คอตตอน ยูเอสเอ เผยผลวิจัยโกลเบิ้ล ไลฟ์สไตล์ ชี้เทรนด์คนทั่วโลกใส่ใจเลือกเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบุวิกฤตเศรษฐกิจโลกกระทบอเมริกา-ไทยเปลี่ยนพฤติกรรมซื้อสินค้าไฮเปอร์มาร์เก็ตแทนห้างสรรพสินค้า ขณะที่ช่องทางตลาดนัดบูมที่สุด ด้านหญิงไทยซื้อเสื้อผ้าลดราคาเพิ่มขึ้น คอตตอนฯ อัดงบ 30 ล้านบาท สร้างรับรู้ ยันเศรษฐกิจไม่กระทบตลาดคอตตอน 100%
คอตตอน ยูเอสเอ ได้ทำการสำรวจวิจัยการตลาด โกลเบิ้ล ไลฟ์สไตล์ มอนิเตอร์ ครั้งที่ 5 โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตรูปแบบ พฤติกรรม การจับจ่ายซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคกว่า 5,000 คน ใน 10 ประเทศ อาทิ บราซิล จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อังกฤษ และประเทศไทย โดยบริษัท ซินโนเวต (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จำนวน 523 คน อายุ 15-54 ปี มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 – 60,000 บาทขึ้นไป
นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย กล่าวรายงานผลสำรวจว่า 1 ใน 5 ของผู้บริโภคทั่วโลก นิยมซื้อเสื้อผ้าร้านค้าปลีก ตามด้วยห้างสรรพสินค้า 19% และร้านที่มีแบรนด์และสาขา 16% สำหรับผู้บริโภคไทยนิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าปลีกหรือตามตลาดนัดเพิ่มจากปี 2549 จาก 20% เป็น 36% โดยกลุ่มที่นิยมซื้อในช่องทางดังกล่าวมากที่สุด 15-24 ปี และทางไฮเปอร์มาร์เก็ต เพิ่มจาก 41% เป็น 49% ส่วนกลุ่มที่นิยมซื้ออายุ 25-54 ปี โดยในทางตรงกันข้ามมีผู้ซื้อที่ห้างสรรพสินค้าลดลงจาก 62% เป็น 53% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัจจัยการเลือกซื้อเสื้อผ้าคำนึงถึงราคามากขึ้น
สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคอเมริกา หันมาซื้อสินค้าทางไฮเปอร์มาร์เก็ตมากกว่าห้างสรรพสินค้าเช่นกัน เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในอเมริกา แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ห้างสรรพสินค้า ยังเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมมากสุดในจีน โคลัมเบีย และอังกฤษ ขณะที่กลุ่มร้านเชนสโตร์ ค่อนข้างได้รับความนิยมในบราซิล อังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น ส่วนผู้บริโภคอิตาลี และอินเดีย ตุรกี บราซิล และโคลัมเบีย ต่างนิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านเสื้อผ้าอิสระ
“แนวโน้มผู้หญิงไทยซื้อเสื้อผ้าลดราคาเพิ่มขึ้น และซื้อเสื้อผ้าลดราคามากกว่าผู้ชาย โดยพบว่า 18% ซื้อเสื้อผ้าที่ลดราคาอย่างน้อย 20% และเมื่อเปรียบเทียบสถานที่ซื้อเสื้อผ้าที่ลดราคาอย่างน้อย 20% พบว่าผู้บริโภคไทยซื้อเสื้อผ้าที่ร้านเสื้อผ้าตลาดนัดแผงลอย ไม่อ่อนไหวกับการลดราคา เนื่องจากราคาเสื้อผ้าตลาดนัดไม่สูง”
ส่วนปัจจัยหลักการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า พบว่า ทุกกลุ่มอายุเน้นความหลากหลายของสินค้า และราคาเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะตระหนักถึงราคามากที่สุด65% ขณะที่ปัจจัยด้านความสะดวกสบายในการซื้อ เป็นปัจจัยที่กลุ่มมีอายุมากกว่าให้ความสำคัญ ทั้งนี้คนไทยซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งหรือมากกว่าหนึ่งครั้ง คิดเป็น 52%, และในรอบสามเดือนที่ผ่านมาใช้เงินซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยคนละ 2,400บาท โดยซื้อเสื้อผ้าประเภทเสื้อยืด 82% กางเกงขาสั้น 54% และยีนส์ 52%
**เทรนด์แฟชั่นรับกระแสโลกร้อน**
นายไกรภพ กล่าวว่า ผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 76% ต่างให้ความสำคัญกับเส้นใยในเสื้อผ้าที่สวมใส่ โดยในอิตาลี ผู้บริโภคจะพิจารณาดูว่าเสื้อผ้านั้นใช้เส้นใยชนิดใดมากถึง 92% ตามด้วยจีน 86% และเยอรมัน 82% ตามลำดับ สำหรับไทยกว่าครึ่งหนึ่งของผูริโภคให้ความสำคัญกับเส้นใยของเสื้อผ้ามาก ทั้งนี้ กลุ่มอายุที่ให้ความใส่ใจเส้นใยมากสุด คือ ช่วงอายุ 35-44 ปี โดยจะตรวจสอบรายละเอียดของเส้นใยบนป้ายของสินค้า
จากผลสำรวจพบว่า“ฝ้าย”เป็นเส้นใยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และผู้บริโภคต่างรับรู้ว่า เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สวมใส่สบาย ดูแลง่าย และปราศจากเคมี และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้หญิง และ 1 ใน 3 ของผู้ชาย ต่างเห็นตรงกันว่าเส้นใยฝ้ายเป็นเส้นใยที่เหมาะสมกับแฟชั่นและสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทั่วโลก ตามด้วยเดนิมหรือยีนส์ ซึ่งก็ผลิตจากฝ้ายเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้พบว่าการเลือกซื้อเสื้อผ้าของคนไทย พยายามซื้อเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 36% ทำให้เส้นใยฝ้ายเป็นที่นิยมในหมู่คนไทยกว่าครึ่ง และเมื่อเปรียบเทียบปี 2549 และ 2551 เส้นใยฝ้ายได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายระดับบี-เอ ขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังการซื้อสูง โดยพบว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย แต่เสื้อผ้าจากเส้นใยฝ้าย 100% ยังได้รับการตอบรับที่ดี
**อัด30ล.ใช้สื่อบูมคอตตอน 100%**
นายไกรภพ กล่าวว่า ในปีหน้านี้คอนตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย วางงบการตลาด 30 ล้านบาท โดยหันมาเน้นการทำอะโบฟเดอะไลน์ในเชิงรุกมากขึ้นผ่านช่องทางโทรทัศน์ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง จากเดิมการทำตลาดเน้นบีโลว์เดอะไลน์ เป็นหลัก ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอโลก ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกคาดว่ามีอัตราการเติบโต 1-2% โดยปัจจุบันคอตตอน ยูเอสเอ เข้าไปในตลาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ 24 ประเทศ
คอตตอน ยูเอสเอ ได้ทำการสำรวจวิจัยการตลาด โกลเบิ้ล ไลฟ์สไตล์ มอนิเตอร์ ครั้งที่ 5 โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตรูปแบบ พฤติกรรม การจับจ่ายซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคกว่า 5,000 คน ใน 10 ประเทศ อาทิ บราซิล จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อังกฤษ และประเทศไทย โดยบริษัท ซินโนเวต (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จำนวน 523 คน อายุ 15-54 ปี มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 – 60,000 บาทขึ้นไป
นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย กล่าวรายงานผลสำรวจว่า 1 ใน 5 ของผู้บริโภคทั่วโลก นิยมซื้อเสื้อผ้าร้านค้าปลีก ตามด้วยห้างสรรพสินค้า 19% และร้านที่มีแบรนด์และสาขา 16% สำหรับผู้บริโภคไทยนิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าปลีกหรือตามตลาดนัดเพิ่มจากปี 2549 จาก 20% เป็น 36% โดยกลุ่มที่นิยมซื้อในช่องทางดังกล่าวมากที่สุด 15-24 ปี และทางไฮเปอร์มาร์เก็ต เพิ่มจาก 41% เป็น 49% ส่วนกลุ่มที่นิยมซื้ออายุ 25-54 ปี โดยในทางตรงกันข้ามมีผู้ซื้อที่ห้างสรรพสินค้าลดลงจาก 62% เป็น 53% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัจจัยการเลือกซื้อเสื้อผ้าคำนึงถึงราคามากขึ้น
สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคอเมริกา หันมาซื้อสินค้าทางไฮเปอร์มาร์เก็ตมากกว่าห้างสรรพสินค้าเช่นกัน เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในอเมริกา แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ห้างสรรพสินค้า ยังเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมมากสุดในจีน โคลัมเบีย และอังกฤษ ขณะที่กลุ่มร้านเชนสโตร์ ค่อนข้างได้รับความนิยมในบราซิล อังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น ส่วนผู้บริโภคอิตาลี และอินเดีย ตุรกี บราซิล และโคลัมเบีย ต่างนิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านเสื้อผ้าอิสระ
“แนวโน้มผู้หญิงไทยซื้อเสื้อผ้าลดราคาเพิ่มขึ้น และซื้อเสื้อผ้าลดราคามากกว่าผู้ชาย โดยพบว่า 18% ซื้อเสื้อผ้าที่ลดราคาอย่างน้อย 20% และเมื่อเปรียบเทียบสถานที่ซื้อเสื้อผ้าที่ลดราคาอย่างน้อย 20% พบว่าผู้บริโภคไทยซื้อเสื้อผ้าที่ร้านเสื้อผ้าตลาดนัดแผงลอย ไม่อ่อนไหวกับการลดราคา เนื่องจากราคาเสื้อผ้าตลาดนัดไม่สูง”
ส่วนปัจจัยหลักการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า พบว่า ทุกกลุ่มอายุเน้นความหลากหลายของสินค้า และราคาเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะตระหนักถึงราคามากที่สุด65% ขณะที่ปัจจัยด้านความสะดวกสบายในการซื้อ เป็นปัจจัยที่กลุ่มมีอายุมากกว่าให้ความสำคัญ ทั้งนี้คนไทยซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งหรือมากกว่าหนึ่งครั้ง คิดเป็น 52%, และในรอบสามเดือนที่ผ่านมาใช้เงินซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยคนละ 2,400บาท โดยซื้อเสื้อผ้าประเภทเสื้อยืด 82% กางเกงขาสั้น 54% และยีนส์ 52%
**เทรนด์แฟชั่นรับกระแสโลกร้อน**
นายไกรภพ กล่าวว่า ผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 76% ต่างให้ความสำคัญกับเส้นใยในเสื้อผ้าที่สวมใส่ โดยในอิตาลี ผู้บริโภคจะพิจารณาดูว่าเสื้อผ้านั้นใช้เส้นใยชนิดใดมากถึง 92% ตามด้วยจีน 86% และเยอรมัน 82% ตามลำดับ สำหรับไทยกว่าครึ่งหนึ่งของผูริโภคให้ความสำคัญกับเส้นใยของเสื้อผ้ามาก ทั้งนี้ กลุ่มอายุที่ให้ความใส่ใจเส้นใยมากสุด คือ ช่วงอายุ 35-44 ปี โดยจะตรวจสอบรายละเอียดของเส้นใยบนป้ายของสินค้า
จากผลสำรวจพบว่า“ฝ้าย”เป็นเส้นใยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และผู้บริโภคต่างรับรู้ว่า เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สวมใส่สบาย ดูแลง่าย และปราศจากเคมี และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้หญิง และ 1 ใน 3 ของผู้ชาย ต่างเห็นตรงกันว่าเส้นใยฝ้ายเป็นเส้นใยที่เหมาะสมกับแฟชั่นและสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทั่วโลก ตามด้วยเดนิมหรือยีนส์ ซึ่งก็ผลิตจากฝ้ายเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้พบว่าการเลือกซื้อเสื้อผ้าของคนไทย พยายามซื้อเสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 36% ทำให้เส้นใยฝ้ายเป็นที่นิยมในหมู่คนไทยกว่าครึ่ง และเมื่อเปรียบเทียบปี 2549 และ 2551 เส้นใยฝ้ายได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายระดับบี-เอ ขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังการซื้อสูง โดยพบว่าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย แต่เสื้อผ้าจากเส้นใยฝ้าย 100% ยังได้รับการตอบรับที่ดี
**อัด30ล.ใช้สื่อบูมคอตตอน 100%**
นายไกรภพ กล่าวว่า ในปีหน้านี้คอนตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย วางงบการตลาด 30 ล้านบาท โดยหันมาเน้นการทำอะโบฟเดอะไลน์ในเชิงรุกมากขึ้นผ่านช่องทางโทรทัศน์ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง จากเดิมการทำตลาดเน้นบีโลว์เดอะไลน์ เป็นหลัก ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอโลก ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกคาดว่ามีอัตราการเติบโต 1-2% โดยปัจจุบันคอตตอน ยูเอสเอ เข้าไปในตลาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ 24 ประเทศ