นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า พรรคพลังประชาชนจะผลักดัน พ.ร.บ.สร้างความปรองดองแห่งชาติ เข้าสู่สภาภายในมัยประชุมสามัญทั่วไปที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนมกราคานี้ เพื่อที่จะได้สร้างความปรองดอง ให้เกิดขึ้น โดยขอร้องว่า อย่ามองเป็นเรื่องการทำเพื่อประโยชน์ของพ.ต.ท.ทักษิณ หรือผลประโยชน์ของใคร
วันนี้ต้องถอยหลังทั้งหมด แล้วนับศูนย์ใหม่ รวมไปถึงคดีของกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้ากลับเข้ามาปรองดองกัน ดีกว่าปล่อยไว้และมีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้น
นายชูศักดิ์ ศิรินิล เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืมอง จะทำการเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ เพื่อนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่ายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549ว่า เป็นความเห็นของ ส.ส.บางส่วนเท่าที่ทราบมีการเสนอเรื่องขึ้นมาแล้วแต่ยังไม่ได้หารือกันในพรรคพลังประชาชน
ผมเดาว่า ถ้าทำกระแสก็ต้องออกมาว่าจะมีการนิรโทษกรรมอีกแล้ว สื่อก็คงสงสัยว่าจะมีการนิรโทษกรรมอีกแล้ว ก็ต้องไปคิดกันให้รอบคอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า โดยหลักกฎหมายทำได้หรือไม่ ที่จะออกกฎหมายล้มล้าง คดีความต่างๆ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า มันก็ทำนองเดียวกับเรื่องนิรโทษกรรม เมื่อศาลตัดสินแล้วก็สามารถทำได้หมด เพียงแต่ต้องถามสงคมว่าเห็นอย่างไร แต่ขอยืนยันว่า เป็นความเห็นโดยสุจริตของเขา เท่าที่ฟังดูจะต้องเป็นการยกเลิกทั้งหมด แล้วกลับไปสู่สภาพเดิม ไม่ต้องมีอะไรต่อกัน ทำนองนี้ ก็ขอให้ลองไปคิดดู
ผู้สื่อข่าวถามว่านอกจากการออกกฎหมายแล้ว ยังมีวิธีทางอื่นหรือไม่ที่สังคมรับได้ นายชูศักดิ์ เท่าที่ฟังดูไม่ได้หมายความว่าออกฎหมายเพื่อตัวเอง แต่เป็นการออกกฎหมายการกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้น ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการรัฐประหารทั้งหลาย อย่าไปถามว่าทำให้เฉพาะตัวเอง เพียงแต่ฟังดูแล้วเห็นว่ามันครอบคลุมหมด อภัยโทษทุกอย่างหมด ท้ายที่สุดเรื่องนี้ก็ยังเป็นประเด็นคำถามอยู่
ส่วนจะเป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นขณะนี้หรือไม่นั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ดีก็มองได้ แล้วแต่จะมองกันแง่ไหน ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเป้าใหญ่ ก็อาจจะบอกว่าไม่ดี ถ้าเอาภาพรวมทั้งหมด ทุกกลุ่ม ทุกคดี อย่างนี้มันก็มองได้ แล้วแต่มุมมอง
ส่วนที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน บางคนบอกว่ามันไม่มีหนทางแล้ว ต้องแบ่งประเทศ หมายความว่าอย่างไร นายชูศักดิ์ตอบว่า เป็นความเห็นส่วนตัว ก็อยากให้ไปบอก เขาหน่อยว่าอย่าพูดรุนแรงนัก เรื่องการพูดจาคนที่เป็นส.ส.มีอิสระที่จะพูดได้ แต่พอเจอกันตนถามทีไรก็บอกไม่เคยพูดถึงขนาดนั้น ขณะเดียวกันนโยบายรัฐบาลก็ไม่มีเรื่องอย่างนี้ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการออกกฎหมายสร้างความปรองดองฯเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ของการแก้ปัญหาของตัวเองเท่านั้น ซึ่งเขาก็เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ และท้ายที่สุด คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่กำลังจะทำและพ.ต.ท.ทักษิณ
ทั้งนี้ ตนไม่ได้ขัดใดๆ ในแง่ที่ว่าใครจะมีเรื่องของหลักกฎหมายดีหรือไม่ อย่างไร แต่ถ้ามีกฎหมายอยู่แล้วยังทำผิดและคิดใช้อำนาจลบล้างความผิดของตัวเอง ตรงนี้ถือว่าไม่เหมาะสม
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามข่าวและหารือกันแล้วเห็นว่าไม่สามารถทำได้ ถึงหลักการจะดูดี แต่ประเทศไทยภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปกครองโดยหลักนิติรัฐต้องปรองดองด้วยระบบของกฎหมาย ขณะนี้บางคดีก็พิพากษ าไปแล้ว บางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา การออกกฎหมายยกโทษ ความผิดทั้งหมด จึงไม่สามารถทำได้ เพราะต่อไปคนที่มีอำนาจจะควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและออกกฎหมายมาเลือกปฏิบัติได้ กลายเป็นว่ากลุ่มก้อนทางการเมืองที่มีพวกมาก ทำอะไรก็ไม่ผิด
การพูดเช่นนี้สร้างความสับสนให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าจะออกกฎหมาย เพื่อยกความผิดให้กับผู้กระทำผิด ซึ่งที่ผ่านมากฎหมายนิรโทษกรรมจะทำแต่เรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันเท่านั้น ทางที่ดีคือควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม การสร้างความปรองดองทำได้โดยไม่ต้องออกกฏหมาย แค่คู่ขัดแย้งไปจับเข่าคุยกันก็ได้
วันนี้ต้องถอยหลังทั้งหมด แล้วนับศูนย์ใหม่ รวมไปถึงคดีของกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้ากลับเข้ามาปรองดองกัน ดีกว่าปล่อยไว้และมีเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้น
นายชูศักดิ์ ศิรินิล เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ส.ส.พรรคพลังประชาชนและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืมอง จะทำการเสนอร่างพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ เพื่อนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่ายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549ว่า เป็นความเห็นของ ส.ส.บางส่วนเท่าที่ทราบมีการเสนอเรื่องขึ้นมาแล้วแต่ยังไม่ได้หารือกันในพรรคพลังประชาชน
ผมเดาว่า ถ้าทำกระแสก็ต้องออกมาว่าจะมีการนิรโทษกรรมอีกแล้ว สื่อก็คงสงสัยว่าจะมีการนิรโทษกรรมอีกแล้ว ก็ต้องไปคิดกันให้รอบคอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า โดยหลักกฎหมายทำได้หรือไม่ ที่จะออกกฎหมายล้มล้าง คดีความต่างๆ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า มันก็ทำนองเดียวกับเรื่องนิรโทษกรรม เมื่อศาลตัดสินแล้วก็สามารถทำได้หมด เพียงแต่ต้องถามสงคมว่าเห็นอย่างไร แต่ขอยืนยันว่า เป็นความเห็นโดยสุจริตของเขา เท่าที่ฟังดูจะต้องเป็นการยกเลิกทั้งหมด แล้วกลับไปสู่สภาพเดิม ไม่ต้องมีอะไรต่อกัน ทำนองนี้ ก็ขอให้ลองไปคิดดู
ผู้สื่อข่าวถามว่านอกจากการออกกฎหมายแล้ว ยังมีวิธีทางอื่นหรือไม่ที่สังคมรับได้ นายชูศักดิ์ เท่าที่ฟังดูไม่ได้หมายความว่าออกฎหมายเพื่อตัวเอง แต่เป็นการออกกฎหมายการกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้น ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการรัฐประหารทั้งหลาย อย่าไปถามว่าทำให้เฉพาะตัวเอง เพียงแต่ฟังดูแล้วเห็นว่ามันครอบคลุมหมด อภัยโทษทุกอย่างหมด ท้ายที่สุดเรื่องนี้ก็ยังเป็นประเด็นคำถามอยู่
ส่วนจะเป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นขณะนี้หรือไม่นั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ดีก็มองได้ แล้วแต่จะมองกันแง่ไหน ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเป้าใหญ่ ก็อาจจะบอกว่าไม่ดี ถ้าเอาภาพรวมทั้งหมด ทุกกลุ่ม ทุกคดี อย่างนี้มันก็มองได้ แล้วแต่มุมมอง
ส่วนที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน บางคนบอกว่ามันไม่มีหนทางแล้ว ต้องแบ่งประเทศ หมายความว่าอย่างไร นายชูศักดิ์ตอบว่า เป็นความเห็นส่วนตัว ก็อยากให้ไปบอก เขาหน่อยว่าอย่าพูดรุนแรงนัก เรื่องการพูดจาคนที่เป็นส.ส.มีอิสระที่จะพูดได้ แต่พอเจอกันตนถามทีไรก็บอกไม่เคยพูดถึงขนาดนั้น ขณะเดียวกันนโยบายรัฐบาลก็ไม่มีเรื่องอย่างนี้ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการออกกฎหมายสร้างความปรองดองฯเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ของการแก้ปัญหาของตัวเองเท่านั้น ซึ่งเขาก็เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ และท้ายที่สุด คนที่ได้ประโยชน์คือคนที่กำลังจะทำและพ.ต.ท.ทักษิณ
ทั้งนี้ ตนไม่ได้ขัดใดๆ ในแง่ที่ว่าใครจะมีเรื่องของหลักกฎหมายดีหรือไม่ อย่างไร แต่ถ้ามีกฎหมายอยู่แล้วยังทำผิดและคิดใช้อำนาจลบล้างความผิดของตัวเอง ตรงนี้ถือว่าไม่เหมาะสม
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ติดตามข่าวและหารือกันแล้วเห็นว่าไม่สามารถทำได้ ถึงหลักการจะดูดี แต่ประเทศไทยภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปกครองโดยหลักนิติรัฐต้องปรองดองด้วยระบบของกฎหมาย ขณะนี้บางคดีก็พิพากษ าไปแล้ว บางคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา การออกกฎหมายยกโทษ ความผิดทั้งหมด จึงไม่สามารถทำได้ เพราะต่อไปคนที่มีอำนาจจะควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและออกกฎหมายมาเลือกปฏิบัติได้ กลายเป็นว่ากลุ่มก้อนทางการเมืองที่มีพวกมาก ทำอะไรก็ไม่ผิด
การพูดเช่นนี้สร้างความสับสนให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าจะออกกฎหมาย เพื่อยกความผิดให้กับผู้กระทำผิด ซึ่งที่ผ่านมากฎหมายนิรโทษกรรมจะทำแต่เรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันเท่านั้น ทางที่ดีคือควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม การสร้างความปรองดองทำได้โดยไม่ต้องออกกฏหมาย แค่คู่ขัดแย้งไปจับเข่าคุยกันก็ได้