วานนี้(3 ธ.ค.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณา วันเลือกตั้งซ่อม ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่างลง จากกรณีส.ส.ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง และกกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน
ทั้งนี้ นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า มีความเป็นไปได้ที่จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 11 ม.ค. 52 แต่จะต้องหารือก่อนว่า จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะในวันดังกล่าวจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่อาจจะต้องแยกเป็น 2 คูหา เนื่องจากกฎหมายเลือกตั้งแตกต่างกัน ทั้งนี้ได้หารือกับทาง กทม.แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน และ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ เพราะเลือกตั้งซ่อมในส่วนของ กกต. มีเพียงเขต 10 เขตเดียว โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการพิจารณา
"การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ มีการเลือกตั้งใหม่หลายตำแหน่ง เหมือนการเลือกตั้งใหญ่ และที่ผ่านมา กกต. ก็มักจะกำหนดให้เลือกตั้งวันอาทิตย์ และวันเดียวกันทั้งประเทศ ในสัปดาห์หน้าจะเสนอพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งให้รัฐบาลรักษาการ พร้อมของบประมาณในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งจะใช้เขตละ 10-15 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับจะจำนวนผู้ใช้สิทธิ์"นายประพันธ์กล่าว
ทั้งนี้ การเลือกตั้งซ่อมจะมีจำนวน ส.ส. 29 คน จาก 26 เขต ใน 22 จังหวัด ส่วนใน กทม.จะมีเพียง เขต10 เพียงเขตเดียว 1 เขต จึงไม่น่ามีปัญหาที่วันเลือกตั้งส.ส. ตรงกับวันเลือกผู้ว่าฯกทม.
ด้านนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลักกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงเรื่องวันเลือกตั้งซ่อมส.ส. ตรงกับวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ว่าไม่น่าจะมีปัญหา แต่อาจจะเกิดผลดีในส่วนที่ส่งผลให้ประชาชนมาใช้สิทธิมากกว่าการเลือกตั้งกันคนละวัน
ส่วนการจัดการเลือกตั้งก็ไม่น่าห่วง อาจจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็พร้อมที่จะจัดการเลือกตั้ง ในส่วนของ กทม.นั้นมีการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่เขต 10 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน เพียงเขตเดียว ซึ่งประชาชนต้องทำการตรวจสอบรายชื่อให้ดี เนื่องจากการเลือกตั้ง ส.ส.และผู้ว่าฯกทม.นั้นรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกัน เพราะในการเลือกตั้ง ส.ส.นั้น ผู้ใช้สิทธิต้องมีรายชื่อในพื้นที่เพียง 90 วัน แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.นั้นผู้มีสิทธิต้องมีรายชื่ออยู่ในพื้นที่ถึง 1 ปี ทำให้บางคนมีสิทธิเลือกส.ส. แต่ไม่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯกทม. ส่วนจุดเลือกตั้งนั้น คงจะต้องแยกจุดกันเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
ทั้งนี้ นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า มีความเป็นไปได้ที่จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 11 ม.ค. 52 แต่จะต้องหารือก่อนว่า จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะในวันดังกล่าวจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่อาจจะต้องแยกเป็น 2 คูหา เนื่องจากกฎหมายเลือกตั้งแตกต่างกัน ทั้งนี้ได้หารือกับทาง กทม.แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน และ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ เพราะเลือกตั้งซ่อมในส่วนของ กกต. มีเพียงเขต 10 เขตเดียว โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการพิจารณา
"การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ มีการเลือกตั้งใหม่หลายตำแหน่ง เหมือนการเลือกตั้งใหญ่ และที่ผ่านมา กกต. ก็มักจะกำหนดให้เลือกตั้งวันอาทิตย์ และวันเดียวกันทั้งประเทศ ในสัปดาห์หน้าจะเสนอพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งให้รัฐบาลรักษาการ พร้อมของบประมาณในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งจะใช้เขตละ 10-15 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับจะจำนวนผู้ใช้สิทธิ์"นายประพันธ์กล่าว
ทั้งนี้ การเลือกตั้งซ่อมจะมีจำนวน ส.ส. 29 คน จาก 26 เขต ใน 22 จังหวัด ส่วนใน กทม.จะมีเพียง เขต10 เพียงเขตเดียว 1 เขต จึงไม่น่ามีปัญหาที่วันเลือกตั้งส.ส. ตรงกับวันเลือกผู้ว่าฯกทม.
ด้านนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลักกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงเรื่องวันเลือกตั้งซ่อมส.ส. ตรงกับวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ว่าไม่น่าจะมีปัญหา แต่อาจจะเกิดผลดีในส่วนที่ส่งผลให้ประชาชนมาใช้สิทธิมากกว่าการเลือกตั้งกันคนละวัน
ส่วนการจัดการเลือกตั้งก็ไม่น่าห่วง อาจจะเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่ก็พร้อมที่จะจัดการเลือกตั้ง ในส่วนของ กทม.นั้นมีการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่เขต 10 ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน เพียงเขตเดียว ซึ่งประชาชนต้องทำการตรวจสอบรายชื่อให้ดี เนื่องจากการเลือกตั้ง ส.ส.และผู้ว่าฯกทม.นั้นรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกัน เพราะในการเลือกตั้ง ส.ส.นั้น ผู้ใช้สิทธิต้องมีรายชื่อในพื้นที่เพียง 90 วัน แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.นั้นผู้มีสิทธิต้องมีรายชื่ออยู่ในพื้นที่ถึง 1 ปี ทำให้บางคนมีสิทธิเลือกส.ส. แต่ไม่มีสิทธิเลือกผู้ว่าฯกทม. ส่วนจุดเลือกตั้งนั้น คงจะต้องแยกจุดกันเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน