ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) รังสิต วานนี้ (13 พ.ย.) ได้จัดงาน TU RESEARTH Forum 2008 ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการ แสดงผลงานวิจัยของ มธ. โดยในเวทีวิจัย มธ. มีการแสดงผลงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่อง การแทรกแซงสื่อสาธารณะของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 2548 โดย ผศ.รุจน์ โกมลบุตร อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. โดยศึกษาเนื้อหาการนำเสนอข่าว เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ในหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ได้แก่ กรุงเทพธุรกิจ เดลินิวส์ และโพสต์ทูเดย์ ระหว่างวันที่ 10 มี.ค.ถึง 31 ธ.ค.48 สมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เริ่มดำรงตำแหน่งนายกฯ สมัยที่ 2 พร้อมทั้งใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ ในหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับ จำนวน 6 คน แต่ขอปกปิดรายชื่อ
ผศ.รุจน์ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอ การจัดอันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก โดยรีพอตเตอร์, with out ,borders ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ที่มุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสาร ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 พบว่า ในปี 2544 อันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยอยู่ลำดับที่ 65 จาก 139 ประเทศ และไทยถูกปรับลดเสรีภาพอยู่ลำดับที่ 135 จาก 169 ประเทศ ในปี 2549 (2 รัฐบาล) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย เริ่มลดลงอย่างรุนแรงในปี 2547-2548 ที่สื่อพยายามเสนอเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวมาลายูมุสลิมในภาคใต้ และ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มฟ้องร้องหมิ่นประมาทสื่อจำนวนมาก สั่งปิดวิทยุชุมชน ที่วิจารณ์รัฐบาล และในปี 2549 ของรัฐบาลทักษิณ มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 6 คน ถูกทำร้ายร่างกาย และอย่างน้อย 5 คน ที่เชื่อว่ารัฐบาลกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง
จากการศึกษาเรื่องการแทรกแซงสื่อ พบว่าวิธีการแทรกแซงสื่อในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 มี 24 วิธี ได้แก่ 1. ขอร้อง เตือน พูดขู่ พูดท้าทายสื่อ 2. เสียดสี ประชด เปรียบเปรย 3. พูดสั่งสื่อ 4. อ้างชาติ 5. ลดความน่าเชื่อถือ 6. ไม่ตอบคำถาม หรือตอบไม่ตรงคำถาม 7. ปั่นข่าว สร้างข่าวอื่นกลบ 8. ใช้ตัวแทนในการแทรกแซง (ร่างทรง) 9. ใช้ข้อมูลเท็จ 10. ใช้ขบวนการศาล
11. แทรกแซงการพูดของแหล่งข่าว 12.แทรกแซงการบริหารงานของสื่อ 13. เข้าช่วงชิงความเป็นเจ้าของในระยะยาว 14 แทรกแซงการเงิน การโฆษณาของสื่อ 15. แทรกแซงหน่วยงานอิสระ 16. ละเว้นหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ 17.สั่งตรวจสอบองค์กรสื่อ และสั่งค้นองค์กรสื่อ 18. สั่งปิดองค์กรสื่อ 19. ห้ามจำหน่ายจ่ายแจก 20. ใช้กฎหมาย ระเบียบ หรือมติ ครม.สร้างกฎขึ้นมาใหม่ 21 การใช้มวลชนปิดล้อมสื่อ 22.การปาละเปิดใส่องค์กรสื่อ 23. การขู่ฆ่าบุคลากรด้านสื่อ และ 24. จัดตั้งผู้อ่านเพื่อตอบโต้สื่อ
ผศ.รุจน์ ได้ยกตัวอย่างการแทรกแซงสื่อสมัยทักษิณ 2 เช่น การขู่ฆ่าบุคลากร ด้านสื่อ โดยสัมภาษณ์ผู้ข่าวอาวุโส ฝ่ายการเมือง (ขอสงวนนาม) เดลินิวส์ ที่ระบุว่า เคยถูกขู่ฆ่า 2 ครั้ง เพื่อให้เลิกวิจารณ์รัฐบาล หรือการจัดตั้งผู้อ่านเพื่อตอบโต้สื่อ โดยผู้สื่อข่าวอาวุโส กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า ช่วงที่มีการเสนอข่าวการชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณ กองบรรณาธิการ ได้รับจดหมายตอบโต้จากผู้อ่านจำนวนมาก โดยไม่มีชื่อผู้ส่ง แต่เมื่อพิจารณาพบว่า จดหมายเกือบทั้งหมดมีลายมือคล้ายกัน และมาจากอำเภอรอบนอกที่ นสพ.กรุงเทพธุรกิจส่งไปไม่ถึง การพูดขู่หรือท้าผู้สื่อข่าว
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวภาคสนามของสำนักข่าวเนชั่น ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้สื่อข่าวจะถูกตวาดกลับเป็นประจำเมื่อถามเรื่องปัญหาความไม่สงบภาคใต้ เช่น คุณเดินมาจาก มหาวิทยาลัยสดๆ เลยใช่ไหม ร้อนแรงมากใช่ไหม ผมรู้จักดีหัวหน้าคุณเป็นใคร ฯลฯ
ประชาชนไม่รู้สึกว่านายกตวาดนักข่าว เพราะไม่เป็นข่าวและมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยมาก นอกจากนี้นายกฯ ครม.ทักษิณ 2 ก็ชอบใช้แบบนี้ เรื่องการปั่นข่าวที่เห็นได้ชัด คือ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจปี 2547 พ.ต.ท.ทักษิณประกาศซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พูล เพื่อกลบขาวการอภิปราย แต่เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ก็ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าว”
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปาระเบิดใส่องค์กรสื่อ วันที่ 3 พ.ย.48 มีการปาระเบิดเข้าไปในสำนักงาน ผู้จัดการ และการใช้มวลชนปิดล้อม สำนักงาน นสพ.เดอะเนชั่น ผู้จัดการ แนวหน้า ฯลฯ เมื่อผู้สื่อข่าว นำประเด็นดังกล่าวไปถาม ก็ได้รับคำตอบว่า ก็เนชั่นคุกคามผมมาตั้ง 5 ปีแล้วนี่
อีกทั้งยังมีการอ้างชาติ รักชาติ เพื่อให้สื่อทำหน้าที่ เช่น กรณีหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เสนอข่าวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดรอยร้าว วันที่ 9 ส.ค.48 ทักษิณ กล่าวในเดลินิวส์ว่า บางกอกโพสต์ เป็นหนังสือพิมพ์สัญญาชาติไทย ทำไมลงข่าวไม่จริง สร้างประเด็นอย่างนี้ จะทำอะไรขอให้คำนึงถึงประเทศชาติบ้าง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ใช้ศาลฟ้องร้องสื่อมวลชนจำนวนมาก เช่น ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 1 พันล้านบาท และฟ้องไทยโพสต์ กรณีเสนอข่าว สินบนคาปาก ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผศ.รุจน์ ยังได้รวบรวมข้อมูล รูปแบบการแทรกแซงสื่อสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งมีการแทรกแซงสื่อน้อยกว่า โดยมุ่งสร้างบรรยากาศสงบเรียบร้อย เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป โดยวิธีการแทรกแซงมีดังนี้ 1. ปิดสถานีวิทยุ 300 แห่งที่เคยเชียร์รัฐบาลทักษิณ ควบคุมไอทีวี ควบคุมสื่อออนไลน์ ล็อกสำนักข่าวต่างประเทศที่แพร่ภาพการให้สัมภาษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ การสร้างบรรยากาศให้สื่อมวลชนเซ็นเซอร์ตัวเอง
สำหรับข้อเสนอแนะที่น่าใจ ในผลงานชิ้นนี้ สำหรับสื่อมวลชนเอง ผู้วิจัยเสนอว่า สื่อมวลชนควรประกาศนโยบายของกองบรรณาธิการให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ หากมีนโยบายที่จะนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน และมุ่งตรวจสอบรัฐบาล เพื่อที่ประชาชน จะได้เลือกรับสาร และเข้าไปมีส่วนร่วม เป็น 1 ใน กลไกสังคม เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากรัฐบาลได้
ผศ.รุจน์ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอ การจัดอันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก โดยรีพอตเตอร์, with out ,borders ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ที่มุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสาร ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 พบว่า ในปี 2544 อันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยอยู่ลำดับที่ 65 จาก 139 ประเทศ และไทยถูกปรับลดเสรีภาพอยู่ลำดับที่ 135 จาก 169 ประเทศ ในปี 2549 (2 รัฐบาล) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย เริ่มลดลงอย่างรุนแรงในปี 2547-2548 ที่สื่อพยายามเสนอเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวมาลายูมุสลิมในภาคใต้ และ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มฟ้องร้องหมิ่นประมาทสื่อจำนวนมาก สั่งปิดวิทยุชุมชน ที่วิจารณ์รัฐบาล และในปี 2549 ของรัฐบาลทักษิณ มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 6 คน ถูกทำร้ายร่างกาย และอย่างน้อย 5 คน ที่เชื่อว่ารัฐบาลกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง
จากการศึกษาเรื่องการแทรกแซงสื่อ พบว่าวิธีการแทรกแซงสื่อในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 มี 24 วิธี ได้แก่ 1. ขอร้อง เตือน พูดขู่ พูดท้าทายสื่อ 2. เสียดสี ประชด เปรียบเปรย 3. พูดสั่งสื่อ 4. อ้างชาติ 5. ลดความน่าเชื่อถือ 6. ไม่ตอบคำถาม หรือตอบไม่ตรงคำถาม 7. ปั่นข่าว สร้างข่าวอื่นกลบ 8. ใช้ตัวแทนในการแทรกแซง (ร่างทรง) 9. ใช้ข้อมูลเท็จ 10. ใช้ขบวนการศาล
11. แทรกแซงการพูดของแหล่งข่าว 12.แทรกแซงการบริหารงานของสื่อ 13. เข้าช่วงชิงความเป็นเจ้าของในระยะยาว 14 แทรกแซงการเงิน การโฆษณาของสื่อ 15. แทรกแซงหน่วยงานอิสระ 16. ละเว้นหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ 17.สั่งตรวจสอบองค์กรสื่อ และสั่งค้นองค์กรสื่อ 18. สั่งปิดองค์กรสื่อ 19. ห้ามจำหน่ายจ่ายแจก 20. ใช้กฎหมาย ระเบียบ หรือมติ ครม.สร้างกฎขึ้นมาใหม่ 21 การใช้มวลชนปิดล้อมสื่อ 22.การปาละเปิดใส่องค์กรสื่อ 23. การขู่ฆ่าบุคลากรด้านสื่อ และ 24. จัดตั้งผู้อ่านเพื่อตอบโต้สื่อ
ผศ.รุจน์ ได้ยกตัวอย่างการแทรกแซงสื่อสมัยทักษิณ 2 เช่น การขู่ฆ่าบุคลากร ด้านสื่อ โดยสัมภาษณ์ผู้ข่าวอาวุโส ฝ่ายการเมือง (ขอสงวนนาม) เดลินิวส์ ที่ระบุว่า เคยถูกขู่ฆ่า 2 ครั้ง เพื่อให้เลิกวิจารณ์รัฐบาล หรือการจัดตั้งผู้อ่านเพื่อตอบโต้สื่อ โดยผู้สื่อข่าวอาวุโส กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า ช่วงที่มีการเสนอข่าวการชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณ กองบรรณาธิการ ได้รับจดหมายตอบโต้จากผู้อ่านจำนวนมาก โดยไม่มีชื่อผู้ส่ง แต่เมื่อพิจารณาพบว่า จดหมายเกือบทั้งหมดมีลายมือคล้ายกัน และมาจากอำเภอรอบนอกที่ นสพ.กรุงเทพธุรกิจส่งไปไม่ถึง การพูดขู่หรือท้าผู้สื่อข่าว
นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวภาคสนามของสำนักข่าวเนชั่น ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้สื่อข่าวจะถูกตวาดกลับเป็นประจำเมื่อถามเรื่องปัญหาความไม่สงบภาคใต้ เช่น คุณเดินมาจาก มหาวิทยาลัยสดๆ เลยใช่ไหม ร้อนแรงมากใช่ไหม ผมรู้จักดีหัวหน้าคุณเป็นใคร ฯลฯ
ประชาชนไม่รู้สึกว่านายกตวาดนักข่าว เพราะไม่เป็นข่าวและมีพฤติกรรมแบบนี้บ่อยมาก นอกจากนี้นายกฯ ครม.ทักษิณ 2 ก็ชอบใช้แบบนี้ เรื่องการปั่นข่าวที่เห็นได้ชัด คือ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจปี 2547 พ.ต.ท.ทักษิณประกาศซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พูล เพื่อกลบขาวการอภิปราย แต่เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ก็ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าว”
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปาระเบิดใส่องค์กรสื่อ วันที่ 3 พ.ย.48 มีการปาระเบิดเข้าไปในสำนักงาน ผู้จัดการ และการใช้มวลชนปิดล้อม สำนักงาน นสพ.เดอะเนชั่น ผู้จัดการ แนวหน้า ฯลฯ เมื่อผู้สื่อข่าว นำประเด็นดังกล่าวไปถาม ก็ได้รับคำตอบว่า ก็เนชั่นคุกคามผมมาตั้ง 5 ปีแล้วนี่
อีกทั้งยังมีการอ้างชาติ รักชาติ เพื่อให้สื่อทำหน้าที่ เช่น กรณีหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เสนอข่าวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดรอยร้าว วันที่ 9 ส.ค.48 ทักษิณ กล่าวในเดลินิวส์ว่า บางกอกโพสต์ เป็นหนังสือพิมพ์สัญญาชาติไทย ทำไมลงข่าวไม่จริง สร้างประเด็นอย่างนี้ จะทำอะไรขอให้คำนึงถึงประเทศชาติบ้าง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ใช้ศาลฟ้องร้องสื่อมวลชนจำนวนมาก เช่น ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 1 พันล้านบาท และฟ้องไทยโพสต์ กรณีเสนอข่าว สินบนคาปาก ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผศ.รุจน์ ยังได้รวบรวมข้อมูล รูปแบบการแทรกแซงสื่อสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งมีการแทรกแซงสื่อน้อยกว่า โดยมุ่งสร้างบรรยากาศสงบเรียบร้อย เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป โดยวิธีการแทรกแซงมีดังนี้ 1. ปิดสถานีวิทยุ 300 แห่งที่เคยเชียร์รัฐบาลทักษิณ ควบคุมไอทีวี ควบคุมสื่อออนไลน์ ล็อกสำนักข่าวต่างประเทศที่แพร่ภาพการให้สัมภาษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ การสร้างบรรยากาศให้สื่อมวลชนเซ็นเซอร์ตัวเอง
สำหรับข้อเสนอแนะที่น่าใจ ในผลงานชิ้นนี้ สำหรับสื่อมวลชนเอง ผู้วิจัยเสนอว่า สื่อมวลชนควรประกาศนโยบายของกองบรรณาธิการให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ หากมีนโยบายที่จะนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน และมุ่งตรวจสอบรัฐบาล เพื่อที่ประชาชน จะได้เลือกรับสาร และเข้าไปมีส่วนร่วม เป็น 1 ใน กลไกสังคม เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากรัฐบาลได้