาติประสบกับเหตุรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลตอลีบันถูกโค่นล้มไป โดยมีทหารราว 290 คนเสียชีวิต ในขณะเดียวกัน ทหารและตำรวจของอัฟกานิสถานราว 1,000 นาย และพลเรือนอีกกว่า 2,000 คน ก็ได้เสียชีวิตไปเช่นกัน
แต่เมื่อมีผู้ถามถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ หลังจากที่ประธานาธิบดีฮามิด การ์ไซแห่งอัฟกานิสถานได้เรียกร้องให้มุลลาห์ โอมาร์ ผู้นำกลุ่มตอลิบาน มาเข้าร่วมในการเจรจาด้วย มุลเลนได้แสดงความเห็นอย่างระมัดระวังว่า
“ในการต่อสู้เพื่อต่อต้านการก่อความไม่สงบนั้น คุณจะบรรลุเป้าหมายก็ต่อเมื่อคุณได้ให้ทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงให้กับบรรดาผู้ก่อความไม่สงบเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะพวกที่สามารถปรองดองกันได้” เขากล่าวและเสริมต่อไปว่า “และผมมีความเชื่อว่าเราจะต้องทำเช่นนั้นจากจุดยืนที่เข้มแข็ง”
ก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์(19) นายทหารสหรัฐฯผู้หนึ่งระบุว่า รอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหม ได้สั่งให้เตรียมจัดกำลังทหารหน่วยสู้รบเคลื่อนที่ทางอากาศ 1 กองพลน้อย ที่มีกำลังพล 2,800 คนเข้าประจำการในอัฟกานิสถานหลังเดือนมกราคมแล้ว
แต่ในวันพุธ(17)นั้น เกตส์ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าการเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯ จะมีการจำกัดจำนวนเท่าที่จำเป็นเนื่องจากมีความหวั่นเกรงว่า ยิ่งเพิ่มกำลังทหารประจำการเท่าไร ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่ชาวอัฟกันจะต่อต้านโดยมองว่าเป็นกองทหารผู้ยึดครอง
ทางด้านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งเดินทางไปเยี่ยมอำลาทหารในอัฟกานิสถานเมื่อวันจันทร์ (15) ได้กล่าวเตือนว่าการฟื้นฟูสันติภาพในอัฟกานิสถานนั้นจะต้องใช้เวลานาน
ขณะที่บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งว่าจะถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ออกจากอิรัก และส่งกำลังเสริมเข้าไปในอัฟกานิสถานแทน
ก่อนหน้านี้ พลเอกเดวิด แมคคีร์แนน ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯประจำอัฟกานิสถาน ได้ขอเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯ อีกกว่า 20,000 คนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์รุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้น
ทว่า การจัดกำลังทหารเสริมถึง 30,000 คนนั้นจะทำให้กำลังทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการในอัฟกานิสถานเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบเท่าตัวจากในปัจจุบันที่มีกำลังทหารประจำการอยู่ 31,000 นาย
“กำลังทหารที่มีการขอเพิ่มมาในระหว่างการปรึกษาหารือร่วมกับพลเอกแมคคีร์แนนนั้น เป็นจำนวนที่เราจำเป็นต้องเพิ่มในอนาคตอยู่แล้ว ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่าเราจะต้องเพิ่มกำลังทหารให้มากเกินกว่า 20,000-30,000 คนดังที่พูดคุยกันนี้” มุลเลนซึ่งถือเป็นนายทหารตำแหน่งสูงสุดในระบบกองทัพของสหรัฐฯกล่าว
เขาเสริมด้วยว่าแม้จะยังไม่สามารถระบุจำนวนทหารให้แน่นอนได้ ทว่ากำลังเสริมดังกล่าว ซึ่งจะประกอบด้วยทหารหน่วยสู้รบสี่กองพลน้อย หน่วยกำลังทางอากาศหนึ่งกองพลน้อย และกำลังทหารสนับสนุนอื่นๆ จะเข้าประจำการได้ภายในกลางปี 2009
อย่างไรก็ดี เขาก็กล่าวเตือนอย่าให้มีแนวคิดที่ว่า การเสริมกำลังทหารจำนวนมหาศาลเข้าไป จะสามารถนำสันติภาพมาสู่ประเทศที่ถูกสงครามทำลายล้างไปมากแล้วแห่งนี้ ได้โดยอัตโนมัติ
“คงไม่มีอะไรแตกต่างไป หลังจากที่เสริมกำลังทหารเข้าไปที่นั่นแล้ว ถ้าหากเราไม่ผลักดันในเรื่องการพัฒนาให้คืบหน้า รวมทั้งความคืบหน้าจากทางรัฐบาล(อัฟกานิสถาน)เองด้วย” เขากล่าว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีทหารต่างชาติประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานถึงราว 70,000 นาย เพื่อต่อสู้กับการก่อความไม่สงบที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ที่กำลังทหารร่วมภายใต้การนำของสหรัฐฯ ได้ขับไล่กลุ่มหัวรุนแรงตอลิบานออกจากอำนาจการปกครองประเทศเมื่อปี 2001
ปีนี้ถือเป็นปีที่กองกำลังร่วมนานาชาติประสบกับเหตุรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลตอลีบันถูกโค่นล้มไป โดยมีทหารราว 290 คนเสียชีวิต ในขณะเดียวกัน ทหารและตำรวจของอัฟกานิสถานราว 1,000 นาย และพลเรือนอีกกว่า 2,000 คน ก็ได้เสียชีวิตไปเช่นกัน
แต่เมื่อมีผู้ถามถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ หลังจากที่ประธานาธิบดีฮามิด การ์ไซแห่งอัฟกานิสถานได้เรียกร้องให้มุลลาห์ โอมาร์ ผู้นำกลุ่มตอลิบาน มาเข้าร่วมในการเจรจาด้วย มุลเลนได้แสดงความเห็นอย่างระมัดระวังว่า
“ในการต่อสู้เพื่อต่อต้านการก่อความไม่สงบนั้น คุณจะบรรลุเป้าหมายก็ต่อเมื่อคุณได้ให้ทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงให้กับบรรดาผู้ก่อความไม่สงบเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะพวกที่สามารถปรองดองกันได้” เขากล่าวและเสริมต่อไปว่า “และผมมีความเชื่อว่าเราจะต้องทำเช่นนั้นจากจุดยืนที่เข้มแข็ง”
ก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์(19) นายทหารสหรัฐฯผู้หนึ่งระบุว่า รอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหม ได้สั่งให้เตรียมจัดกำลังทหารหน่วยสู้รบเคลื่อนที่ทางอากาศ 1 กองพลน้อย ที่มีกำลังพล 2,800 คนเข้าประจำการในอัฟกานิสถานหลังเดือนมกราคมแล้ว
แต่ในวันพุธ(17)นั้น เกตส์ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าการเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯ จะมีการจำกัดจำนวนเท่าที่จำเป็นเนื่องจากมีความหวั่นเกรงว่า ยิ่งเพิ่มกำลังทหารประจำการเท่าไร ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่ชาวอัฟกันจะต่อต้านโดยมองว่าเป็นกองทหารผู้ยึดครอง
ทางด้านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งเดินทางไปเยี่ยมอำลาทหารในอัฟกานิสถานเมื่อวันจันทร์ (15) ได้กล่าวเตือนว่าการฟื้นฟูสันติภาพในอัฟกานิสถานนั้นจะต้องใช้เวลานาน
ขณะที่บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นในระหว่างหาเสียงเลือกตั้งว่าจะถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ออกจากอิรัก และส่งกำลังเสริมเข้าไปในอัฟกานิสถานแทน