วานนี้ (2 พ.ย.) ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนาเรื่อง"วิเคราะห์ สถานการณ์หลังเที่ยงคืน วันที่ 1 พ.ย." โดย นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ว่า มีแต่การแบ่งขั้ว แบ่งข้าง การใช้ความรุนแรงในหลายรูปแบบ และเชื่อว่าจะพัฒนาไปจนกลายเป็น "สงครามกลางเมือง"
ดังนั้น อยากให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงเงื่อนไขต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ฝ่ายการเมืองและรัฐบาลต้องหยุด หรือชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้สังคมมองว่า การผลักดันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มีเพียงฝ่ายรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ทั้งที่ควรจะได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลหาทางออกไม่ได้จริงๆ ก็ควรยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน
นายปริญญา ยังเสนอแนวทาง 2 ข้อ เพื่อเป็นทางออกให้กับรัฐบาลว่า 1. รัฐบาลควรมาตกลงกับทุกฝ่ายว่า ถ้านายกรัฐมนตรียุบสภาแล้วจะเลือกตั้งโดยใช้เงื่อนไขแบบไหน เช่น พันธมิตรฯเสนอให้มีการเมืองใหม่ ก็อาจมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เฉพาะแค่ที่มาของ ส.ส.เพียงประเด็นเดียว แล้วก็ยุบสภา
2. ยุบสภา แล้วจัดให้มีการทำประชามติควบคู่ไปด้วยว่า ประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศทำประชามติควบคู่ไปกับการเลือกตั้ง เพื่อประหยัดงบประมาณ
ด้านนายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศไทย เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ควรให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่เป็นเรื่องของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่มีการดำเนินการอยู่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และควรต้องปฏิรูปการเมือง ก่อนจะตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ดังนั้น อยากให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงเงื่อนไขต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ฝ่ายการเมืองและรัฐบาลต้องหยุด หรือชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้สังคมมองว่า การผลักดันเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มีเพียงฝ่ายรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ทั้งที่ควรจะได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลหาทางออกไม่ได้จริงๆ ก็ควรยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน
นายปริญญา ยังเสนอแนวทาง 2 ข้อ เพื่อเป็นทางออกให้กับรัฐบาลว่า 1. รัฐบาลควรมาตกลงกับทุกฝ่ายว่า ถ้านายกรัฐมนตรียุบสภาแล้วจะเลือกตั้งโดยใช้เงื่อนไขแบบไหน เช่น พันธมิตรฯเสนอให้มีการเมืองใหม่ ก็อาจมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เฉพาะแค่ที่มาของ ส.ส.เพียงประเด็นเดียว แล้วก็ยุบสภา
2. ยุบสภา แล้วจัดให้มีการทำประชามติควบคู่ไปด้วยว่า ประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศทำประชามติควบคู่ไปกับการเลือกตั้ง เพื่อประหยัดงบประมาณ
ด้านนายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความแห่งประเทศไทย เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ควรให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ใช่เป็นเรื่องของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่มีการดำเนินการอยู่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และควรต้องปฏิรูปการเมือง ก่อนจะตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่