ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต. ส่งหนังสือหารือสรรพากร ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุนรวมสาธารณูปโภค พร้อมจัดอยู่ประเภทเดียวกับพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ พร้อมแจงเหตุที่ต้องลงทุนในทรัพย์สินที่ก่อสร้างแล้ว 80% หวั่นเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน ด้านวงการกองทุนชี้ เป็นข้อจำกัด ระบุโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ต้องการเม็ดเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้นมากกว่า เสนอเปิดทางลงทุนอสังหาฯ สร้างไม่เสร็จได้ เป็นประโยชน์และทำให้กองทุนเกิดง่าย
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักงานก.ล.ต. ได้มีหนังสือไปถึงกรมสรรพากร ให้พิจารณาหลักเกณฑ์จัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (อินฟาสตรักเจอร์ฟันด์) ไว้ในประเภทเดียวกันกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เพื่อที่จะให้กองทุนรวมสาธารณูปโภคดังกล่าว ได้รับประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ที่มีอยู่ ซึ่งทางกรมสรรพากรยังไม่ได้ตอบกลับมาแต่ประการใด
โดยประเด็นในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนสาธารณูปโภคนั้น สาเหตุที่ต้องให้สรรพากรพิจารณา เพราะกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) จะระบุประเภทของอสังหาริมทรัพย์ไว้ชัดเจนและเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ในขณะที่กองทุนสาธารณูปโภคอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนบางส่วนมีการเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่กับที่นิ่งๆ เหมือนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เช่น รถไฟฟ้า มีส่วนที่เป็นรถไฟฟ้าวิ่งไปมา กับส่วนฐานที่นิ่งอยู่ หรือทางด่วน เป็นต้น ซึ่งคงต้องรอคำตอบจากกรมสรรพากรอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนสาธารณูปโภคจะเข้าไปลงทุนได้นั้น จะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้วไม่น้อยกว่า 80% เพราะถ้าเข้าไปลงทุนในโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จจะเป็นความเสี่ยงสำหรับนักลงทุน ดังนั้นโครงการนั้นจะต้องสร้างเสร็จแล้วและมีกระแสรายได้ที่แน่นอนจึงจะเข้าไปลงทุนได้ ซึ่งบางโครงการเจ้าของเขาอาจจะต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อไปขยายการลงทุนต่อไป ก็จะใช้กองทุนสาธารณูปโภคเป็นแหล่งระดมทุนอีกช่องทางหนึ่งคล้ายกันกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ปกติ
"ความเสี่ยงของการลงทุนประเภทนี้ค่อนข้างเยอะ ดังนั้น จึงต้องกำหนดว่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนนั้น จะต้องแล้วเสร็จ 80% ก่อน ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงให้ผู้ถือหน่วยด้วย ซึ่งนักลงทุนที่จะลงทุนในกองทุนนี้ คงต้องมีแผนพมสมควรในการเข้ามาลงทุน"นายประเวชกล่าว
นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอ็มเอฟซีเองมีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนสาธารณูปโภคเช่นเดียวกัน แต่มองว่าการที่กองทุนสาธารณูปโภคมีข้อจำกัดที่จะต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้ว 80% นั้น อาจจะทำให้กองทุนประเภทนี้เกิดยาก เพราะเจ้าของโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะต้องการเม็ดเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้นก่อสร้างโครงการมากกว่า เพราะหากโครงการสาธารณูปโภคเหล่านี้สร้างเสร็จจนมีกระแสรายได้เข้ามาแล้วนั้น ทางเจ้าของโครงการเองก็คงรอเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการลงทุนมากกว่าที่จะนำออกมาขายเพื่อทำกองทุนสาธารณูปโภค ดังนั้นถ้าทางสำนักงานก.ล.ต. เปิดให้กองทุนสาธารณูปโภคสามารถจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไม่เสร็จได้น่าจะเป็นประโยชน์และทำให้กองทุนประเภทนี้เกิดได้ง่ายขึ้น
“บลจ.เอ็มเอฟซีสนใจที่จะทำกองทุนที่ให้กระแสรายได้ที่แน่นอน ทั้งในส่วนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีสำหรับนักลงทุนรายย่อย และอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสำหรับนักลงทุนสถาบัน เราคงมองอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 2 ประเภทควบคู่กันไป”นายศุภกรกล่าว
สำหรับหลักเกณฑ์ ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดรูปแบบกองทุนเอาไว้เบื้องต้น ระบุว่า กองทุนรวมต้องลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค หรือลงทุนผ่านการถือหุ้นในนิติบุคคลที่ลงทุนในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค ในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภคที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์ (2) สิทธิครอบครอง (3) สิทธิสัมปทาน (4) สิทธิการเช่า และ (5) สิทธิในการรับผลประโยชน์ในอนาคตหรือสิทธิเรียกร้องในอนาคต ในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการสาธารณูปโภค โดยโครงการสาธารณูปโภค หมายถึงกิจการหรือการดำเนินการ ไฟฟ้า ประปา รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ถนน โทรศัพท์ โทรคมนาคม หรือสนามบิน เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. ยังเปิดทางให้กองทุนรวมสามารถกู้ยืมหรือก่อภาระผูกพันได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ส่วนการจัดสรรหน่วยลงทุนนั้น ต้องไม่กระจุกตัวในบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือผู้ลงทุนต่างชาติ เกินกว่าสัดส่วนที่กำหนด
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักงานก.ล.ต. ได้มีหนังสือไปถึงกรมสรรพากร ให้พิจารณาหลักเกณฑ์จัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (อินฟาสตรักเจอร์ฟันด์) ไว้ในประเภทเดียวกันกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เพื่อที่จะให้กองทุนรวมสาธารณูปโภคดังกล่าว ได้รับประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ที่มีอยู่ ซึ่งทางกรมสรรพากรยังไม่ได้ตอบกลับมาแต่ประการใด
โดยประเด็นในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนสาธารณูปโภคนั้น สาเหตุที่ต้องให้สรรพากรพิจารณา เพราะกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) จะระบุประเภทของอสังหาริมทรัพย์ไว้ชัดเจนและเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ในขณะที่กองทุนสาธารณูปโภคอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนบางส่วนมีการเคลื่อนไหวไม่ได้อยู่กับที่นิ่งๆ เหมือนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เช่น รถไฟฟ้า มีส่วนที่เป็นรถไฟฟ้าวิ่งไปมา กับส่วนฐานที่นิ่งอยู่ หรือทางด่วน เป็นต้น ซึ่งคงต้องรอคำตอบจากกรมสรรพากรอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนสาธารณูปโภคจะเข้าไปลงทุนได้นั้น จะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้วไม่น้อยกว่า 80% เพราะถ้าเข้าไปลงทุนในโครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จจะเป็นความเสี่ยงสำหรับนักลงทุน ดังนั้นโครงการนั้นจะต้องสร้างเสร็จแล้วและมีกระแสรายได้ที่แน่นอนจึงจะเข้าไปลงทุนได้ ซึ่งบางโครงการเจ้าของเขาอาจจะต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อไปขยายการลงทุนต่อไป ก็จะใช้กองทุนสาธารณูปโภคเป็นแหล่งระดมทุนอีกช่องทางหนึ่งคล้ายกันกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ปกติ
"ความเสี่ยงของการลงทุนประเภทนี้ค่อนข้างเยอะ ดังนั้น จึงต้องกำหนดว่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนนั้น จะต้องแล้วเสร็จ 80% ก่อน ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงให้ผู้ถือหน่วยด้วย ซึ่งนักลงทุนที่จะลงทุนในกองทุนนี้ คงต้องมีแผนพมสมควรในการเข้ามาลงทุน"นายประเวชกล่าว
นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอ็มเอฟซีเองมีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนสาธารณูปโภคเช่นเดียวกัน แต่มองว่าการที่กองทุนสาธารณูปโภคมีข้อจำกัดที่จะต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้ว 80% นั้น อาจจะทำให้กองทุนประเภทนี้เกิดยาก เพราะเจ้าของโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะต้องการเม็ดเงินลงทุนในช่วงเริ่มต้นก่อสร้างโครงการมากกว่า เพราะหากโครงการสาธารณูปโภคเหล่านี้สร้างเสร็จจนมีกระแสรายได้เข้ามาแล้วนั้น ทางเจ้าของโครงการเองก็คงรอเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการลงทุนมากกว่าที่จะนำออกมาขายเพื่อทำกองทุนสาธารณูปโภค ดังนั้นถ้าทางสำนักงานก.ล.ต. เปิดให้กองทุนสาธารณูปโภคสามารถจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไม่เสร็จได้น่าจะเป็นประโยชน์และทำให้กองทุนประเภทนี้เกิดได้ง่ายขึ้น
“บลจ.เอ็มเอฟซีสนใจที่จะทำกองทุนที่ให้กระแสรายได้ที่แน่นอน ทั้งในส่วนที่เป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง1) ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีสำหรับนักลงทุนรายย่อย และอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสำหรับนักลงทุนสถาบัน เราคงมองอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 2 ประเภทควบคู่กันไป”นายศุภกรกล่าว
สำหรับหลักเกณฑ์ ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดรูปแบบกองทุนเอาไว้เบื้องต้น ระบุว่า กองทุนรวมต้องลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค หรือลงทุนผ่านการถือหุ้นในนิติบุคคลที่ลงทุนในทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภค ในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินของโครงการสาธารณูปโภคที่กองทุนรวมสามารถลงทุนได้ ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์ (2) สิทธิครอบครอง (3) สิทธิสัมปทาน (4) สิทธิการเช่า และ (5) สิทธิในการรับผลประโยชน์ในอนาคตหรือสิทธิเรียกร้องในอนาคต ในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการสาธารณูปโภค โดยโครงการสาธารณูปโภค หมายถึงกิจการหรือการดำเนินการ ไฟฟ้า ประปา รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ถนน โทรศัพท์ โทรคมนาคม หรือสนามบิน เป็นต้น
นอกจากนี้ สำนักงานก.ล.ต. ยังเปิดทางให้กองทุนรวมสามารถกู้ยืมหรือก่อภาระผูกพันได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ส่วนการจัดสรรหน่วยลงทุนนั้น ต้องไม่กระจุกตัวในบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือผู้ลงทุนต่างชาติ เกินกว่าสัดส่วนที่กำหนด