เอเอฟพี – มือบึ้มที่เป็นพวกอิสลามิสต์ในอินโดนีเซียจำนวน 3 คน ซึ่งก่อเหตุระเบิดครั้งร้ายแรงบนเกาะบาหลีจนคร่าชีวิตผู้คนไป 202 คน ได้ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแล้วเมื่อย่างเข้าวันใหม่วันอาทิตย์(9) จุดชนวนให้กลุ่มสุดขั้วประกาศแก้แค้นระลอกใหม่ ด้านออสเตรเลียและสหรัฐฯ เตือนประชาชนชั่งใจให้ดีหากต้องเดินทางไปอินโดนีเซีย
“เมื่อเวลา 00.15 น. วันอาทิตย์ (ตรงกันกับเวลาเมืองไทย) นักโทษประหารชีวิต 3 รายคือ อัมโรซี, มุคลัส และอิมาม สมุทรา ได้ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า และจากผลการชันสูตรพลิกศพ ผู้ต้องหาทั้งสามเสียชีวิตแล้ว” จัสมัน ปันไจตัน โฆษกสำนักงานอัยการระบุ
เขาบอกด้วยว่า ผู้ต้องโทษทั้งสามต่างปฏิเสธไม่ให้ใช้ผ้าผูกตา แต่ก็ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ประหารชีวิตเป็นอย่างดี และไม่ได้มีการต่อต้านใดๆ เลย ขณะที่ครอบครัวของพวกเขาก็ให้ความร่วมมือเช่นกันและแสดงออกซึ่งความจริงใจ
โทรทัศน์ท้องถิ่นของอินโดนีเซียรายงานว่า อัมโรซีอายุ 47 ปี กับมุคลัสพี่ชายวัย 48 ปี และหัวหน้ากลุ่มคืออิมาม สมุทรา วัย 38 ปี ถูกยิงที่หัวใจ ในบริเวณใกล้กับเรือนจำบนเกาะนุซากัมบันกัน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของชวา
แหล่งข่าวจากเรือนจำผู้หนึ่งเล่าว่า นักโทษทั้งสามตะโกนว่า “อัลลาฮุอักบัร” (พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) ในขณะที่พวกเขาถูกนำตัวออกจากห้องขังเดี่ยวในช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันเสาร์ และแม้จนวาระสุดท้าย พวกเขาก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกเสียใจต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากการระเบิดที่เป็น “พวกนอกศาสนา” โดยประกาศว่าต้องการสละชีวิตเพื่อบรรลุตามความฝันของคอลีฟะห์ที่ต้องการให้ศาสนาแผ่ขยายออกไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านผู้รอดชีวิตและครอบครัวของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายต่างแสดงความคิดเห็นที่ผสมปนเปกันโดยมีทั้งที่รู้สึกโล่งอกและที่เสียใจกับข่าวดังกล่าว
เหตุการณ์ระเบิดที่บาหลีเกิดขึ้นในปี 2002 ทำให้มีชาวต่างชาติเสียชีวิตไปกว่า 160 คนเป็นชาวออสเตรเลีย 88 คน และมีชาวอินโดนีเซียเสียชีวิตไป 38 คน ส่วนมือระเบิดทั้งสามเป็นสมาชิกของเครือข่ายก่อการร้ายญะมะอาห์ อิสลามิยะห์(เจไอ) ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายระดับภูมิภาคนี้ที่ถูกระบุว่าพัวพันกับอัลกออิดะห์ พวกเขาถูกตัดสินโทษเมื่อปี 2003 แต่ได้ยื่นคัดค้านคำตัดสินอย่างน้อยสี่ครั้งซึ่งล้วนไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้การลงโทษประหารชีวิตเลื่อนไปจนกระทั่งถึงตอนนี้ และสื่อมวลชนต่างก็จับตากรณีนี้กันอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำร่างของมุคลัสและอัมโรซีขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังหมู่บ้านเต็งกูลันในชวาตะวันออก ได้เกิดปะทะกับผู้สนับสนุนหลายร้อยคนเล็กน้อย ส่วนที่เมืองเซรังในชวาตะวันตกก็เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่นำร่างของสมุทราไปยังหลุมฝังศพ
“คงจะมีการแก้แค้นเกิดขึ้นแน่ ที่แน่ๆ ก็คือเลือดของมุสลิมจะไม่เสียไปเปล่า” กานนา วัย 26 ปี ซึ่งเดินทางไกลถึง 90 กิโลเมตร จากจาการ์ตามายังเซรังเพื่อร่วมชุมนุมในครั้งนี้ กล่าว
ทว่า ชาวมุสลิมในอินโดนีเซียส่วนใหญ่ไม่สู้จะเห็นใจกลุ่มผู้ก่อการร้ายเท่าไรนัก ดังที่ชายผู้หนึ่งกล่าวในพิธีศพของสมุทราว่าการทำ “ญิฮาด” ของมือระเบิดทั้งสามนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะ “หากมีสงคราม การทำญิฮาดเพื่อต่อสู้เป็นสิ่งที่ถูกตามหลักศาสนา แต่อย่ามาทำที่อินโดนีเซียเลย บาหลีไม่ใช่สนามรบ”
ทางการอินโดนีเซียได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นในบริเวณพื้นที่อ่อนไหว เช่น ตามสถานทูต แห่ลงท่องเที่ยว ย่านจับจ่ายซื้อของและท่าเรือต่างๆ ส่วนที่เกาะบาหลี เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3,500 คนได้ออกตรวจรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดขึ้นเช่นกัน
ด้านออสเตรเลียและสหรัฐฯ ต่างก็เตือนประชาชนให้พิจารณาให้รอบคอบหากต้องเดินทางไปอินโดนีเซีย โดย เควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวว่านี่เป็นเวลาที่จะต้องจดจำ ทั้งเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและผู้รอดชีวิตจากเหตุโจมตีเลือดดังกล่าว เพราะ “เหตุฆาตกรรมครั้งนั้นทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และทุกวันนี้ก็ยังคงไม่เข้าร่องเข้ารอย”
มือระเบิดทั้งสามถูกตัดสินโทษประหารชีวิตตามกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ทำให้กลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนออกมาวิพากษ์วิจารณ์และยังทำให้ผู้สนับสนุนแนวทางอิสลามิสต์โกรธแค้นมากยิ่งขึ้น
ส่วนองค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่าการยิงเป้านักโทษครั้งนี้ควรเป็นการลงโทษประหารชีวิตครั้งสุดท้ายของอินโดนีเซีย
“เมื่อเวลา 00.15 น. วันอาทิตย์ (ตรงกันกับเวลาเมืองไทย) นักโทษประหารชีวิต 3 รายคือ อัมโรซี, มุคลัส และอิมาม สมุทรา ได้ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า และจากผลการชันสูตรพลิกศพ ผู้ต้องหาทั้งสามเสียชีวิตแล้ว” จัสมัน ปันไจตัน โฆษกสำนักงานอัยการระบุ
เขาบอกด้วยว่า ผู้ต้องโทษทั้งสามต่างปฏิเสธไม่ให้ใช้ผ้าผูกตา แต่ก็ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ประหารชีวิตเป็นอย่างดี และไม่ได้มีการต่อต้านใดๆ เลย ขณะที่ครอบครัวของพวกเขาก็ให้ความร่วมมือเช่นกันและแสดงออกซึ่งความจริงใจ
โทรทัศน์ท้องถิ่นของอินโดนีเซียรายงานว่า อัมโรซีอายุ 47 ปี กับมุคลัสพี่ชายวัย 48 ปี และหัวหน้ากลุ่มคืออิมาม สมุทรา วัย 38 ปี ถูกยิงที่หัวใจ ในบริเวณใกล้กับเรือนจำบนเกาะนุซากัมบันกัน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของชวา
แหล่งข่าวจากเรือนจำผู้หนึ่งเล่าว่า นักโทษทั้งสามตะโกนว่า “อัลลาฮุอักบัร” (พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) ในขณะที่พวกเขาถูกนำตัวออกจากห้องขังเดี่ยวในช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันเสาร์ และแม้จนวาระสุดท้าย พวกเขาก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกเสียใจต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากการระเบิดที่เป็น “พวกนอกศาสนา” โดยประกาศว่าต้องการสละชีวิตเพื่อบรรลุตามความฝันของคอลีฟะห์ที่ต้องการให้ศาสนาแผ่ขยายออกไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านผู้รอดชีวิตและครอบครัวของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายต่างแสดงความคิดเห็นที่ผสมปนเปกันโดยมีทั้งที่รู้สึกโล่งอกและที่เสียใจกับข่าวดังกล่าว
เหตุการณ์ระเบิดที่บาหลีเกิดขึ้นในปี 2002 ทำให้มีชาวต่างชาติเสียชีวิตไปกว่า 160 คนเป็นชาวออสเตรเลีย 88 คน และมีชาวอินโดนีเซียเสียชีวิตไป 38 คน ส่วนมือระเบิดทั้งสามเป็นสมาชิกของเครือข่ายก่อการร้ายญะมะอาห์ อิสลามิยะห์(เจไอ) ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายระดับภูมิภาคนี้ที่ถูกระบุว่าพัวพันกับอัลกออิดะห์ พวกเขาถูกตัดสินโทษเมื่อปี 2003 แต่ได้ยื่นคัดค้านคำตัดสินอย่างน้อยสี่ครั้งซึ่งล้วนไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้การลงโทษประหารชีวิตเลื่อนไปจนกระทั่งถึงตอนนี้ และสื่อมวลชนต่างก็จับตากรณีนี้กันอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำร่างของมุคลัสและอัมโรซีขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังหมู่บ้านเต็งกูลันในชวาตะวันออก ได้เกิดปะทะกับผู้สนับสนุนหลายร้อยคนเล็กน้อย ส่วนที่เมืองเซรังในชวาตะวันตกก็เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันเมื่อเจ้าหน้าที่นำร่างของสมุทราไปยังหลุมฝังศพ
“คงจะมีการแก้แค้นเกิดขึ้นแน่ ที่แน่ๆ ก็คือเลือดของมุสลิมจะไม่เสียไปเปล่า” กานนา วัย 26 ปี ซึ่งเดินทางไกลถึง 90 กิโลเมตร จากจาการ์ตามายังเซรังเพื่อร่วมชุมนุมในครั้งนี้ กล่าว
ทว่า ชาวมุสลิมในอินโดนีเซียส่วนใหญ่ไม่สู้จะเห็นใจกลุ่มผู้ก่อการร้ายเท่าไรนัก ดังที่ชายผู้หนึ่งกล่าวในพิธีศพของสมุทราว่าการทำ “ญิฮาด” ของมือระเบิดทั้งสามนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะ “หากมีสงคราม การทำญิฮาดเพื่อต่อสู้เป็นสิ่งที่ถูกตามหลักศาสนา แต่อย่ามาทำที่อินโดนีเซียเลย บาหลีไม่ใช่สนามรบ”
ทางการอินโดนีเซียได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยมากขึ้นในบริเวณพื้นที่อ่อนไหว เช่น ตามสถานทูต แห่ลงท่องเที่ยว ย่านจับจ่ายซื้อของและท่าเรือต่างๆ ส่วนที่เกาะบาหลี เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3,500 คนได้ออกตรวจรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดขึ้นเช่นกัน
ด้านออสเตรเลียและสหรัฐฯ ต่างก็เตือนประชาชนให้พิจารณาให้รอบคอบหากต้องเดินทางไปอินโดนีเซีย โดย เควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวว่านี่เป็นเวลาที่จะต้องจดจำ ทั้งเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและผู้รอดชีวิตจากเหตุโจมตีเลือดดังกล่าว เพราะ “เหตุฆาตกรรมครั้งนั้นทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และทุกวันนี้ก็ยังคงไม่เข้าร่องเข้ารอย”
มือระเบิดทั้งสามถูกตัดสินโทษประหารชีวิตตามกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ทำให้กลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนออกมาวิพากษ์วิจารณ์และยังทำให้ผู้สนับสนุนแนวทางอิสลามิสต์โกรธแค้นมากยิ่งขึ้น
ส่วนองค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่าการยิงเป้านักโทษครั้งนี้ควรเป็นการลงโทษประหารชีวิตครั้งสุดท้ายของอินโดนีเซีย