ผู้จัดการ- CPF จับมือหอการค้าญี่ปุ่น มอบทุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ช่วยเด็ก 8 แห่ง
นายสุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ ได้มอบทุนและแม่ไก่ไข่รุ่นแรก สำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียน 8 แห่งในพื้นที่ห่างไกล เพื่อใช้ดำเนิน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน”
ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้เด็กนักเรียนมีไข่ไก่รับประทานเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ฟอง/คน/วัน เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
“โครงการนี้เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งซีพีเอฟ ดำเนินการมาอย่างยาวนานร่วม 20 ปี โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้ให้ความสนใจขอเข้าร่วมโครงการด้วย มาตั้งแต่ปี 2543 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้ร่วมสนับสนุนโครงการในโรงเรียน 48 แห่ง และมีนักเรียนได้รับประโยชน์ 12,730 คนแล้ว”
สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 8 แห่ง ที่ซีพีเอฟจะร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เข้าให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ในปี 2551 ประกอบด้วย โรงเรียนกุดน้ำใสจานบกน้อย อ.ค้อวัง จ.ยโสธร, โรงเรียนบ้านคุ้ม อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร, โรงเรียนบ้านหนองแดง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา, โรงเรียนบ้านหนองม่วง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา, โรงเรียนบ้านเกาะแก้วอนุสรณ์ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร, โรงเรียนบ้านมอสมบูรณ์มิตรภาพที่ 189 อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร, โรงเรียนรุจิรพัฒน์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิต อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การสนับสนุนโครงการในมูลค่ากว่า 200,000 บาทต่อโรงเรียนเช่นนี้ เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่โรงเรียนในชนบทจะแสวงหาการสนับสนุนได้ อีกทั้งปัญหานักเรียนขาดแคลนอาหารกลางวันถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่แม้รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อแก้ไขปัญหานี้แก่โรงเรียนในแต่ละพื้นที่ แต่ก็ยังไม่พอเพียง
ดังนั้น การที่หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ซีพีเอฟ และมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ทั้ง 3 ภาคส่วน เห็นความสำคัญและเข้ามาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาเยาวชนของชาติ
อนึ่ง ในส่วนของซีพีเอฟเอง ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมใน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” โดยสนับสนุนการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศรวม 257 แห่ง ส่งผลให้นักเรียนในชนบทกว่า 50,000 คน มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น และครูกว่า 2,500 คน ได้มีส่วนร่วมอบรมความรู้ของโครงการ และได้นำกิจกรรมไก่ไข่ ไปบูรณาการสู่การเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น นอกจากนี้ แต่ละโรงเรียนยังมีรายได้ค่าอาหารกลางวันสะสม จากการเลี้ยงไก่ไข่ในแต่ละรุ่นเป็นกองทุน สำหรับรุ่นต่อๆ ไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
นายสุปรี เบ้าสิงห์สวย ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น–กรุงเทพฯ ได้มอบทุนและแม่ไก่ไข่รุ่นแรก สำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียน 8 แห่งในพื้นที่ห่างไกล เพื่อใช้ดำเนิน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน”
ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้เด็กนักเรียนมีไข่ไก่รับประทานเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ฟอง/คน/วัน เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
“โครงการนี้เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งซีพีเอฟ ดำเนินการมาอย่างยาวนานร่วม 20 ปี โดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ได้ให้ความสนใจขอเข้าร่วมโครงการด้วย มาตั้งแต่ปี 2543 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้ร่วมสนับสนุนโครงการในโรงเรียน 48 แห่ง และมีนักเรียนได้รับประโยชน์ 12,730 คนแล้ว”
สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 8 แห่ง ที่ซีพีเอฟจะร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เข้าให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ในปี 2551 ประกอบด้วย โรงเรียนกุดน้ำใสจานบกน้อย อ.ค้อวัง จ.ยโสธร, โรงเรียนบ้านคุ้ม อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร, โรงเรียนบ้านหนองแดง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา, โรงเรียนบ้านหนองม่วง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา, โรงเรียนบ้านเกาะแก้วอนุสรณ์ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร, โรงเรียนบ้านมอสมบูรณ์มิตรภาพที่ 189 อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร, โรงเรียนรุจิรพัฒน์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิต อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การสนับสนุนโครงการในมูลค่ากว่า 200,000 บาทต่อโรงเรียนเช่นนี้ เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่โรงเรียนในชนบทจะแสวงหาการสนับสนุนได้ อีกทั้งปัญหานักเรียนขาดแคลนอาหารกลางวันถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่แม้รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อแก้ไขปัญหานี้แก่โรงเรียนในแต่ละพื้นที่ แต่ก็ยังไม่พอเพียง
ดังนั้น การที่หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ซีพีเอฟ และมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท ทั้ง 3 ภาคส่วน เห็นความสำคัญและเข้ามาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาเยาวชนของชาติ
อนึ่ง ในส่วนของซีพีเอฟเอง ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมใน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” โดยสนับสนุนการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศรวม 257 แห่ง ส่งผลให้นักเรียนในชนบทกว่า 50,000 คน มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น และครูกว่า 2,500 คน ได้มีส่วนร่วมอบรมความรู้ของโครงการ และได้นำกิจกรรมไก่ไข่ ไปบูรณาการสู่การเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น นอกจากนี้ แต่ละโรงเรียนยังมีรายได้ค่าอาหารกลางวันสะสม จากการเลี้ยงไก่ไข่ในแต่ละรุ่นเป็นกองทุน สำหรับรุ่นต่อๆ ไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน