นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า การคัดเลือกตัวบุคคลลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (กทม.) น่าจะชัดเจนในเร็วๆ นี้ว่าจะเป็นนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ของพรรคพลังประชาชนหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้สมัครของพรรคได้ลงพื้นที่หาเสียงอย่างเต็มที่
ส่วนที่เป็นห่วงว่านายประภัสร์อาจจะน้อยใจ เนื่องจากการหาเสียงที่ผ่านมา ไม่มีแกนนำพรรคลงไปช่วยหาเสียงนั้น ตนเชื่อว่าคงไม่น้อยใจ แต่หากนายประภัสร์ตัดสินใจไม่ลงสมัคร ทางพรรคคงหาตัวเลือกอื่น ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน พรรคเป็นเพียงผู้เสนอนโยบายและตัวบุคคล และพร้อมยอมรับการตัดสินใจของประชาชน
ด้าน นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานภาค กทม. ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการคัดผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ว่า นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้สมัครฯ ของพรรค มีความเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นคนซื่อตรง สุจริต ยึดมั่นในการทำงาน อย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใส ในส่วนของภาค กทม. มีมติเห็นตรงในการเสนอชื่อนายประภัสร์ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายประภัสร์ ว่าจะสนใจหรือไม่ ต้องรอหลังวันที่ 19 พ.ย. นายประภัสร์จะมีคำตอบที่ชัดเจน เมื่อการลาออกของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีผลเป็นทางการ
ทั้งนี้ หากนายประภัสร์ ตอบตกลงมา พรรคพร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ เบื้องต้นได้มีการพูดคุยกันบ้างแล้ว
ส่วนกรณีที่นายอภิรักษ์ ได้รับคะแนนสูงมากกว่านายประภัสร์นั้น นายสุวัฒน์ กล่าวว่า เป็นธรรมดาของคนที่เคยทำงานในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.มา 4 ปี กับคนที่ยังไม่เคยทำงาน คะแนนย่อมต่างกัน แต่เราไม่สนใจคะแนนดังกล่าว เพราะทุกอย่าง ขึ้นอยู่ที่ประชาชน ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่มีความชัดเจนในตัวผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.นั้น ตนคิดว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพิจารณาจะส่งผู้สมัครมาจาก ส.ส.สัดส่วนหรือ ส.ส.แบ่งเขต แต่ทางพรรคพลังประชาชนไม่มีปัญหา เพราะเราใช้คนนอก ส่วนกรณีคดียุบพรรคจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่ ไม่น่ามีปัญหาอะไร รอให้มีการยุบพรรคค่อยมาว่ากัน
นาย บัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ผู้ว่ากทม. กล่าวถึงข่าวการเสนอชื่อบุคคลลงสมัครผู้ว่ากทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ว่า ตนได้ตรวจรายชื่อที่ได้รับจากเลขาธิการพรรคพรรค เห็นว่ารายชื่อที่เป็นข่าวออกมามีทั้งที่ถูกและไม่ถูก แต่ในส่วนของคนนอกนั้นไม่ได้มีรายชื่อปรากฏตามที่เป็นข่าว
นายบัญญัติกล่าวว่าในกรณีที่มีผู้สมัครที่โดดเด่นมากกว่าคนอื่น คณะกรรมการคัดเลือกฯก็จะเสนอชื่อไปยังคณะกรรมการบริหารพรรคเพียงคนเดียว แต่ถ้ามีผู้สมัครหลายคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมากคณะกรรมการคัดเลือกก็จะเสนอรายชื่อไปมากกว่า1 คน ต่อคณะกรรมการบริหารพรรคพิจารณา
นอกจากนี้คณะกรรมการได้มีการวางกรอบไว้3 ขั้น คือ 1.ผู้ที่พรรคจะส่งลงสมัครนั้นต้องมีความเข้าใจปัญหาของ กทม.และมีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์เพียงพอ ที่จะเข้าไปแก้ปัญหาได้ 2. เนื่องจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ที่ลาออกไปมีมาตรฐานสูงในเรื่องของบริหารดังนั้นผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกจากพรรค จะต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารไม่ด้อยกว่า นายอภิรักษ์ และที่สำคัญจะต้องสามารถเข้าไปสานงานที่นายอภิรักษ์ได้ทำค้างไว้ หรือตั้งใจจะทำ
3.ต้องเป็นคนที่มีภาพพจน์ดีพอสมควร อีกทั้งได้รับการยอมรับจากคนในพรรค และนอกพรรค รวมถึงมีความพร้อมและมีโอกาสสูงที่จะได้รับการเลือกตั้งจากคน กรุงเทพฯ และจะพิจารณาด้วยว่าบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีใดหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาข้อดีข้อเสียโดยละเอียด และเปรียบเทียบ ให้คะแนนกันทุกด้าน เพราะตนมั่นใจว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม .ครั้งนี้น่าจะเข้มข้นมากกว่าครั้งที่แล้ว
อย่างไรก็ตามขณะนี้มีรายชื่อบุคคลประมาณ 4-5 คน ทั้งคนนอกพรรคและในพรรคอย่างละครึ่ง ซึ่งทั้งหมดก็มีคุณสมบัติตามเกณฑ์พิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก และต่างก็สูสีกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการเสนอชื่อขึ้นไปมากกว่าหนึ่งคน
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนนอกมีชื่อของคนที่ปรากฏออกมาเป็นข่าวหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า มีทั้งที่ปรากฏออกมาแล้ว และที่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าว แต่ตนไม่หนักใจเพราะพรรคมีกฎเกณฑ์การพิจารณาอยู่แล้ว และคณะกรรมการฯก็มีหน้าที่เพียงกลั่นกรอง แต่ไม่ใช่ผู้ชี้ขาด
นายบัญญัติกล่าวถึงข่าวการเสนอชื่อนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคว่า มีเสียงสนับสนุนนายกรณ์เข้ามาเยอะ แต่คณะกรรมการคัดเลือกก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง และเป็นหนึ่งที่จะถูกพิจารณาเปรียบเทียบ
นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่มีข่าวว่าผู้สมัครอาจจะเทคะแนนให้กันว่าหากมีการ เทคะแนนให้กับผู้สมัครด้วยกัน ถือเป็นการกระทำที่ผิดหลักการของการเลือกตั้ง และขัดต่อหลักการการปกครองระบอบประชาธิปไตย หากตรวจสอบพบว่ามีข้อเท็จจริง ก็ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เป็นไปด้วยความไม่สุจริต ต้องนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่
ทั้งนี้ก็ต้องดูว่าบุคคลที่เทคะแนนให้เป็นผู้สมัครเหมือนกันหรือไม่ หากเป็นผู้สมัครและมีการเทคะแนนให้กัน ถือเป็นการกระทำที่ผิด แต่หากอดีตผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมารวมกลุ่มเป็นทีมงานเดียวกันและผลักดันบุคคลหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ตรงนี้จะถือว่าไม่ผิด เพราะผู้ว่าฯ กทม. สามารถมีทีมงานที่เป็นรองผู้ว่าฯกทม. ได้ถึง 4 คน รวมถึงเลขานุการส่วนตัวด้วย ตรงนี้จะไม่เข้าข่ายกรณีเทคะแนนให้กัน ไม่ผิดต่อการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมีข้อมูลเกี่ยวกับการเทคะแนน ก็สามารถแจ้งข้อมูลมายัง กกต.ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ลาออกมาสมัครผู้ว่าฯ กทม. จะสามารถเลือกตั้งซ่อมภายในวันเดียวกันกับเลือกผู้ว่าฯ กทม.ได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การที่ส.ส.เขตลาออก กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน ซึ่งต้องดูอีกที่ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวจะตรงกัน หรือใกล้เคียงกันหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่า การเลือกตั้ง ผู้ว่า ฯ และ ส.ส. ใช้กฎหมายคนละฉบับ เกรงว่าเลือกตั้งวันเดียวกันประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่จะเกิดความสับสน เนื่องจากจะต้องใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และการนับคะแนนก็ไม่เหมือนกัน เพราะผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น การนับคะแนน จะไปนับในที่สถานที่รวมคะแนนที่ได้กำหนดไว้ แต่ส.ส.เขตนั้นจะนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ตรงนี้จะทำให้ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการนับคะแนน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็อาจจะต้องดูและนำเข้าสู่การพิจารณาของ กกต.อีกที
ส่วนที่เป็นห่วงว่านายประภัสร์อาจจะน้อยใจ เนื่องจากการหาเสียงที่ผ่านมา ไม่มีแกนนำพรรคลงไปช่วยหาเสียงนั้น ตนเชื่อว่าคงไม่น้อยใจ แต่หากนายประภัสร์ตัดสินใจไม่ลงสมัคร ทางพรรคคงหาตัวเลือกอื่น ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน พรรคเป็นเพียงผู้เสนอนโยบายและตัวบุคคล และพร้อมยอมรับการตัดสินใจของประชาชน
ด้าน นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานภาค กทม. ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการคัดผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ว่า นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้สมัครฯ ของพรรค มีความเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นคนซื่อตรง สุจริต ยึดมั่นในการทำงาน อย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใส ในส่วนของภาค กทม. มีมติเห็นตรงในการเสนอชื่อนายประภัสร์ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายประภัสร์ ว่าจะสนใจหรือไม่ ต้องรอหลังวันที่ 19 พ.ย. นายประภัสร์จะมีคำตอบที่ชัดเจน เมื่อการลาออกของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน มีผลเป็นทางการ
ทั้งนี้ หากนายประภัสร์ ตอบตกลงมา พรรคพร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ เบื้องต้นได้มีการพูดคุยกันบ้างแล้ว
ส่วนกรณีที่นายอภิรักษ์ ได้รับคะแนนสูงมากกว่านายประภัสร์นั้น นายสุวัฒน์ กล่าวว่า เป็นธรรมดาของคนที่เคยทำงานในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.มา 4 ปี กับคนที่ยังไม่เคยทำงาน คะแนนย่อมต่างกัน แต่เราไม่สนใจคะแนนดังกล่าว เพราะทุกอย่าง ขึ้นอยู่ที่ประชาชน ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่มีความชัดเจนในตัวผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.นั้น ตนคิดว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพิจารณาจะส่งผู้สมัครมาจาก ส.ส.สัดส่วนหรือ ส.ส.แบ่งเขต แต่ทางพรรคพลังประชาชนไม่มีปัญหา เพราะเราใช้คนนอก ส่วนกรณีคดียุบพรรคจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่ ไม่น่ามีปัญหาอะไร รอให้มีการยุบพรรคค่อยมาว่ากัน
นาย บัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ผู้ว่ากทม. กล่าวถึงข่าวการเสนอชื่อบุคคลลงสมัครผู้ว่ากทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ว่า ตนได้ตรวจรายชื่อที่ได้รับจากเลขาธิการพรรคพรรค เห็นว่ารายชื่อที่เป็นข่าวออกมามีทั้งที่ถูกและไม่ถูก แต่ในส่วนของคนนอกนั้นไม่ได้มีรายชื่อปรากฏตามที่เป็นข่าว
นายบัญญัติกล่าวว่าในกรณีที่มีผู้สมัครที่โดดเด่นมากกว่าคนอื่น คณะกรรมการคัดเลือกฯก็จะเสนอชื่อไปยังคณะกรรมการบริหารพรรคเพียงคนเดียว แต่ถ้ามีผู้สมัครหลายคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมากคณะกรรมการคัดเลือกก็จะเสนอรายชื่อไปมากกว่า1 คน ต่อคณะกรรมการบริหารพรรคพิจารณา
นอกจากนี้คณะกรรมการได้มีการวางกรอบไว้3 ขั้น คือ 1.ผู้ที่พรรคจะส่งลงสมัครนั้นต้องมีความเข้าใจปัญหาของ กทม.และมีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์เพียงพอ ที่จะเข้าไปแก้ปัญหาได้ 2. เนื่องจากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ที่ลาออกไปมีมาตรฐานสูงในเรื่องของบริหารดังนั้นผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกจากพรรค จะต้องเป็นคนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารไม่ด้อยกว่า นายอภิรักษ์ และที่สำคัญจะต้องสามารถเข้าไปสานงานที่นายอภิรักษ์ได้ทำค้างไว้ หรือตั้งใจจะทำ
3.ต้องเป็นคนที่มีภาพพจน์ดีพอสมควร อีกทั้งได้รับการยอมรับจากคนในพรรค และนอกพรรค รวมถึงมีความพร้อมและมีโอกาสสูงที่จะได้รับการเลือกตั้งจากคน กรุงเทพฯ และจะพิจารณาด้วยว่าบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีใดหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาข้อดีข้อเสียโดยละเอียด และเปรียบเทียบ ให้คะแนนกันทุกด้าน เพราะตนมั่นใจว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม .ครั้งนี้น่าจะเข้มข้นมากกว่าครั้งที่แล้ว
อย่างไรก็ตามขณะนี้มีรายชื่อบุคคลประมาณ 4-5 คน ทั้งคนนอกพรรคและในพรรคอย่างละครึ่ง ซึ่งทั้งหมดก็มีคุณสมบัติตามเกณฑ์พิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก และต่างก็สูสีกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการเสนอชื่อขึ้นไปมากกว่าหนึ่งคน
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนนอกมีชื่อของคนที่ปรากฏออกมาเป็นข่าวหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า มีทั้งที่ปรากฏออกมาแล้ว และที่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าว แต่ตนไม่หนักใจเพราะพรรคมีกฎเกณฑ์การพิจารณาอยู่แล้ว และคณะกรรมการฯก็มีหน้าที่เพียงกลั่นกรอง แต่ไม่ใช่ผู้ชี้ขาด
นายบัญญัติกล่าวถึงข่าวการเสนอชื่อนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคว่า มีเสียงสนับสนุนนายกรณ์เข้ามาเยอะ แต่คณะกรรมการคัดเลือกก็ต้องพิจารณาอีกครั้ง และเป็นหนึ่งที่จะถูกพิจารณาเปรียบเทียบ
นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่มีข่าวว่าผู้สมัครอาจจะเทคะแนนให้กันว่าหากมีการ เทคะแนนให้กับผู้สมัครด้วยกัน ถือเป็นการกระทำที่ผิดหลักการของการเลือกตั้ง และขัดต่อหลักการการปกครองระบอบประชาธิปไตย หากตรวจสอบพบว่ามีข้อเท็จจริง ก็ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เป็นไปด้วยความไม่สุจริต ต้องนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่
ทั้งนี้ก็ต้องดูว่าบุคคลที่เทคะแนนให้เป็นผู้สมัครเหมือนกันหรือไม่ หากเป็นผู้สมัครและมีการเทคะแนนให้กัน ถือเป็นการกระทำที่ผิด แต่หากอดีตผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมารวมกลุ่มเป็นทีมงานเดียวกันและผลักดันบุคคลหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ตรงนี้จะถือว่าไม่ผิด เพราะผู้ว่าฯ กทม. สามารถมีทีมงานที่เป็นรองผู้ว่าฯกทม. ได้ถึง 4 คน รวมถึงเลขานุการส่วนตัวด้วย ตรงนี้จะไม่เข้าข่ายกรณีเทคะแนนให้กัน ไม่ผิดต่อการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมีข้อมูลเกี่ยวกับการเทคะแนน ก็สามารถแจ้งข้อมูลมายัง กกต.ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ลาออกมาสมัครผู้ว่าฯ กทม. จะสามารถเลือกตั้งซ่อมภายในวันเดียวกันกับเลือกผู้ว่าฯ กทม.ได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า การที่ส.ส.เขตลาออก กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน ซึ่งต้องดูอีกที่ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวจะตรงกัน หรือใกล้เคียงกันหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่า การเลือกตั้ง ผู้ว่า ฯ และ ส.ส. ใช้กฎหมายคนละฉบับ เกรงว่าเลือกตั้งวันเดียวกันประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่จะเกิดความสับสน เนื่องจากจะต้องใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และการนับคะแนนก็ไม่เหมือนกัน เพราะผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น การนับคะแนน จะไปนับในที่สถานที่รวมคะแนนที่ได้กำหนดไว้ แต่ส.ส.เขตนั้นจะนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ตรงนี้จะทำให้ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการนับคะแนน อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็อาจจะต้องดูและนำเข้าสู่การพิจารณาของ กกต.อีกที