รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงระเนระนาดกว่า 5 ดอลลาร์ หรือราว 7 เปอร์เซ็นต์ในวันพุธ (5) ภายหลังการแถลงตัวเลขน้ำมันตามคลังเก็บทั่วสหรัฐฯ ซึ่งปรากฏว่าเพิ่มมากขึ้นกว่าที่คาดหมายกันไว้มาก อันเป็นสัญญาณที่ตอกย้ำว่า ภาวะเศรษฐกิจซบเซาตัวทั่วโลก ยิ่งชะลอความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก จากนั้นราคายังขยับลงอีกกว่า 1 เหรียญสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 64 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี (6) หลังการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในยุโรป
เมื่อวันพุธ (5) สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ดิ่งลง 5.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอนขยับลงมา 4.57 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ต่อมาระหว่างการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันพฤหัสบดี (6) เมื่อถึงเวลา 12.20 น.จีเอ็มที (19.20 น. เวลาเมืองไทย) น้ำมันดิบไลต์สวีตครูดฉบับส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลงมา 1.60 ดอลลาร์ ลงมาอยู่ที่ 63.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ดิ่งลง 1.60 ดอลลาร์ อยู่ที่ 60.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยในช่วงหนึ่งของการซื้อขายราคาดิ่งลงถึงระดับ 60.00 เหรียญต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันขยับลงระนาวครั้งนี้ ภายหลังจากที่สำนักงานข้อมูลพลังงานสหรัฐฯ (อีไอเอ) แถลงว่า ปริมาณน้ำมันดิบตามคลังเก็บทั่วสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ล่าสุด ได้เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่บรรดานักวิเคราะห์คาดกันว่าจะลดลง ขณะที่ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม สถิติความต้องการพลังงานภายในประเทศปรับลดลงถึง 2.3 เปอร์เซ็นต์
เมื่อวันพุธ (5) สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ ดิ่งลง 5.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 65.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนต์ของลอนดอนขยับลงมา 4.57 ดอลลาร์ ปิดที่ 61.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ต่อมาระหว่างการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันพฤหัสบดี (6) เมื่อถึงเวลา 12.20 น.จีเอ็มที (19.20 น. เวลาเมืองไทย) น้ำมันดิบไลต์สวีตครูดฉบับส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลงมา 1.60 ดอลลาร์ ลงมาอยู่ที่ 63.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนต์ดิ่งลง 1.60 ดอลลาร์ อยู่ที่ 60.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยในช่วงหนึ่งของการซื้อขายราคาดิ่งลงถึงระดับ 60.00 เหรียญต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันขยับลงระนาวครั้งนี้ ภายหลังจากที่สำนักงานข้อมูลพลังงานสหรัฐฯ (อีไอเอ) แถลงว่า ปริมาณน้ำมันดิบตามคลังเก็บทั่วสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ล่าสุด ได้เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่บรรดานักวิเคราะห์คาดกันว่าจะลดลง ขณะที่ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม สถิติความต้องการพลังงานภายในประเทศปรับลดลงถึง 2.3 เปอร์เซ็นต์