วานนี้ ( 30 พ.ย.) ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เครือข่าย คณาจารย์ สมาคมพัฒนาสังคม นักศึกษา และภาคีวิชาการ คณะพัฒนาสังคมฯ (นิด้า) ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ "ต่อต้านการใช้ความรุนแรง และเสนอทางออกของสถานการณ์การเมืองไทย" โดยระบุว่า จากกรณีรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ซึ่งอาจนำไปสู่การสลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ และอาจเกิดความรุนแรงก่อให้เกิดการเสียชีวิตเลือดเนื้อในวงกว้าง มากไปกว่านี้ และหากปล่อยให้สถานการณ์การเมืองเป็นเช่นนี้ มีแนวโน้มจะเกิดจลาจลได้ รังแต่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างมหาศาล
เครือข่าย นิด้าพัฒนาการเมือง ซึ่งประกอบด้วย คณาจารย์ สมาคมพัฒนาสังคม นักศึกษาเก่า นักศึกษาปัจจุบัน และภาคีวิชาการ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเครือข่ายภาคประชาชนอื่นๆ เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มให้เกิดจลาจลในสังคม จึงมีข้อเสนอในเชิงรูปธรรม 5 ประการ ดังนี้
1. ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุม ยุติการใช้ความรุนแรงในการควบคุม หรือสลายการชุมนุมทุกรูปแบบ
2. ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน รักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของชาติ โดยยึดหลักเหตุผล มีสติ และด้วยความเมตตา พร้อมกับปฏิบัติกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มองประชาชนว่าเป็นศัตรู
3. ขอให้ทุกฝ่ายยุติการระดมจัดตั้งมวลชน มาเผชิญหน้าในลักษณะท้าท้าย ฝ่ายตรงข้าม
4. ขอเสนอให้สื่อมวลชนทุกแขนงทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ด้วยความเที่ยงตรง ไม่เอียงในลักษณะสร้างความร้าวฉาน
5. หากมีการพิจารณาตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ถือเป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะหาทางออกให้กับประเทศ ในกรณีนี้ เครือข่ายนิด้าพัฒนาการเมืองและภาคี จึงขอเสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยทั้งสี่เหล่าทัพเสนอให้เป็นพระราชอำนาจของจอมทัพต่อไป สร้างความสงบสุขกลับมาอีกครั้ง
เครือข่ายนิด้าพัฒนาการเมือง และภาคีวิชการ ขอย้ำว่า ความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากฝ่ายใดก็ตามไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่กำลังวิกฤติในขณะนี้ มีแต่จะสร้างความเสียหายและทวีความแตกแยกให้กับสังคมไทย
**เตือนนักข่าวระวังอันตราย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ออกประกาศ เตือนผู้สื่อข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ จากการที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรฯ เข้ายึดท่าอากาศยานทั้งสองแห่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การสลายการชุมนุม และอาจเกิดความรุนแรงขึ้นได้
ขณะเดียวกันกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้นัดชุมนุมใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ย. ที่ท้องสนามหลวง เพื่อต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯ และคัดค้านศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินยุบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยมีความห่วงใยผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคสนาม เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงจากการปะทะกันของฝ่ายต่างๆ นอกจากนั้นที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมบางกลุ่ม มักพกพาอาวุธ และใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม รวมถึงผู้สื่อข่าวที่ถูกทำร้ายจากกลุ่มผู้ชุมนุมโดยตรง และถูกลูกหลงจากการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย
สมาคมนักข่าวฯ จึงขอให้ผู้สื่อข่าวระมัดระวังตัว ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง
เพื่อมิให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติหน้าที่
ขณะเดียวกันขอเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง แกนนำพันธมิตรฯ และ แกนนำนปช. เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ที่ทำหน้าที่ในการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อสาธารณะ ช่วยควบคุมดูแลมิให้เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มผู้ชุมนุม มิให้ใช้ท่าทีที่รุนแรงและทำร้ายผู้สื่อข่าวด้วย
**วอนทุกฝ่ายใช้แนวทางสันติ
กลุ่มสร้างพื้นที่สันติ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายพุทธิกา ศูนย์ศึกษาสันติภาพ และความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม แถลงเมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) ถึงผลการหารือแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่า แนวทางที่จะยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์บานปลายไปสู่ความรุนแรง และเกิดจลาจล ที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ ทุกฝ่ายต้องใช้สติ เมตตา หันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รัฐบาล ตำรวจ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ด้วยการเจรจา โดยเฉพาะการเจรจาของ รัฐบาลและกลุ่มพันมิตรฯ ที่ปราศจากเงื่อนไข ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเบื้องต้น
ขณะที่ เครือข่ายประชาชนร่วมหยุดสงครามกลางเมือง เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา ส่วนกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และทุกฝ่าย ควรยุติการเคลื่อนไหว หรือใช้ความรุนแรง คืนอำนาจให้กับประชาชน เพื่อกลับไปสู่การเลือกตั้ง และไม่ว่าจะพรรคการเมืองใดจะได้จัดตั้งรัฐบาล ถือว่าประชาชนได้ตัดสินใจแล้ว
นอกจากนี้ ไม่เห็นด้วย หากจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะไม่ใช่ทางออกของปัญหา ทั้งนี้ จะออกรณรงค์ข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อประชาชนต่อไป
เครือข่าย นิด้าพัฒนาการเมือง ซึ่งประกอบด้วย คณาจารย์ สมาคมพัฒนาสังคม นักศึกษาเก่า นักศึกษาปัจจุบัน และภาคีวิชาการ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเครือข่ายภาคประชาชนอื่นๆ เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มให้เกิดจลาจลในสังคม จึงมีข้อเสนอในเชิงรูปธรรม 5 ประการ ดังนี้
1. ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุม ยุติการใช้ความรุนแรงในการควบคุม หรือสลายการชุมนุมทุกรูปแบบ
2. ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน รักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของชาติ โดยยึดหลักเหตุผล มีสติ และด้วยความเมตตา พร้อมกับปฏิบัติกับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มองประชาชนว่าเป็นศัตรู
3. ขอให้ทุกฝ่ายยุติการระดมจัดตั้งมวลชน มาเผชิญหน้าในลักษณะท้าท้าย ฝ่ายตรงข้าม
4. ขอเสนอให้สื่อมวลชนทุกแขนงทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ด้วยความเที่ยงตรง ไม่เอียงในลักษณะสร้างความร้าวฉาน
5. หากมีการพิจารณาตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ถือเป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะหาทางออกให้กับประเทศ ในกรณีนี้ เครือข่ายนิด้าพัฒนาการเมืองและภาคี จึงขอเสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยทั้งสี่เหล่าทัพเสนอให้เป็นพระราชอำนาจของจอมทัพต่อไป สร้างความสงบสุขกลับมาอีกครั้ง
เครือข่ายนิด้าพัฒนาการเมือง และภาคีวิชการ ขอย้ำว่า ความรุนแรงไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากฝ่ายใดก็ตามไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่กำลังวิกฤติในขณะนี้ มีแต่จะสร้างความเสียหายและทวีความแตกแยกให้กับสังคมไทย
**เตือนนักข่าวระวังอันตราย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ออกประกาศ เตือนผู้สื่อข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ จากการที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรฯ เข้ายึดท่าอากาศยานทั้งสองแห่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การสลายการชุมนุม และอาจเกิดความรุนแรงขึ้นได้
ขณะเดียวกันกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้นัดชุมนุมใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ย. ที่ท้องสนามหลวง เพื่อต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯ และคัดค้านศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินยุบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยมีความห่วงใยผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคสนาม เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงจากการปะทะกันของฝ่ายต่างๆ นอกจากนั้นที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมบางกลุ่ม มักพกพาอาวุธ และใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม รวมถึงผู้สื่อข่าวที่ถูกทำร้ายจากกลุ่มผู้ชุมนุมโดยตรง และถูกลูกหลงจากการต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย
สมาคมนักข่าวฯ จึงขอให้ผู้สื่อข่าวระมัดระวังตัว ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง
เพื่อมิให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติหน้าที่
ขณะเดียวกันขอเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง แกนนำพันธมิตรฯ และ แกนนำนปช. เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ที่ทำหน้าที่ในการรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อสาธารณะ ช่วยควบคุมดูแลมิให้เจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มผู้ชุมนุม มิให้ใช้ท่าทีที่รุนแรงและทำร้ายผู้สื่อข่าวด้วย
**วอนทุกฝ่ายใช้แนวทางสันติ
กลุ่มสร้างพื้นที่สันติ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายพุทธิกา ศูนย์ศึกษาสันติภาพ และความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม แถลงเมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) ถึงผลการหารือแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้น โดยเห็นว่า แนวทางที่จะยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์บานปลายไปสู่ความรุนแรง และเกิดจลาจล ที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ ทุกฝ่ายต้องใช้สติ เมตตา หันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รัฐบาล ตำรวจ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ต้องยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี ด้วยการเจรจา โดยเฉพาะการเจรจาของ รัฐบาลและกลุ่มพันมิตรฯ ที่ปราศจากเงื่อนไข ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเบื้องต้น
ขณะที่ เครือข่ายประชาชนร่วมหยุดสงครามกลางเมือง เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา ส่วนกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และทุกฝ่าย ควรยุติการเคลื่อนไหว หรือใช้ความรุนแรง คืนอำนาจให้กับประชาชน เพื่อกลับไปสู่การเลือกตั้ง และไม่ว่าจะพรรคการเมืองใดจะได้จัดตั้งรัฐบาล ถือว่าประชาชนได้ตัดสินใจแล้ว
นอกจากนี้ ไม่เห็นด้วย หากจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะไม่ใช่ทางออกของปัญหา ทั้งนี้ จะออกรณรงค์ข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อประชาชนต่อไป