ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (19พ.ย.) ซึ่งเป็นวันครบกำหนด15 วัน ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และ พรรคมัชฌิมาประชาธิปไตย ส่งคำชี้แจงหลังจากที่ทั้ง 3 พรรค ได้ขอขยายเวลาโดยพรรคพลังประชาชน ได้เดินทางมาส่งคำชี้แจงเป็นพรรคแรก ตามาด้วยพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ส่งเป็นพรรคสุดท้าย โดยทั้ง 3 พรรค ทำสำเนาเอกสารมาให้กับตุลาการฯ จำนวน 9 ชุดด้วย
นายวิเชียร กลัดเจริญ ทนายความผู้รับมอบอำนาจในการว่าความคดีคำร้องขอให้ยุบพรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า สำหรับคำชี้แจงในการต่อสู้คดียุบพรรค เราจะชี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ที่วินิจฉัยตามคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ตัดสิทธิ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนนั้น เป็นคำพิพากษาที่มีผลเฉพาะตัวของนายยงยุทธ เท่านั้น ไม่ได้มีผลผูกพันถึงคณะกรรมการบริหารพรรคทุกคน และในช่วงที่มีการกระทำความผิด นายยงยุทธ ก็ยังไม่ได้เป็นผู้สมัคร ส.ส. อีกทั้งคำพิพากษาของศาลฎีกา ไม่มีผลผูกพันกับการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม ทางพรรคก็ยังได้มีการร้องสอดของกรรมการบริหาร
ด้านนายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ทางพรรคก็ได้ชี้แจงไปทั้งหมด 5 ประเด็น แก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดว่า พรรคไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้มีการปล่อยปะละเลย และมีการป้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับขอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า ในวันแถงเปิดคดีขอให้นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยได้มีโอกาส แถลงเปิดคดีด้วยวาจา ก่อนขั้นตอนของการสอบพยาน อย่างไรก็ตาม หลักจากนี้คงต้องรอให้ศาลสั่งว่าจะต้องยื่นรายชื่อพยานทั้ง พยานเอกสาร และพยานบุคคล ขณะนี้มีพยานบุคคลอยู่ถึง 30-40 คน แล้วแต่ศาลจะพิจารณา
นายฉัตรชัย ชูแก้ว ทนายความผู้รับมอบอำนาจของพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวว่าหลังจากที่คณะตุลาการ มีมติไม่ขยายเวลาตามที่เคยได้ร้องขอไป จึงได้นำเอกสารเท่าที่มีอยู่ยืนต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเท็จจริงรวม 13 ประเด็น ซึ่งรวมไปถึงในประเด็นที่คณะ อนุกรรมการสอบสวนของ กกต.ชุดที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ก็ระบุว่า ความผิดกรณีนี้ไม่เพียงพอที่จะยื่นยุบพรรค ซึ่งรวมถึงอัยการสูงสุดก็ระบุเช่นเดียวกัน จนต้องตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง กกต.และอัยการสูงสุด ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการร่วมนี้ ต้องหาพยานหลักฐานใหม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าดำเนินการใดๆ แต่กลับยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน กรณีนี้จึงต้องขอความเป็นธรรมจากศาลรัฐธรรมนูญด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.30 น. วันเดียวกัน นายทิวา การกระสัง ทนายความกลุ่มเพื่อนเนวิน ได้นำคำร้องสอดขอเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ของนายสุทิน คลังแสง ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และคำชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆของนายยงยุทธ ติยะไพรัช โดยเปิดเผยว่าตนเองเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นทนายความของนายนิสิต สินธุไพร นายทรงศักดิ์ ทองศรี และนายสุทิน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกลุ่มของนายเนวิน ซึ่งการร้องนี้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้กระทำได้ อย่างไรก็ตาม หากตุลาการไม่อนุญาตให้ร้องสอดเป็นคู่ความที่ 3 ก็จะยื่นรายชื่อเพื่อเป็นพยานเบิกความในคดียุบพรรคอีกครั้ง
รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญแจ้ง ว่า คณะตุลาการได้นัดประชุมเพื่อพิจารณาคำชี้แจงของทั้ง 3 พรรคการเมืองในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 09.30 น. ซึ่งถือเป็นนัดแรกในการประชุมเพื่อพิจารณาคดียุบพรรค แล้วยังได้มีกำหนดนัดพร้อมคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายผู้ถูกร้องทั้ง 3 พรรค และฝ่ายผู้ร้องคือ อัยการสูงสุดในวันที่ 26 พ.ย. นี้ เพื่อกำหนดประเด็นการพิจารณาด้วย
สำหรับกระแสข่าวที่พรรคพลังประชาชน จะยื่นคำร้องขอให้นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการรัฐธรรมนูญ ถอนตัวจากการเป็นองค์คณะ เนื่องจากมีอคติกับพรรคพลังประชาชนนั้น ขณะนี้ยังไม่มีคำร้องเข้ามาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีคำร้องของพรรคพลังประชาชนที่มีกรรมการบริหารพรรค ส.ส. และสมาชิกพรรค ขอร้องสอดมาเป็นคู่ความที่ 3 นั้น คณะตุลาการฯไม่อนุญาต เนื่องจากในการร้องสอดของคู่ความนั้นจะสามารถกระทำได้ในกรณีร้องสอดเป็นโจทก์ หรือเป็นจำเลยเท่านั้น ไม่มีช่องทางให้ยื่นร้องสอดมาเป็นคู่ความที่ 3 แต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากพรรคพลังประชาชน ต้องการยื่นรายชื่อกรรมการบริหารพรรคมาเป็นพยานเพื่อให้การว่าไม่รู้เห็นถึงการกระทำของนายยงยุทธ ก็สามารถดำเนินการได้ ในฐานะพยานอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องร้องสอดแต่อย่างใด
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า การยุบพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีการคาดกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยยุบพรรคดังกล่าว ภายในเดือน พ.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกระแสข่าวว่า ส.ส.ทั้ง 3 พรรคได้มีการวิ่งล็อบบี้ ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนุญบางท่าน เพื่อเลื่อนการวินิจฉัยออกไปอีก 4-6 เดือน จึงอยากให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระมัดระวัง อย่าตกอยู่ในเกมทางการเมือง
นายวิเชียร กลัดเจริญ ทนายความผู้รับมอบอำนาจในการว่าความคดีคำร้องขอให้ยุบพรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า สำหรับคำชี้แจงในการต่อสู้คดียุบพรรค เราจะชี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ที่วินิจฉัยตามคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ตัดสิทธิ์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนนั้น เป็นคำพิพากษาที่มีผลเฉพาะตัวของนายยงยุทธ เท่านั้น ไม่ได้มีผลผูกพันถึงคณะกรรมการบริหารพรรคทุกคน และในช่วงที่มีการกระทำความผิด นายยงยุทธ ก็ยังไม่ได้เป็นผู้สมัคร ส.ส. อีกทั้งคำพิพากษาของศาลฎีกา ไม่มีผลผูกพันกับการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม ทางพรรคก็ยังได้มีการร้องสอดของกรรมการบริหาร
ด้านนายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ทางพรรคก็ได้ชี้แจงไปทั้งหมด 5 ประเด็น แก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดว่า พรรคไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้มีการปล่อยปะละเลย และมีการป้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับขอตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า ในวันแถงเปิดคดีขอให้นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยได้มีโอกาส แถลงเปิดคดีด้วยวาจา ก่อนขั้นตอนของการสอบพยาน อย่างไรก็ตาม หลักจากนี้คงต้องรอให้ศาลสั่งว่าจะต้องยื่นรายชื่อพยานทั้ง พยานเอกสาร และพยานบุคคล ขณะนี้มีพยานบุคคลอยู่ถึง 30-40 คน แล้วแต่ศาลจะพิจารณา
นายฉัตรชัย ชูแก้ว ทนายความผู้รับมอบอำนาจของพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวว่าหลังจากที่คณะตุลาการ มีมติไม่ขยายเวลาตามที่เคยได้ร้องขอไป จึงได้นำเอกสารเท่าที่มีอยู่ยืนต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีข้อเท็จจริงรวม 13 ประเด็น ซึ่งรวมไปถึงในประเด็นที่คณะ อนุกรรมการสอบสวนของ กกต.ชุดที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ก็ระบุว่า ความผิดกรณีนี้ไม่เพียงพอที่จะยื่นยุบพรรค ซึ่งรวมถึงอัยการสูงสุดก็ระบุเช่นเดียวกัน จนต้องตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง กกต.และอัยการสูงสุด ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการร่วมนี้ ต้องหาพยานหลักฐานใหม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าดำเนินการใดๆ แต่กลับยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน กรณีนี้จึงต้องขอความเป็นธรรมจากศาลรัฐธรรมนูญด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.30 น. วันเดียวกัน นายทิวา การกระสัง ทนายความกลุ่มเพื่อนเนวิน ได้นำคำร้องสอดขอเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ของนายสุทิน คลังแสง ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และคำชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำใดๆของนายยงยุทธ ติยะไพรัช โดยเปิดเผยว่าตนเองเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นทนายความของนายนิสิต สินธุไพร นายทรงศักดิ์ ทองศรี และนายสุทิน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกลุ่มของนายเนวิน ซึ่งการร้องนี้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้กระทำได้ อย่างไรก็ตาม หากตุลาการไม่อนุญาตให้ร้องสอดเป็นคู่ความที่ 3 ก็จะยื่นรายชื่อเพื่อเป็นพยานเบิกความในคดียุบพรรคอีกครั้ง
รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญแจ้ง ว่า คณะตุลาการได้นัดประชุมเพื่อพิจารณาคำชี้แจงของทั้ง 3 พรรคการเมืองในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 09.30 น. ซึ่งถือเป็นนัดแรกในการประชุมเพื่อพิจารณาคดียุบพรรค แล้วยังได้มีกำหนดนัดพร้อมคู่ความทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายผู้ถูกร้องทั้ง 3 พรรค และฝ่ายผู้ร้องคือ อัยการสูงสุดในวันที่ 26 พ.ย. นี้ เพื่อกำหนดประเด็นการพิจารณาด้วย
สำหรับกระแสข่าวที่พรรคพลังประชาชน จะยื่นคำร้องขอให้นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการรัฐธรรมนูญ ถอนตัวจากการเป็นองค์คณะ เนื่องจากมีอคติกับพรรคพลังประชาชนนั้น ขณะนี้ยังไม่มีคำร้องเข้ามาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีคำร้องของพรรคพลังประชาชนที่มีกรรมการบริหารพรรค ส.ส. และสมาชิกพรรค ขอร้องสอดมาเป็นคู่ความที่ 3 นั้น คณะตุลาการฯไม่อนุญาต เนื่องจากในการร้องสอดของคู่ความนั้นจะสามารถกระทำได้ในกรณีร้องสอดเป็นโจทก์ หรือเป็นจำเลยเท่านั้น ไม่มีช่องทางให้ยื่นร้องสอดมาเป็นคู่ความที่ 3 แต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากพรรคพลังประชาชน ต้องการยื่นรายชื่อกรรมการบริหารพรรคมาเป็นพยานเพื่อให้การว่าไม่รู้เห็นถึงการกระทำของนายยงยุทธ ก็สามารถดำเนินการได้ ในฐานะพยานอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องร้องสอดแต่อย่างใด
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า การยุบพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีการคาดกันว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยยุบพรรคดังกล่าว ภายในเดือน พ.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกระแสข่าวว่า ส.ส.ทั้ง 3 พรรคได้มีการวิ่งล็อบบี้ ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนุญบางท่าน เพื่อเลื่อนการวินิจฉัยออกไปอีก 4-6 เดือน จึงอยากให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระมัดระวัง อย่าตกอยู่ในเกมทางการเมือง