รอยเตอร์/เอเยนซีส์ - ข้อเสนอเพื่อช่วยชีวิต "บิ๊กทรีแห่งดีทรอยต์" 3 ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว แต่ยังไม่แน่ว่าจะผ่านวุฒิสภาหรือไม่ เพราะบรรดาผู้ไม่เห็นด้วยนั้นมีจำนวนไม่น้อย และบรรดาผู้สนับสนุนก็ต้องต่อสู้อย่างสุดฤทธิ์ในวันพฤหัสบดี(11)นี้ มิให้แท้งกลางสภาสูง
"จะเป็นการประชุมที่ยากลำบากแน่นอน แต่ก็เราก็ไม่หมดหวัง" ผู้ช่วยในรัฐสภาฝั่งเดโมแครตคนหนึ่งกล่าว หลังจากที่แผนให้เงินกู้ฉุกเฉินแก่เจเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม), ฟอร์ด และไครสเลอร์ส ผ่านสภาล่างไปเมื่อวันพุธ(10)
ร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งผ่านการตกลงเห็นชอบระหว่างพวกผู้นำพรรคเดโมแครตในรัฐสภาและคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ไปแล้ว สามารถผ่านสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯไปได้ด้วยคะแนนเสียง 237 ต่อ 170 ทว่าสำหรับในวุฒิสภานั้น ฝ่ายสนับสนุนดูจะยังไม่ได้เสียงถึง 60 เสียง ที่จะป้องกันมิให้กฎหมายนี้ถูกป่วนในวุฒิสภาจนผ่านออกมาไม่ได้
ฝ่ายสนับสนุนนั้นกล่าวว่ามาตรการตามร่างกฎหมายนี้จำเป็นต่อความอยู่รอดของบี๊กทรี ที่กำลังประสบกับปัญหาทางด้านการเงินอย่างมากจนถึงขนาดที่ว่าในไม่กี่เดือนนี้อาจจะขาดแคลนเงินสดในการดำเนินงาน และเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะจีเอ็มที่ครองบัลลังก์ผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกมาหลายทศวรรษ
"การล้มโครมจะเป็นหายนะครั้งใหญ่ที่เราไม่อาจปล่อยให้เยี่ยมหน้าเข้ามาเป็นอันขาด" สส.จอห์น ดิงเกลแห่งพรรคเดโมแครตจากมลรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นของบิ๊กทรี กล่าว
ส่วนทางทำเนียบขาวนั้นก็แสดงท่าทีสนับสนุนร่างกฏหมายอัดฉีดเงินฉุกเฉิน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯนี้อย่างเป็นทางการ และหวังว่าจะทำให้พวกรีพับลิกันที่มองอย่างไม่ค่อยเชื่อนักว่าจะช่วยอะไรอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯได้ ยอมเปลี่ยนใจมาสนับสนุนด้วย
"เราเชื่อว่ากฏหมายที่ได้รับการปรับปรุงแล้วในช่วงไม่กี่วันนี้ จะมีประสิทธิภาพและมีแนวทางที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการปรับโครงสร้างธุรกิจของตนเอง" โฆษกทำเนียบขาว ดานา เพอริโนกล่าว
พวกเดโมแครตบอกว่าต้องดันให้ออกกฎหมายฉบับนี้ ก็เพราะหากรัฐบาลไม่ทำอะไรในตอนนี้อาจนำไปสู่การล้มละลายของอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้คนตกงานเพิ่มเติมอีกหลายแสนคน และทำให้รัฐบาลบารัต โอมาบ่าต้องแบกปัญหาหนักหน่วงในการปลุกผีให้ฟื้นคืนชีพ
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูท่าทีของสมาชิกคนสำคัญของรีพับลิกันในวุฒิสภาแล้ว โอกาสที่ร่างกฎหมายนี้จะผ่านออกมาก็ดูจะยังมืดมัว เพราะแม้ชาวเดโมแครตบวกกับวุฒิสมาชิกอิสระที่มักโหวตตามเดโมแครต มีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของวุฒิสภาก็จริง แต่ฝ่ายค้านนิยมใช้ยุทธวิธีถ่วงเวลา อย่างเช่นเอาคนขึ้นอภิปรายไม่ยอมหยุด จนกระทั่งลงมติกันไม่ได้ และถ้าหากจะเสนอญัตติให้ปิดอภิปรายกันเพื่อลงมติ ก็จะต้องมีเสียงวุฒิสมาชิกเห็นด้วยถึง 60 เสียง
"พวกที่วิพากษ์วิจารณ์บริษัทผลิตรถยนต์ก็มีเสียงสนับสนุนไม่น้อย คำถามก็คือพวกรีพับลิกันในวุฒิสภาที่เคยสนับสนุนบิ๊กทรีหายไปไหนกันหมด" ผู้ช่วยในรัฐสภาฝ่ายเดโมแครตอีกผู้หนึ่งกล่าว
เจเนอรัล มอเตอร์ส, ฟอร์ดและไครสเลอร์จ้างพนักงานโดยตรง 250,000 คน ส่วนอีก 100,000 นั้นอยู่ในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และอุตสาหกรรมนี้จ้างงานทั้งหมดถึง 10% ของแรงงานอเมริกันที่มีงานทำทั้งหมด
ทางด้านตลาดสินเชื่อนั้น ก็ต้องการให้แผนกู้สถานการณ์นี้ผ่านไปได้ เนื่องจากภาวะล้มละลายหรือการปิดตัวของบิ๊กทรีแห่งดีทรอยท์จะส่งผลต่อตราสารการเงินนับหมื่นล้านดอลลาร์ ที่อิงอยู่กับตัวบริษัททั้งสามนี้
สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้คือจะมีการจัดสรรเงินกู้ระยะสั้นจำนวนรวมประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่บิ๊กทรี โดยนำเงินมาจากกองทุนรัฐบาลที่มุ่งช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ให้ปรับปรุงโรงงานและผลิตรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งได้มีการอนุมัติไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้ บริษัทรถยนต์เหล่านี้ก็จะต้องตอบแทนด้วยการให้หุ้นแก่รัฐบาล เป็นจำนวน 20% ของมูลค่าเงินกู้ที่แต่ละรายมากู้ยืมไป
เงินกู้ระยะสั้นเช่นนี้มุ่งหมายให้ช่วยพยุงบริษัทไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคมปีหน้า โดยหลังจากนั้นจะมีการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ด้วยการพิจารณาจากคุณภาพของแผนการปรับโครงสร้างซึ่งแต่ละบริษัทดำเนินการ ว่าเป็นไปได้และทำได้จริงหรือไม่
นอกจากนั้นประธานาธิบดีจะแต่งตั้งผู้ดูแล หรือที่เรียกขานกันว่า "ซาร์รถยนต์" ทำหน้าที่ดูแลบังคับให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ ในการให้เงินกู้ ตลอดจนวินิจฉัยแผนปรับโครงสร้าง รวมถึงความเป็นธรรมและการยอมผ่อนปรนอ่อนข้อจากทุกๆ ฝ่าย ทั้งจากฝ่ายแรงงาน, ฝ่ายบริหาร, ผู้ถือหุ้นกู้, ดีลเลอร์, และเจ้าหนี้
"ซาร์"ผู้นี้สามารถเสนอแนะให้บริษัทแห่งหนึ่งแห่งใดล้มละลายได้ ถ้าเห็นว่าแผนการปรับโครงสร้างไม่มีความเหมาะสม
"จะเป็นการประชุมที่ยากลำบากแน่นอน แต่ก็เราก็ไม่หมดหวัง" ผู้ช่วยในรัฐสภาฝั่งเดโมแครตคนหนึ่งกล่าว หลังจากที่แผนให้เงินกู้ฉุกเฉินแก่เจเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม), ฟอร์ด และไครสเลอร์ส ผ่านสภาล่างไปเมื่อวันพุธ(10)
ร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งผ่านการตกลงเห็นชอบระหว่างพวกผู้นำพรรคเดโมแครตในรัฐสภาและคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ไปแล้ว สามารถผ่านสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯไปได้ด้วยคะแนนเสียง 237 ต่อ 170 ทว่าสำหรับในวุฒิสภานั้น ฝ่ายสนับสนุนดูจะยังไม่ได้เสียงถึง 60 เสียง ที่จะป้องกันมิให้กฎหมายนี้ถูกป่วนในวุฒิสภาจนผ่านออกมาไม่ได้
ฝ่ายสนับสนุนนั้นกล่าวว่ามาตรการตามร่างกฎหมายนี้จำเป็นต่อความอยู่รอดของบี๊กทรี ที่กำลังประสบกับปัญหาทางด้านการเงินอย่างมากจนถึงขนาดที่ว่าในไม่กี่เดือนนี้อาจจะขาดแคลนเงินสดในการดำเนินงาน และเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะจีเอ็มที่ครองบัลลังก์ผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกมาหลายทศวรรษ
"การล้มโครมจะเป็นหายนะครั้งใหญ่ที่เราไม่อาจปล่อยให้เยี่ยมหน้าเข้ามาเป็นอันขาด" สส.จอห์น ดิงเกลแห่งพรรคเดโมแครตจากมลรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นของบิ๊กทรี กล่าว
ส่วนทางทำเนียบขาวนั้นก็แสดงท่าทีสนับสนุนร่างกฏหมายอัดฉีดเงินฉุกเฉิน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯนี้อย่างเป็นทางการ และหวังว่าจะทำให้พวกรีพับลิกันที่มองอย่างไม่ค่อยเชื่อนักว่าจะช่วยอะไรอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯได้ ยอมเปลี่ยนใจมาสนับสนุนด้วย
"เราเชื่อว่ากฏหมายที่ได้รับการปรับปรุงแล้วในช่วงไม่กี่วันนี้ จะมีประสิทธิภาพและมีแนวทางที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์มีความรับผิดชอบมากขึ้นในการปรับโครงสร้างธุรกิจของตนเอง" โฆษกทำเนียบขาว ดานา เพอริโนกล่าว
พวกเดโมแครตบอกว่าต้องดันให้ออกกฎหมายฉบับนี้ ก็เพราะหากรัฐบาลไม่ทำอะไรในตอนนี้อาจนำไปสู่การล้มละลายของอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้คนตกงานเพิ่มเติมอีกหลายแสนคน และทำให้รัฐบาลบารัต โอมาบ่าต้องแบกปัญหาหนักหน่วงในการปลุกผีให้ฟื้นคืนชีพ
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูท่าทีของสมาชิกคนสำคัญของรีพับลิกันในวุฒิสภาแล้ว โอกาสที่ร่างกฎหมายนี้จะผ่านออกมาก็ดูจะยังมืดมัว เพราะแม้ชาวเดโมแครตบวกกับวุฒิสมาชิกอิสระที่มักโหวตตามเดโมแครต มีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของวุฒิสภาก็จริง แต่ฝ่ายค้านนิยมใช้ยุทธวิธีถ่วงเวลา อย่างเช่นเอาคนขึ้นอภิปรายไม่ยอมหยุด จนกระทั่งลงมติกันไม่ได้ และถ้าหากจะเสนอญัตติให้ปิดอภิปรายกันเพื่อลงมติ ก็จะต้องมีเสียงวุฒิสมาชิกเห็นด้วยถึง 60 เสียง
"พวกที่วิพากษ์วิจารณ์บริษัทผลิตรถยนต์ก็มีเสียงสนับสนุนไม่น้อย คำถามก็คือพวกรีพับลิกันในวุฒิสภาที่เคยสนับสนุนบิ๊กทรีหายไปไหนกันหมด" ผู้ช่วยในรัฐสภาฝ่ายเดโมแครตอีกผู้หนึ่งกล่าว
เจเนอรัล มอเตอร์ส, ฟอร์ดและไครสเลอร์จ้างพนักงานโดยตรง 250,000 คน ส่วนอีก 100,000 นั้นอยู่ในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และอุตสาหกรรมนี้จ้างงานทั้งหมดถึง 10% ของแรงงานอเมริกันที่มีงานทำทั้งหมด
ทางด้านตลาดสินเชื่อนั้น ก็ต้องการให้แผนกู้สถานการณ์นี้ผ่านไปได้ เนื่องจากภาวะล้มละลายหรือการปิดตัวของบิ๊กทรีแห่งดีทรอยท์จะส่งผลต่อตราสารการเงินนับหมื่นล้านดอลลาร์ ที่อิงอยู่กับตัวบริษัททั้งสามนี้
สาระสำคัญของร่างกฎหมายนี้คือจะมีการจัดสรรเงินกู้ระยะสั้นจำนวนรวมประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่บิ๊กทรี โดยนำเงินมาจากกองทุนรัฐบาลที่มุ่งช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ให้ปรับปรุงโรงงานและผลิตรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งได้มีการอนุมัติไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้ บริษัทรถยนต์เหล่านี้ก็จะต้องตอบแทนด้วยการให้หุ้นแก่รัฐบาล เป็นจำนวน 20% ของมูลค่าเงินกู้ที่แต่ละรายมากู้ยืมไป
เงินกู้ระยะสั้นเช่นนี้มุ่งหมายให้ช่วยพยุงบริษัทไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคมปีหน้า โดยหลังจากนั้นจะมีการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ด้วยการพิจารณาจากคุณภาพของแผนการปรับโครงสร้างซึ่งแต่ละบริษัทดำเนินการ ว่าเป็นไปได้และทำได้จริงหรือไม่
นอกจากนั้นประธานาธิบดีจะแต่งตั้งผู้ดูแล หรือที่เรียกขานกันว่า "ซาร์รถยนต์" ทำหน้าที่ดูแลบังคับให้เป็นไปตามเงื่อนไขต่างๆ ในการให้เงินกู้ ตลอดจนวินิจฉัยแผนปรับโครงสร้าง รวมถึงความเป็นธรรมและการยอมผ่อนปรนอ่อนข้อจากทุกๆ ฝ่าย ทั้งจากฝ่ายแรงงาน, ฝ่ายบริหาร, ผู้ถือหุ้นกู้, ดีลเลอร์, และเจ้าหนี้
"ซาร์"ผู้นี้สามารถเสนอแนะให้บริษัทแห่งหนึ่งแห่งใดล้มละลายได้ ถ้าเห็นว่าแผนการปรับโครงสร้างไม่มีความเหมาะสม