เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมกินเหล้าวันศุกร์ถึงได้เมาหนักกว่ากินวันอื่น นักวิจัยยังแสดงหลักฐานชี้ชัดคนเมาค้างขับรถแย่กว่าปกติถึงสี่เท่า
หลายคนพยายามไม่ดื่มเหล้าวันทำงาน แต่อีกหลายคนเริ่มรู้สึกตัวว่าแค่ไวน์แก้วเดียวในคืนวันศุกร์กลับทำให้ง่วงงุนได้มากกว่าดื่มคืนวันเสาร์
คำอธิบายง่ายๆ ของเรื่องนี้คืออารมณ์ของคนเรามีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการกับแอลกอฮอล์ นี่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่า เหตุใดบางครั้งคุณไม่รู้สึกเมาเลย แต่บางหนทั้งที่กินเท่าเดิมกลับหัวหมุนงุนงง
คนส่วนใหญ่นัดสังสรรค์กันคืนวันศุกร์หลังจากตรากตรำทำงานกันมาห้าวันเต็มๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีนออกมามาก ทำให้หลอดเลือดขยายเพื่อให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เร็วขึ้น ผลลัพธ์คือ แอลกอฮอล์ถ่ายเทไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายเร็วขึ้นเช่นกัน เหตุผลเดียวกันนี้ทำให้การดื่มเหล้าหลังออกกำลังกายเมาเร็วกว่าปกติ
ไวน์แค่แก้วเดียวอาจทำให้มึนได้หากผู้ดื่มเหนื่อยล้า และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งหมายความว่าร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อแอลกอฮอล์เร็วขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ส่งผลต่อการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์
เมื่อซดเหล้าเข้าปาก แอลกอฮอล์บางส่วนจะถูกดูดซับในกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็วและส่งไปทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด ซึ่งส่วนหนึ่งส่งไปยังสมอง ที่เหลือจะเคลื่อนย้ายไปยังตับที่ทำหน้าที่เผาผลาญอาหารกลายเป็นพลังงาน อัตราความเร็วของกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนักตัว และขนาดของตับ
ผู้หญิงจัดการกับแอลกอฮอล์ได้ดีไม่เท่าผู้ชาย เพราะตับเล็กกว่า อีกทั้งยังอาจมีไขมันมากกว่า ทำให้แอลกอฮอล์บางส่วนไปสะสมอยู่และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมา ผู้หญิงจึงเมาร่ำไรกว่าผู้ชาย
เรื่องของอาหารเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ดังนั้น จึงควรกินอาหารก่อนหรือระหว่างดื่ม เพื่อให้แอลกอฮอล์ค้างอยู่ในกระเพาะนานขึ้นและร่างกายดูดซับได้ช้าลง โดยอาหารที่แนะนำคืออาหารประเภทแป้งที่อุดมด้วยใยอาหาร เช่น ขนมปัง พาสตา และข้าว
ทั้งนี้ คนเราจะเริ่มรู้สึกเมาเมื่อมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หรือการกระดกเหล้าเพียวๆ 50 กรัม
นอกจากนั้น การขับรถขณะเมาค้างยังอันตรายกว่าปกติถึงสี่เท่า แม้ว่าผู้ขับจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดก็ตาม เนื่องจากการอดนอน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และภาวะการเสียน้ำ ล้วนส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่อย่างปลอดภัย
ผลศึกษาของมหาวิทยาลัยบรูเนลในอังกฤษ พบว่าคนที่เมาค้างและตาพร่ามักขับรถเร็วกว่าปกติ 10 ไมล์ (17 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง ขับรถกินเลนมากขึ้น 4 เท่า และทำผิดกฎจราจรบ่อยขึ้น เช่น ฝ่าไฟแดง หรือป้ายสัญญาณให้หยุดรถ
อนึ่ง การศึกษานี้มาจากการทดสอบกับอาสาสมัคร 11 คนด้วยระบบจำลองการขับรถขณะที่อาสาสมัครเมาและอีกครั้งเมื่อเมาค้าง โดยความเร็วเฉลี่ยสำหรับอาสาสมัครที่มีสติสัมปชัญญะปกติอยู่ที่ 36 ไมล์ (58 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง และเพิ่มขึ้นเป็น 41.7 ไมล์ (67 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมงเมื่อเมาค้าง
การฝ่าฝืนสัญญาณจราจรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.9 เท่าสำหรับคนที่ไม่เมา และ 8.5 เท่าสำหรับคนแฮงก์
หลายคนพยายามไม่ดื่มเหล้าวันทำงาน แต่อีกหลายคนเริ่มรู้สึกตัวว่าแค่ไวน์แก้วเดียวในคืนวันศุกร์กลับทำให้ง่วงงุนได้มากกว่าดื่มคืนวันเสาร์
คำอธิบายง่ายๆ ของเรื่องนี้คืออารมณ์ของคนเรามีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการกับแอลกอฮอล์ นี่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่า เหตุใดบางครั้งคุณไม่รู้สึกเมาเลย แต่บางหนทั้งที่กินเท่าเดิมกลับหัวหมุนงุนงง
คนส่วนใหญ่นัดสังสรรค์กันคืนวันศุกร์หลังจากตรากตรำทำงานกันมาห้าวันเต็มๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีนออกมามาก ทำให้หลอดเลือดขยายเพื่อให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เร็วขึ้น ผลลัพธ์คือ แอลกอฮอล์ถ่ายเทไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายเร็วขึ้นเช่นกัน เหตุผลเดียวกันนี้ทำให้การดื่มเหล้าหลังออกกำลังกายเมาเร็วกว่าปกติ
ไวน์แค่แก้วเดียวอาจทำให้มึนได้หากผู้ดื่มเหนื่อยล้า และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งหมายความว่าร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อแอลกอฮอล์เร็วขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ส่งผลต่อการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์
เมื่อซดเหล้าเข้าปาก แอลกอฮอล์บางส่วนจะถูกดูดซับในกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็วและส่งไปทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด ซึ่งส่วนหนึ่งส่งไปยังสมอง ที่เหลือจะเคลื่อนย้ายไปยังตับที่ทำหน้าที่เผาผลาญอาหารกลายเป็นพลังงาน อัตราความเร็วของกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนักตัว และขนาดของตับ
ผู้หญิงจัดการกับแอลกอฮอล์ได้ดีไม่เท่าผู้ชาย เพราะตับเล็กกว่า อีกทั้งยังอาจมีไขมันมากกว่า ทำให้แอลกอฮอล์บางส่วนไปสะสมอยู่และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมา ผู้หญิงจึงเมาร่ำไรกว่าผู้ชาย
เรื่องของอาหารเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ดังนั้น จึงควรกินอาหารก่อนหรือระหว่างดื่ม เพื่อให้แอลกอฮอล์ค้างอยู่ในกระเพาะนานขึ้นและร่างกายดูดซับได้ช้าลง โดยอาหารที่แนะนำคืออาหารประเภทแป้งที่อุดมด้วยใยอาหาร เช่น ขนมปัง พาสตา และข้าว
ทั้งนี้ คนเราจะเริ่มรู้สึกเมาเมื่อมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หรือการกระดกเหล้าเพียวๆ 50 กรัม
นอกจากนั้น การขับรถขณะเมาค้างยังอันตรายกว่าปกติถึงสี่เท่า แม้ว่าผู้ขับจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดก็ตาม เนื่องจากการอดนอน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และภาวะการเสียน้ำ ล้วนส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่อย่างปลอดภัย
ผลศึกษาของมหาวิทยาลัยบรูเนลในอังกฤษ พบว่าคนที่เมาค้างและตาพร่ามักขับรถเร็วกว่าปกติ 10 ไมล์ (17 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง ขับรถกินเลนมากขึ้น 4 เท่า และทำผิดกฎจราจรบ่อยขึ้น เช่น ฝ่าไฟแดง หรือป้ายสัญญาณให้หยุดรถ
อนึ่ง การศึกษานี้มาจากการทดสอบกับอาสาสมัคร 11 คนด้วยระบบจำลองการขับรถขณะที่อาสาสมัครเมาและอีกครั้งเมื่อเมาค้าง โดยความเร็วเฉลี่ยสำหรับอาสาสมัครที่มีสติสัมปชัญญะปกติอยู่ที่ 36 ไมล์ (58 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง และเพิ่มขึ้นเป็น 41.7 ไมล์ (67 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมงเมื่อเมาค้าง
การฝ่าฝืนสัญญาณจราจรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.9 เท่าสำหรับคนที่ไม่เมา และ 8.5 เท่าสำหรับคนแฮงก์