เอเจนซี - ชี้การลดน้ำหนักมีโอกาสสำเร็จง่ายขึ้นถ้ามีเงินล่อใจ ขณะที่ผลการศึกษาอีกชิ้นพบการจำกัดแป้งอาจส่งผลต่อความจำ
ดร.เควิน วอลป์ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ ต้องการค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคอ้วน โดยเห็นว่าโปรแกรมลดน้ำหนักมักล้มเหลวเพราะผู้ลดน้ำหนักถูกขอให้เสียสละในวันนี้เพื่อแลกกับรางวัลในวันหน้า
“แต่เราต้องการคิดค้นระบบที่ให้รางวัลกันแบบเฉพาะหน้าไปเลย” วอลป์กล่าวในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมการแพทย์แห่งอเมริกา
วอลป์และทีมนักวิจัยศึกษาโปรแกรมลดน้ำหนักที่มีมาตรการจูงใจสองแบบ แบบแลกพัฒนาขึ้นมาโดยอิงกับล็อตเตอรี่ กล่าวคือผู้เข้าร่วมจะได้ล็อตเตอรี่และได้รางวัลเมื่อลดน้ำหนักได้ตามเป้า โดยล็อตเตอรี่จะออกทุกวัน และผู้เข้าร่วมได้รับแจ้งว่าจะได้รางวัลอะไรเมื่อลดน้ำหนักได้ตามที่กำหนด
อีกโปรแกรมหนึ่งเป็นการหักเงิน โดยผู้เข้าร่วมจะต้องลงทุนด้วยเงินของตัวเองวันละ 1 เซนต์ถึง 3 ดอลลาร์ ซึ่งอาจเสียไปฟรีๆ หากไม่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าเมื่อครบหนึ่งเดือน แต่จะได้โบนัสหากทำสำเร็จ
หลังจากนั้น นักวิจัยเกณฑ์อาสาสมัครที่เป็นโรคอ้วนแต่สุขภาพดี 57 คนเข้าสู่การทดลอง โดยจะมีการชั่งน้ำหนักทุกสิ้นเดือน และทุกคนถูกกำหนดให้ลดน้ำหนัก 7.26 กิโลกรัมภายในสี่เดือน
ผลปรากฏว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่มีมาตรการจูงใจลดน้ำหนักได้มากกว่าคนที่ไม่ได้รางวัลตอบแทน โดยครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มสามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้า
อาสาสมัครในกลุ่มล็อตเตอรี่ได้รางวัลทั้งสิ้น 378.49 ดอลลาร์ และลดน้ำหนักได้ราว 5.9 กิโลกรัม ขณะที่กล่มที่ถูกหักเงินได้รางวัล 272.80 ดอลลาร์ และลดน้ำหนักได้ 6.35 กิโลกรัม สำหรับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รางวัลใดๆ ลดน้ำหนักได้แค่ 1.8 กิโลกรัม
วอลป์เสริมว่า การศึกษานี้มีประสิทธิภาพสูงกับโครงการลดน้ำหนักระยะสั้น แต่เมื่อหยุดให้รางวัล น้ำหนักจะกลับมาใหม่
ขณะเดียวกัน มีผลการศึกษาอีกชิ้นที่เตือนว่า การจำกัดอาหารประเภทแป้งอาจลดทอนความสามารถในการจดจำ
คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับสมอง โดยนักวิจัยพบว่า ความสามารถในการจดจำลดลงทันทีหลังลดน้ำหนักตามสูตรแอตกินส์ ที่เน้นการห้ามกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล มันฝรั่ง รวมถึงผักและผลไม้บางอย่าง แต่ให้กินโปรตีนและไขมันแทน โดยสูตรนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นทศวรรษปัจจุบัน
ดร.ฮอลลี เทย์เลอร์ ผู้นำการวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟต์ในบอสตัน กล่าวว่าการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อาหารที่กินเข้าไปอาจมีผลทันทีต่อพฤติกรรมความคิดของคนเรา
“สูตรลดน้ำหนักแบบจำกัดหรืองดอาหารประเภทแป้งมีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะทำให้เกิดผลลบต่อการคิดและกระบวนการรับรู้”
การศึกษาชิ้นนี้เน้นที่ผลกระทบของการลดน้ำหนักแบบจำกัดคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อพลังสมอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงอายุ 22-55 ปี จำนวน 19 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ หนึ่งจำกัดอาหารประเภทไขมัน อีกกลุ่มจำกัดคาร์โบไฮเดรต
ผลปรากฏว่าภายในหนึ่งสัปดาห์ ผู้หญิงสิบคนที่จำกัดอาหารประเภทแป้งทำคะแนนทดสอบการทำงานของสมองได้น้อยกว่าอีกกลุ่ม โดยการทดสอบมุ่งที่สมาธิ ความจำระยะสั้นและระยะยาว ความสนใจในการมอง และความจำจากการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ
ทั้งนี้ กลุ่มที่จำกัดคาร์โบไฮเดรตจะทำคะแนนจากภารกิจความจำได้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่จำกัดไขมัน เวลาในการตอบสนองช้าลงเช่นกัน ขณะที่ความจำจากการมองเห็นไม่ดีนัก แต่ทำคะแนนในการทดสอบความสนใจระยะสั้นได้ดี และไม่มีความแตกต่างในส่วนระดับความหิวระหว่างทั้งสองกลุ่ม
นักวิจัยกล่าวในวารสารแอปเพไทต์ว่า สูตรอาหารที่จำกัดแป้งอาจไปลดจำนวนกลูโคส หรือระดับเลือดในน้ำตาลที่ส่งไปเลี้ยงสมองและให้พลังงานแก่เซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีพลังน้อยลง
“แม้มีการติดตามผลเพียงสามสัปดาห์ แต่ข้อมูลที่ได้บ่งชี้ว่าอาหารอาจส่งผลต่อเรามากกว่าเรื่องของน้ำหนักตัว
“สมองต้องการกลูโคสเพื่อให้พลังงาน และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำอาจบั่นทอนการเรียนรู้ ความจำ และการคิด”
ดร.เควิน วอลป์ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ ต้องการค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคอ้วน โดยเห็นว่าโปรแกรมลดน้ำหนักมักล้มเหลวเพราะผู้ลดน้ำหนักถูกขอให้เสียสละในวันนี้เพื่อแลกกับรางวัลในวันหน้า
“แต่เราต้องการคิดค้นระบบที่ให้รางวัลกันแบบเฉพาะหน้าไปเลย” วอลป์กล่าวในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมการแพทย์แห่งอเมริกา
วอลป์และทีมนักวิจัยศึกษาโปรแกรมลดน้ำหนักที่มีมาตรการจูงใจสองแบบ แบบแลกพัฒนาขึ้นมาโดยอิงกับล็อตเตอรี่ กล่าวคือผู้เข้าร่วมจะได้ล็อตเตอรี่และได้รางวัลเมื่อลดน้ำหนักได้ตามเป้า โดยล็อตเตอรี่จะออกทุกวัน และผู้เข้าร่วมได้รับแจ้งว่าจะได้รางวัลอะไรเมื่อลดน้ำหนักได้ตามที่กำหนด
อีกโปรแกรมหนึ่งเป็นการหักเงิน โดยผู้เข้าร่วมจะต้องลงทุนด้วยเงินของตัวเองวันละ 1 เซนต์ถึง 3 ดอลลาร์ ซึ่งอาจเสียไปฟรีๆ หากไม่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าเมื่อครบหนึ่งเดือน แต่จะได้โบนัสหากทำสำเร็จ
หลังจากนั้น นักวิจัยเกณฑ์อาสาสมัครที่เป็นโรคอ้วนแต่สุขภาพดี 57 คนเข้าสู่การทดลอง โดยจะมีการชั่งน้ำหนักทุกสิ้นเดือน และทุกคนถูกกำหนดให้ลดน้ำหนัก 7.26 กิโลกรัมภายในสี่เดือน
ผลปรากฏว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่มีมาตรการจูงใจลดน้ำหนักได้มากกว่าคนที่ไม่ได้รางวัลตอบแทน โดยครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มสามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้า
อาสาสมัครในกลุ่มล็อตเตอรี่ได้รางวัลทั้งสิ้น 378.49 ดอลลาร์ และลดน้ำหนักได้ราว 5.9 กิโลกรัม ขณะที่กล่มที่ถูกหักเงินได้รางวัล 272.80 ดอลลาร์ และลดน้ำหนักได้ 6.35 กิโลกรัม สำหรับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รางวัลใดๆ ลดน้ำหนักได้แค่ 1.8 กิโลกรัม
วอลป์เสริมว่า การศึกษานี้มีประสิทธิภาพสูงกับโครงการลดน้ำหนักระยะสั้น แต่เมื่อหยุดให้รางวัล น้ำหนักจะกลับมาใหม่
ขณะเดียวกัน มีผลการศึกษาอีกชิ้นที่เตือนว่า การจำกัดอาหารประเภทแป้งอาจลดทอนความสามารถในการจดจำ
คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับสมอง โดยนักวิจัยพบว่า ความสามารถในการจดจำลดลงทันทีหลังลดน้ำหนักตามสูตรแอตกินส์ ที่เน้นการห้ามกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล มันฝรั่ง รวมถึงผักและผลไม้บางอย่าง แต่ให้กินโปรตีนและไขมันแทน โดยสูตรนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นทศวรรษปัจจุบัน
ดร.ฮอลลี เทย์เลอร์ ผู้นำการวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟต์ในบอสตัน กล่าวว่าการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อาหารที่กินเข้าไปอาจมีผลทันทีต่อพฤติกรรมความคิดของคนเรา
“สูตรลดน้ำหนักแบบจำกัดหรืองดอาหารประเภทแป้งมีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะทำให้เกิดผลลบต่อการคิดและกระบวนการรับรู้”
การศึกษาชิ้นนี้เน้นที่ผลกระทบของการลดน้ำหนักแบบจำกัดคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อพลังสมอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงอายุ 22-55 ปี จำนวน 19 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มๆ หนึ่งจำกัดอาหารประเภทไขมัน อีกกลุ่มจำกัดคาร์โบไฮเดรต
ผลปรากฏว่าภายในหนึ่งสัปดาห์ ผู้หญิงสิบคนที่จำกัดอาหารประเภทแป้งทำคะแนนทดสอบการทำงานของสมองได้น้อยกว่าอีกกลุ่ม โดยการทดสอบมุ่งที่สมาธิ ความจำระยะสั้นและระยะยาว ความสนใจในการมอง และความจำจากการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ
ทั้งนี้ กลุ่มที่จำกัดคาร์โบไฮเดรตจะทำคะแนนจากภารกิจความจำได้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่จำกัดไขมัน เวลาในการตอบสนองช้าลงเช่นกัน ขณะที่ความจำจากการมองเห็นไม่ดีนัก แต่ทำคะแนนในการทดสอบความสนใจระยะสั้นได้ดี และไม่มีความแตกต่างในส่วนระดับความหิวระหว่างทั้งสองกลุ่ม
นักวิจัยกล่าวในวารสารแอปเพไทต์ว่า สูตรอาหารที่จำกัดแป้งอาจไปลดจำนวนกลูโคส หรือระดับเลือดในน้ำตาลที่ส่งไปเลี้ยงสมองและให้พลังงานแก่เซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีพลังน้อยลง
“แม้มีการติดตามผลเพียงสามสัปดาห์ แต่ข้อมูลที่ได้บ่งชี้ว่าอาหารอาจส่งผลต่อเรามากกว่าเรื่องของน้ำหนักตัว
“สมองต้องการกลูโคสเพื่อให้พลังงาน และอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำอาจบั่นทอนการเรียนรู้ ความจำ และการคิด”