ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว อีกทั้งมีคู่แข่งจำนวนมาก หากยังทำหัตถกรรมดอกไม้ดินปั้นรูปแบบเดิมๆ ที่เคยทำมา ซึ่งไร้ความแตกต่างจากรายอื่นๆ คงยากจะประคองธุรกิจให้ยืนอยู่ได้ แนวคิดนี้ ผลักดันให้ “นงลักษณ์ ทรัพย์เจริญ” หันมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ ในรูปแบบดินปั้นชุดใบตอง ทั้งสวยงามและเหมือนจริงอย่างน่าฉงน ที่สำคัญฉีกหนีความซ้ำซาก ช่วยให้ธุรกิจโตสวนกระแสเศรษฐกิจ
นงลักษณ์ ทรัพย์เจริญ เจ้าของผลงานดินปั้น แบรนด์ “งานศิลป์ดินไทย" จาก จ.พิษณุโลก เล่าว่า เริ่มนำหัตถกรรมดินปั้นดอกไม้ออกสู่ตลาด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เน้นปั้นเลียนแบบดอกไม้ธรรมชาติชนิดต่างๆ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ฯลฯ ผลตอบรับในระยะแรก ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีคำสั่งซื้อต่อเนื่องในปริมาณสูง
กระทั่ง ย่านเข้าปีที่ 3-4 คู่แข่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และแทบทุกราย ล้วนประดิษฐ์สินค้ารูปแบบใกล้เคียงกัน กระทบยอดขายลดลง อีกทั้ง เกิดปัญหาขายตัดราคากันเองอีกด้วย
เพื่อจะแก้ปมดังกล่าว นงลักษณ์เลือกจะปรับเปลี่ยนผลงานตัวเอง โดยหันมาปั้นงานเลียนแบบใบตอง โดยประยุกต์เป็นสินค้าชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น ชุดบายสี พานดอกไม้ ชุดขันโตก และพวงมาลัย เป็นต้น
สำหรับความโดดเด่นของงานชุดเลียนแบบใบตอง ตั้งแต่การผสมสีได้เหมือนจริงไม่ผิดเพี๊ยน มีมิติทั้งอ่อน กลาง และเข้ม ส่วนขั้นตอนการทำเป็นสินค้า เสมือนใช้วัตถุดิบจากใบตองจริงๆ ไม่จะเป็นการพับ เย็บ หรือสาน ฉะนั้น ชิ้นงานที่ออกมา จึงเหมือนทำจากไม้ตองอย่างยิ่ง ขนาดวางเทียบกันยังแยกไม่ออกว่า ทำมาจากใบตองหรือเป็นงานดินปั้นกันแน่
“สินค้าที่ลูกค้าจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ เช่น ชุดบายสี หรือพานดอกไม้ ถ้าเป็นดอกไม้สดไม่กี่วันก็เหี่ยวเฉา แต่งานดินปั้น สามารถเก็บไว้ได้นานนับสิบปี ซึ่งก่อนจะประดิษฐ์งานชนิดใดก็ตาม ดิฉันจะศึกษาข้อมูลโดยละเอียด เช่น ชุดบายสี ต้องไปฝึกทำบายสีด้วยใบตองจริงๆ ให้ชำนาญ ก่อนจะเปลี่ยนวัตถุดิบใช้ดินปั้นแทน มีทั้งแบบโบราณ กับรูปแบบใหม่สร้างสรรค์จากจินตนาการ รวมถึง มีการจัดเป็นชุด หรือใส่กรอบเหมาะต่อการใช้งานต่างๆ ” นงลักษณ์ เผยสาเหตุที่เลือกจะทำเป็นงานชุดใบตอง
ผลจากการพลิกโฉมดังกล่าว สร้างความแตกต่างหนีคู่แข่ง และช่วยยกระดับสินค้า จากเดิมทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ขายได้ชิ้นละหลักร้อย แต่งานชุดใบตอง ทำราคาขายได้สูงกว่าอย่างน้อย 3 เท่าตัว เริ่มต้นที่ 1,500 - 10,000 บาท รวมถึง ขยายหาลูกค้ากลุ่มตลาดบน ซึ่งมีกำลังซื้อสูง ช่วยให้ยอดขายจากเดิมเดือนละประมาณ 30,000 บาท เพิ่มเป็นหลักแสนบาทต่อเดือน
ด้านช่องทางจำหน่าย มีหน้าร้านอยู่ที่ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก และรับผลิตตามคำสั่งซื้อ สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ดินไทย กับดินญี่ปุ่น ผสมสีด้วยสีน้ำมัน โดยงานชิ้นใหญ่ใช้เวลาทำประมาณ 1 สัปดาห์ต่อชิ้น กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ผู้รักการแต่งบ้าน นิยมซื้อไปวางโชว์ที่อยู่อาศัย สำนักงาน และโต๊ะหมู่บูชา นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มลูกค้าที่จะสั่งซื้อไปเป็นอุปกรณ์ประกอบพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช เป็นต้น
ทั้งนี้ “งานศิลป์ดินไทย" ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกในประเทศไทยที่ผลิตงานลักษณะนี้ ทำให้ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอประดับ 5 ดาวของ จ.พิษณุโลก รวมถึงได้รับรางวัลหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น ของมูลนิธีอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ประจำปี 2548 อีกด้วย
ปัจจุบัน แม้จะมีกลุ่มอื่นๆ พยายามลอกเลียนแบบ แต่ด้วยความยากในการผลิต ตั้งแต่ผสมสีให้เหมือนจริง และขั้นตอนประดิดประดอยให้ออกมาสวยงามเหมือนจริงทุกประการ ล้วนต้องใช้ทีมงานที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง ดังนั้น ผู้จะเลียนแบบ ถึงที่สุดจะถอนใจไปเอง
อย่างไรก็ตาม ด้วยความยากนี่เอง กลับเป็นผลเสียเช่นกัน เพราะแรงงานปัจจุบันมีเพียง 30 คน ผลิตงานได้เต็มทีแค่ประมาณ 100 ชิ้นต่อเดือนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่สูงกว่าทำได้ 3-4 เท่าตัวทีเดียว แม้จะพยายามฝึกฝนคนรุ่นใหม่เข้าเสริมเป็นแรงงาน แต่ในความเป็นจริง น้อยรายที่จะมีความมุ่งมั่น ฝึกฝนจนฝีมือถึงขั้นมาร่วมทีมได้
เมื่อย้อนถามถึงแรงบันดาลใจที่สนใจมาทำงานดินปั้น นงลักษณ์เล่าให้ฟังว่า ส่วนตัวชอบงานหัตถกรรมดินปั้น จึงไปอบรมวิธีปั้นพื้นฐานแค่ไม่กี่ชั่วโมง เพื่อทำเล่นเป็นงานอดิเรก จากนั้น ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ลองขายหารายได้เสริม และด้วยฝีมืออันยอดเยี่ยม ช่วยให้สินค้าได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นอาชีพหลัก
ทั้งนี้ ใช้ทุนเริ่มต้นธุรกิจแค่หลักพันบาทเท่านั้น กระทั่ง เมื่อจำเป็นต้องขยายธุรกิจได้ขอสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จำนวน 2 แสนบาท มาต่อยอดธุรกิจ ทั้งซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ และหมุนเวียนธุรกิจ เป็นต้น
จากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายราย กำลังประสบปัญหาการตลาด ตรงกันข้ามกับรายของ “งานศิลป์ดินไทย” ที่สวนกระแสยอดขายโตอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้ามีจุดเด่นแตกต่างจากรายอื่นๆ อีกทั้ง มีกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มแน่นอน
ทว่า เพื่อความไม่ประมาท เจ้าของธุรกิจได้เริ่มขยายประเภทสินค้าชุดใหม่ เน้นสู่กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ที่ใช้แทนดอกไม้สดในพิธีต่างๆ อย่างจริงจัง เช่น ช่อดอกไม้วันรับปริญญา นำเสนอจุดเด่นประหยัดกว่าการใช้ดอกไม้สด อีกทั้ง เป็นงานอนุรักษ์ความเป็นไทยด้วย
“เศรษฐกิจปัจจุบัน คนต้องการประหยัด ดังนั้น การออกแบบชุดใหม่ๆ ดิฉันจะพยายามดูเทรนด์ตลาด หรือแฟชั่น จากนิตยสารตกแต่งบ้าน แต่งสวน หรืองานแฟร์ต่างๆ โดยไม่สนใจดูหนังสือเกี่ยวกับงานดินปั้นเลย เพราะเราไม่ต้องการทำซ้ำกับใคร แต่อยากทำงานที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัด อาศัยข้อดีของดินปั้นสามารถปั้นทดแทนดอกไม้สดได้ ซึ่งสวยงามเหมือนกัน แต่เก็บไว้ใช้ได้เรื่อยๆ ประหยัดกว่าใช้ดอกไม้สด” เจ้าของธุรกิจ เผย
โทร.081 441 7546 ,(66) 5530 3399
หรือ www.thaiclay.com
นงลักษณ์ ทรัพย์เจริญ เจ้าของผลงานดินปั้น แบรนด์ “งานศิลป์ดินไทย" จาก จ.พิษณุโลก เล่าว่า เริ่มนำหัตถกรรมดินปั้นดอกไม้ออกสู่ตลาด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เน้นปั้นเลียนแบบดอกไม้ธรรมชาติชนิดต่างๆ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ฯลฯ ผลตอบรับในระยะแรก ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีคำสั่งซื้อต่อเนื่องในปริมาณสูง
กระทั่ง ย่านเข้าปีที่ 3-4 คู่แข่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และแทบทุกราย ล้วนประดิษฐ์สินค้ารูปแบบใกล้เคียงกัน กระทบยอดขายลดลง อีกทั้ง เกิดปัญหาขายตัดราคากันเองอีกด้วย
เพื่อจะแก้ปมดังกล่าว นงลักษณ์เลือกจะปรับเปลี่ยนผลงานตัวเอง โดยหันมาปั้นงานเลียนแบบใบตอง โดยประยุกต์เป็นสินค้าชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น ชุดบายสี พานดอกไม้ ชุดขันโตก และพวงมาลัย เป็นต้น
สำหรับความโดดเด่นของงานชุดเลียนแบบใบตอง ตั้งแต่การผสมสีได้เหมือนจริงไม่ผิดเพี๊ยน มีมิติทั้งอ่อน กลาง และเข้ม ส่วนขั้นตอนการทำเป็นสินค้า เสมือนใช้วัตถุดิบจากใบตองจริงๆ ไม่จะเป็นการพับ เย็บ หรือสาน ฉะนั้น ชิ้นงานที่ออกมา จึงเหมือนทำจากไม้ตองอย่างยิ่ง ขนาดวางเทียบกันยังแยกไม่ออกว่า ทำมาจากใบตองหรือเป็นงานดินปั้นกันแน่
“สินค้าที่ลูกค้าจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ เช่น ชุดบายสี หรือพานดอกไม้ ถ้าเป็นดอกไม้สดไม่กี่วันก็เหี่ยวเฉา แต่งานดินปั้น สามารถเก็บไว้ได้นานนับสิบปี ซึ่งก่อนจะประดิษฐ์งานชนิดใดก็ตาม ดิฉันจะศึกษาข้อมูลโดยละเอียด เช่น ชุดบายสี ต้องไปฝึกทำบายสีด้วยใบตองจริงๆ ให้ชำนาญ ก่อนจะเปลี่ยนวัตถุดิบใช้ดินปั้นแทน มีทั้งแบบโบราณ กับรูปแบบใหม่สร้างสรรค์จากจินตนาการ รวมถึง มีการจัดเป็นชุด หรือใส่กรอบเหมาะต่อการใช้งานต่างๆ ” นงลักษณ์ เผยสาเหตุที่เลือกจะทำเป็นงานชุดใบตอง
ผลจากการพลิกโฉมดังกล่าว สร้างความแตกต่างหนีคู่แข่ง และช่วยยกระดับสินค้า จากเดิมทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ขายได้ชิ้นละหลักร้อย แต่งานชุดใบตอง ทำราคาขายได้สูงกว่าอย่างน้อย 3 เท่าตัว เริ่มต้นที่ 1,500 - 10,000 บาท รวมถึง ขยายหาลูกค้ากลุ่มตลาดบน ซึ่งมีกำลังซื้อสูง ช่วยให้ยอดขายจากเดิมเดือนละประมาณ 30,000 บาท เพิ่มเป็นหลักแสนบาทต่อเดือน
ด้านช่องทางจำหน่าย มีหน้าร้านอยู่ที่ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก และรับผลิตตามคำสั่งซื้อ สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ดินไทย กับดินญี่ปุ่น ผสมสีด้วยสีน้ำมัน โดยงานชิ้นใหญ่ใช้เวลาทำประมาณ 1 สัปดาห์ต่อชิ้น กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ผู้รักการแต่งบ้าน นิยมซื้อไปวางโชว์ที่อยู่อาศัย สำนักงาน และโต๊ะหมู่บูชา นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มลูกค้าที่จะสั่งซื้อไปเป็นอุปกรณ์ประกอบพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช เป็นต้น
ทั้งนี้ “งานศิลป์ดินไทย" ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกในประเทศไทยที่ผลิตงานลักษณะนี้ ทำให้ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอประดับ 5 ดาวของ จ.พิษณุโลก รวมถึงได้รับรางวัลหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น ของมูลนิธีอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ประจำปี 2548 อีกด้วย
ปัจจุบัน แม้จะมีกลุ่มอื่นๆ พยายามลอกเลียนแบบ แต่ด้วยความยากในการผลิต ตั้งแต่ผสมสีให้เหมือนจริง และขั้นตอนประดิดประดอยให้ออกมาสวยงามเหมือนจริงทุกประการ ล้วนต้องใช้ทีมงานที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง ดังนั้น ผู้จะเลียนแบบ ถึงที่สุดจะถอนใจไปเอง
อย่างไรก็ตาม ด้วยความยากนี่เอง กลับเป็นผลเสียเช่นกัน เพราะแรงงานปัจจุบันมีเพียง 30 คน ผลิตงานได้เต็มทีแค่ประมาณ 100 ชิ้นต่อเดือนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่สูงกว่าทำได้ 3-4 เท่าตัวทีเดียว แม้จะพยายามฝึกฝนคนรุ่นใหม่เข้าเสริมเป็นแรงงาน แต่ในความเป็นจริง น้อยรายที่จะมีความมุ่งมั่น ฝึกฝนจนฝีมือถึงขั้นมาร่วมทีมได้
เมื่อย้อนถามถึงแรงบันดาลใจที่สนใจมาทำงานดินปั้น นงลักษณ์เล่าให้ฟังว่า ส่วนตัวชอบงานหัตถกรรมดินปั้น จึงไปอบรมวิธีปั้นพื้นฐานแค่ไม่กี่ชั่วโมง เพื่อทำเล่นเป็นงานอดิเรก จากนั้น ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ลองขายหารายได้เสริม และด้วยฝีมืออันยอดเยี่ยม ช่วยให้สินค้าได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นอาชีพหลัก
ทั้งนี้ ใช้ทุนเริ่มต้นธุรกิจแค่หลักพันบาทเท่านั้น กระทั่ง เมื่อจำเป็นต้องขยายธุรกิจได้ขอสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จำนวน 2 แสนบาท มาต่อยอดธุรกิจ ทั้งซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ และหมุนเวียนธุรกิจ เป็นต้น
จากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายราย กำลังประสบปัญหาการตลาด ตรงกันข้ามกับรายของ “งานศิลป์ดินไทย” ที่สวนกระแสยอดขายโตอย่างต่อเนื่อง เพราะสินค้ามีจุดเด่นแตกต่างจากรายอื่นๆ อีกทั้ง มีกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มแน่นอน
ทว่า เพื่อความไม่ประมาท เจ้าของธุรกิจได้เริ่มขยายประเภทสินค้าชุดใหม่ เน้นสู่กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ที่ใช้แทนดอกไม้สดในพิธีต่างๆ อย่างจริงจัง เช่น ช่อดอกไม้วันรับปริญญา นำเสนอจุดเด่นประหยัดกว่าการใช้ดอกไม้สด อีกทั้ง เป็นงานอนุรักษ์ความเป็นไทยด้วย
“เศรษฐกิจปัจจุบัน คนต้องการประหยัด ดังนั้น การออกแบบชุดใหม่ๆ ดิฉันจะพยายามดูเทรนด์ตลาด หรือแฟชั่น จากนิตยสารตกแต่งบ้าน แต่งสวน หรืองานแฟร์ต่างๆ โดยไม่สนใจดูหนังสือเกี่ยวกับงานดินปั้นเลย เพราะเราไม่ต้องการทำซ้ำกับใคร แต่อยากทำงานที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัด อาศัยข้อดีของดินปั้นสามารถปั้นทดแทนดอกไม้สดได้ ซึ่งสวยงามเหมือนกัน แต่เก็บไว้ใช้ได้เรื่อยๆ ประหยัดกว่าใช้ดอกไม้สด” เจ้าของธุรกิจ เผย
โทร.081 441 7546 ,(66) 5530 3399
หรือ www.thaiclay.com