ในขณะที่ยุโรปเสนอว่าต้องหาทางควบคุมการไหลของตลาดการเงินโลกอย่างจริงจัง อาจจะทำโดยการตั้งสถาบันการเงินโลกขึ้นมาเพื่อควบคุมและจัดการ และดูแลการไหลของเงิน ชนชั้นนำสหรัฐฯยังคงยกย่องนโยบายตลาดเสรี และเชื่อว่า ปัญหาเริ่มจาก ‘ความผิดพลาดเล็กๆ’ เท่านั้น อย่างเช่น การโทษเรื่องซับไพรม์ หรือ ตราสาร CDS และ CDO
ความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันในเรื่องการวิเคราะห์ที่มาของปัญหาและทางแก้ ทำให้การประชุมระหว่างประเทศที่ผ่านมาไม่สามารถวางมาตรการที่จริงจังออกมาได้
การประชุมระดับโลก เช่น การประชุมร่วมระหว่างอาเซียนและยุโรปจะจบลงด้วยการออกคำแถลงร่วม ว่าจะช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤตโลกครั้งนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับไม่มีมาตรการร่วมที่เป็นรูปธรรม เพราะบรรดารัฐต่างๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ผู้นำจีน ถือว่าวิกฤตครั้งนี้มีรากมาจากนโยบายเศรษฐกิจ (ตลาดเสรี) ที่ผิดพลาดของสหรัฐอเมริกาเอง และที่สำคัญ ผู้นำจีนเสนอว่า ทางแก้วิกฤตที่สำคัญที่สุดคือ ทุกประเทศต้องเริ่มตระหนักว่าต้องดูแลตัวเองก่อน
เพื่อนคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า
“อาจารย์กำลังบอกว่า การแก้ปัญหาครั้งนี้ ไม่ใช่ง่ายๆ อย่างที่คิด น่าจะเกิด ลัทธิตัวใครตัวมัน หรือ Protectionism มากกว่าจะเกิดการผนึกกำลังร่วมกันหรือ
อย่างนี้...ผู้นำจีนดูเห็นแก่ตัวไปหน่อยนะ”
ผมตอบเขาว่า
“ก็พูดยาก เพราะผู้นำจีนคิดว่า ความผิดอยู่ที่แนวนโยบายของสหรัฐฯ เอง ที่หลงใหลไปกระตุ้นฟองสบู่ให้พองโดยไม่มีการควบคุม และที่สำคัญ บรรดารัฐที่ร่ำรวยในย่านเอเชีย อย่างเช่น จีน ไต้หวัน และประเทศมหาเศรษฐีน้ำมันตะวันออกกลางตระหนักว่า หลังจากฟองสบู่แตกแล้ว พวกเขาเองกลับต้องรับกรรม (กรรมที่พวกเขาไม่ได้ก่อไปด้วย) เนื่องจากปีหน้า เศรษฐกิจจริงในเอเชียจะทรุดหนัก บรรดาผู้นำประเทศเหล่านี้จึงต้องเก็บเงินที่มีอยู่ไว้ใช้แก้วิกฤตภายในของตนก่อน
ใครเล่า...จะ ‘โง่’ ขนเงินไปช่วยอุ้มสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังจะเจอสภาวะถมเท่าไหร่ ไม่รู้จักเต็ม เพราะที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกามีฐานะเป็น Empire of Dept หรือ จักรวรรดิหนี้สินของโลก สร้างและขยายหนี้ ใช้เงิน (คนอื่น) อย่างเมามัน บริโภคเกินตัวมาตลอด”
ช่วงก่อนวิกฤต Empire of Dept นี้ดำรงอยู่ได้ก็เนื่องจากว่า ประเทศต่างๆ ในย่านเอเชีย ทั้งจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และบรรดาชาติร่ำรวยทางตะวันออกกลางได้ขนเอาเงินออมไปอุ้มสหรัฐอเมริกาผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน เพราะประเทศเหล่านี้มีฐานะเป็นประเทศผู้ผลิต ส่วนสหรัฐอเมริกามีฐานะเป็นประเทศผู้บริโภค สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปั่นหนี้และบริโภคอย่างเกินตัว จนถึงปัจจุบัน (2007) สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าเกือบ 700,000 ล้านดอลลาร์
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้กำลังส่งผลทำให้ดุลยภาพของระบบโลกแบบเก่าก้าวถึงจุดอวสานได้ เพราะชนชั้นนำประเทศต่างๆ ทางย่านเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน รวมทั้งนักธุรกิจในย่านนี้ อาจจะเริ่มทิ้งเงินดอลลาร์ และลดการลงทุนในพันธบัตรของสหรัฐฯ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น George Soros ได้เขียนงานใหม่เรื่อง “The New Paradigm for Financial Markets”
Soros เสนอแนวคิดเรื่อง The Super Bubble Hypothesis ขึ้นมาเพื่อชี้ว่า การแตกของฟองสบู่ครั้งนี้รุนแรงและมีลักษณะพิเศษกว่าการแตกของฟองสบู่ครั้งก่อนหน้านี้ทั้งหมด
ผมเองค่อนข้างเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่อง ‘Super Bubble’ นี้ เพราะถ้าเป็นฟองสบู่แตกแบบทั่วไป น่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่มากนัก อย่างเช่น กรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี 40 พอฟองสบู่แตก เศรษฐกิจก็ทรุดตัวหนักอย่างมากประมาณ 1 ปี หลังจากนั้น ทุนต่างชาติเริ่มไหลเข้ามาใหม่ เพื่อช้อนซื้อ(สินค้าราคาถูก) ต่อจากนั้น การปั่นหนี้รอบใหม่ก็จะเริ่มขึ้นอีก พร้อมๆ ไปกับการขยายตัวขึ้นของเศรษฐกิจครั้งใหม่
ครั้งนี้พิเศษกว่า ฟองสบู่แตกแบบ Super Bubble เพราะแตกที่ใจกลางของระบบทุนโลกเอง ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของวิกฤตไปทั่วโลก และสามารถหันมาทำลายระบบดุลยภาพเก่าทางด้านการเงินของระบบโลกลงได้ด้วย
เพื่อนคนหนึ่งสวนขึ้นมาว่า
“ผมชอบคำว่า Empire of Dept หรือ จักรวรรดิแห่งหนี้สิน ของอาจารย์มากๆ”
ผมตอบว่า
“นี่ไม่ใช่คำที่ผมใช้ ผู้ใช้คำนี้มาจากชื่อหนังสือของ Bill Bonner และ Addison Wiggen ที่เขียนงานชื่อนี้ออกมา น่าลองหาอ่านดู”
ผมชอบงานชิ้นนี้ ตรงที่สามารถสะท้อน ‘รากของหายนะ’ และ ‘จุดจบของลัทธิเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี’ ได้ดี โดยชี้ว่า ที่อันตรายสุดๆ คือ ‘ปัญหามายาคติ’
ในช่วงที่ฟองสบู่เบ่งบาน คนอเมริกันจะถูกทำให้เชื่อว่า
“คุณสามารถร่ำรวยได้ด้วยการใช้จ่าย ด้วยการเพิ่มหนี้ ยิ่งหนี้มากเท่าไหร่ ก็ถือว่ามีเครดิตมากเท่านั้นที่สำคัญ ไม่ต้องสนใจเรื่องการออม”
กรณีสหรัฐอเมริกาเรียกได้ว่า การออมระดับครัวเรือนเป็น 0 (ศูนย์) หรือไม่มีเลย ขณะนี้หนี้สินของครัวเรือนอเมริกาเพิ่มไปถึง 13.8 Trillion ดอลลาร์
นอกจากนี้ คนอเมริกันยังคงหลงระเริงเสพติดการสร้างหนี้ และหลงฟองสบู่ เพราะพวกเขาเชื่อกันผิดๆว่า ยิ่งขยายหนี้ ยิ่งได้กำไร และเชื่อเต็มที่ว่า ราคาบ้านจะขยายตัวไปเรื่อยๆ ไม่มีวันตก
มายาคตินี้ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ระดับคนชาวบ้านเท่านั้น ชนชั้นนำอเมริกันเองเชื่อมั่นว่า การขยายตัวของหนี้ กับ การขยายตัวของเศรษฐกิจ จะก้าวไปด้วยกันได้อย่างดี ดังนั้น การปล่อยให้ตลาดขยายตัวไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องเข้าควบคุมจึงเป็นผลดีทั้งแก่ประเทศและประชาชน
นอกจากนี้ ชนชั้นนำทั้งในภาครัฐ และสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา เชื่อว่า สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะล้มได้ ดังนั้น ไม่ต้องสนใจเรื่องการปล่อยเงินกู้ ไม่ต้องสนใจหนี้สินภาครัฐ การขาดดุลการค้า รวมถึงการขาดดุลงบประมาณ
หากสหรัฐฯ ‘ล้มละลาย’ หรือ ‘หายนะ’ ทุกประเทศในโลกก็ต้องล้มละลาย หรือหายนะหมดไม่เหลือ เพราะสหรัฐฯ มีฐานะเป็นศูนย์ของระบบโลก ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาเผชิญวิกฤตหรือจะล้มละลาย ทุกประเทศต้องขนเงินเข้ามาช่วยอุ้มสหรัฐอเมริกาแน่
ผมจึงเป็นห่วงว่า วันนี้...มายาคติเหล่านี้กำลังทำลายตัวเอง
ที่สำคัญ ชนชั้นนำอเมริกันจะเชื่อมั่นว่า วิกฤตเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ หรือ สามารถจัดการได้เสมอ
ผมคิดว่า ‘ความเชื่อมั่นอย่างมากๆ’ นี้ ก่อเกิดขึ้นจากการที่ชนชั้นนำอเมริกัน สามารถจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2000 ถึง 2002 ได้ดี (ยังมีต่อ)
ความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันในเรื่องการวิเคราะห์ที่มาของปัญหาและทางแก้ ทำให้การประชุมระหว่างประเทศที่ผ่านมาไม่สามารถวางมาตรการที่จริงจังออกมาได้
การประชุมระดับโลก เช่น การประชุมร่วมระหว่างอาเซียนและยุโรปจะจบลงด้วยการออกคำแถลงร่วม ว่าจะช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤตโลกครั้งนี้อย่างเต็มที่ แต่กลับไม่มีมาตรการร่วมที่เป็นรูปธรรม เพราะบรรดารัฐต่างๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ผู้นำจีน ถือว่าวิกฤตครั้งนี้มีรากมาจากนโยบายเศรษฐกิจ (ตลาดเสรี) ที่ผิดพลาดของสหรัฐอเมริกาเอง และที่สำคัญ ผู้นำจีนเสนอว่า ทางแก้วิกฤตที่สำคัญที่สุดคือ ทุกประเทศต้องเริ่มตระหนักว่าต้องดูแลตัวเองก่อน
เพื่อนคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า
“อาจารย์กำลังบอกว่า การแก้ปัญหาครั้งนี้ ไม่ใช่ง่ายๆ อย่างที่คิด น่าจะเกิด ลัทธิตัวใครตัวมัน หรือ Protectionism มากกว่าจะเกิดการผนึกกำลังร่วมกันหรือ
อย่างนี้...ผู้นำจีนดูเห็นแก่ตัวไปหน่อยนะ”
ผมตอบเขาว่า
“ก็พูดยาก เพราะผู้นำจีนคิดว่า ความผิดอยู่ที่แนวนโยบายของสหรัฐฯ เอง ที่หลงใหลไปกระตุ้นฟองสบู่ให้พองโดยไม่มีการควบคุม และที่สำคัญ บรรดารัฐที่ร่ำรวยในย่านเอเชีย อย่างเช่น จีน ไต้หวัน และประเทศมหาเศรษฐีน้ำมันตะวันออกกลางตระหนักว่า หลังจากฟองสบู่แตกแล้ว พวกเขาเองกลับต้องรับกรรม (กรรมที่พวกเขาไม่ได้ก่อไปด้วย) เนื่องจากปีหน้า เศรษฐกิจจริงในเอเชียจะทรุดหนัก บรรดาผู้นำประเทศเหล่านี้จึงต้องเก็บเงินที่มีอยู่ไว้ใช้แก้วิกฤตภายในของตนก่อน
ใครเล่า...จะ ‘โง่’ ขนเงินไปช่วยอุ้มสหรัฐอเมริกาซึ่งกำลังจะเจอสภาวะถมเท่าไหร่ ไม่รู้จักเต็ม เพราะที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกามีฐานะเป็น Empire of Dept หรือ จักรวรรดิหนี้สินของโลก สร้างและขยายหนี้ ใช้เงิน (คนอื่น) อย่างเมามัน บริโภคเกินตัวมาตลอด”
ช่วงก่อนวิกฤต Empire of Dept นี้ดำรงอยู่ได้ก็เนื่องจากว่า ประเทศต่างๆ ในย่านเอเชีย ทั้งจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และบรรดาชาติร่ำรวยทางตะวันออกกลางได้ขนเอาเงินออมไปอุ้มสหรัฐอเมริกาผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน เพราะประเทศเหล่านี้มีฐานะเป็นประเทศผู้ผลิต ส่วนสหรัฐอเมริกามีฐานะเป็นประเทศผู้บริโภค สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปั่นหนี้และบริโภคอย่างเกินตัว จนถึงปัจจุบัน (2007) สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าเกือบ 700,000 ล้านดอลลาร์
สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้กำลังส่งผลทำให้ดุลยภาพของระบบโลกแบบเก่าก้าวถึงจุดอวสานได้ เพราะชนชั้นนำประเทศต่างๆ ทางย่านเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน รวมทั้งนักธุรกิจในย่านนี้ อาจจะเริ่มทิ้งเงินดอลลาร์ และลดการลงทุนในพันธบัตรของสหรัฐฯ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น George Soros ได้เขียนงานใหม่เรื่อง “The New Paradigm for Financial Markets”
Soros เสนอแนวคิดเรื่อง The Super Bubble Hypothesis ขึ้นมาเพื่อชี้ว่า การแตกของฟองสบู่ครั้งนี้รุนแรงและมีลักษณะพิเศษกว่าการแตกของฟองสบู่ครั้งก่อนหน้านี้ทั้งหมด
ผมเองค่อนข้างเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่อง ‘Super Bubble’ นี้ เพราะถ้าเป็นฟองสบู่แตกแบบทั่วไป น่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่มากนัก อย่างเช่น กรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี 40 พอฟองสบู่แตก เศรษฐกิจก็ทรุดตัวหนักอย่างมากประมาณ 1 ปี หลังจากนั้น ทุนต่างชาติเริ่มไหลเข้ามาใหม่ เพื่อช้อนซื้อ(สินค้าราคาถูก) ต่อจากนั้น การปั่นหนี้รอบใหม่ก็จะเริ่มขึ้นอีก พร้อมๆ ไปกับการขยายตัวขึ้นของเศรษฐกิจครั้งใหม่
ครั้งนี้พิเศษกว่า ฟองสบู่แตกแบบ Super Bubble เพราะแตกที่ใจกลางของระบบทุนโลกเอง ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของวิกฤตไปทั่วโลก และสามารถหันมาทำลายระบบดุลยภาพเก่าทางด้านการเงินของระบบโลกลงได้ด้วย
เพื่อนคนหนึ่งสวนขึ้นมาว่า
“ผมชอบคำว่า Empire of Dept หรือ จักรวรรดิแห่งหนี้สิน ของอาจารย์มากๆ”
ผมตอบว่า
“นี่ไม่ใช่คำที่ผมใช้ ผู้ใช้คำนี้มาจากชื่อหนังสือของ Bill Bonner และ Addison Wiggen ที่เขียนงานชื่อนี้ออกมา น่าลองหาอ่านดู”
ผมชอบงานชิ้นนี้ ตรงที่สามารถสะท้อน ‘รากของหายนะ’ และ ‘จุดจบของลัทธิเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี’ ได้ดี โดยชี้ว่า ที่อันตรายสุดๆ คือ ‘ปัญหามายาคติ’
ในช่วงที่ฟองสบู่เบ่งบาน คนอเมริกันจะถูกทำให้เชื่อว่า
“คุณสามารถร่ำรวยได้ด้วยการใช้จ่าย ด้วยการเพิ่มหนี้ ยิ่งหนี้มากเท่าไหร่ ก็ถือว่ามีเครดิตมากเท่านั้นที่สำคัญ ไม่ต้องสนใจเรื่องการออม”
กรณีสหรัฐอเมริกาเรียกได้ว่า การออมระดับครัวเรือนเป็น 0 (ศูนย์) หรือไม่มีเลย ขณะนี้หนี้สินของครัวเรือนอเมริกาเพิ่มไปถึง 13.8 Trillion ดอลลาร์
นอกจากนี้ คนอเมริกันยังคงหลงระเริงเสพติดการสร้างหนี้ และหลงฟองสบู่ เพราะพวกเขาเชื่อกันผิดๆว่า ยิ่งขยายหนี้ ยิ่งได้กำไร และเชื่อเต็มที่ว่า ราคาบ้านจะขยายตัวไปเรื่อยๆ ไม่มีวันตก
มายาคตินี้ ไม่ได้เกิดขึ้นที่ระดับคนชาวบ้านเท่านั้น ชนชั้นนำอเมริกันเองเชื่อมั่นว่า การขยายตัวของหนี้ กับ การขยายตัวของเศรษฐกิจ จะก้าวไปด้วยกันได้อย่างดี ดังนั้น การปล่อยให้ตลาดขยายตัวไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องเข้าควบคุมจึงเป็นผลดีทั้งแก่ประเทศและประชาชน
นอกจากนี้ ชนชั้นนำทั้งในภาครัฐ และสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา เชื่อว่า สหรัฐอเมริกายิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะล้มได้ ดังนั้น ไม่ต้องสนใจเรื่องการปล่อยเงินกู้ ไม่ต้องสนใจหนี้สินภาครัฐ การขาดดุลการค้า รวมถึงการขาดดุลงบประมาณ
หากสหรัฐฯ ‘ล้มละลาย’ หรือ ‘หายนะ’ ทุกประเทศในโลกก็ต้องล้มละลาย หรือหายนะหมดไม่เหลือ เพราะสหรัฐฯ มีฐานะเป็นศูนย์ของระบบโลก ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาเผชิญวิกฤตหรือจะล้มละลาย ทุกประเทศต้องขนเงินเข้ามาช่วยอุ้มสหรัฐอเมริกาแน่
ผมจึงเป็นห่วงว่า วันนี้...มายาคติเหล่านี้กำลังทำลายตัวเอง
ที่สำคัญ ชนชั้นนำอเมริกันจะเชื่อมั่นว่า วิกฤตเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ หรือ สามารถจัดการได้เสมอ
ผมคิดว่า ‘ความเชื่อมั่นอย่างมากๆ’ นี้ ก่อเกิดขึ้นจากการที่ชนชั้นนำอเมริกัน สามารถจัดการกับวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2000 ถึง 2002 ได้ดี (ยังมีต่อ)