บุรีรัมย์ – พิษวิกฤตเศรษฐกิจกระทบบุรีรัมย์หนัก สถานประกอบการขนาดเล็กลูกจ้าง 1-2 คน แจ้งหยุดกิจการแล้ว 69 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร ช่างซ่อม และรับเหมาก่อสร้าง เหตุแบกรับภาระไม่ไหว ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมฯ ยังไม่มีการแจ้งปิดกิจการหรือเลิกจ้างแรงงาน เตือนจับตาต้นปีหน้าสาหัสแน่ ด้านเถ้าแก่ปั๊มน้ำมัน เปิดอกช้ำได้รับผลกระทบหนักสุดในรอบ 13 ปี แบกรับภาระดอกเบี้ยธนาคาร ค่าจ้างแรงงาน ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ พุ่งสูงไม่ไหวจำใจต้องปิดกิจการ
นางกัลยา พลวิเศษ ประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผย ว่าหลังจากทั้งในและต่างประเทศประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้สถานประกอบการขนาดเล็กที่มีลูกจ้าง 1 -2 คนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แจ้งหยุดกิจการไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงขณะนี้ จำนวน 69 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทร้านจำหน่ายอาหาร ช่างซ่อม ร้านค้าเบ็ดเตล็ด และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รวมถึงปั๊มน้ำมัน เนื่องจากแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว
ขณะเดียวกันได้มีบริษัท ห้างร้าน มาแจ้งขึ้นทะเบียนเปิดกิจการใหม่ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ จำนวน 156 แห่ง ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งกว่า 80 % เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่า มีการแจ้งหยุดกิจการหรือเลิกจ้างแรงงานแต่อย่างใด
“อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคม ก็ได้มีการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพราะแนวโน้มคาดว่าปีหน้าอาจจะได้รับผลกระทบหนัก”นางกัลยา กล่าว
นางกัลยา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่ออกหน่วยเคลื่อนที่ตามอำเภอต่างๆ เช่น อ.พุทไธสง , อ.นางรอง เพื่อให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน ในการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน หรือรับเรื่องร้องเรียน และให้คำปรึกษาแก่ลูกจ้างผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงานอีกด้วย
ด้าน นายเชิดศักดิ์ ผจวบโชค เจ้าของปั๊มน้ำมัน บริษัท บัวทองปิโตรเลียม ตั้งอยู่เลขที่ 195 หมู่ 1 ต.บ้านบัว อ.เมือง จ. บุรีรัมย์ กล่าวยอมรับว่า ตั้งแต่เปิดกิจการปั๊มน้ำมันมากว่า 13 ปี ปีนี้เป็นปีที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด สาเหตุที่แจ้งปิดกิจการไปนั้นเพราะทนความผันผวนของราคาน้ำมันไม่ไหว จากเมื่อก่อนใช้เงินลงทุนในการซื้อน้ำมันมาจำหน่ายน้อย แต่พอน้ำมันขึ้นราคาต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ทำให้ต้องไปกู้เงินธนาคารมาพยุงธุรกิจ
ซ้ำร้ายลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้รับเหมาที่มาเปิดเครดิตกับทางปั๊ม ส่วนมากไม่ยอมจ่ายเงินตรงตามสัญญาโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร อาจเนื่องจากรับเหมางานแล้วประสบปัญหาขาดทุน ประกอบกับอุปกรณ์ก่อสร้างมีราคาถีบตัวสูงขึ้น
“ผลกระทบดังกล่าวทำให้ตนต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยธนาคาร ค่าจ้างแรงงาน ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไม่มีกำไรและขาดทุน จึงตัดสินใจปิดกิจการลงในที่สุด แต่ก็ตั้งความหวังไว้ว่าหากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ และราคาน้ำมันไม่ผันผวน ก็จะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง” นายเชิดศักดิ์ กล่าว
นางกัลยา พลวิเศษ ประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผย ว่าหลังจากทั้งในและต่างประเทศประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้สถานประกอบการขนาดเล็กที่มีลูกจ้าง 1 -2 คนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แจ้งหยุดกิจการไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงขณะนี้ จำนวน 69 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทร้านจำหน่ายอาหาร ช่างซ่อม ร้านค้าเบ็ดเตล็ด และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รวมถึงปั๊มน้ำมัน เนื่องจากแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว
ขณะเดียวกันได้มีบริษัท ห้างร้าน มาแจ้งขึ้นทะเบียนเปิดกิจการใหม่ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ จำนวน 156 แห่ง ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งกว่า 80 % เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่า มีการแจ้งหยุดกิจการหรือเลิกจ้างแรงงานแต่อย่างใด
“อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคม ก็ได้มีการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพราะแนวโน้มคาดว่าปีหน้าอาจจะได้รับผลกระทบหนัก”นางกัลยา กล่าว
นางกัลยา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่ออกหน่วยเคลื่อนที่ตามอำเภอต่างๆ เช่น อ.พุทไธสง , อ.นางรอง เพื่อให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างผู้ประกันตน ในการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน หรือรับเรื่องร้องเรียน และให้คำปรึกษาแก่ลูกจ้างผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงานอีกด้วย
ด้าน นายเชิดศักดิ์ ผจวบโชค เจ้าของปั๊มน้ำมัน บริษัท บัวทองปิโตรเลียม ตั้งอยู่เลขที่ 195 หมู่ 1 ต.บ้านบัว อ.เมือง จ. บุรีรัมย์ กล่าวยอมรับว่า ตั้งแต่เปิดกิจการปั๊มน้ำมันมากว่า 13 ปี ปีนี้เป็นปีที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด สาเหตุที่แจ้งปิดกิจการไปนั้นเพราะทนความผันผวนของราคาน้ำมันไม่ไหว จากเมื่อก่อนใช้เงินลงทุนในการซื้อน้ำมันมาจำหน่ายน้อย แต่พอน้ำมันขึ้นราคาต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ทำให้ต้องไปกู้เงินธนาคารมาพยุงธุรกิจ
ซ้ำร้ายลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้รับเหมาที่มาเปิดเครดิตกับทางปั๊ม ส่วนมากไม่ยอมจ่ายเงินตรงตามสัญญาโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร อาจเนื่องจากรับเหมางานแล้วประสบปัญหาขาดทุน ประกอบกับอุปกรณ์ก่อสร้างมีราคาถีบตัวสูงขึ้น
“ผลกระทบดังกล่าวทำให้ตนต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยธนาคาร ค่าจ้างแรงงาน ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไม่มีกำไรและขาดทุน จึงตัดสินใจปิดกิจการลงในที่สุด แต่ก็ตั้งความหวังไว้ว่าหากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ และราคาน้ำมันไม่ผันผวน ก็จะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง” นายเชิดศักดิ์ กล่าว