เอเจนซี - ผลศึกษาชี้การฟังเพลงโปรดช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น เนื่องจากเพลงที่ฟังแล้วเป็นสุขช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ในสหรัฐฯ ยังยืนยันว่าเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกดีส่งผลดีต่อหัวใจมากกว่าการหัวเราะ
ในทางกลับกัน การฟังเพลง ‘หนักๆ’ เช่น เพลงในแนวเฮฟวีเมทัล อาจทำให้เส้นเลือดหดตัวและส่งผลร้ายต่อหัวใจ
นักวิจัยอธิบายว่าปัจจัยสำคัญของเรื่องนี้น่าจะมาจากการที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขออกมา
ด้วยเหตุที่การวิจัยนี้จัดทำขึ้นในสหรัฐฯ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จึงเลือกเพลงคันทรีในสไตล์จอห์น เดนเวอร์ และเมื่อถามถึงเพลงที่ฟังแล้วเครียด คำตอบส่วนใหญ่คือเพลงเฮฟวีเมทัล
กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนี้เป็นอาสาสมัครสุขภาพดีที่ไม่สูบบุหรี่ 10 คน โดยนักวิจัยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจสอบการทำงานของหลอดเลือดบริเวณต้นแขนของอาสาสมัคร
ทั้งนี้ เมื่อเลือดไหลเวียนไปสู่หัวใจมากขึ้น เส้นเลือดจะขยายตัวมากขึ้น ขณะที่หลอดเลือดที่ไม่สมบูรณ์จะไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจส่งผลลบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
นักวิจัยพบว่าเมื่อฟังเพลงที่ถูกใจ หลอดเลือดของอาสาสมัครจะเปิดกว้างขึ้น 26% จากระดับเฉลี่ยเมื่อไม่ได้ฟังเพลง ขณะที่การฟังเพลงที่อาสาสมัครลงความเห็นว่าฟังแล้วเศร้าหรือเครียด ทำให้หลอดเลือดหดตัว 6%
หลังจากนั้น นักวิจัยนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลลัพธ์จากการหัวเราะและการดูหนังตลก รวมถึงการฟังเทปเสียงที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ทั้งนี้ การดูหนังตลกทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มขึ้น 19% และ 11% สำหรับการฟังเทปเสียง
“เมื่อสามปีก่อนเราเคยทดสอบให้เห็นว่าอารมณ์ที่เบิกบาน เช่น การหัวเราะ ดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น คำถามที่ตามมาก็คือ อารมณ์อื่นๆ เช่น อารมณ์ที่เกิดจากการฟังเพลง จะส่งผลแบบเดียวกันหรือไม่
“เรารู้ว่าแต่ละคนย่อมมีปฏิกิริยาต่อเพลงประเภทต่างๆ แตกต่างกันไป ในการศึกษานี้ เราจึงอนุญาตให้อาสาสมัครเลือกเพลงตามความชอบและความไม่ชอบ” ดร.ไมเคิล มิลเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคหัวใจ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย อธิบายและเสริมว่าประเภทของเพลงไม่มีนัยสำคัญแต่อย่างใดตราบที่เพลงๆ นั้นทำให้คนฟัง ‘รู้สึกดี’
“เราต่างชอบไม่เหมือนกัน จึงมีปฏิกิริยาต่างกัน ผมชอบเพลงคันทรี ผมจึงรู้สึกดีที่รู้ว่าเพลงคันทรีทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ในทางที่ดี
“เราไม่เข้าใจว่าทำไมคนบางคนถึงหลงใหลเพลงคลาสสิก เพราะไม่มีเนื้อร้องสักคำ และก็ไม่มีจังหวะจะโคน เราจึงเชื่อว่า ท่วงทำนองและความกลมกลืนอาจมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองของอารมณ์และระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
ดร.มิลเลอร์ทิ้งท้ายว่า ผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้กลยุทธ์การปกป้องที่สำคัญที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
อนึ่ง ผลการศึกษานี้นำเสนอต่อที่ประชุมสมาคมหัวใจแห่งอเมริกาประจำปี 2008 ที่จัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (12)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ในสหรัฐฯ ยังยืนยันว่าเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกดีส่งผลดีต่อหัวใจมากกว่าการหัวเราะ
ในทางกลับกัน การฟังเพลง ‘หนักๆ’ เช่น เพลงในแนวเฮฟวีเมทัล อาจทำให้เส้นเลือดหดตัวและส่งผลร้ายต่อหัวใจ
นักวิจัยอธิบายว่าปัจจัยสำคัญของเรื่องนี้น่าจะมาจากการที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขออกมา
ด้วยเหตุที่การวิจัยนี้จัดทำขึ้นในสหรัฐฯ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จึงเลือกเพลงคันทรีในสไตล์จอห์น เดนเวอร์ และเมื่อถามถึงเพลงที่ฟังแล้วเครียด คำตอบส่วนใหญ่คือเพลงเฮฟวีเมทัล
กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนี้เป็นอาสาสมัครสุขภาพดีที่ไม่สูบบุหรี่ 10 คน โดยนักวิจัยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจสอบการทำงานของหลอดเลือดบริเวณต้นแขนของอาสาสมัคร
ทั้งนี้ เมื่อเลือดไหลเวียนไปสู่หัวใจมากขึ้น เส้นเลือดจะขยายตัวมากขึ้น ขณะที่หลอดเลือดที่ไม่สมบูรณ์จะไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจส่งผลลบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
นักวิจัยพบว่าเมื่อฟังเพลงที่ถูกใจ หลอดเลือดของอาสาสมัครจะเปิดกว้างขึ้น 26% จากระดับเฉลี่ยเมื่อไม่ได้ฟังเพลง ขณะที่การฟังเพลงที่อาสาสมัครลงความเห็นว่าฟังแล้วเศร้าหรือเครียด ทำให้หลอดเลือดหดตัว 6%
หลังจากนั้น นักวิจัยนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลลัพธ์จากการหัวเราะและการดูหนังตลก รวมถึงการฟังเทปเสียงที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ทั้งนี้ การดูหนังตลกทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพิ่มขึ้น 19% และ 11% สำหรับการฟังเทปเสียง
“เมื่อสามปีก่อนเราเคยทดสอบให้เห็นว่าอารมณ์ที่เบิกบาน เช่น การหัวเราะ ดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น คำถามที่ตามมาก็คือ อารมณ์อื่นๆ เช่น อารมณ์ที่เกิดจากการฟังเพลง จะส่งผลแบบเดียวกันหรือไม่
“เรารู้ว่าแต่ละคนย่อมมีปฏิกิริยาต่อเพลงประเภทต่างๆ แตกต่างกันไป ในการศึกษานี้ เราจึงอนุญาตให้อาสาสมัครเลือกเพลงตามความชอบและความไม่ชอบ” ดร.ไมเคิล มิลเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคหัวใจ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย อธิบายและเสริมว่าประเภทของเพลงไม่มีนัยสำคัญแต่อย่างใดตราบที่เพลงๆ นั้นทำให้คนฟัง ‘รู้สึกดี’
“เราต่างชอบไม่เหมือนกัน จึงมีปฏิกิริยาต่างกัน ผมชอบเพลงคันทรี ผมจึงรู้สึกดีที่รู้ว่าเพลงคันทรีทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ในทางที่ดี
“เราไม่เข้าใจว่าทำไมคนบางคนถึงหลงใหลเพลงคลาสสิก เพราะไม่มีเนื้อร้องสักคำ และก็ไม่มีจังหวะจะโคน เราจึงเชื่อว่า ท่วงทำนองและความกลมกลืนอาจมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองของอารมณ์และระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
ดร.มิลเลอร์ทิ้งท้ายว่า ผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้กลยุทธ์การปกป้องที่สำคัญที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
อนึ่ง ผลการศึกษานี้นำเสนอต่อที่ประชุมสมาคมหัวใจแห่งอเมริกาประจำปี 2008 ที่จัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (12)