ASTVผู้จัดการรายวัน - เอาแน่ "สุชาติ" ทิ้งทวนสั่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีไทยธนาคารดำเนินการต่อ หลังคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูบกพร่อง เอื้อประโยชน์ผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะเอกชนที่ไม่ได้เพิ่มทุนด้วย ถือว่าประมาทเลินเล่อ
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รักษาการ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคาร ให้ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งผลสรุปเบื้องต้นมาให้พิจารณาเมื่อปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีมูลความผิด โดยเป็นความบกพร่องของคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ขณะเดียวกันคณะกรรมการฯ ยังไม่ได้ตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องอีกหลายคน เพื่อความเป็นธรรม จึงอนุมัติให้คณะกรรมการฯ ชุดเดิมสานต่อให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้ลงนามขยายเพดานการถือหุ้นของต่างชาติเกิน 49% แล้ว หลังจากที่ธนาคารซีไอเอ็มบี ของมาเลเซียได้ซื้อหุ้นไทยธนาคารจากกองทุนฟื้นฟูฯ สัดส่วน 42.13%
ทั้งนี้ ประเด็นการเพิ่มทุนครั้งที่ผ่านมานั้น มีรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติในสัดส่วนฝ่ายละกว่า 40% นั้น ซึ่งมีผู้มองว่าเป็นการสร้างประโยชน์ให้กลุ่มผู้ที่ไม่ได้เพิ่มทุนด้วย โดยกรณีการเพิ่มทุนของกองทุนฟื้นฟูฯนั้น ถูกกล่าวว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปเพิ่มทุนโดยประมาท เลินเล่อ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
ส่วนการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น คาดว่าในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการ ธปท. จะเรียกประชุมเพื่อเลือกประธานคณะกรรมการ ธปท.ได้แน่นอน
รายงานข่าวระบุว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ ได้ตั้งขึ้นมาในสมัยของนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โดยมีนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานฯ และมีผลสรุปว่า คณะกรรมการกองกองทุนฟื้นฟูฯ มีความบกพร่องในการเพิ่มทุนธนาคารไทยธนาคาร โดยไม่ลดทุนก่อน ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นก่อนหน้า 2,200 ล้านบาท ขณะที่ผู้ที่ได้ประโยชน์คือ ผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งขณะนั้นภาคเอกชนทั่วไปถือหุ้น 34% กลุ่มนิวบริดจ์ 33% และกองทุนฟื้นฟูฯ 33% โดยภาคเอกชนที่เคยถือหุ้นในไทยธนาคาร ได้แก่ กลุ่มบริษัทคอมลิ้งก์ ต่อมาได้มีการทยอยขายหุ้นออกไป ทั้งนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท.และ อดีต รมว.คลัง เคยเป็นผู้ถือหุ้นกลุ่มบริษัทคอมลิ้งก์.
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รักษาการ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ลงนามในคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคาร ให้ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งผลสรุปเบื้องต้นมาให้พิจารณาเมื่อปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีมูลความผิด โดยเป็นความบกพร่องของคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ขณะเดียวกันคณะกรรมการฯ ยังไม่ได้ตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องอีกหลายคน เพื่อความเป็นธรรม จึงอนุมัติให้คณะกรรมการฯ ชุดเดิมสานต่อให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้ลงนามขยายเพดานการถือหุ้นของต่างชาติเกิน 49% แล้ว หลังจากที่ธนาคารซีไอเอ็มบี ของมาเลเซียได้ซื้อหุ้นไทยธนาคารจากกองทุนฟื้นฟูฯ สัดส่วน 42.13%
ทั้งนี้ ประเด็นการเพิ่มทุนครั้งที่ผ่านมานั้น มีรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติในสัดส่วนฝ่ายละกว่า 40% นั้น ซึ่งมีผู้มองว่าเป็นการสร้างประโยชน์ให้กลุ่มผู้ที่ไม่ได้เพิ่มทุนด้วย โดยกรณีการเพิ่มทุนของกองทุนฟื้นฟูฯนั้น ถูกกล่าวว่ากองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปเพิ่มทุนโดยประมาท เลินเล่อ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
ส่วนการแต่งตั้งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น คาดว่าในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ คณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการ ธปท. จะเรียกประชุมเพื่อเลือกประธานคณะกรรมการ ธปท.ได้แน่นอน
รายงานข่าวระบุว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ ได้ตั้งขึ้นมาในสมัยของนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โดยมีนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานฯ และมีผลสรุปว่า คณะกรรมการกองกองทุนฟื้นฟูฯ มีความบกพร่องในการเพิ่มทุนธนาคารไทยธนาคาร โดยไม่ลดทุนก่อน ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นก่อนหน้า 2,200 ล้านบาท ขณะที่ผู้ที่ได้ประโยชน์คือ ผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งขณะนั้นภาคเอกชนทั่วไปถือหุ้น 34% กลุ่มนิวบริดจ์ 33% และกองทุนฟื้นฟูฯ 33% โดยภาคเอกชนที่เคยถือหุ้นในไทยธนาคาร ได้แก่ กลุ่มบริษัทคอมลิ้งก์ ต่อมาได้มีการทยอยขายหุ้นออกไป ทั้งนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท.และ อดีต รมว.คลัง เคยเป็นผู้ถือหุ้นกลุ่มบริษัทคอมลิ้งก์.