ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้( 6 พ.ย.) มีการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่...) พ.ศ... หรือร่างกฎหมายเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนร่วม พ.ศ.... หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า ร่างกฎหมาย ผลประโยชน์ทับซ้อน และถูกวิจารณ์กันว่าเป็นหรือที่เรียกว่า กฎหมาย 7 ชั่วโคตร ว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อภิปรายอย่างกว้างขว้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เห็นว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ออกโดยมิชอบ และนัดประชุมเพื่ออ่านคำวินิจฉัยส่วนตน และลงมติวันนี้ (6 พ.ย.) โดยที่ประชุม
ลงมติว่า ร่างพ.ร.บ.2 ฉบับดังกล่าว ที่ผ่านความเห็นชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นอันตกไป เนื่องจากการตราขึ้นไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรค 3 ซึ่งเหมือน ร่างพ.ร.บ.หลายฉบับ ที่ผ่านมาที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ตกไปเนื่องจากองค์ประชุมของสนช.ไม่ครบองค์ ในวาระที่ 3
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเพียงประเด็นเดียวคือองค์ประชุมของ สนช. ซึ่งไม่ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยไม่ได้ลงไปพิจารณาถึงเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ แต่อย่างใด เพราะเมื่อร่าง พ.ร.บ.ตราขึ้นโดยขัดกับหลักกฎหมาย ย่อมมีผลให้ตกไป โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงเนื้อหาสาระอีก
อย่างไรก็ตามหากมีการเสนอร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 เข้าสู่สภาอีก และมีผู้นำมาร้อง ถึงเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. คณะตุลาการจึงจะพิจารณาว่าเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำร้องว่าร่างพ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตราขึ้นหรือมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นคำร้องของ น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต สนช.และคณะรวม 30 คน เป็นผู้ยื่นคำร้องผ่านประธาน สนช. ในขณะที่ร่างร่างพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. นั้นนายวรัชย์ ชวพงษ์ สนช. และพวกรวม 51 คนเป็นผู้ยื่นคำร้องผ่านประธานสนช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมวันนี้เป็นการประชุมนัดสุดท้ายก่อนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพี่นางฯ เนื่องจากคณะตุลาการต้องเข้าร่วม ในงานพระราชพิธี จึงได้งดประชุมเพื่อพิจารณาคดีต่างๆ โดยจะเริ่มกลับมาประชุมอีกครั้งหลังวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งครบกำหนดการยื่นคำชี้แจงคดียุบพรรคของพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาให้ถึงวันที่ 19 พ.ย.
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง รักษาการโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า กฎหมายที่การพิจารณาไม่ครบองค์ประชุมก็ต้องตกไปถือเป็นบรรทัดฐานตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณา ดังนั้น เป็นเรื่องของสภาที่จะต้องระมัดระวังเรื่ององค์ประชุมในการลงมติเห็นชอบกฎหมายและเรื่องใดๆ ซึ่งขณะนี้ในการประชุมสภา ได้มีการตรวจเช็คองค์ประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก
ในส่วนของกฎหมายเจ็ดชั่วโคตร ที่ตกไป น่าจะเป็นผลดีในด้านเศรษฐกิจ จะทำให้บุคลากรด้านการคลัง การเงิน ที่มีความรู้ ความสามารถกล้าที่จะเข้ามาร่วมช่วย แก้ไขปัญหาวิกฤติของบ้านเมืองมากขึ้น เพราะต่อไปไม่มีกฎหมายฉบับดังกล่าว ก็ไม่มีข้อห้ามจุกจิก มากมาย น่าจะทำให้ภาพรวมจะดียิ่งขึ้น
ร.ท.กุเทพ ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของกฎหมายหวยบนดินฯตกไป เป็นกฎหมายที่ออกมาสมัย สนช. ยังไม่ได้ดูเนื้อหา แต่เบื้องต้นทราบว่าส่งผลกระทบต่อนโยบายหวยบนดิน หากจะมีการเสนอร่างกฎหมายเข้ามาสู่ในสภาชุดนี้ใหม่ หรือไม่ คงจะต้องดูให้รอบคอบ
ทั้งนี้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อภิปรายอย่างกว้างขว้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เห็นว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ออกโดยมิชอบ และนัดประชุมเพื่ออ่านคำวินิจฉัยส่วนตน และลงมติวันนี้ (6 พ.ย.) โดยที่ประชุม
ลงมติว่า ร่างพ.ร.บ.2 ฉบับดังกล่าว ที่ผ่านความเห็นชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นอันตกไป เนื่องจากการตราขึ้นไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรค 3 ซึ่งเหมือน ร่างพ.ร.บ.หลายฉบับ ที่ผ่านมาที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ตกไปเนื่องจากองค์ประชุมของสนช.ไม่ครบองค์ ในวาระที่ 3
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาเพียงประเด็นเดียวคือองค์ประชุมของ สนช. ซึ่งไม่ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยไม่ได้ลงไปพิจารณาถึงเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ แต่อย่างใด เพราะเมื่อร่าง พ.ร.บ.ตราขึ้นโดยขัดกับหลักกฎหมาย ย่อมมีผลให้ตกไป โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงเนื้อหาสาระอีก
อย่างไรก็ตามหากมีการเสนอร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 เข้าสู่สภาอีก และมีผู้นำมาร้อง ถึงเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. คณะตุลาการจึงจะพิจารณาว่าเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำร้องว่าร่างพ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตราขึ้นหรือมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นคำร้องของ น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต สนช.และคณะรวม 30 คน เป็นผู้ยื่นคำร้องผ่านประธาน สนช. ในขณะที่ร่างร่างพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. นั้นนายวรัชย์ ชวพงษ์ สนช. และพวกรวม 51 คนเป็นผู้ยื่นคำร้องผ่านประธานสนช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมวันนี้เป็นการประชุมนัดสุดท้ายก่อนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพี่นางฯ เนื่องจากคณะตุลาการต้องเข้าร่วม ในงานพระราชพิธี จึงได้งดประชุมเพื่อพิจารณาคดีต่างๆ โดยจะเริ่มกลับมาประชุมอีกครั้งหลังวันที่ 19 พ.ย. ซึ่งครบกำหนดการยื่นคำชี้แจงคดียุบพรรคของพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาให้ถึงวันที่ 19 พ.ย.
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง รักษาการโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า กฎหมายที่การพิจารณาไม่ครบองค์ประชุมก็ต้องตกไปถือเป็นบรรทัดฐานตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณา ดังนั้น เป็นเรื่องของสภาที่จะต้องระมัดระวังเรื่ององค์ประชุมในการลงมติเห็นชอบกฎหมายและเรื่องใดๆ ซึ่งขณะนี้ในการประชุมสภา ได้มีการตรวจเช็คองค์ประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก
ในส่วนของกฎหมายเจ็ดชั่วโคตร ที่ตกไป น่าจะเป็นผลดีในด้านเศรษฐกิจ จะทำให้บุคลากรด้านการคลัง การเงิน ที่มีความรู้ ความสามารถกล้าที่จะเข้ามาร่วมช่วย แก้ไขปัญหาวิกฤติของบ้านเมืองมากขึ้น เพราะต่อไปไม่มีกฎหมายฉบับดังกล่าว ก็ไม่มีข้อห้ามจุกจิก มากมาย น่าจะทำให้ภาพรวมจะดียิ่งขึ้น
ร.ท.กุเทพ ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนของกฎหมายหวยบนดินฯตกไป เป็นกฎหมายที่ออกมาสมัย สนช. ยังไม่ได้ดูเนื้อหา แต่เบื้องต้นทราบว่าส่งผลกระทบต่อนโยบายหวยบนดิน หากจะมีการเสนอร่างกฎหมายเข้ามาสู่ในสภาชุดนี้ใหม่ หรือไม่ คงจะต้องดูให้รอบคอบ