xs
xsm
sm
md
lg

ชี้เลือกตั้งของไทยไม่ใช่ทางออก เหตุเป็นแค่วิธีปชต.มีแต่ซื้อเสียง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะนายกสภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถานำตอนหนึ่งเรื่อง นิติรัฐกับสังคมไทย ระหว่างเปิดงานสัมมนาใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 1 ของสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า สังคมไทยมีความแปรปรวนจากวิวัฒนาการของตัวกฎหมาย กติกา ที่พยายามจะออกแบบให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์และทันโลก แต่ความเข้าใจ เครื่องมือที่นำมาใช้ ผู้ใช้และประชาชนทั่วไปนั้นมีความเข้าใจแค่ไหน
ประเทศชาติ โดยรากฐาน สิ่งที่ปรากฎทุกวันนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ ที่ผ่านมาผมเคยผ่านประเทศที่ล่มสลายโดยเฉพาะคนในชาติเวียดนามเหนือ-ใต้ ที่คนในชาติฆ่ากันเอง ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่ เนื่องจากไม่มีการใช้นิติรัฐ ต้นเหตุของ การล่มสลายเกิดจากการปกครองที่ขาดธรรมาภิบาล ชีวิตนี้ผมก็ไม่อยากจะเห็นอีก
นายสุเมธ กล่าวว่า แม้การออกแบบตุลาการที่น่าจะครบถ้วนตามสากลนิยม แต่ส่วนตัว เห็นว่า คนไทยขาดการเข้าถึงกฎกติกาที่ไม่เข้าใจ รู้กันเพียงคร่าว ๆและผู้เล่นกติกาก็ตีความเพื่อประโยชน์ของตัว ขณะที่กรรมการที่ตัดสินก็จะมีเครื่องหมายว่า กรรมการแฟร์ เพลย์หรือไม่ เช่นเดียวกับกีฬาหรือสังคมก็มีสองสี เถียงกันไม่รู้จบ แม้ตุลาการจะสามารถอธิบายได้ถึงความยุติธรรม การตีความถูกต้องด้วยเหตุผล แต่สังคมกลับไม่แจ่มกระจ่าง ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนิติรัฐที่จะต้องสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เพราะบ้านเมืองที่ไม่มีนิติรัฐ ก็เหมือนกับไม่มีขื่อมีแปร จึงจะอยู่ไม่ได้ ต้องมีกติกาที่อยู่ร่วมกันถึงจะอยู่ได้
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวตอนหนึ่ง ในการปาฐกถานำเรื่อง บทบาทใหม่ศาลปกครองไทย ว่า การที่ตุลาการ ถูกกล่าวหา ว่าเป็น ตุลาการณ์ภิวัฒน์ ถือว่าไม่ถูกต้อง ตุลาการบางตำแหน่งที่ไปเกี่ยวข้องกับการสรรหา ตรงนี้ถือเป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ และกระบวนการสรรหาก็ยังต้องเข้าไปสู่ฝ่ายนิติบัญญัติ การไปกล่าวว่า เป็นตุลาการภิวัฒน์คงไม่ใช่ แท้ที่จริงไม่มีตุลาการคนไหน อยากจะเข้าไปมีอำนาจเด็ดขาด กระบวนที่ตุลาการ เข้ามีบทบาทตัดสินคดีทางการเมือง เป็นเพียงกระแสสากลที่แผ่กว้างกับฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งก็แล้วแต่จะคิดอย่างไร
ดังนั้นการที่ไปเข้าใจว่าเป็น ตุลาการภิวัฒน์ เข้าไปใช้อำนาจแผ่กว้างนั้น เกิดขึ้น เพราะการใช้อำนาจตุลาการในคดีความต่างๆ อาจจะผิดแผกจากสิ่งที่เคยเห็นในสังคมไทย แต่ก็เป็นไปตามสิทธิที่เขียนไว้โดยตุลาการจะต้องติดยึดกับอักษร กรณีที่มีศาลต่าง ๆเกิดขึ้นในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนั้น
นายอักขราทร ยังเรียกร้องให้สถาบันการศึกษาร่วมสร้างมาตรฐานทางวิชาการ โดยใช้เวทีนี้เพื่อแก้ปัญหาเช่น การเลือกตั้งที่ถือเป็นเพียงวิธีการในระบอบประชาธิปไตยกับประเทศไทย ซึ่งการเลือกตั้งจะต้องมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โดยไม่มีการ ซื้อเสียง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปกติกับต่างประเทศหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศเขาสนับสนุนการเลือกตั้งจากสาเหตุใด
แต่เราไม่มีประสบการณ์เป็นพิเศษ ต่อเหตุการณ์สิทธิเสรีภาพเช่นเดียวกับต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้เราต้องไปพูดให้ต่างประเทศเข้าใจ เพราะเขาจะเอามาตรฐาน การเลือกตั้งของเราไปวัดเป็นไปไม่ได้ เราไม่เคยบอกในเชิงวิชาการว่า เขาต่อสู้มานาน เพียงใด ในวิชาการกฎหมาย จึงต้องเรียนประวัติศาสตร์สากลให้มาก ขณะเดียวกันก็ควรจะเลิกพูดด้วยว่า เมื่อใช้หลักนิติศาสตร์ไม่ได้ ก็หันมาใช้หลักรัฐศาสตร์ เพราะปัญหาเกิดจากวิธีการที่นักกฎหมายตีความกันเองทั้งนั้น
ขณะที่วงอภิปราย เรื่อง การเมืองกับกฎหมาย นายประพันธ์ ทรัพย์แสง อดีตประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวว่า กฎหมายก็คือการเมืองต้องมีความเป็นธรรม ไม่ใข่ออกมาเพื่อพวกพ้อง ขณะเดียวกันคนที่เข้ามาสู่การเมืองถ้าเป็นคนโกง ไม่ซื่อสัตย์ ก็ไม่เกิดความศรัทธาจากประชาชน ขณะที่ระบอบประชาธิปไตยต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ต้องรวมตัวกันตัดสินใจ และตรวจสอบอำนาจรัฐ เช่นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ้น
นายประพันธ์ กล่าวว่า การเมืองกับกฎหมายต้องควบคุมไปด้วยกัน ในแง่ของศาลนั้นจะต้องไม่มีการเมืองมาแทรกแซง จะต้องไม่มีอคติ
อย่างคดีที่ดินรัชดาที่ผม อยู่ในเสียงข้างน้อยยกฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะผมมองว่า เขามีที่มา มีอำนาจกำกับดูแลจริงหรือไม่ แม้ผมเป็นเสียงข้างน้อย ก็ต้องยอมรับเสียงข้างมาก ขณะเดียวกันความแตกแยก แทรงแซง คอรัปชั่น หมิ่นเบื้องสูง หากจะตั้งมาร้อย ป.ป.ช. ตั้งศาลอาญาคดีนักการเมืองร้อยศาล ก็ปราบปรามคอรัปชั่น ในสังคมอำนาจนิยม ที่มีระบบอุปถัมภ์ไมได้ ทุกรัฐบาลที่ขึ้นมา ถ้าจะขุดก็จะมีคอรัปชั่นมาก การเมืองใหม่ที่จะขึ้นมา ผมรับรองว่า งานจะเข้าศาลทุกแห่งมากกว่าเดิม
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ปปช. กล่าวว่าจากที่เราเน้นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้การเมืองไทยเริ่มเดินผิดพลาดและทำลายหลักการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 หมายความว่า แม้เราจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ปรากฏจริงในขณะที่เราไม่ได้นำแนวทางรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมาใช้ แม้เราจะยึดถือการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระองค์ประมุข ที่ถือว่าสูงสุดตลอดเวลา แต่เมื่อมีปัญหาอะไรก็มีพระองค์มาโปรดทุกครั้ง เช่นเดียวกับแนวทางการปกครองของอังกฤษ เวลามีช่องโหว่ก็นึกถึงพระองค์ท่านตลอดเวลา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย แม้ระเบียบการปกครองบ้านเมืองจะไม่มีจริง แต่ก็เป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติตามมา
ฝ่ายบริหาร ไม่เคยพูดจริงจังว่าจะรับผิดชอบ แค่ไหนอย่างไร จึงต้องตั้งคำถามว่า ความผิดพลาดคือการประสานอย่างไรให้ตรงตัว นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อสภา แต่เมื่อมีปัญหาไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ จะทำอย่างไร จะให้องค์กรแก้ปัญหาได้อย่างไร หรือจะขอ ม.7 ขอ รบ.เฉพาะกาล
นายวิชา กล่าวว่า การเลือกตั้งที่ยึดคะแนนเสียงเป็นหลัก กับการยึดประโยชน์ที่คนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ สิ่งใดจะสำคัญกว่า เพราะบางประเทศมีการทำแล้ว แต่ไทยกลับยังเน้นเสียงข้างมาก ขณะเดียวกันก็ต้องวางบรรทัดฐานศาล ให้เห็นว่า อำนาจตุลาการ เป็นผู้รับใช้รัฐ แต่ไม่ใช่ข้าของรัฐ แต่เป็นผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่รับใช้องค์กรที่บริหาร เช่น การตัดสินคดีนายกรัฐมนตรีให้เป็นผิดหรือไม่
ผมไม่ได้เป็นขี้ข้าของรัฐบาล จึงสามารถที่จะตัดสินผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองที่กระทำผิดตามหลักนิติธรรม ที่ไม่มีผู้ใดอยู่เหนือกฎมาย และรัฐบาลต้องเชื่อฟังกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ หากไม่เชื่อฟังก็จะต้องจัดการ ตามหลักสากล เพราะผู้บริหารมักจะคิดว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมาย ดังนั้นอำนาจศาลและองค์กรกึ่งตุลาการ จึงมีหน้าที่ตรวจสอบผู้บริหาร โดยเฉพาะกฎหมายที่ชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าตุลาการภิวัฒน์
นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า นักการเมืองไทย มีความเข้าใจต่อความรับผิดชอบทางการเมืองเช่นไร เพราะหากมีความรับผิดชอบเหมือนอารยะประเทศเขาก็จะลาออกไปแล้ว ทั้งนี้ตนเคยเขียนบทความเรื่อง มาตรฐานนักเมืองโจร แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ ระบุถึงพวกที่ไม่รู้สึกร้อนหนาว ที่มีตำแหน่งอันทรงเกียรติเมื่อทำผิดกลับไม่ต้องปฏิบัติตามความรับผิดชอบ กลับไปรอให้ศาลพิสูจน์ หรือตัดสินก่อน กลายเป็นว่า ต้องรอเอากฎหมายอาญามาตัดสิน เอามาตรฐานนักโทษ ต้องรอตัดสินแล้วถึงจะออก เราจะต้องแก้ตรงนี้ นักการเมืองรุ่นใหม่ ๆ ต้องทำ ผมไม่ได้ชื่นชม นายอภิรักษ์ เวชชาชีวะ แต่บ้านเรานักการเมืองลงทุนไปเยอะ จึงไม่ออก เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ข้อเท็จจริงที่บ้านเรานักการเมืองเป็น โรคกามตายด้าน ไม่รู้สึกทุกร้อน การเมืองตรงนี้จึงต้องให้ยาแรง เพราะพวกนี้เข้ามา เพื่อผลประโยชน์ อย่าไปบอกว่ารัฐธรรมนูญไม่ทันสมัย เพราะบ้านเราคอรัปชั่นเยอะ
กำลังโหลดความคิดเห็น