ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยบลจ.หันสนใจตั้งกองทุนลงทุนหุ้นซีจี-ซีเอสอาร์ดี พร้อมเป็นตัวกลางส่งเสริมและการันตีบริษัทจดทะเบียนที่เข้าหลักเกณฑ์ หวังเอื้อบลจ.ลงทุนสะดวกมากขึ้นจากเดิมที่จะต้องมีการพิจารณาเอง ชี้ปัจจุบันมีกองทุนสนใจหลายแห่ง “เก่งกล้า” เผย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์
นายเก่งกล้า รักษ์เผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หารือร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และหน่วยงานต่างๆ โดยทางบลจ.หลายแห่งมีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในหุ้นที่มีบรรษัทภิบาล (CG) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ดีในปีหน้าเพิ่มมากขึ้น เพราะบลจ.มีความมั่นใจบริษัทดังกล่าวมีจะมีการดำเนินงานที่โปร่งใสและยั่งยืน จากปัจจุบันที่มี บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้จัดตั้งกองทุนขึ้นแล้ว
ทั้งนี้ จากกระแสความสนใจของนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศที่จะหันมาเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีซีจีและซีเอสอาร์ที่ดีนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะเป็นตัวกลางและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ให้มีการดำเนินงานเพื่อที่จะทำให้บริษัทมีซีจีและซีเอสอาร์ที่ดี เพื่อเป็นที่น่าสนใจในการลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน บลจ.ยังได้รับความสะดวกในการลงทุน จากเดิมการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีซีจีและซีเอสอาร์นั้นจะต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และพิจารณาเอง แต่เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสนับสนุนให้บจ. ดำเนินการเรื่องดังกล่าว จะช่วยลดระยะเวลาในการพิจารณา ส่งผลให้บลจ.สามารถเข้าลงทุนได้ทันที เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นผู้บอกว่าบริษัทใดบ้างที่มีซีจีและซีเอสอาร์ที่ดี
“จากการที่ บลจ. มีความสนใจลงทุนในบริษัทที่มีซีจี และซีเอสอาร์ที่ดีนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นตัวกลางในการนำความต้องการลงทุนของบลจ.ไปบอกกับบริษัทจดทะเบียนทำการปรับตัว เพื่อที่จะอยู่ในกลุ่มเป้าหมายหรือเข้าข่ายที่บลจ.จะเข้าลงทุน ขณะที่บลจ.เอง จะได้รับความสะดวกจากที่จะมีตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้บอกว่าบริษัทใดเข้าเกณฑ์ จากเดิมที่จะต้องวิเคราะห์เอง”
สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาบริษัทที่มีซีจี และซีเอสอาร์ที่ดีนั้น นายเก่งกล้า กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งจะมีการนำผลของการให้คะแนนซีจีที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) มาร่วมในการพิจารณา และจะมีแผนที่จะขอความร่วมมือกับนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต่างๆ ให้ความสำคัญในการจัดทำบทวิเคราะห์โดยใช้ซีจี เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์หุ้น เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การที่บลจ.สนใจที่จะลงทุนในหุ้นที่มีซีจี ซีเอสอาร์ที่ดีนั้น ยังเป็นการส่งเสริมและยกระดับบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีซีจีที่ดีมากขึ้น และยังเป็นการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวมของตลาดทุน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มงานพัฒนาตลาดทุนที่ จะเน้นสร้างความต่อเนื่องด้านการดำเนินการเพื่อยกระดับซีจี ซีเอสอาร์ และงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (ไออาร์) ของบริษัทจดทะเบียนให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลในระยะเวลา 5 ปี
พร้อมกันนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้มีคะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการเพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานเทียบเคียงกับประเทศอื่นในภูมิภาค และบจ.อย่างน้อย 75% มีการดำเนินงานด้าน IR ตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการดำเนินงานด้าน CSR และอย่างน้อย ร้อยละ 50 มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานด้าน CSR นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดทุน ผ่านการสร้าง mai matching fund และVenture Capital Model เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการเพิ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต
นายเก่งกล้า รักษ์เผ่าพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หารือร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) และหน่วยงานต่างๆ โดยทางบลจ.หลายแห่งมีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในหุ้นที่มีบรรษัทภิบาล (CG) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ดีในปีหน้าเพิ่มมากขึ้น เพราะบลจ.มีความมั่นใจบริษัทดังกล่าวมีจะมีการดำเนินงานที่โปร่งใสและยั่งยืน จากปัจจุบันที่มี บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ได้จัดตั้งกองทุนขึ้นแล้ว
ทั้งนี้ จากกระแสความสนใจของนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศที่จะหันมาเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีซีจีและซีเอสอาร์ที่ดีนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะเป็นตัวกลางและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ให้มีการดำเนินงานเพื่อที่จะทำให้บริษัทมีซีจีและซีเอสอาร์ที่ดี เพื่อเป็นที่น่าสนใจในการลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน บลจ.ยังได้รับความสะดวกในการลงทุน จากเดิมการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีซีจีและซีเอสอาร์นั้นจะต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และพิจารณาเอง แต่เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสนับสนุนให้บจ. ดำเนินการเรื่องดังกล่าว จะช่วยลดระยะเวลาในการพิจารณา ส่งผลให้บลจ.สามารถเข้าลงทุนได้ทันที เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นผู้บอกว่าบริษัทใดบ้างที่มีซีจีและซีเอสอาร์ที่ดี
“จากการที่ บลจ. มีความสนใจลงทุนในบริษัทที่มีซีจี และซีเอสอาร์ที่ดีนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นตัวกลางในการนำความต้องการลงทุนของบลจ.ไปบอกกับบริษัทจดทะเบียนทำการปรับตัว เพื่อที่จะอยู่ในกลุ่มเป้าหมายหรือเข้าข่ายที่บลจ.จะเข้าลงทุน ขณะที่บลจ.เอง จะได้รับความสะดวกจากที่จะมีตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้บอกว่าบริษัทใดเข้าเกณฑ์ จากเดิมที่จะต้องวิเคราะห์เอง”
สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาบริษัทที่มีซีจี และซีเอสอาร์ที่ดีนั้น นายเก่งกล้า กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งจะมีการนำผลของการให้คะแนนซีจีที่จัดทำขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี) มาร่วมในการพิจารณา และจะมีแผนที่จะขอความร่วมมือกับนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต่างๆ ให้ความสำคัญในการจัดทำบทวิเคราะห์โดยใช้ซีจี เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์หุ้น เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การที่บลจ.สนใจที่จะลงทุนในหุ้นที่มีซีจี ซีเอสอาร์ที่ดีนั้น ยังเป็นการส่งเสริมและยกระดับบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีซีจีที่ดีมากขึ้น และยังเป็นการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวมของตลาดทุน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มงานพัฒนาตลาดทุนที่ จะเน้นสร้างความต่อเนื่องด้านการดำเนินการเพื่อยกระดับซีจี ซีเอสอาร์ และงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (ไออาร์) ของบริษัทจดทะเบียนให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลในระยะเวลา 5 ปี
พร้อมกันนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้มีคะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการเพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานเทียบเคียงกับประเทศอื่นในภูมิภาค และบจ.อย่างน้อย 75% มีการดำเนินงานด้าน IR ตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการดำเนินงานด้าน CSR และอย่างน้อย ร้อยละ 50 มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานด้าน CSR นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดทุน ผ่านการสร้าง mai matching fund และVenture Capital Model เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการเพิ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต