หลังมติโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ผ่านไป โดยผู้ถูกเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เอาชนะ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ตัวแทนจากฝั่งกลุ่มอำนาจเดิมไปด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 เสียง
ทั้งๆ ที่รู้และคาดการณ์กันอยู่บ้างว่า นายอภิสิทธิ์ไม่น่าจะพลาดรถไฟสายอำนาจเที่ยวนี้แต่คำถามที่ถามไถ่กันในทุกวงสังคมก็คือ เมื่อนายกรัฐมนตรีของไทยคือนายอภิสิทธิ์ แล้วไง? บ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่?
ณ เวลานี้เป็นเรื่องยากที่จะตอบ เพราะทุกอย่างยังอยู่บนพื้นฐานของ ‘ความเชื่อ’ ยังมีเวลา และเงื่อนไขอื่นๆ ที่นายอภิสิทธิ์และคณะจะต้องถูกตรวจสอบ และประเมิน
เบื้องต้นท่ามกลางความคาดหวังของภาคเอกชน และประชาชนต่อการ ‘เปลี่ยน’ ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดทั้งชีวิตส่วนตัว และการบริหารงานในตำแหน่งผู้นำรัฐบาล หลังจากดูงานและเห็นตัวอย่างในวงการเมืองในฐานะผู้นำฝ่ายค้านมานาน
นายอภิสิทธิ์ย่อมทราบดีว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ว่าได้มาไม่ง่ายแล้วแต่สิ่งซึ่งยากยิ่งกว่าก็คือ จะจัดการรับมือกับ ‘ทุกขลาภ’ ที่จะถาโถมเข้ามาอย่างไร
คิดดูแล้วทุกขลาภมีไม่น้อยก็จริง แต่จุดใหญ่ใจความอาจแบ่งออกเป็น หนึ่ง มรดกตกทอดจากระบอบทักษิณที่ทำกรรมกับประเทศเอาไว้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะทำอย่างไรเพื่อพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า เป็นรัฐบาลของประชาชน 63 ล้านคน ไม่ใช่รัฐบาลที่เข้ามาเพื่อประโยชน์ของคนคนเดียวเหมือนรัฐบาลหุ่นเชิด นอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เหมือนที่ผ่านมา
หากพิจารณาให้ถ้วนถี่แล้วอิงกับข้อเท็จจริงจากประวัติศาสตร์การเมืองช่วง 4-5 ปีมานี้ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ต้องถึงกับเริ่มนับหนึ่งใหม่ให้เสียเวลาเพียงเอาธรรมนำหน้า หรืออย่างน้อยเอาสิ่งซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นตัวแทนของการเมืองภาคประชาชน ต่อสู้กับระบอบทักษิณมาอย่างยืดเยื้อยาวนานทำการบ้านไว้ให้เสร็จสรรพเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาตรึกตรอง ข้อกังวล หวาดระแวงของประชาชนจะลดน้อยลงกลับมาเป็นความเชื่อมั่นได้ไม่มากก็น้อย
ถามว่าอะไรบ้าง? ก็อย่างเช่น เร่งรัดดำเนินคดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่รับใช้ระบอบทักษิณอย่างนายจักรภพ เพ็ญแข หรือนายวีระ มุสิกพงศ์ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุชุมชนที่เหิมเกริมอย่างหนักตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เร่งรัดคดีทุจริตคอร์รัปชันที่คั่งค้าง ดำเนินการเพื่อให้ให้เกิดการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดินมาดำเนินคดีในประเทศไทยหรือยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีอาญาแผ่นดินโดยทันที (หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากข่าว พันธมิตรฯ แถลง “คำเตือนก่อนเข้าสู่อำนาจ” ที่ ASTV ผู้จัดการออนไลน์:http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000146290 ประกอบ)
เหล่านี้คือข้อพิสูจน์ที่จะบอกว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่แม้มีองค์ประกอบของลำตัว แขน ขา เป็นอะไหล่ที่เต็มไปด้วยเสียงยี้ เพราะการย้ายสลับร่างระบอบทักษิณเดิมมาไม่ได้คิดและปกป้องคนผิด แต่เลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง!
ทุกขลาภที่สอง คือ การจัดการปัญหาที่เป็นวิกฤตของชาติ ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง นายอภิสิทธิ์ว่าที่หัวหน้าคณะรัฐบาลจะทำอย่างไร
โจทก์ข้อนี้ยากกว่าการเรียกความเชื่อมั่นใดๆ เพราะทุกปัญหามีความสลับซับซ้อนและหลากหลายมิติ ประชาชนโดยเฉพาะภาคธุรกิจต้องการเห็นการบริหารในแบบมืออาชีพ บริหารในยามวิกฤตที่ไม่ใช่ในภาวะปกติ ไม่ใช่แก้ปัญหาแค่พูด หรือปัดเป่าด้วยลมปากในสไตล์นักการเมืองน้ำเน่าแล้วจะลอยตัวไปวันๆ ได้
แม้ภาพลักษณ์ของนายอภิสิทธิ์จะเป็นที่ยอมรับของเหล่านักธุรกิจ นักลงทุน แต่พอนึกถึงรูปร่างหน้าตาของครม.ที่จะเผยโฉมออกมาในลำดับถัดไปไม่กี่วันข้างหน้านี้หลายคนกังวล
กังวลเพราะด้วยบริบทการเมืองแบบเดิมๆ เมื่อจบจากโหวตนายกฯ ก็ถึงรอบที่นักการเมือง นายทุนต่างมาตบตีวิ่งราวยื้อแย่งแก่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรี แบ่งเป็นระบบโควตา ใครจ่ายมาก ใครจ่ายน้อย ใครต้องต่างตอบแทน มันชวนสะอิดสะเอียนเสมอ!
พวกเขาคงไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูงให้นายอภิสิทธิ์ “โอบามาร์ค” เป็นอย่าง “โอบามา” ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 44
ไม่ได้หวังว่า “โอบามาร์ค” จะสรรหาคนเก่ง คนมีฝีมืออย่าง นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ ประธานบริหารธนาคารกลางสหรัฐฯ มาเป็นรัฐมนตรีคลัง เพื่อเดินหน้าเฟ้นหามาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของชาติ หรือไม่ได้ตั้งหวังจะเห็นรัฐมนตรีต่างประเทศโดดเด่นประมาณนางฮิลลารี คลินตัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯ หากแต่หวังเพียง นายอภิสิทธิ์จะกล้าหาญพอหาคนที่มีคุณสมบัติดีพอ และเป็นที่ยอมรับว่า มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเข้ามาทำงานก็เท่านั้น
บทเรียนจากอดีตรัฐบาลนอมินีถึงวิกฤตของชาติที่มีมากมาย หากยังดันทุรังให้นักการเมืองที่สักแต่จะอยากเป็นรัฐมนตรีเพื่อเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูล เข้ามาถอนทุนกอบโกย ปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจ ถึงเวลานั้น นายอภิสิทธิ์คงตอบได้เองว่า เมื่อตนเป็นนายกฯ แล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่?
สำหรับประชาชนเขารู้คำตอบอยู่แล้ว.
ทั้งๆ ที่รู้และคาดการณ์กันอยู่บ้างว่า นายอภิสิทธิ์ไม่น่าจะพลาดรถไฟสายอำนาจเที่ยวนี้แต่คำถามที่ถามไถ่กันในทุกวงสังคมก็คือ เมื่อนายกรัฐมนตรีของไทยคือนายอภิสิทธิ์ แล้วไง? บ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่?
ณ เวลานี้เป็นเรื่องยากที่จะตอบ เพราะทุกอย่างยังอยู่บนพื้นฐานของ ‘ความเชื่อ’ ยังมีเวลา และเงื่อนไขอื่นๆ ที่นายอภิสิทธิ์และคณะจะต้องถูกตรวจสอบ และประเมิน
เบื้องต้นท่ามกลางความคาดหวังของภาคเอกชน และประชาชนต่อการ ‘เปลี่ยน’ ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดทั้งชีวิตส่วนตัว และการบริหารงานในตำแหน่งผู้นำรัฐบาล หลังจากดูงานและเห็นตัวอย่างในวงการเมืองในฐานะผู้นำฝ่ายค้านมานาน
นายอภิสิทธิ์ย่อมทราบดีว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ว่าได้มาไม่ง่ายแล้วแต่สิ่งซึ่งยากยิ่งกว่าก็คือ จะจัดการรับมือกับ ‘ทุกขลาภ’ ที่จะถาโถมเข้ามาอย่างไร
คิดดูแล้วทุกขลาภมีไม่น้อยก็จริง แต่จุดใหญ่ใจความอาจแบ่งออกเป็น หนึ่ง มรดกตกทอดจากระบอบทักษิณที่ทำกรรมกับประเทศเอาไว้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะทำอย่างไรเพื่อพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่า เป็นรัฐบาลของประชาชน 63 ล้านคน ไม่ใช่รัฐบาลที่เข้ามาเพื่อประโยชน์ของคนคนเดียวเหมือนรัฐบาลหุ่นเชิด นอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เหมือนที่ผ่านมา
หากพิจารณาให้ถ้วนถี่แล้วอิงกับข้อเท็จจริงจากประวัติศาสตร์การเมืองช่วง 4-5 ปีมานี้ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ต้องถึงกับเริ่มนับหนึ่งใหม่ให้เสียเวลาเพียงเอาธรรมนำหน้า หรืออย่างน้อยเอาสิ่งซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นตัวแทนของการเมืองภาคประชาชน ต่อสู้กับระบอบทักษิณมาอย่างยืดเยื้อยาวนานทำการบ้านไว้ให้เสร็จสรรพเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาตรึกตรอง ข้อกังวล หวาดระแวงของประชาชนจะลดน้อยลงกลับมาเป็นความเชื่อมั่นได้ไม่มากก็น้อย
ถามว่าอะไรบ้าง? ก็อย่างเช่น เร่งรัดดำเนินคดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ต่อบุคคลที่รับใช้ระบอบทักษิณอย่างนายจักรภพ เพ็ญแข หรือนายวีระ มุสิกพงศ์ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุชุมชนที่เหิมเกริมอย่างหนักตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เร่งรัดคดีทุจริตคอร์รัปชันที่คั่งค้าง ดำเนินการเพื่อให้ให้เกิดการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดินมาดำเนินคดีในประเทศไทยหรือยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีอาญาแผ่นดินโดยทันที (หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากข่าว พันธมิตรฯ แถลง “คำเตือนก่อนเข้าสู่อำนาจ” ที่ ASTV ผู้จัดการออนไลน์:http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000146290 ประกอบ)
เหล่านี้คือข้อพิสูจน์ที่จะบอกว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่แม้มีองค์ประกอบของลำตัว แขน ขา เป็นอะไหล่ที่เต็มไปด้วยเสียงยี้ เพราะการย้ายสลับร่างระบอบทักษิณเดิมมาไม่ได้คิดและปกป้องคนผิด แต่เลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง!
ทุกขลาภที่สอง คือ การจัดการปัญหาที่เป็นวิกฤตของชาติ ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง นายอภิสิทธิ์ว่าที่หัวหน้าคณะรัฐบาลจะทำอย่างไร
โจทก์ข้อนี้ยากกว่าการเรียกความเชื่อมั่นใดๆ เพราะทุกปัญหามีความสลับซับซ้อนและหลากหลายมิติ ประชาชนโดยเฉพาะภาคธุรกิจต้องการเห็นการบริหารในแบบมืออาชีพ บริหารในยามวิกฤตที่ไม่ใช่ในภาวะปกติ ไม่ใช่แก้ปัญหาแค่พูด หรือปัดเป่าด้วยลมปากในสไตล์นักการเมืองน้ำเน่าแล้วจะลอยตัวไปวันๆ ได้
แม้ภาพลักษณ์ของนายอภิสิทธิ์จะเป็นที่ยอมรับของเหล่านักธุรกิจ นักลงทุน แต่พอนึกถึงรูปร่างหน้าตาของครม.ที่จะเผยโฉมออกมาในลำดับถัดไปไม่กี่วันข้างหน้านี้หลายคนกังวล
กังวลเพราะด้วยบริบทการเมืองแบบเดิมๆ เมื่อจบจากโหวตนายกฯ ก็ถึงรอบที่นักการเมือง นายทุนต่างมาตบตีวิ่งราวยื้อแย่งแก่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรี แบ่งเป็นระบบโควตา ใครจ่ายมาก ใครจ่ายน้อย ใครต้องต่างตอบแทน มันชวนสะอิดสะเอียนเสมอ!
พวกเขาคงไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูงให้นายอภิสิทธิ์ “โอบามาร์ค” เป็นอย่าง “โอบามา” ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 44
ไม่ได้หวังว่า “โอบามาร์ค” จะสรรหาคนเก่ง คนมีฝีมืออย่าง นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ ประธานบริหารธนาคารกลางสหรัฐฯ มาเป็นรัฐมนตรีคลัง เพื่อเดินหน้าเฟ้นหามาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของชาติ หรือไม่ได้ตั้งหวังจะเห็นรัฐมนตรีต่างประเทศโดดเด่นประมาณนางฮิลลารี คลินตัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯ หากแต่หวังเพียง นายอภิสิทธิ์จะกล้าหาญพอหาคนที่มีคุณสมบัติดีพอ และเป็นที่ยอมรับว่า มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเข้ามาทำงานก็เท่านั้น
บทเรียนจากอดีตรัฐบาลนอมินีถึงวิกฤตของชาติที่มีมากมาย หากยังดันทุรังให้นักการเมืองที่สักแต่จะอยากเป็นรัฐมนตรีเพื่อเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูล เข้ามาถอนทุนกอบโกย ปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจ ถึงเวลานั้น นายอภิสิทธิ์คงตอบได้เองว่า เมื่อตนเป็นนายกฯ แล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่?
สำหรับประชาชนเขารู้คำตอบอยู่แล้ว.