แนะครูเล่าเรื่องขำ สอนลูกศิษย์ให้รู้จักการสร้างมิตรภาพ เพื่อให้ผลการเรียนดีขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนยังต้องรู้จักเผชิญหน้ากับความกลัวไร้เหตุผล เช่น การถูกผู้ก่อการร้ายโจมตี หรือถูกงูกัด
หนังสือเรื่อง ‘อิโมชันนัล ลิเทอเรซี (ไอเดียส์ อิน แอกชัน) ของดร.เดวิด สเปนด์เลิฟ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ อังกฤษ แนะนำว่าการที่ครูสอนวิธีทำความรู้จักเพื่อน จะทำให้นักเรียนมีความสุขมากขึ้นและเครียดน้อยลง ส่งผลต่อมาให้ตั้งใจเรียนและซึมซับความรู้ในห้องเรียนได้มากขึ้น
บทที่มีชื่อว่า ‘อะลองไซด์ เอ็กเซอร์ไซส์’ มีข้อแนะนำให้ครูเล่าเรื่องตลกให้ลูกศิษย์ฟัง
ดร.สเปนด์เลิฟใช้หลักการประสาทวิทยาศาสตร์มาพัฒนากิจกรรมพิเศษเพื่อให้เด็กรู้จักจัดการกับความโกรธ ความกลัว และความเครียดที่โรงเรียน
การขาด ‘ความสามารถด้านอารมณ์’ ปรากฏชัดเจนโดยเฉพาะในหมู่เด็กชาย เนื่องจากเด็กชายมีความสามารถในการทำความเข้าใจอารมณ์น้อยกว่าเด็กหญิง
ดร.สเปนด์เลิฟอธิบายว่าความสามารถด้านอารมณ์จะทำให้เด็กเรียนดี มีสมาธิและมีความสุขในห้องเรียนมากขึ้น
“การจัดการกับอารมณ์เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้และแรงกระตุ้นที่ดี ในทางกลับกันถ้าไม่มีสิ่งนี้ เด็กจะขาดสมาธิ ทำให้ขาดการเชื่อมต่อด้านอารมณ์
“ในโลกทุกวันนี้ เป็นเรื่องง่ายที่จะโน้มน้าวตัวเองว่าแผ่นดินไหวหรือความอดอยาก ‘ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเราเท่าไรนัก’
“สำหรับเด็ก สิ่งนี้จะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงของสมองในช่วงอายุ 10-18 ปี เมื่อปริมาณโดพามีนที่สมองสร้างขึ้นและส่งผลต่อการเรียนรู้เกือบจะทำให้ความคิดของเด็กเป็นพิษ
“ประสาทวิทยาศาสตร์ยังบ่งชี้ว่า สมองของคนเราถูกกำหนดมาแต่แรกให้กระตือรือร้นในการช่วยเหลือผู้อื่น แต่ค่านิยมหลายอย่างที่อาจถูกปลูกฝังให้กับเด็ก ทำให้เด็กหลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องช่วยคนอื่น
“เด็กอาจปฏิเสธการจัดการทางอารมณ์ที่มาพร้อมการช่วยเหลือคนอื่นเพื่อต่อต้านความเห็นแก่ตัวในใจ เทคนิคต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้”
ดร.สเปนด์เลิฟอาศัยหลักการของจิตวิทยาวิวัฒนาการ อธิบายว่าความไร้เหตุผลทางอารมณ์ของเด็กส่วนหนึ่งอาจอธิบายได้จากหลักการสวานนาห์ ที่ซึ่งมนุษย์พยายามรักษาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อความอยู่รอด นั่นคือการหาคู่และผลิตทายาทระหว่างใช้ชีวิตอยู่ในทุ่งหญ้าสวานนาห์เมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว
“หลักการมากมายเหล่านี้ควบคุมชีวิตประจำวันของเรา แต่อาจล้าสมัยไปแล้ว ทำให้เกิดความขัดแย้งในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน” ดร.สเปนด์เลิฟทิ้งท้าย
หนังสือเรื่อง ‘อิโมชันนัล ลิเทอเรซี (ไอเดียส์ อิน แอกชัน) ของดร.เดวิด สเปนด์เลิฟ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ อังกฤษ แนะนำว่าการที่ครูสอนวิธีทำความรู้จักเพื่อน จะทำให้นักเรียนมีความสุขมากขึ้นและเครียดน้อยลง ส่งผลต่อมาให้ตั้งใจเรียนและซึมซับความรู้ในห้องเรียนได้มากขึ้น
บทที่มีชื่อว่า ‘อะลองไซด์ เอ็กเซอร์ไซส์’ มีข้อแนะนำให้ครูเล่าเรื่องตลกให้ลูกศิษย์ฟัง
ดร.สเปนด์เลิฟใช้หลักการประสาทวิทยาศาสตร์มาพัฒนากิจกรรมพิเศษเพื่อให้เด็กรู้จักจัดการกับความโกรธ ความกลัว และความเครียดที่โรงเรียน
การขาด ‘ความสามารถด้านอารมณ์’ ปรากฏชัดเจนโดยเฉพาะในหมู่เด็กชาย เนื่องจากเด็กชายมีความสามารถในการทำความเข้าใจอารมณ์น้อยกว่าเด็กหญิง
ดร.สเปนด์เลิฟอธิบายว่าความสามารถด้านอารมณ์จะทำให้เด็กเรียนดี มีสมาธิและมีความสุขในห้องเรียนมากขึ้น
“การจัดการกับอารมณ์เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้และแรงกระตุ้นที่ดี ในทางกลับกันถ้าไม่มีสิ่งนี้ เด็กจะขาดสมาธิ ทำให้ขาดการเชื่อมต่อด้านอารมณ์
“ในโลกทุกวันนี้ เป็นเรื่องง่ายที่จะโน้มน้าวตัวเองว่าแผ่นดินไหวหรือความอดอยาก ‘ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเราเท่าไรนัก’
“สำหรับเด็ก สิ่งนี้จะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงของสมองในช่วงอายุ 10-18 ปี เมื่อปริมาณโดพามีนที่สมองสร้างขึ้นและส่งผลต่อการเรียนรู้เกือบจะทำให้ความคิดของเด็กเป็นพิษ
“ประสาทวิทยาศาสตร์ยังบ่งชี้ว่า สมองของคนเราถูกกำหนดมาแต่แรกให้กระตือรือร้นในการช่วยเหลือผู้อื่น แต่ค่านิยมหลายอย่างที่อาจถูกปลูกฝังให้กับเด็ก ทำให้เด็กหลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องช่วยคนอื่น
“เด็กอาจปฏิเสธการจัดการทางอารมณ์ที่มาพร้อมการช่วยเหลือคนอื่นเพื่อต่อต้านความเห็นแก่ตัวในใจ เทคนิคต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้”
ดร.สเปนด์เลิฟอาศัยหลักการของจิตวิทยาวิวัฒนาการ อธิบายว่าความไร้เหตุผลทางอารมณ์ของเด็กส่วนหนึ่งอาจอธิบายได้จากหลักการสวานนาห์ ที่ซึ่งมนุษย์พยายามรักษาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อความอยู่รอด นั่นคือการหาคู่และผลิตทายาทระหว่างใช้ชีวิตอยู่ในทุ่งหญ้าสวานนาห์เมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว
“หลักการมากมายเหล่านี้ควบคุมชีวิตประจำวันของเรา แต่อาจล้าสมัยไปแล้ว ทำให้เกิดความขัดแย้งในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน” ดร.สเปนด์เลิฟทิ้งท้าย